คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธี ชอบธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้คำดูหมิ่นเหยียดหยามไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท
โจทก์มีอาชีพทนายความ วันเกิดเหตุโจทก์ไปพบจำเลยที่บ้านจำเลยเพื่อเจรจาตกลงเกี่ยวกับการซื้อขายบ้านและการออกเช็คซึ่งโจทก์สั่งจ่ายแก่สามีจำเลย แต่ไม่เป็นที่ตกลงกันเมื่อโจทก์เดินออกมาจำเลยพูดว่า "ไอ้ทนายกระจอกไอ้ทนายเฮงซวย" ดังนี้ การใช้ถ้อยคำดังกล่าวเป็นการพูดดูหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ให้ได้รับความอับอายและเจ็บใจเท่านั้น หาใช่เป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังไม่ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางภาษี การนับระยะเวลาฟ้องคดี และอำนาจฟ้อง
คนยามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้จากบุรุษไปรษณีย์ ณ สำนักงานใหญ่ที่บริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนไว้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2513 ดังนี้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้รับแจ้งความคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามความในประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ในวันนั้นแล้ว พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์นำสืบซึ่งทำให้ที่ปรึกษากฎหมายของโจทก์ได้รับเอกสารดังกล่าวในวันที่ 1 กันยายน 2513นั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าหน้าที่ของตนจะนำมาใช้ยันต่อจำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 30 กันยายน 2513 เกินกำหนด30 วัน คดีโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิริบเงินมัดจำจากสัญญาจะซื้อขายหลังล้มละลาย: การสวมสิทธิเจ้าของเดิม & ผลกระทบจากคำสั่งไม่ยอมรับสิทธิ
จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินและวางเงินมัดจำไว้จำนวนหนึ่ง ต่อมาจำเลยไม่สามารถชำระราคา เกรงจะถูกริบเงินมัดจำ จึงให้ผู้ร้องชำระราคาที่เหลือให้ผู้ร้องครอบครองและรับโอนมา โดยผู้ร้องกับจำเลยตกลงกันว่าผู้ร้องจะต้องขายที่ดินนี้ให้แก่จำเลยภายใน 1 ปี และให้ถือว่าเงินที่จำเลยวางมัดจำไว้เป็นเงินมัดจำที่จำเลยวางกับผู้ร้อง ดังนี้เป็นการแสดงเจตนาร่วมกันให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิของเจ้าของที่ดินนั่นเอง ปรับได้กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าผู้ร้องมิได้รับเงินมัดจำเป็นตัวเงินนั้น หาได้ลบล้างการแสดง เจตนาของคู่กรณีหรือทำให้ผลในกฎหมายของกรณีนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เงินนี้จึงเป็นเงินมัดจำ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้มีอยู่ต่อบุคคลใดตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯนั้น มีความหมายว่า ในฐานะที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่าจะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นเช่นผู้ร้องจะพึงได้รับไป ฉะนั้น ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าว จึงมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องตามข้อสัญญาในการที่จะริบเงินมัดจำต้องสูยเสีบไปแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันและการเลิกกันแล้วต่อกันเมื่อมีการชำระหนี้ตามสัญญา การโอนหุ้นถือเป็นการชำระหนี้
