พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินในการรื้อถอนสิ่งรุกล้ำ และขอบเขตการใช้สิทธิในที่ดินตามกฎหมาย
จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมมีสิทธิเหนือพื้นดินโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะสร้างรางน้ำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยและจำเลยมีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์สอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของตนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยรื้อรางน้ำดังกล่าวโดยเชื่อว่าได้รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิในที่ดินตามสมควรแก่การสร้างตึกแถวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336 ไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2762/2523)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายเพื่อร่วมเป็นโจทก์กับอัยการ ไม่ตัดสิทธิอัยการในการฟ้องคดีใหม่
การถอนฟ้องของผู้เสียหายในคดีความผิดต่อส่วนตัวที่จะเป็นการตัดสิทธิพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องคดีใหม่นั้น ต้องเป็นการถอนฟ้องเด็ดขาด
ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัว เพื่อไปเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในสำนวนคดีเรื่องเดียวกัน หาใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 ไม่ จึงไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีใหม่
ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัว เพื่อไปเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในสำนวนคดีเรื่องเดียวกัน หาใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 ไม่ จึงไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: การที่จำเลยดำเนินคดีต่อไม่ได้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์ฉ้อโกง อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 348 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้แล้วโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความจะใช้หนี้ให้แก่ผู้กล่าวหาร้องทุกข์ แต่แล้วโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อผู้กล่าวหาร้องทุกข์ยังมิได้ถอนคำร้องทุกข์และยืนยันให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ต่อไป ทำให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเข้าใจว่าผู้กล่าวหาร้องทุกข์ยังมีสิทธิขอให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ต่อไปได้ จึงดำเนินคดีแก่โจทก์ต่อมาเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: การที่จำเลยดำเนินคดีต่อเมื่อผู้กล่าวหายังยืนยันดำเนินคดี ไม่ถือเป็นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์ฉ้อโกง อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 348 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้แล้วโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความจะใช้หนี้ให้แก่ผู้กล่าวหาร้องทุกข์ แต่แล้วโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อผู้กล่าวหาร้องทุกข์ยังมิได้ถอนคำร้องทุกข์และยืนยันให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ต่อไป ทำให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเข้าใจว่าผู้กล่าวหาร้องทุกข์ยังมีสิทธิขอให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ต่อไปได้ จึงดำเนินคดีแก่โจทก์ต่อมาเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434-435/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนผู้จัดการนิติบุคคล: เมื่อการกระทำมีมูลความผิดอาญา แม้เป็นกิจการบริษัท ก็สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้
เมื่อผู้จัดการของนิติบุคคลกระทำการซึ่งมีมูลเป็นความผิดทางอาญา แม้จะกระทำในกิจการของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้จัดการนั้นก็อาจถูกควบคุมในระหว่างสอบสวนได้ในเมื่อตกเป็นผู้ต้องหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341-1342/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกง: การมอบทรัพย์ตามคำหลอกลวงไม่เป็นความผิด
การส่งมอบทรัพย์ให้ไปตามคำหลอกลวงของจำเลยที่ว่าจะช่วยให้เข้ารับราชการนั้น ไม่ใช่การกระทำอันมีความประสงค์ผิดกฎหมาย ผู้ส่งทรัพย์จึงเป็นผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์ เพื่อให้อัยการฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341-1342/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกง: การมอบทรัพย์ตามคำหลอกลวงไม่ใช่ความผิดทางอาญา
การส่งมอบทรัพย์ให้ไปตามคำหลอกลวงของจำเลยที่ว่าจะช่วยให้เข้ารับราชการนั้น ไม่ใช่การกระทำอันมีความประสงค์ผิดกฎหมาย ผู้ส่งทรัพย์จึงเป็นผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์ เพื่อให้อัยการฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงได้