คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธี ชอบธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำโดยบันดาลโทสะ: การดูหมิ่นก่อนยั่วยุไม่ถึงขั้นข่มเหงร้ายแรง
จำเลยกล่าวดูหมิ่นผู้ตายต่อหน้าบุคคลอื่นขึ้นก่อนว่าลักวัวและห้ามมิให้จำเลยลักวัวพวกจำเลยอีกการที่ผู้ตายกล่าวโต้ตอบเพื่อแก้หน้าขึ้นบ้างว่า 'มึงห้ามกูก็ไม่ฟังแต่น้องสาวมึง กูก็จะเย็ดอยู่' จึงเป็นการโต้ตอบเพื่อล้างความอาย และถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยซึ่งมีน้องสาว โกรธขึ้นมา จึงฟันผู้ตาย จึงไม่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1277/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม: มูลหนี้จากตั๋วแลกเงินเชื่อมโยงกับสัญญาซื้อขาย, ศาลรับฟ้องแย้งได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน 4 ฉบับซึ่งจำเลยเป็นผู้รับรองโดยกล่าวในฟ้องว่า มูลค่าของตั๋วแต่ละฉบับคือมูลค่าของสินค้าซึ่งจำเลยสั่งซื้อและรับไปจากโจทก์แล้ว จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่ามูลหนี้ตามตั๋วที่โจทก์ฟ้องเกิดจากสัญญาซื้อขายเหล็กเส้นที่จำเลยซื้อจากโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงจำต้องยับยั้งการจ่ายเงินตามตั๋ว และการผิดสัญญาซึ่งเป็นมูลหนี้ของตั๋วเหล่านี้เป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย จึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังนี้ฟ้องแย้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งในคดีตั๋วเงิน: ความสัมพันธ์ระหว่างมูลหนี้ตามตั๋วกับสัญญาซื้อขาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน 4 ฉบับซึ่งจำเลยเป็นผู้รับรองโดยกล่าวในฟ้องว่า มูลค่าของตั๋วแต่ละฉบับคือมูลค่าของสินค้าซึ่งจำเลยสั่งซื้อและรับไปจากโจทก์แล้วจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่ามูลหนี้ตามตั๋วที่โจทก์ฟ้องเกิดจากสัญญาซื้อขายเหล็กเส้นที่จำเลยซื้อจากโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงจำต้องยับยั้งการจ่ายเงินตามตั๋ว และการผิดสัญญาซึ่งเป็นมูลหนี้ของตั๋วเหล่านี้เป็นเหตุให้จำเลยเสียหายจึงฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ฟ้องแย้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยาจากกิจการร่วมกัน และการกันส่วนของสินสมรสในชั้นบังคับคดี
ภริยากู้เงินโจทก์ ศาลพิพากษาให้ชำระหนี้แก่โจทก์ 6,500 บาทตามยอม เป็นหนี้ซึ่งสามีมากับภริยาเมื่อมากู้เงินด้วยเพื่อนำไปใช้ในการขับรถรับจ้างบรรทุกของ ถือว่าเกิดจากการงานที่สามีภริยาทำด้วยกันเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา1482(3) สามีขอให้กันส่วนของตนในสินสมรสที่โจทก์บังคับคดีไม่ได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอให้กันส่วนของสามีในสินบริคณห์ในชั้นบังคับคดี เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ไม่ต้องห้ามฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-845/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและผลกระทบต่อฐานะของคู่สมรส
โจทก์เป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เกิดกับภริยาคนก่อนซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสและเลิกร้างกันไปแล้วส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินให้บุตรเหล่านี้ทุกคนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสที่จำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 2 นั้นมีเนื้อที่เพียง 65 ตารางวาจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ผู้ให้เอง และได้สมรสแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหากแล้ว และไม่ปรากฏว่าขณะที่ยกให้นั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีก ถือได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิให้ได้ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 524/2506)
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เองที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานศษและเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมากถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนจำเลยที่1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษและไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้วถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้ จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-845/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส: ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและการกระทบต่อฐานะของคู่สมรส
โจทก์เป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เกิดกับภริยาคนก่อนซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสและเลิกร้างกันไปแล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินให้บุตรเหล่านี้ทุกคนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ที่ดินมีโฉนดอันเป็น สินสมรสที่จำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 2 นั้นมีเนื้อที่เพียง 65 ตารางวา จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ผู้ให้เอง และได้สมรสแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหากแล้วและไม่ปรากฏว่าขณะที่ยกให้นั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีกถือได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิให้ได้ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 524/2506)