โจทก์จำเลยกับพวกอีก 4 คนได้เข้าหุ้นร่วมกันทำการค้าตั้งภัตตาคาร และตกลงกันว่าจะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดแต่แล้วกิจการไม่ดีต้องเรียกค่าหุ้นเพิ่มอีก 200,000 บาท ในการเรียกค่าหุ้นเพิ่มนี้โจทก์จำเลยกับพวกได้ทำสัญญากันไว้ว่า ผู้ถือหุ้นทุกคนตกลงให้บริษัทฯกู้เงินจากโจทก์200,000 บาท และให้ลงบัญชีให้โจทก์เป็นเจ้าหนี้บริษัทฯโดยไม่ต้องขอมติที่ประชุมบริษัทฯอีก จำเลยกับพวกอีก 4 คนยอมเป็นผู้ค้ำประกัน หากหนี้รายนี้ไม่มีวิธีอื่นหรือไม่สะดวกที่จะบังคับได้ ผู้ค้ำประกันยอมโอนขายหุ้นของแต่ละคนให้โจทก์ตามราคาในใบหุ้น ดังนี้ สัญญาที่ทำขึ้นนี้หาใช่สัญญาที่จำเลยกับพวกกู้เงินโจทก์ไม่ แต่เป็นสัญญาที่บริษัทฯเป็นผู้กู้ และจำเลยกับพวกเป็นผู้ค้ำประกันโดยกำหนดวิธีการแก้ไขให้โจทก์ได้เงินกู้คืนไว้ล่วงหน้าว่า ให้จำเลยกับพวกโอนขายหุ้นของตนให้โจทก์เท่านั้น เมื่อต่อมาไม่มีการตั้งบริษัทขึ้น และจำเลยกับพวกได้ขายหุ้นของตนที่มีอยู่ในภัตตาคารให้โจทก์ไปหมดทุกคนแล้ว ก็ย่อมเป็นอันเลิกแล้วต่อกัน ไม่มีหนี้ต่อกันอีก โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญาดังกล่าวจากจำเลยตามส่วนเฉลี่ยที่จำเลยรับผิดชอบอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในข้อเท็จจริงต้องพิจารณาจากทุนทรัพย์เดิมที่ฟ้องในศาลชั้นต้น และการพิจารณาค่าใช้จ่ายในการเตรียมสมรส
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้น เรียกค่าทดแทนความเสียหายจากจำเลย 26,050 บาทจำเลยปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทดแทนความเสียหาย 4,320 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้ 1,220 บาท โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยใช้ค่าทดแทนความเสียหายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ แม้ในชั้นฎีกา คดีจะมีทุนทรัพย์ 3,100 บาท แต่จำนวนทุนทรัพย์แห่งคดีที่จะพิจารณาว่าโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องถือตามทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้น มิใช่ถือตามทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา เมื่อคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นจำนวน 26,050 บาท โจทก์จึงฎีกาในข้อเท็จจริงได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2518)
ค่าอาหารเลี้ยงพระและแขกในวันแต่งงาน ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเนื่องในการเตรียมการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในความผิดเดิมหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด และผลกระทบต่อผู้ร่วมกระทำผิด
คดีก่อนผู้เสียหายฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ในข้อหาบุกรุกความผิดต่อเสรีภาพ และ ทำให้เสียทรัพย์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ต่อมาพนักงานอัยการได้นำการกระทำอันเดียวกันกับคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกในข้อหาบุกรุก แม้คดีก่อนศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืนคดีถึงที่สุดหลังจากที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีนี้ก็ตามก็ถือได้ว่าสำหรับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธิของพนักงานอัยการที่นำคดีนี้มาฟ้องจึงระงับไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มุ่งหมายถึงการกระทำที่ก่อให้เกิดความผิดนั้นๆ หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษจำเลยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2509)
แม้จำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนก็ตาม แต่ก็ย่อมได้รับผลตามคำพิพากษาด้วยเพราะคำพิพากษาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ว่าการกระทำของจำเลยกับพวกไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก ศาลจึงต้องยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการกระทำละเมิดส่วนตัว หน่วยงานไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นบุรุษไปรษณีย์ ได้ขับรถยนต์ของกรมไปรษณีย์ฯจำเลยที่ 2 ไปเก็บไปรษณีย์ภัณฑ์ตามตู้ไปรษณีย์ตามหน้าที่ และจอดรถไว้ที่ขอบถนน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานควบคุมการจราจรบอกให้จำเลยที่ 1 ไปจอดรถบนไหล่ถนน เพราะการจราจรคับคั่งจำเลยที่ 1 ด่าโจทก์แล้วกลับไปขึ้นรถ โจทก์ตามไปยืนเอามือเท้าขอบประตูรถตรงที่นั่งคนขับและชะโงกศีรษะเข้าไปในรถแจ้งข้อหาว่าดูหมิ่นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 