พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6302-6303/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา และกระบวนการคุ้มครองชั่วคราว: การเสนอประเด็นเขตอำนาจต่อประธานศาลฎีกา
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 9 บัญญัติว่า "ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเกิดขึ้นในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือศาลยุติธรรมอื่น ให้ศาลนั้นรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวแล้วเสนอปัญหานั้นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด" คำว่า ปัญหา หมายถึง ข้อสงสัย กรณีมีปัญหาหมายถึงกรณีมีข้อสงสัย ย่อมหมายถึงศาลที่รับพิจารณาคดีนั้นๆ ไว้แล้ว มีความสงสัยว่า คดีนั้นจะไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาในศาลของตน จึงต้องส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคำฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ โดยไม่มีข้อสงสัย ไม่ใช่ว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดยื่นคำร้องว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลนั้น ศาลนั้นจะต้องเสนอไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยทุกเรื่องเพราะจะทำให้การพิจารณาคดีต้องล่าช้าออกไป เนื่องจากต้องรอการพิจารณาคดีไว้ขณะส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย จึงน่าจะไม่ใช่เจตนารมณ์ที่แท้จริงของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ที่ประสงค์จะให้การดำเนินกระบวนพิจาณาเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรม คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 7 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอย่างชัดแจ้งแล้ว ทั้งการฟ้องคดีลักษณะเดียวกันนี้ ประธานศาลฎีกาก็เคยมีคำวินิจฉัยว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหลายเรื่องแล้ว ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้เสนอปัญหาตามคำร้องของจำเลยทั้งสองไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย กรณีถือไม่ได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ปฏิบัติตามมาตรา 9
ตามบทบัญญัติในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ที่ให้ศาลรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวนั้น หมายถึง กรณีที่ศาลนั้นเสนอปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย หากศาลนั้นมิได้เสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ศาลนั้นย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ และการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจึงไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือมีความมุ่งหมายเพื่อจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคำฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางย่อมเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ โดยไม่มีข้อสงสัย ไม่ใช่ว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดยื่นคำร้องว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลนั้น ศาลนั้นจะต้องเสนอไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยทุกเรื่องเพราะจะทำให้การพิจารณาคดีต้องล่าช้าออกไป เนื่องจากต้องรอการพิจารณาคดีไว้ขณะส่งเรื่องไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย จึงน่าจะไม่ใช่เจตนารมณ์ที่แท้จริงของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ที่ประสงค์จะให้การดำเนินกระบวนพิจาณาเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรม คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 7 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอย่างชัดแจ้งแล้ว ทั้งการฟ้องคดีลักษณะเดียวกันนี้ ประธานศาลฎีกาก็เคยมีคำวินิจฉัยว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหลายเรื่องแล้ว ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้เสนอปัญหาตามคำร้องของจำเลยทั้งสองไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย กรณีถือไม่ได้ว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่ปฏิบัติตามมาตรา 9
ตามบทบัญญัติในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ที่ให้ศาลรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวนั้น หมายถึง กรณีที่ศาลนั้นเสนอปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย หากศาลนั้นมิได้เสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ศาลนั้นย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ และการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจึงไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือมีความมุ่งหมายเพื่อจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบเนื่องจากจำเลยไม่ทราบการฟ้องและไม่ได้แต่งตั้งทนายความ
