คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธี ชอบธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องเรียกเงินชำระหนี้จากเช็คและการเลือกใช้สิทธิทางแพ่ง
การที่โจทก์นำเช็คพิพาทซึ่งจำเลยสั่งจ่ายไปฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาแล้วมาฟ้องเรียกเงินทางแพ่งจากจำเลยอีกนั้น หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
จำเลยซื้อเชื่อสินค้าไปจากโจทก์และได้ลงนามรับสินค้าไว้ในใบสั่งของทุกครั้ง เมื่อคิดบัญชีกันปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง จำเลยจึงออกเช็คตามจำนวนนั้นชำระหนี้ให้โจทก์ดังนี้เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ย่อมฟ้องบังคับจำเลยได้สองทาง คือฟ้องเรียกเงินตามเช็คก็ได้หรือจะฟ้องเรียกเงินค่าซื้อสินค้าตามใบสั่งของก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1018/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนคดีโดยทนายโจทก์ที่เพิ่งแต่งตั้ง: ศาลฎีกาพิจารณาเหตุผลสมควรและไม่เป็นการประวิงคดี
ทนายโจทก์คนแรกได้ขอถอนตัวจากการเป็นทนายให้โจทก์ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2516 ต่อมาวันที่ 3 ธันวาคม 2516 โจทก์แต่งตั้งให้ ส.เป็นทนายคนใหม่ และในวันเดียวกันนั้น ส. ก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลจังหวัดนครปฐมซึ่งนัดไว้ก่อน ดังนี้การขอเลื่อนคดีของ ส.ทนายโจทก์เป็นการขอเลื่อนครั้งแรก และได้ยื่นคำร้องก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่า "หากทนายไม่ว่าง ให้รีบแถลงศาล" เหตุที่ขอเลื่อนก็เป็นเหตุสมควร ไม่ใช่เป็นการประวิงคดี ทั้งทนายจำเลยก็มิได้คัดค้านคำร้องขอเลื่อนคดีของโจทก์ จึงสมควรให้เลื่อนคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่จำต้องสอบถามคำให้การจำเลย และการงดสืบพยาน
จำเลยแถลงว่าจะยื่นคำให้การแล้วไม่ยื่น ศาลไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้สอบถามคำให้การจำเลย โจทก์จำเลยตกลงกันให้ศาลพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวน ซึ่งมีคำพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอื่นและงดสืบพยานในคดีนี้ ถือว่ามีการพิจารณาต่อหน้าจำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ไม่ได้ พิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สรรพากรจังหวัดประมาทเลินเล่อไม่ตรวจตัดปีภาษี ทำให้เกิดการทุจริตและเสียหายต่อภาษีอากร
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ได้ละเลยไม่ควบคุมตรวจตราในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่2 และของ ส.เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและทำให้ ส. ทุจริตยักยอกเงินไปตามจำนวนในฟ้องการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รับความเสียหายแม้ฟ้องโจทก์จะไม่บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ไม่ตรวจแบบรายการเสียภาษีบัญชีงบเดือนเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินฉบับใด เดือนใด ปีใด จำนวนเท่าใด ไม่ตรวจตัดปีที่ไหน ก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบทั้งจำเลยที่ 3 ก็ให้การต่อสู้คดีได้โดยไม่ผิดหลง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
เงินที่ ส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมายกรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้วส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้องคดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรม ได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส. ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเองเมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลังกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วยและได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าวฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือนมีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบส. เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส. รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปีพ.ศ.2503 จนถึงปลายปีพ.ศ.2505ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่งๆ ไม่ตรงกันและเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส. ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ.2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้การกระทำของจำเลยที่3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สรรพากรจังหวัดละเลยการตรวจตัดปีภาษี ทำให้เกิดการทุจริตและเสียหายต่อรัฐ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยที่ 3 ได้ละเลยไม่ควบคุมตรวจตราในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และของ ส.เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและทำให้ ส.ทุจริตยักยอกเงินไปตามจำนวนในฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ฟ้องโจทก์จะไม่บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ไม่ตรวจแบบรายการเสียภาษีบัญชีงบเดือน เงินผลประโยชน์ของแผ่นดินฉบับใด เดือนใด ปีใด จำนวนเท่าใด ไม่ตรวจตัดปีที่ไหน ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบ ทั้งจำเลยที่ 3 ก็ให้การต่อสู้คีดได้โดยไม่ผิดหลง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เคลือบคลุม
เงินที่ ส.เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอยักยอกไป เป็นเงินภาษีอากรซึ่งกรมสรรพากรมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บตามกฎหมาย กรมสรรพากรเป็นหน่วยราชการขึ้นต่อกระทรวงการคลังโจทก์ เมื่อ ส. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในบังคับบัญชาของโจทก์จัดเก็บเงินภาษีอากรดังกล่าวมาได้ ย่อมเป็นเงินผลประโยชน์ของแผ่นดินอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับเงินนี้
การมอบอำนาจให้ดำเนินการฟ้องร้องนั้น ย่อมรวมถึงมอบอำนาจให้ดำเนินคดีต่อไปหลังจากฟ้องคดีแล้วด้วย
กรณีข้าราชการกระทำละเมิดต่อทางราชการนั้น จะถือว่ากรมหรือกระทรวงเจ้าสังกัดรู้การละเมิดและตัวผู้ต้องรับผิดตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่เบื้องต้นในกรมหรือกระทรวงเสนอความเห็นหาได้ไม่ ต้องนับตั้งแต่วันที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องราวและความเห็นนั้นแล้ว ส. เป็นข้าราชการสังกัดกรมสรรพากรยักยอกทรัพย์ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรเป็นนิติบุคคล มีอำนาจที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ ฉะนั้นถ้ากรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนมาเกินหนึ่งปีแล้วไม่มีการฟ้องร้อง คดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรมสรรพากรเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงการคลัง ถ้ากระทรวงการคลังมาเป็นโจทก์ฟ้องภายหลังหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ก็ต้องถือว่าขาดอายุความเช่นเดียวกัน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 226,227/2505) อธิบดีกรมสรรพากรกับ อ.ก.พ.กรมได้ประชุมกัน 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาหาตัวผู้จะต้องรับผิดในทางแพ่ง กรณี ส.ยักยอกทรัพย์ ในการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมเห็นว่าจำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิด แสดงว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้ต้องรับผิดใช้เงินรายนี้ในวันเสร็จสิ้นการประชุมครั้งสุดท้ายนั่นเอง เมื่อกรมสรรพากรรายงานมติการประชุมไปยังกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วสั่งให้จำเลยที่ 3 รับผิดด้วย และได้ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้ภายในหนึ่งปีนับแต่กรมสรรพากรรู้ดังกล่าว ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 ยังไม่ขาดอายุความ
กรมสรรพากรได้กำหนดวิธีการตรวจตัดปีไว้ให้ตรวจเป็นรายเดือน มีรายละเอียดวิธีตรวจเป็นข้อ ๆ และระบุให้สรรพากรจังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบ ส.เสมียนพนักงานแผนกสรรพากรอำเภอได้เริ่มทำการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากรที่ ส.รับชำระไว้ไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 จนถึงปลายปี พ.ศ. 2505 ถ้าจำเลยที่ 3 ซึ่งดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัดปฏิบัติการตรวจตัดปีตามวิธีการที่กำหนดทุกเดือน ก็จะทราบว่ายอดเงินในแบบรายการเสียภาษีกับยอดเงินที่เก็บได้ในเดือนหนึ่ง ๆ ไม่ตรงกัน และเหตุที่ไม่ตรงกันก็เพราะ ส.ได้กระทำการทุจริต แต่จำเลยที่ 3 มิได้ทำการตรวจตัดปีเป็นรายเดือนตามระเบียบ จึงเพิ่งตรวจพบยอดเงินไม่ตรงกันในปลายปี พ.ศ. 2505 แม้จำเลยที่ 3 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่นทำการตรวจสอบแทนก็ตาม จำเลยที่ 3 ผู้เป็นสรรพากรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และของ ส. ก็ยังคงต้องรับผิดชอบอยู่นั่นเอง เพราะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมงาน มีหน้าที่ควบคุมการเก็บหรือรับเงินผลประโยชน์ จะต้องไม่ละเลยการตรวจตราในหน้าที่ตามระเบียบการที่ได้วางไว้ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินภาษีอากรที่โจทก์จะพึงได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สินบริรุณภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อพินัยกรรม