1 ขับรถออกไปโดยเร็วและผลักโจทก์ตกจากรถ ทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บ การที่จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมโดยขับรถเคลื่อนออกไปและผลักโจทก์ตกจากรถจนได้รับบาดเจ็บนี้เป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 1 และเป็นการทำร้ายร่างกายกันโดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และไม่ได้เป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ส่งสินค้ากรณีสุนัขตายระหว่างขนส่ง สิทธิไม่ตกเป็นของผู้รับตราส่ง
บริษัทโจทก์ทำสัญญาขายสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพอดรวม 20 ตัวให้กรมตำรวจ และได้ตกลงว่าจ้างบริษัทจำเลยขนส่งสุนัขดังกล่าวโดยเครื่องบินจากประเทศเยอรมันตะวันตกมายังท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อส่งให้แก่กรมตำรวจ เมื่อจำเลยขนส่งสุนัขมาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองอันเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่งปรากฏว่าสุนัขตายไป 12 ตัว อีก 8 ตัวมีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากความผิดของบริษัทจำเลยที่มิได้จัดให้มีอากาศหายใจ เพียงพอสำหรับสุนัขเหล่านั้น กรรมการบริษัทโจทก์ที่ไปรับมอบจึงได้รับสุนัขที่ยังมีชีวิตจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยมาเพียง 8 ตัว ดังนี้ เมื่อปรากฏว่ากรมตำรวจผู้รับตราส่งยังมิได้เรียกให้ส่งมอบสุนัขตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 สิทธิทั้งหลายของบริษัทโจทก์ผู้ส่งสุนัขอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นจึงยังมิได้ตกไปได้แก่กรมตำรวจผู้รับตราส่ง โจทก์ในฐานะผู้ส่งจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเช็ค: การต่อสู้เรื่องผู้ทรงโดยชอบ/เจตนาทุจริตในการเรียกเก็บเงิน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คที่จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายชำระหนี้ค่าเช่าและค่าซื้อกรรมสิทธิ์ภาพยนตร์ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทำสัญญาซื้อกากฟิล์มภาพยนตร์จาก ล. และ พ. บุคคลทั้งสองมอบให้บริษัท น. ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการเป็นตัวแทนนำฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวมอบให้จำเลย และรับมอบเช็คของจำเลยไว้ โจทก์สมคบกับ ล. และ พ. ไม่นำกากฟิล์มภาพยนตร์ส่งจำเลยให้ครบ และนำกากฟิล์มไปจำนำต่อบุคคลอื่น ให้บุคคลอื่นฉายหาประโยชน์ทำให้โจทก์เสียหายแสดงว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าเช็คที่โจทก์ฟ้องไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระ และโจทก์กับ ล. และ พ. คบคิดกันไม่สุจริต นำเช็คมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลยนั้นเองจึงมีประเด็นที่จะต้องนำสืบพยานกันต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแยกจากคดีอาญา การวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นที่สุด
นายทะเบียนการค้าวินิจฉัยว่าเครื่องหมาย "LEVIE" ของโจทก์คล้าย "LEVI'S" ของจำเลย โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและจำเลยไม่ฟ้องศาล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการว่าเครื่องหมายของโจทก์คล้ายของจำเลยฯจึงเป็นที่สุด โจทก์ฟ้องคดีอีกไม่ได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีอาญาว่าเครื่องหมาย LEVIE ของโจทก์ไม่เลียนเครื่องหมาย LEVI'S ของจำเลยก็ตาม ไม่ทำให้สิทธิขอจดทะเบียนการค้ากระทบกระเทือน เพราะเป็นการวินิจฉัยคนละทางกัน ข้อเท็จจริงในคดีอาญาว่าโจทก์ไม่ได้เลียนเครื่องหมายการค้าเป็นคนละเรื่องกับโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือไม่ คณะกรรมการวินิจฉัยเครื่องหมายเฉพาะตัวหนังสือถือว่าคณะกรรมการมีเจตนาไม่สุจริตไม่ได้วิธีการวินิจฉัยมีอย่างไรเป็นสิทธิของคณะกรรมการโดยเฉพาะ
of 35