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เอง ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานเศษ และเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมาก ถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษ และไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์ช้าไม่ได้ละเมิด หากมีเหตุผลอันควรจากหนี้สินและข้อพิพาท
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ท. ผู้ตายจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ซึ่งตามข้อกำหนดพินัยกรรมได้กำหนดหน้าที่ของจำเลยให้จัดแบ่งทรัพย์มรดกโดยเร็ว การที่จำเลยโอนทรัพย์มรดกของ ท. ให้โจทก์เมื่อ 2เมษายน2516หลังจากที่ท. ตายเป็นเวลา 5 ปีเศษเป็นเพราะมรดกมีหนี้สินเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก และมีทรัพย์นอกพินัยกรรมบางอย่างรวมอยู่ด้วยจำเลยจำต้องยื่นคำร้องต่อศาลให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อนในระหว่างจำเลยยื่นคำร้องจำเลยถูกทายาทและบุคคลภายนอกฟ้องอีก 4 คดี คดีหลังสุดได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อ 21 พฤศจิกายน2515 จำเลยต้องเสียเวลาต่อสู้คดีก็เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของกองมรดก นอกจากนี้ปรากฏว่าที่ดินตาม น.ส.3 ที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ กับที่ดินมรดกบางแปลงมีหลักฐานไม่ตรงทะเบียนจำเลยต้องดำเนินการอีกหลายอย่าง จึงจัดการโอนได้เป็นที่เรียบร้อย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อถ่วงเวลาแบ่งมรดกล่าช้าทำให้โจทก์เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกล่าช้า: ผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิดชอบหากมีเหตุสุดวิสัยและภารกิจอื่นที่ต้องจัดการ
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ท.ผู้ตาย จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ซึ่งตามข้อกำหนดพินัยกรรมได้กำหนดหน้าที่ของจำเลยให้จัดแบ่งทรัพย์มรดกโดยเร็ว การที่จำเลยโอนทรัพย์มรดกของ ท.ให้โจทก์เมื่อ 2 เมษายน 2516 หลังจากที่ ท.ตายเป็นเวลา 5 ปีเศษเป็นเพราะมรดกมีหนี้สินเกี่ยวพันกับบุคคลภายนอก และมีทรัพย์นอกพินัยกรรมบางอย่างรวมอยู่ด้วยจำเลยจำต้องยื่นคำร้องต่อศาลให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน ในระหว่างจำเลยยื่นคำร้องจำเลยถูกทายาทและบุคคลภายนอกฟ้องอีก 4 คดี คดีหลังสุดได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2515 จำเลยต้องเสียเวลาต่อสู้คดีก็เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของกองมรดก นอกจากนี้ปรากฏว่าที่ดินตาม น.ส.3 ที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกให้โจทก์กับที่ดินมรดกบางแปลง มีหลักฐานไม่ตรงทะเบียน จำเลยต้องดำเนินการอีกหลายอย่าง จึงจัดการโอนได้เป็นที่เรียบร้อย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อถ่วงเวลา แบ่งมรดกล่าช้าทำให้โจทก์เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขับไล่ลูกหนี้ออกจากที่ดินหลังการขายทอดตลาด รวมถึงการคิดค่าเสียหาย
ลูกหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ศาลสั่งเลิกการขายทอดตลาดที่ดินที่ยึดในการบังคับคดี ศาลชั้นต้นยกคำร้องระหว่างอุทธรณ์คำสั่งผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดฟ้องขอให้ขับไล่ลูกหนี้ออกจากที่ดินนั้นไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ผู้ซื้อที่ดินจากศาลขายทอดตลาดในการบังคับคดีฟ้องขอให้บังคับลูกหนี้ออกจากที่ดินแล้วร้องขอให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาออกจากที่ดินที่ซื้ออีกด้วย ศาลชั้นต้นสั่งให้ลูกหนี้ออกจากที่ดินนั้น ลูกหนี้อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์สั่งให้ทุเลาการบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นการให้ทุเลาการบังคับคดีไม่ทำให้ลูกหนี้อยู่ในที่ดินโดยไม่เป็นละเมิดแต่ศาลให้ลูกหนี้ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดตั้งแต่วันฟ้อง ไม่ใช่วันที่ผู้ซื้อรับโอนกรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 642/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความขาดเมื่อรับสภาพหนี้พ้นกำหนด และการรับสภาพหนี้ที่ไม่ถือเป็นสัญญา
การรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 นั้นต้องเป็นการรับสภาพหนี้ภายในกำหนดอายุความ
การที่จำเลยเพียงแต่มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใดและขอให้โจทก์ช่วยจัดการให้ ป.ชำระหนี้ที่ค้างให้แก่จำเลย แล้วจำเลยจะชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้โจทก์ โดยโจทก์ก็มิได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการสนองรับข้อเสนอของจำเลยดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องการรับสภาพความรับผิดโดยสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 188 วรรคท้ายไม่ (อ้างฎีกาที่ 756/2510)
of 35