คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธี ชอบธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การลงชื่อโดยสมัครใจและการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
บันทึกการแบ่งมรดกซึ่งทายาททุกคนได้ลงชื่อไว้โดยความสมัครใจไม่มีการทำกลฉ้อฉลหลอกลวง ถือได้ว่าทายาททุกคนได้ระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและขอบเขตการอุทธรณ์คดีฉ้อโกง: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ไม่อุทธรณ์ได้
คดีฉ้อโกง การที่ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว สั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจตามมาตรา 174 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าจำเป็นต้องสืบพยานต่อไปอีกหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และการที่ศาลชั้นต้นฟังว่า โจทก์มิได้ซื้อที่พิพาทเพราะหลงเชื่อคำหลอกลวงของจำเลยถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงโจทก์ ข้อนี้ก็เป็นปัญหาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องเป็นศาลแขวงโจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงจำกัดในการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีอาญาฉ้อโกง และการใช้ดุลพินิจยุติการสืบพยาน
คดีฉ้อโกง การที่ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้วสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจตามมาตรา 174 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าจำเป็นต้องสืบพยานต่อไปอีกหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และการที่ศาลชั้นต้นฟังว่า โจทก์มิได้ซื้อที่พิพาทเพราะหลงเชื่อคำหลอกลวงของจำเลยถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงโจทก์ ข้อนี้ก็เป็นปัญหาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องเป็นศาลแขวงโจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมสามีต่อการฟ้องคดีและการร่วมรับผิดในหนี้ที่เกิดจากการประนีประนอมยอมความ
สามีโจทก์อนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องที่ดิน โดยสามีโจทก์ยินยอมรับผิดร่วมด้วยกับโจทก์ ในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินคดีทุกประการ ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินคดีดังกล่าว โจทก์จำเลยตกลงกันต่อศาลให้โจทก์ทำนาพิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยโจทก์ยอมเสียค่าเช่าไร่ละ 7 ถังข้าวเปลือกคิดเป็นเงินถังละ13 บาท ถ้าจำเลยชนะคดีโจทก์จะนำค่าเช่าดังกล่าวชำระให้จำเลยภายใน 1 เดือนนับแต่เสร็จคดี การที่โจทก์ตกลงกับจำเลยเช่นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินคดีที่ฟ้อง ซึ่งสามีได้อนุญาตให้โจทก์กระทำได้ตามที่อนุญาตไว้นั่นเอง สามีโจทก์จะเถียงว่าข้อที่โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยต่อศาลเรื่องการทำนาพิพาทนั้น ไม่เกี่ยวกับการที่สามีโจทก์ได้อนุญาตให้กระทำได้นั้น ย่อมฟังไม่ขึ้น ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะคดี โจทก์ไม่ยอมชำระค่าเช่า จำเลยย่อมมีสิทธินำยึดสินบริคณห์ระหว่างโจทก์กับสามีเพื่อบังคับคดีเอาชำระค่าเช่าตามที่ตกลงกันไว้ได้ โดยจำเลยไม่ต้องขอให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของโจทก์ก่อน สามีโจทก์จะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมสามีต่อการดำเนินคดีและการรับผิดชอบหนี้ที่เกิดจากการประนีประนอมยอมความ
สามีโจทก์อนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องที่ดิน โดยสามีโจทก์ยินยอมรับผิดร่วมด้วยกับโจทก์ ในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินคดีทุกประการ ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินคดีดังกล่าว โจทก์จำเลยตกลงกันต่อศาลให้โจทก์ทำนาพิพาทจนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยโจทก์ยอมเสียค่าเช่าไร่ละ 7 ถังข้าวเปลือกคิดเป็นเงินถังละ 13 บาท ถ้าจำเลยชนะคดีโจทก์จะนำค่าเช่าดังกล่าวชำระให้จำเลยภายใน 1 เดือนนับแต่เสร็จคดี การที่โจทก์ตกลงกับจำเลยเช่นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินคดีที่ฟ้อง ซึ่งสามีได้อนุญาตให้โจทก์กระทำได้ตามที่อนุญาตไว้นั่นเอง สามีโจทก์จะเถียงว่าข้อที่โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยต่อศาลเรื่องการทำนาพิพาทนั้นไม่เกี่ยวกับการที่สามีโจทก์ได้อนุญาตให้กระทำได้นั้นย่อมฟังไม่ขึ้น ดังนั้น เมื่อศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชนะคดี โจทก์ไม่ยอมชำระค่าเช่า จำเลยย่อมมีสิทธินำยึดสินบริคณห์ระหว่างโจทก์กับสามีเพื่อบังคับคดีเอาชำระค่าเช่าตามที่ตกลงกันไว้ได้ โดยจำเลยไม่ต้องขอให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของโจทก์ก่อน สามีโจทก์จะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญก่อนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และการสงวนสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ในขณะที่เกิดเหตุละเมิดขึ้นนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรหล่อยางยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมายถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญโจทก์ในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ย่อมมีอำนาจฟ้องร้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้กระทำต่อทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนนั้นได้ และอำนาจฟ้องหรือสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อผู้กระทำละเมิดต่อทรัพย์นั้นเป็นบุคคลสิทธิ มิใช่ทรัพย์สิทธิที่ติดตามไปกับตัวทรัพย์ เมื่อสิทธิดังกล่าวได้เกิดมีขึ้นแล้ว แม้ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรหล่อยางได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนนั้นก็ตาม อำนาจฟ้องหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็หาโอนไปยังห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรหล่อยางด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