การที่จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่า จำเลยที่ 4 มิได้มีภูมิลำเนาที่แท้จริงอยู่ตามฟ้อง ไม่เคยทราบว่าถูกฟ้อง ไม่เคยแต่งตั้งทนายความเข้ามาในคดีและไม่เคยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เท่ากับจำเลยที่ 4 อ้างว่าการส่งหมายและกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ดังนั้น หากศาลชั้นต้นทำการไต่สวนแล้วปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดและข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมาจนกระทั่งศาลชั้นต้นพิพากษาคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยหลงผิด จำเลยที่ 4 ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ศาลชั้นต้นจึงต้องรับคำร้องของจำเลยที่ 4 ไว้ไต่สวนแล้วมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดไต่สวนที่ไม่ถูกต้องตามภูมิลำเนาของผู้รับหมาย ทำให้ผู้รับหมายไม่ได้รับโอกาสคัดค้านกระบวนการพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง โดยมีสำเนาทะเบียนบ้านแนบท้ายคำร้องซึ่งมีข้อความระบุว่าผู้ร้องย้ายภูมิลำเนาจากบ้านเลขที่ 17/115 ไปที่บ้านเลขที่ 30/5 ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ปิดหมายตามคำแถลงของโจทก์ นอกจากนี้ตามบันทึกการปิดหมายของเจ้าหน้าที่ศาลก็ระบุว่า เจ้าหน้าที่ศาลได้รับแจ้งจากบุคคลใกล้เคียงว่า ผู้ร้องได้ย้ายบ้านใหม่แล้ว กรณีเช่นว่านี้นับว่ามีเหตุผลตามสมควรที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงที่แน่ชัดเสียก่อนว่าในขณะที่มีการส่งหมายนัดไต่สวนนั้น ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านที่มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องหรือไม่ เพราะหากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องย่อมเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบและทำให้ผู้ร้องเสียหายเพราะไม่มีโอกาสได้คัดค้านคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ทำการไต่สวนคำร้องให้ทราบข้อเท็จริงแน่ชัดเสียก่อนเช่นนี้ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดโจทก์, การดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ, การเพิกถอนการพิจารณา, ผลของการไม่คัดค้าน
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยทั้งสามซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยทั้งสามขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีพยานมาสืบ แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสามรับผิดตามฟ้อง จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยทั้งสามฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองในส่วนของจำเลยที่ 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยที่ 3 นำพยานเข้าสืบต่อไปและให้โจทก์นำพยานเข้าสืบหักล้างแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ย่อมหมายถึงว่าศาลฎีกาได้อนุญาตให้จำเลยที่ 3 ได้เลื่อนคดีตามที่ร้องขอ และวันสืบพยานตามความหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 1 (10) คือวันที่ศาลชั้นต้นเริ่มทำการสืบพยานจำเลยที่ 3 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นี้ โจทก์ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยที่ 3 โดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลในวันนัด จึงถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง (เดิม) ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 201 (เดิม) กล่าวคือ ศาลต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ แต่หากจำเลยที่ 3 ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลต้องมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาก่อน แล้วจึงจะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 205 ถึงมาตรา 209 เดิม ซึ่งเป็นบทบัญญัติพิเศษโดยเฉพาะของวิธีพิจารณาวิสามัญอันว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากกระบวนวิธีพิจารณาสามัญ ดังนั้น การที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาแต่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างวิธีพิจารณาสามัญโดยมีคำสั่งว่าให้จำเลยที่ 3 สืบพยาน แล้วเลื่อนคดีไปให้โจทก์ซักค้านในนัดหน้า จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบที่เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการปฏิบัติผิดระเบียบนั้นร้องขอ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง อย่างไรก็ตาม มาตรา 27 วรรคสอง กำหนดกรอบระยะเวลาและเงื่อนไขการที่คู่ความจะร้องขอให้ศาลเพิกถอนการพิจารณาผิดระเบียบว่า "ข้อคัดค้านเรื่องผิดระเบียบนั้น คู่ความฝ่ายที่เสียหายอาจยกขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ" เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้คัดค้านหรือร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ กลับนำตัวจำเลยที่ 3 เข้าเบิกความจนจบคำซักค้าน แล้วต่อมาเพียงแต่ยื่นคำแถลงคัดค้านว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 201 วรรคสอง โดยไม่ได้ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาเพื่อจะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 226 (2) เท่านั้น หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจนเสร็จการพิจารณา กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 3 มิได้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 27 วรรคสอง อีกทั้งจำเลยที่ 3 ได้ดำเนินการพิจารณาต่อไปหลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจอุทธรณ์หรือฎีกาขอให้ศาลสูงมีคำสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบเช่นว่านี้ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8563/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายต่างประเทศ การคิดคำนวณทุนทรัพย์ และอายุความของหนี้
