พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4974/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลพิจารณาคำร้องส่งตัวผู้ต้องหาตรวจยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ ไม่ใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของพนักงานสอบสวนที่ร้องขอให้ส่งตัวผู้ต้องหาไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ไม่ใช่คำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ดังนี้ เมื่อผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสองครั้งจึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่จะพิจารณาคดี การที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/60)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/60)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษปรับรายวันและการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาล, อำนาจดุลพินิจศาลในการลดโทษ, และข้อจำกัดในการฎีกา
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 47 ทวิ กำหนดให้มีการปิดประกาศคำสั่งที่ให้ระงับการก่อสร้างและที่ให้รื้อถอนไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ อาคารหรือบริเวณที่มีการกระทำดังกล่าว และให้ถือว่าผู้ซึ่งจะต้องรับคำสั่งได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วเมื่อพ้นกำหนดสามวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว ดังนั้น จึงต้องเริ่มนับวันที่ปิดประกาศคำสั่งเป็นวันแรกของการนับระยะเวลาที่ให้ถือว่าจำเลยทั้งสองทราบคำสั่งและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง
ตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 78 เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษให้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้ซึ่งเป็นบทบัญญัติในการใช้ดุลพินิจในการลงโทษให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์ของผู้กระทำความผิดเป็นรายบุคคลไป หาใช่บทบัญญัติให้ศาลต้องแสดงเหตุผลเมื่อไม่ลดโทษให้ผู้กระทำความผิด ทั้งการที่ศาลชั้นต้นไม่ระบุเหตุผลอาจเพราะเห็นว่าไม่จำเป็นหรือเห็นว่าไม่สมควรลดโทษในส่วนโทษปรับรายวันให้ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล ฉะนั้น การที่ศาลไม่ได้ลดโทษปรับรายวันให้จำเลยทั้งสองโดยไม่ระบุเหตุผล จึงไม่ใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีโดยไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 78
ตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 78 เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดโทษให้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้ซึ่งเป็นบทบัญญัติในการใช้ดุลพินิจในการลงโทษให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์ของผู้กระทำความผิดเป็นรายบุคคลไป หาใช่บทบัญญัติให้ศาลต้องแสดงเหตุผลเมื่อไม่ลดโทษให้ผู้กระทำความผิด ทั้งการที่ศาลชั้นต้นไม่ระบุเหตุผลอาจเพราะเห็นว่าไม่จำเป็นหรือเห็นว่าไม่สมควรลดโทษในส่วนโทษปรับรายวันให้ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล ฉะนั้น การที่ศาลไม่ได้ลดโทษปรับรายวันให้จำเลยทั้งสองโดยไม่ระบุเหตุผล จึงไม่ใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีโดยไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ขาดองค์ประกอบความผิดอาญา: ศาลฎีกายืนยกฟ้องกรณีความผิดฐานบุกรุกทำร้ายร่างกายและพาอาวุธ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย ณ. ตาม ป.อ. มาตรา 83, 295 และข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปทำร้ายร่างกาย ณ. ในเคหสถานซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม ซึ่งวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตลอดจนสาระแห่งการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นเหตุการณ์เดียวกันกับข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงเป็นเรื่องการกระทำกรรมเดียวกันแต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกาย ณ. ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ถือได้ว่ามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสองของโจทก์ในคดีนี้ย่อมเป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 พาไม้ขนาดเท่าใดไม่ปรากฏชัด เป็นอาวุธติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ และใช้ไม้เป็นอาวุธตีทำร้าย ณ. แต่โจทก์ไม่ได้กล่าวบรรยายในฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดในข้อหาดังกล่าวว่า เป็นการพาอาวุธโดยเปิดเผยหรือไม่มีเหตุสมควรมาด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่และปัญหาเรื่องฟ้องขาดองค์ประกอบความผิด ล้วนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 พาไม้ขนาดเท่าใดไม่ปรากฏชัด เป็นอาวุธติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ และใช้ไม้เป็นอาวุธตีทำร้าย ณ. แต่โจทก์ไม่ได้กล่าวบรรยายในฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดในข้อหาดังกล่าวว่า เป็นการพาอาวุธโดยเปิดเผยหรือไม่มีเหตุสมควรมาด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่และปัญหาเรื่องฟ้องขาดองค์ประกอบความผิด ล้วนเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10778/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณปริมาณยาเสพติดเพื่อลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ต้องแยกคำนวณตามชนิดยาเสพติดในแต่ละอนุมาตรา