รถยนต์ของจำเลยที่ชนรถโจทก์ได้ประกันไว้กับบริษัทประกันภัยเมื่อเกิดเหตุแล้วตัวแทนบริษัทประกันภัยไปตรวจ เห็นว่ารถฝ่ายจำเลยผิดจึงได้รับรถโจทก์ไปซ่อมให้ ได้มีการไปทำบันทึกกันที่สถานีตำรวจมีข้อความตอนหนึ่งว่า ส่วนค่าเสียหายนอกจากการซ่อมซึ่งบริษัทประกันภัยรับผิดชอบ ตัวแทนของโจทก์จะไปเจรจาตกลงกันเองกับจำเลยที่ 2ผู้เป็นเจ้าของรถคันที่เป็นฝ่ายชนต่อไป บันทึกนี้เป็นเพียงบันทึกระหว่างตัวแทนโจทก์กับตัวแทนบริษัทประกันภัยเท่านั้น โจทก์หามีหน้าที่แจ้งให้จำเลยทราบไม่
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิด: ห้างหุ้นส่วนสามัญก่อนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สิทธิเรียกร้องเป็นของหุ้นส่วน
ในขณะที่เกิดเหตุละเมิดขึ้นนั้นห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรหล่อยางยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมายถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ในฐานะผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ย่อมมีอำนาจฟ้องร้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดซึ่งลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้กระทำต่อทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนนั้นได้ และอำนาจฟ้องหรือสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อผู้กระทำละเมิดต่อทรัพย์นั้นเป็นบุคคลสิทธิ มิใช่ทรัพย์สิทธิที่ติดตามไปกับตัวทรัพย์ เมื่อสิทธิดังกล่าวได้เกิดมีขึ้นแล้ว แม้ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรหล่อยางได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้างหุ้นส่วนนั้นก็ตาม อำนาจฟ้องหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็หาโอนไปยังห้างหุ้นส่วนจำกัดสหมิตรหล่อยางด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
รถยนต์ของจำเลยที่ชนรถโจทก์ได้ประกันไว้กับบริษัทประกันภัย เมื่อเกิดเหตุแล้วตัวแทนบริษัทประกันภัยไปตรวจ เห็นว่ารถฝ่ายจำเลยผิด จึงได้รับรถโจทก์ไปซ่อมให้ ได้มีการไปทำบันทึกกันที่สถานีตำรวจมีข้อความตอนหนึ่งว่า ส่วนค่าเสียหายนอกจากการซ่อมซึ่งบริษัทประกันภัยรับผิดชอบ ตัวแทนของโจทก์จะไปเจรจาตกลงกันเองกับจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของรถคันที่เป็นฝ่ายชนต่อไป บันทึกนี้เป็นเพียงบันทึกระหว่างตัวแทนโจทก์กับตัวแทนบริษัทประกันภัยเท่านั้น โจทก์หามีหน้าที่แจ้งให้จำเลยทราบไม่
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์เกิน 3 ปี โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ และประเด็นการบอกเลิกสัญญาเช่าที่ไม่ได้กำหนดในประเด็นนำสืบ
บิดาทำสัญญาต่างตอบแทนให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์ตลอดชีวิตผู้เช่าโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 การให้เช่ามีผลผูกพันบุตรผู้เยาว์เพียง 3 ปี
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแต่เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานและสั่งกำหนดประเด็นนำสืบ ไม่ได้กำหนดประเด็นนำสืบข้อนี้ไว้ และจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนั้น ดังนี้ จำเลยจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226, 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์เกิน 3 ปี โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์/ฎีกาต้องห้าม
บิดาทำสัญญาต่างตอบแทนให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์ตลอดชีวิตผู้เช่า โดยมิได้รับอนุญาตจากศาล เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 การให้เช่ามีผลผูกพันบุตรผู้เยาว์เพียง 3 ปี
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่เคยบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแต่เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานและสั่งกำหนดประเด็นนำสืบ ไม่ได้กำหนดประเด็นนำสืบข้อนี้ไว้ และจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งนั้น ดังนี้จำเลยจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226, 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์เกิน 3 ปี สัญญาเป็นโมฆะ แม้ต่อมาผู้เยาว์ยินยอม
การที่บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทของโจทก์ในขณะที่โจทก์ทั้งสี่ยังเป็นผู้เยาว์ โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ย่อมให้เช่าได้เพียงไม่เกิน 3 ปีเท่านั้นคดีได้ความว่าจำเลยเช่ามาเกิน 3 ปีแล้ว ฉะนั้น การให้เช่าอาคารพิพาทต่อไปเกินจาก 3 ปี จึงกระทำมิได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(2) ถึงแม้บิดาโจทก์จะได้ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทไปจนตลอดชีวิตจำเลยก็ตามก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ จึงไม่จำเป็นต้องสืบพยานดังที่จำเลยฎีกามา
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้บรรลุนิติภาวะแล้วโจทก์ทั้งสองได้แสดงเจตนายินยอมให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อไปการกระทำของโจทก์ทั้งสองจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1550 นั้น เห็นว่า ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นว่ามาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จึงเป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
of 35