ตามคำร้องของจำเลยขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางใช้อำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่รับโอนคดีนี้จากศาลแพ่ง โดยกล่าวอ้างว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบในการรับโอนคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษา มิใช่กรณีคู่ความเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่มีข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2540 ข้อ 3 กำหนดไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 27 มาใช้บังคับ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 โดยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติถึงกรณีที่มีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบว่า เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อศาลเห็นสมควร หมายถึง กรณีที่ศาลเห็นถึงกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเองก็เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะที่จะหยิบยกขึ้นพิจารณาได้โดยไม่ต้องมีคำร้องจากคู่ความแต่อย่างใด กรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นกรณีที่เกิดจากความประสงค์ของคู่ความนั้นที่ต้องการขอให้ศาลสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณา โดยกรณีนี้คู่ความผู้ยื่นคำร้องจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 27 วรรคสอง กล่าวคือต้องยื่นไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่คู่ความนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ตามคำร้องของจำเลยขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ได้รับโอนคดีนี้ไว้พิจารณา โดยจำเลยอ้างว่าเป็นการโอนและรับโอนคดีที่ไม่ชอบ เป็นกรณีที่จำเลยประสงค์จะให้มีการเพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นเอง จึงยื่นคำร้องฉบับนี้ต่อศาล อันเป็นกรณีที่คู่ความร้องขอตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ที่อยู่ในบังคับต้องยื่นคำร้องภายในกำหนดระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 วรรคสอง แล้ว และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในวันนัดพร้อม ซึ่งทนายจำเลยเข้าร่วมดำเนินกระบวนพิจารณาด้วยว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้รับโอนคดีนี้จากศาลแพ่งและดำเนินการนัดสืบพยานจำเลยต่อไป ทนายจำเลยแถลงขอสืบพยานบุคคลที่เหลืออีก 3 ปาก แสดงว่า จำเลยได้ทราบว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนคดีนี้ไว้ในวันนัดพร้อมแล้ว จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านในวันนั้น ทั้งยังกลับขอดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไปอีกด้วย ต่อมาจำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่รับโอนคดีไว้ อันเป็นการยื่นคำร้องเกินกว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยทราบถึงกระบวนพิจารณาที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนคดีนี้ไว้แล้ว จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
สัญญารับขนของทางทะเลระหว่างบริษัท จ. ผู้ส่งสินค้ากับจำเลยในคดีนี้ เป็นการขนส่งสินค้าโดยมีการออกใบตราส่ง จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งมีชื่อโจทก์ระบุในใบตราส่ง แม้ในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่ง ผู้ส่งสินค้าอาจสั่งให้ผู้ขนส่งจัดการแก่สินค้าเป็นประการอื่น นอกจากการส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งได้ แต่ต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดให้ไว้แก่ผู้ขนส่ง หากผู้ขนส่งจัดการไปตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดแล้ว ผู้ขนส่งก็ยังต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งซึ่งมีใบตราส่งฉบับที่ไม่ได้เวนคืนตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 แต่ตามหนังสือแจ้งของผู้ส่งสินค้ามีใจความเพียงว่า ผู้ส่งสินค้าตกลงให้จำเลยผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่ง (Consignee) โดยไม่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งเท่านั้น ซึ่งผู้รับตราส่งก็หมายถึงโจทก์ ไม่ใช่บริษัท ย. และไม่ปรากฏว่าได้มีการเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดให้แก่จำเลยผู้ขนส่ง การที่จำเลยส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่บริษัท ย. โดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่ง จึงไม่ใช่การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าและไม่ใช่กรณีที่ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 36 แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ขนส่งปฏิบัติผิดหน้าที่ตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับตราส่งในความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการกระทำของจำเลย
มาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2539 ผู้ขนส่งต้องรับผิดในจำนวนเงินจำกัดตามข้อจำกัดไว้เฉพาะกรณีที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดเนื่องจากการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า โดยเหตุแห่งความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ข้อเท็จจริงคดีนี้ความว่า จำเลยผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่บริษัท ย. ซึ่งไม่ใช่ผู้รับตราส่งไปโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับตราส่งในใบตราส่งได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขนส่งที่ต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล ไม่ใช่กรณีที่สินค้าสูญหาย เสียหายหรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ผู้รับตราส่งเต็มตามจำนวนความเสียหาย โดยไม่ได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดตามบทบัญญัติมาตรา 58
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้ขายสินค้าในประเทศมาเลเซียได้ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งสินค้าไม้จากประเทศมาเลเซียโดยทางเรือมายังประเทศไทย โดยจำเลยได้ระบุในใบตราส่งว่า โจทก์เป็นผู้รับตราส่ง แต่เมื่อสินค้ามาถึงปลายทางในประเทศไทยแล้วจำเลยได้ส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัท ย. ไปโดยมิได้มีการเวนคืนใบตราส่ง ตามคำฟ้องแสดงให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้ขนส่งและมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ผู้รับตราส่งโดยมีการเวนคืนใบตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญา โดยส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้รับตราส่ง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้โจทก์จะระบุในคำฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยโดยละเอียด อันมีลักษณะทั้งเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาและละเมิดด้วย ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจะนำบทกฎหมายเรื่องใดมาบังคับใช้กับข้อเท็จจริงตามที่พิจารณาได้ความ ข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งผู้มีสิทธิในสินค้าที่ขนส่งในความเสียหายที่เกิดขึ้น อันเป็นความรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่ความเสียหายไม่ได้เกิดจากการที่สินค้าสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า อันจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ซึ่งจะมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวและความรับผิดของจำเลยที่ปฏิบัติผิดสัญญารับขนของทางทะเลในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
สัญญารับขนของทางทะเลระหว่างบริษัท จ. ผู้ส่งสินค้ากับจำเลยในคดีนี้ เป็นการขนส่งสินค้าโดยมีการออกใบตราส่ง จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งซึ่งมีชื่อโจทก์ระบุในใบตราส่ง แม้ในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยผู้ขนส่ง ผู้ส่งสินค้าอาจสั่งให้ผู้ขนส่งจัดการแก่สินค้าเป็นประการอื่น นอกจากการส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่งได้ แต่ต้องเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดให้ไว้แก่ผู้ขนส่ง หากผู้ขนส่งจัดการไปตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าโดยไม่ได้รับเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดแล้ว ผู้ขนส่งก็ยังต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งซึ่งมีใบตราส่งฉบับที่ไม่ได้เวนคืนตามมาตรา 36 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 แต่ตามหนังสือแจ้งของผู้ส่งสินค้ามีใจความเพียงว่า ผู้ส่งสินค้าตกลงให้จำเลยผู้ขนส่งส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่ง (Consignee) โดยไม่ต้องเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งเท่านั้น ซึ่งผู้รับตราส่งก็หมายถึงโจทก์ ไม่ใช่บริษัท ย. และไม่ปรากฏว่าได้มีการเวนคืนใบตราส่งทั้งหมดให้แก่จำเลยผู้ขนส่ง การที่จำเลยส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่บริษัท ย. โดยไม่มีการเวนคืนใบตราส่ง จึงไม่ใช่การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ส่งสินค้าและไม่ใช่กรณีที่ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 36 แต่เป็นกรณีที่จำเลยผู้ขนส่งปฏิบัติผิดหน้าที่ตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับตราส่งในความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการกระทำของจำเลย
มาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2539 ผู้ขนส่งต้องรับผิดในจำนวนเงินจำกัดตามข้อจำกัดไว้เฉพาะกรณีที่ผู้ขนส่งต้องรับผิดเนื่องจากการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า โดยเหตุแห่งความเสียหายนั้นเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่งตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ข้อเท็จจริงคดีนี้ความว่า จำเลยผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าที่ขนส่งให้แก่บริษัท ย. ซึ่งไม่ใช่ผู้รับตราส่งไปโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่ง ทำให้โจทก์ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับตราส่งในใบตราส่งได้รับความเสียหาย จึงเป็นการที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขนส่งที่ต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล ไม่ใช่กรณีที่สินค้าสูญหาย เสียหายหรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ผู้รับตราส่งเต็มตามจำนวนความเสียหาย โดยไม่ได้รับประโยชน์จากข้อจำกัดความรับผิดตามบทบัญญัติมาตรา 58
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ผู้ขายสินค้าในประเทศมาเลเซียได้ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งสินค้าไม้จากประเทศมาเลเซียโดยทางเรือมายังประเทศไทย โดยจำเลยได้ระบุในใบตราส่งว่า โจทก์เป็นผู้รับตราส่ง แต่เมื่อสินค้ามาถึงปลายทางในประเทศไทยแล้วจำเลยได้ส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัท ย. ไปโดยมิได้มีการเวนคืนใบตราส่ง ตามคำฟ้องแสดงให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้ขนส่งและมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์ผู้รับตราส่งโดยมีการเวนคืนใบตราส่งตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามสัญญา โดยส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้รับตราส่ง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้โจทก์จะระบุในคำฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยโดยละเอียด อันมีลักษณะทั้งเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาและละเมิดด้วย ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจะนำบทกฎหมายเรื่องใดมาบังคับใช้กับข้อเท็จจริงตามที่พิจารณาได้ความ ข้อเท็จจริงคดีนี้เป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งผู้มีสิทธิในสินค้าที่ขนส่งในความเสียหายที่เกิดขึ้น อันเป็นความรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่ความเสียหายไม่ได้เกิดจากการที่สินค้าสูญหาย เสียหาย หรือมีการส่งมอบสินค้าชักช้า อันจำเลยผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39 ซึ่งจะมีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวและความรับผิดของจำเลยที่ปฏิบัติผิดสัญญารับขนของทางทะเลในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดโดยไม่เปิดเผยภาระจำนอง ผู้ซื้อไม่ต้องตรวจสอบเอง ศาลเพิกถอนการขายได้
สำเนาเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ซึ่งโจทก์ใช้เป็นหลักฐานในการนำยึดที่ดินพิพาทและนำออกขายทอดตลาดไม่ปรากฏว่ามีรายการจำนอง เพราะจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจำนองธนาคารหลังการคัดสำเนา แต่เป็นเวลาก่อนนำยึดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทแบบไม่มีภาระผูกพัน ผู้ร้องประมูลซื้อได้ในราคาสูงกว่าราคาประเมินของทางราชการ 3-7 เท่า โดยผู้ร้องไม่ทราบเรื่องที่ดินพิพาทติดจำนองมาก่อน และเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินตามสำเนา น.ส.3 ก. โดยไม่ติดจำนองและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์แล้วแม้การขายทอดตลาดนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 308 ให้ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 510กล่าวคือ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์ต้องทำตามคำโฆษณาบอกขายและตามความข้ออื่น ๆ ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโดยไม่ติดจำนอง คำประกาศดังกล่าวย่อมผูกพันเฉพาะเจ้าพนักงานบังคับคดี และไม่ใช่หน้าที่ของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องไปตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทติดจำนองหรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามสำเนา น.ส.3 ก. ซึ่งไม่มีรายการจดทะเบียนจำนอง เป็นการสั่งโดยผิดหลง และเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการบังคับคดีเมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจที่สั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์นี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาดที่ดิน: หน้าที่ตรวจสอบภาระจำนองและผลกระทบต่อผู้ประมูล
สำเนาเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง ซึ่งโจทก์ใช้เป็นหลักฐานในการนำยึดที่ดินพิพาทและนำออกขายทอดตลาดไม่ปรากฏว่ามีรายการจำนอง เพราะจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปจำนองธนาคารหลังการคัดสำเนา แต่เป็นเวลาก่อนนำยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทแบบไม่มีภาระผูกพัน ผู้ร้องประมูลซื้อได้ในราคาสูงกว่าราคาประเมินของทางราชการ 3 - 7 เท่า โดยผู้ร้องไม่ทราบเรื่องที่ดินพิพาทติดจำนองมาก่อน และเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินตามสำเนา น.ส.3 ก.โดยไม่ติดจำนอง และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์แล้วแม้การขายทอดตลาดนั้น ป.วิ.พ.