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีจำนวนหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม" และตามบทบัญญัติ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม ได้แยกสารเสพติดให้โทษในประเภท 1 ออกเป็น 3 อนุมาตราตาม (1) (2) (3) แต่ละอนุมาตรากำหนดให้ยาเสพติดให้โทษแต่ละชนิดมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือมีจำนวนหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิอันเป็นข้อสันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแยกต่างหากจากกัน ปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หรือจำนวนหน่วยการใช้หรือน้ำหนักสุทธิของยาเสพติดให้โทษแต่ละอนุมาตราจึงต้องคำนวณจากยาเสพติดให้โทษในอนุมาตราเดียวกันไม่อาจนำยาเสพติดให้โทษในอนุมาตราอื่นมาคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์รวมกันได้ ดังนั้นการที่ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และมีปริมาณสารบริสุทธิ์ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม หรือไม่ จึงต้องรวมปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ของยาเสพติดให้โทษตามมาตรา 15 วรรคสาม เฉพาะในอนุมาตราเดียวกัน เมื่อตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสาม บัญญัติว่า "ถ้ายาเสพติดให้โทษตามวรรคหนึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินยี่สิบกรัมขึ้นไปต้องระวางโทษ..." ยาเสพติดให้โทษดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินยี่สิบกรัมหรือไม่จึงต้องรวมปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์จากยาเสพติดให้โทษตามมาตรา 15 วรรคสาม อนุมาตราเดียวกันเช่นเดียวกับวรรคหนึ่งด้วย แม้เมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ด้วยกัน และการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวกัน แต่เมื่อเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษต่างชนิดกัน และบัญญัติอยู่ในมาตรา 15 วรรคสาม ต่างอนุมาตรากันจึงไม่อาจนำสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนมาคำนวณรวมกันเพื่อลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคสาม ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7005/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อเมื่อจำเลยรับสารภาพ และศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาโดยจำเลยไม่คัดค้าน
การที่จำเลยขอให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ในคดีที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงของศาลชั้นต้นอีกคดีหนึ่ง และโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องขอให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าว ทั้งความก็ปรากฏต่อศาลชั้นต้นว่า คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อนั้น ได้มีคำพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจในการใช้ดุลพินิจนับโทษต่อได้ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏต่อศาลเอง โดยจำเลยไม่ได้แถลงหรืออุทธรณ์คัดค้านให้เห็นเป็นอย่างอื่น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจนับโทษจำเลยต่อจากโทษจำคุกในคดีดังกล่าว จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6790/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษยาเสพติด: โจทก์ต้องพิสูจน์ประวัติโทษจำเลย แม้จำเลยรับสารภาพ
แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 มิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ที่โจทก์ต้องนำสืบในข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษในคดีที่โจทก์อ้างเพื่อขอเพิ่มโทษตามฟ้องนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การเพิ่มโทษจำเลยอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ได้แถลงรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงต้องนำสืบให้ปรากฏถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น คำให้การของจำเลยที่ให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ตลอดข้อกล่าวหา เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามที่กล่าวหาในฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษในคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยรับในเรื่องการเพิ่มโทษ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษในคดีที่โจทก์อ้างเพื่อขอเพิ่มโทษ เช่นนี้แล้วไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 97 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6664/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดลหุโทษ ไม่อาจเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้
พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 64 บัญญัติว่า "ผู้ใดขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" และ ป.อ. มาตรา 102 ที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยกระทำความผิดบัญญัติว่า "ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามานี้ด้วยกัน" ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดที่บัญญัติว่า "ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ทั้ง ป.อ. มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติในภาค 1 อันรวมถึง มาตรา 102 ไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้น ๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องนำ ป.อ. มาตรา 102 ที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมาปรับแก่คดีนี้ด้วย ดังนี้ ความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถจึงเป็นความผิดลหุโทษ เมื่อ ป.