การให้สินบริคณห์โดยเสน่หาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม ซึ่งสามีทำได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมของภรรยาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 นั้น ผู้ได้รับการยกให้ต้องมีความสัมพันธ์หรือมีฐานะชอบด้วยกฎหมาย จำเลยผู้รับให้เป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่เป็นการให้ที่ยกเว้นตามมาตรานี้ แต่ไม่ใช่เรื่องโมฆะกรรมหรือโมฆียะเป็นแต่เพียงนิติกรรมที่ทำไปโดยไม่ชอบซึ่งภริยาเพิกถอนได้
สามีทำพินัยกรรมฉบับหลังว่ามิให้พินัยกรรมฉบับแรกที่ยกทรัพย์ให้ภริยาทั้งหมดมีผลกระทบถึงทรัพย์ที่ยกให้ภริยาน้อยไปแล้วดังนี้ ภริยาน้อยได้รับที่ดินส่วนของสามีครึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361,1477
ชายออกเงินซื้อที่ดินยกให้ภริยาน้อย ที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างชายกับภริยาหลวง มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายกับภริยาน้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896-899/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ารายเดือน: การบอกเลิกสัญญาและการชำระค่าเช่าล่วงหน้า
เช่าตึกแถวค่าเช่าเดือนละ 40 บาท ชำระภายในวันที่ 5 ของเดือน เก็บค่าเช่าคราวเดียว 12 เดือน 480 บาท ยังเป็นการเช่ารายเดือน ไม่เปลี่ยนเป็นรายปี การบอกเลิกโดยให้เวลา 1 เดือน ชั่วระยะเวลาชำระค่าเช่า 1 ระยะหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้ว ชอบด้วยมาตรา 566

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมและกักขังคนงานโดยจำกัดเสรีภาพทางร่างกาย ถือเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงจ้างพวกผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวอีสานให้เป็นคนงานทำหน้าที่ปลูกมันสำปะหลังและอ้อยตัดอ้อย และดายหญ้าในไร่ของจำเลย แล้วพวกจำเลยควบคุมบังคับพวกผู้เสียหายตลอดเวลามิให้ไปไหนมาไหนโดยอิสระกักขังให้หลับนอนในเรือนพักภายในไร่ มีกลอนและโซ่คล้องใส่กุญแจไว้ภายนอกห้อง หากต้องการออกไปถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็ต้องขออนุญาต และมียามคอยเฝ้าคุมอยู่ตลอดเวลา เมื่อทำงานล่าช้าก็จะถูกตีเตะทำร้ายทั้งถูกขู่เข็ญมิให้หลบหนี มิฉะนั้นจะถูกยิง ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 และสำหรับจำเลยที่ทำร้ายร่างกายพวกผู้เสียหายย่อมมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมและกักขังคนงานในไร่เกษตรกรรม ถือเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำร้ายร่างกาย
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตกลงจ้างพวกผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวอีสานให้เป็นคนงานทำหน้าที่ปลูกมันสำปะหลังและอ้อย ตัดอ้อย และดายหญ้าในไร่ของจำเลยแล้วพวกจำเลยควบคุมบังคับพวกผู้เสียหายตลอดเวลามิให้ไปไหนมาไหนโดยอิสระ กักขังให้หลับนอนในเรือนพักภายในไร่ มีกลอนและโซ่คล้องใส่กุญแจไว้ภายนอกห้องหากต้องการออกไปถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็ต้องขออนุญาต และมียามคอยเฝ้าคุมอยู่ตลอดเวลา เมื่อทำงานล่าช้าก็จะถูกตีเตะทำร้าย ทั้งถูกขู่เข็ญมิให้หลบหนี มิฉะนั้นจะถูกยิงดังนี้การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 และสำหรับจำเลยที่ทำร้ายร่างกายพวกผู้เสียหายย่อมมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยบันดาลโทสะ: การดูหมิ่นก่อนยั่วยุไม่ถึงขั้นข่มเหงร้ายแรง
จำเลยกล่าวดูหมิ่นผู้ตายต่อหน้าบุคคลอื่นขึ้นก่อนว่าลักวัวและห้ามมิให้จำเลยลักวัวพวกจำเลยอีกการที่ผู้ตายกล่าวโต้ตอบเพื่อแก้หน้าขึ้นบ้างว่า 'มึงห้ามกูก็ไม่ฟังแต่น้องสาวมึง กูก็จะเย็ดอยู่' จึงเป็นการโต้ตอบเพื่อล้างความอาย และถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยซึ่งมีน้องสาว โกรธขึ้นมา จึงฟันผู้ตาย จึงไม่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1277/2497)
of 35