มาตรา 308 ให้ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 510กล่าวคือ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์ต้องทำตามคำโฆษณาบอกขายและตามความข้ออื่น ๆซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโดยไม่ติดจำนอง คำประกาศดังกล่าวย่อมผูกพันเฉพาะเจ้าพนักงานบังคับคดี และไม่ใช่หน้าที่ของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อจะต้องไปตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทติดจำนองหรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามสำเนา น.ส.3 ก.ซึ่งไม่มีรายการจดทะเบียนจำนอง เป็นการสั่งโดยผิดหลง และเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่จะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการบังคับคดี เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจที่สั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์นี้ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย ทำให้จำเลยไม่ทราบคำพิพากษา ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาได้
ถ้าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารหากไม่สามารถจะทำได้ดั่งที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 78 ศาลอาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือปิดคำคู่ความหรือเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 ศาลจะต้องสั่งให้เป็นกิจจะลักษณะเสียก่อนว่าให้ส่งโดยวิธีปิดคำคู่ความหรือเอกสารได้ เมื่อไม่ปรากฏว่า การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 และไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดหมายนัดเป็นกิจจะลักษณะ เพราะในหมายนัดก็มีข้อความที่พิมพ์แต่เพียงว่า"หมายศาล - ปิดหมาย" เท่านั้น ทั้งเจ้าหน้าที่ส่งหมายก็รายงานว่า บริษัทจำเลยย้ายกิจการออกไปนานแล้ว แม้การปิดหมาย ณ สถานที่ดังกล่าวในชั้นส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง จำเลยสามารถยื่นคำให้การได้ก็ตามแต่เวลาก็ล่วงเลยมานานถึงสามปีเศษแล้ว และเมื่อปรากฏว่าขณะปิดหมายนัดสถานที่ที่ปิดหมายดังกล่าวไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย การปิดหมายจึงไม่ชอบตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังโดยชอบแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะในส่วนที่อ่านให้จำเลยฟัง และให้ศาลชั้นต้นนัดจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย: การปิดหมายทดแทนเมื่อส่งไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 78
ถ้าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารหากไม่สามารถจะทำได้ดั่งที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 78 ศาลอาจสั่งให้ส่งโดยวิธีอื่นแทนได้ กล่าวคือปิดคำคู่ความหรือเอกสารไว้ในที่แลเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 ศาลจะต้องสั่งให้เป็นกิจจะลักษณะเสียก่อนว่าให้ส่งโดยวิธีปิดคำคู่ความหรือเอกสารได้ เมื่อไม่ปรากฏว่า การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่สามารถจะทำได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 และไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดหมายนัดเป็นกิจจะลักษณะ เพราะในหมายนัดก็มีข้อความที่พิมพ์แต่เพียงว่า "หมายศาล - ปิดหมาย"เท่านั้น ทั้งเจ้าหน้าที่ส่งหมายก็รายงานว่า บริษัทจำเลยย้ายกิจการออกไปนานแล้ว แม้การปิดหมาย ณ สถานที่ดังกล่าวในชั้นส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง จำเลยสามารถยื่นคำให้การได้ก็ตามแต่เวลาก็ล่วงเลยมานานถึงสามปีเศษแล้ว และเมื่อปรากฏว่าขณะปิดหมายนัดสถานที่ที่ปิดหมายดังกล่าวไม่ใช่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของจำเลย การปิดหมายจึงไม่ชอบตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันดังกล่าว และถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังโดยชอบแล้ว ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนการอ่านคำพิากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะในส่วนที่อ่านให้จำเลยฟัง และให้ศาลชั้นต้นนัดจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเนื่องจากทนายความไม่มีอำนาจ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอ้างว่า จำเลยมิได้ลงชื่อแต่งตั้งให้ ว.เป็นทนายความของจำเลย แต่ ว.ได้รับสำเนาคำฟ้องโจทก์ ทำคำให้การแก้คดี และดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายความของจำเลยตลอดมา เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นหลงผิดดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจนกระทั่งมีคำพิพากษาตามยอม ให้จำเลยชดใช้เงินแก่โจทก์โดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วยนั้น หากข้อเท็จจริงเป็นดังคำร้องของจำเลย กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะเท่ากับไม่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และหากจำเลยต้องผูกพันถูกบังคับตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว โดยไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้จำเลยย่อมได้รับความเสียหายและไม่ได้รับความยุติธรรม จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้