อ. มาตรา 94 บัญญัติว่า "ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และความผิดซึ่งผู้กระทำได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีนั้น ไม่ว่าจะได้กระทำในครั้งก่อนหรือครั้งหลัง ไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษตามความในหมวดนี้" ซึ่งหมายความว่า ความผิดลหุโทษไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษในการกระทำความผิดอีกตาม ป.อ. มาตรา 92 เมื่อ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำ ป.อ. มาตรา 94 มาปรับแก่คดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 17 ด้วยเช่นกัน กรณีจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถตาม ป.อ. มาตรา 92 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6256/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทำประโยชน์ในป่าสงวน: การไม่มีกรรมสิทธิ์ทำให้ขาดอำนาจฟ้องคดีรบกวนการครอบครอง
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 16 (1) ให้อำนาจอธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีอนุญาตให้โจทก์เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเท่านั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัย ที่ดินดังกล่าวจึงยังไม่เป็นของโจทก์ แม้จำเลยจะเข้ายึดถือครอบครองก็ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการรบกวนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3637/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวความผิดหลายบท: การใช้เอกสารปลอมเพื่อเปิดบัญชีธนาคาร
การที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียหายที่ 1 และนำไปใช้แสดงต่อ ภ. พนักงานธนาคารออมสิน ผู้เสียหายที่ 2 จากนั้นจำเลยทำเอกสารคำขอเปิดบัญชี แบบคำขอใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ แบบแสดงข้อมูลลูกค้าและเอกสารเงื่อนไขการใช้บริการบัญชีเงินฝากและบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้เสียหายที่ 2 โดยกรอกข้อมูลในแบบคำขอเปิดบัญชี แบบคำขอใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ว่า จำเลยชื่อ ส. เป็นผู้ขอเปิดบัญชีและแสดงข้อมูลลูกค้าของผู้เสียหายที่ 1 กับปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ในช่องลงชื่อผู้ขอใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์และในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน แล้วนำแบบคำขอเปิดบัญชี แบบคำขอใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ แบบแสดงข้อมูลลูกค้าและเอกสารเงื่อนไขการใช้บริการบัญชีเงินฝากและบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียหายที่ 1 ดังกล่าวไปยื่นแสดงต่อ ภ. เพื่อขอเปิดบัญชีและใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์กับผู้เสียหายที่ 2 นั้น เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงกันโดยมีเจตนาเพื่อให้ผู้เสียหายที่ 2 เปิดบัญชีเงินฝากและทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่จำเลยเป็นหลัก แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องการกระทำความผิดของจำเลยแยกออกเป็นข้อ ๆ และการกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ในแต่ละข้อเป็นความผิดสำเร็จในตัวก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเสพยาเสพติดภายใต้ พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ กรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนฟื้นฟู และถูกดำเนินคดีซ้ำ
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 นั้น ผู้ที่จะถูกส่งตัวไปเข้ารับการฟื้นฟูคือบุคคลตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 ไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูหรือไม่ก็ตาม โดยศาลจะมีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดก่อน และคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจวินิจฉัยว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ผู้ใดเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด จากนั้นต้องจัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 22 จำเลยกระทำผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง ข้อ 1 ก. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2553 ก่อนการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1 ข. ในระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม 2555 ถึงวันที่ 26 ตุลาคม 2555 นั้น จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แต่จำเลยรายงานตัวไม่ครบตามกำหนดนัดถือว่าไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 30 และมาตรา 31 พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจจับจำเลยเข้าไปไว้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อบำบัดฟื้นฟูและให้มีอำนาจลงโทษตาม มาตรา 32 แต่เมื่อได้ตัวจำเลยมาดำเนินคดีนี้แล้ว ไม่ปรากฏว่าคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยตามฟ้อง ข้อ 1 ก. และยังถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง การที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของจำเลยในการกระทำความผิดตามฟ้องข้อ 1 ข. ว่าผลการฟื้นฟู ไม่เป็นที่น่าพอใจในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนครั้งแรกซึ่งต้องดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน และถือว่าจำเลยอยู่ระหว่างต้องหาหรือถูกดำเนินคดีอื่นซึ่งมีโทษจำคุกไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ต่อไป โดยยังไม่ได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามฟ้องข้อ 1 ข. เช่นกัน