คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุธี ชอบธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบรับเงินทดรองและชำระหนี้ รวมถึงเงินกู้ ต้องปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีแบบพิมพ์หรือกรรมการเซ็น
ในการลงบัญชีของบริษัทโจทก์ได้ลงตามใบสำคัญ รายการใดไม่มีใบสำคัญแต่มีบันทึกของผู้จัดการเป็นภาษาจีน ผู้ช่วยสมุห์บัญชีก็จะคัดลอกเป็นภาษาไทยไว้เป็นเอกสารลงบัญชี เอกสารดังกล่าวนี้จึงเป็นเอกสารของบริษัทโจทก์ ทำขึ้นเพื่อประกอบการลงบัญชีของโจทก์ ไม่ใช่ทำขึ้นเป็นการส่วนตัวของผู้ช่วยสมุห์บัญชี เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ได้รับเงินตามรายการในเอกสารนั้น และโจทก์เป็นผู้ทำขึ้นแล้วจะมีลายมือชื่อของบุคคลใดๆ หรือไม่ไม่สำคัญ ถือได้ว่าเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว และเมื่อเป็นใบรับแล้ว แม้จะไม่ใช่แบบพิมพ์ของบริษัทโจทก์ ไม่มีกรรมการบริษัทเซ็นชื่อ หรือไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำใบรับก็ตาม ใบรับนั้นก็ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้ง เงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจทก์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้ เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้นโจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ ในการรับชำระเงินคืนบริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ที่ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและ ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และได้ขีดฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับเงินที่มิได้มีแบบพิมพ์และไม่มีลายมือชื่อกรรมการ ถือเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร ต้องปิดอากรแสตมป์
ในการลงบัญชีของบริษัทโจทก์ได้ลงตามใบสำคัญ รายการใดไม่มีใบสำคัญแต่มีบันทึกของผู้จัดการเป็นภาษาจีน ผู้ช่วยสมุห์บัญชีก็จะคัดลอกเป็นภาษาไทยไว้เป็นเอกสารลงบัญชี เอกสารดังกล่าวนี้จึงเป็นเอกสารของบริษัทโจทก์ ทำขึ้นเพื่อประกอบการลงบัญชีของโจทก์ ไม่ใช่ทำขึ้นเป็นการส่วนตัวของผู้ช่วยสมุห์บัญชี เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความโจทก์ได้รับเงินตามรายการในเอกสารนั้น และโจทก์เป็นผู้ทำขึ้นแล้วจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ไม่สำคัญ ถือได้ว่าเป็นใบรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 103 แล้ว และเมื่อเป็นใบรับแล้วแม้จะไม่ใช่แบบพิมพ์ของบริษัทโจทก์ ไม่มีกรรมการบริษัทเซ็นชื่อ หรือไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำใบรับก็ตาม ใบรับนั้นก็ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28 ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อบริษัทโจทก์เริ่มก่อตั้งเงินของบริษัทไม่พอใช้ บรรดาผู้ถือหุ้นได้ออกเงินทดรองให้บริษัทโจกท์ เงินนี้บริษัทโจทก์ไม่ให้ดอกเบี้ยเพราะถือเป็นกันเองระหว่างญาติ ดังนี้เมื่อบริษัทโจทก์เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นให้บริษัทโจทก์ยืมเงินในฐานะส่วนตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน การที่บริษัทโจทก์ออกใบรับในกรณีรับเงินนี้ มิใช่ใบรับที่บุคคลในคณะบุคคลซึ่งกระทำกิจการร่วมกันออกให้ซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อดำเนินกิจการของคณะบุคคลนั้น โจทก์จึงจำต้องปิดอากรแสตมป์ในใบรับรองดังกล่าว เพราะไม่เข้าข้อยกเว้นตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 25 ฒ.
ผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยืมเงินบริษัทโจทก์ไปใช้สอยส่วนตัวแล้วชำระคืนให้โจทก์ในการรับชำระเงินคืน บริษัทโจทก์ได้ออกใบรับให้ผู้จัดการไปด้วย แต่ฟังไม่ได้ว่าใบรับนั้นได้ปิดอากรแสตมป์แล้ว ฉะนั้น ใบรับเงินชำระหนี้ที่ค้างดังกล่าวซึ่งโจทก์ทำขึ้นและโจทก์เป็นผู้ทรงอยู่ โจทก์จึงต้องเป็นผู้ปิดแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 28
เมื่อโจทก์ต้องเสียอากรสำหรับใบรับเงินทดรองและใบรับชำระหนี้ค้าง แต่โจทก์ไม่ได้ปิดแสตมป์ให้ถูกต้องจนพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบ พนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกเงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรจากโจทก์ได้
บริษัทโจทก์กู้เงินจากบุคคลภายนอกและได้ทำใบรับเงินกู้ไว้ เมื่อการกู้นั้นมีสัญญากู้ซึ่งปิดอากรแสตมป์มีจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำในใบรับอีก แม้ปรากฏว่าแสตมป์ปิดในสัญญากู้ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ก็ตาม แต่เมื่อสัญญากู้ได้ปิดอากรแสตมป์เป็นราคาไม่น้อยกว่า อากรที่ต้องเสียและได้ขีดฆ่าที่ปิดทับกระดาษเพื่อมิให้แสตมป์ใช้ได้อีก ก็ย่อมเป็นการปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 561/2487 และ 461/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเช็คเริ่มนับจากวันที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่จากวันที่ระบุในเช็ค
ธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็ควันใด ผู้ทรงเรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละ 7.5 ต่อปีตั้งแต่วันนั้น ไม่ใช่เรียกได้ตั้งแต่วันที่ลงในเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อภรรยาแยกยื่นรายการ: เจ้าพนักงานมีอำนาจแบ่งภาษีและให้ทั้งสองฝ่ายร่วมรับผิดชอบ
ภรรยาโจทก์แยกยื่นแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ต่างหากจากโจทก์ เมื่อรายการที่ภรรยาโจทก์ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ การออกหมายเรียกมาไต่สวนตามนัยมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานย่อมออกหมายเรียกไปยังภรรยาโจทก์ผู้ยื่นรายการมาทำการไต่สวน ไม่ใช่โจทก์ แต่เมื่อไต่สวนทราบจำนวนเงินภาษีอันถูกต้องแล้ว เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแบ่งภาษีดังกล่าวออกตามส่วนของเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และภรรยาโจทก์แต่ละฝ่ายได้รับ โดยแจ้งให้โจทก์และภรรยาโจทก์เสียเป็นคนละส่วนได้แต่ถ้าภาษีส่วนของฝ่ายใดค้างชำระ อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระดังกล่าว ทั้งนี้ตามมาตรา 57 ตรี วรรคสาม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานไต่สวนภรรยาโจทก์แล้ว ปรากฏว่าภรรยาโจทก์มีภาระต้องรับผิดชำระเงินภาษีเพิ่มเติมซึ่งโจทก์ต้องร่วมรับผิดด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้ให้โจทก์ชำระโดยมิได้หมายเรียกโจทก์มาไต่สวน ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะมิใช่การตรวจสอบภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีร่วมภรรยา-สามี: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแจ้งภาษีสามีได้ แม้ไม่ได้ไต่สวนโดยตรง หากภรรยาแยกยื่นรายการ
ภรรยาโจทก์แยกยื่นแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ต่างหากจากโจทก์เมื่อรายการที่ภรรยาโจทก์ยื่นไม่ถูกต้อง ตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ การออกหมายเรียกมาไต่สวนตามนัยมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานย่อมออกหมายเรียกไปยังภรรยาโจทก์ผู้ยื่นรายการมาทำการไต่สวน ไม่ใช่โจทก์ แต่เมื่อไต่สวนทราบจำนวนเงินภาษี อันถูกต้องแล้ว เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแบ่งภาษีดังกล่าวออกตามส่วนของเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และภรรยาโจทก์แต่ละฝ่ายได้รับ โดยแจ้งให้โจทก์และภรรยาโจทก์เสียเป็นคนละส่วนได้ แต่ถ้าภาษีส่วนของฝ่ายใดค้างชำระ อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระดังกล่าว ทั้งนี้ตามมาตรา 57 ตรี วรรคสาม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานไต่สวนภรรยาโจทก์แล้วปรากฏว่าภรรยาโจทก์มีภาระต้องรับผิดชำระเงินภาษีเพิ่มเติมซึ่งโจทก์ต้องร่วมรับผิดด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้ให้โจทก์ชำระโดยมิได้หมายเรียกโจทก์มาไต่สวน ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะมิใช่การตรวจสอบภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายยาเสพติด: การเรียงกระทงความผิด แม้ไม่มีการอ้างมาตรา 91
มีเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย 28 หลอด แล้วได้ขายไป 1 หลอด เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 20 ทวิ 2 กระทง แม้โจทก์ไม่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ศาลก็เรียงกระทงลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้กับการสละอายุความ - การยกอายุความเมื่อมีข้อโต้แย้งเรื่องหนี้
โจทก์ฟ้องเรียกเบี้ยปรับฐานผิดสัญญา โดยขอหักหนี้ที่จะต้องชำระราคาของที่ซื้อจากจำเลยถือได้ว่าโจทก์สละอายุความที่จำเลยจะเรียกให้ชำระราคา โจทก์ยกอายุความขึ้นต่อสู้ตามที่จำเลยฟ้องแย้งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากความประมาทในการวางสายไฟฟ้า ทำให้ผู้เยาว์เสียชีวิต ผู้ประกอบการและลูกจ้างต้องรับผิดค่าขาดไร้อุปการะ
เมื่อฟ้องบรรยายว่าโจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กระทำละเมิดอันเป็นบุตรโจทก์ถึงแก่กรรมโดยชัดแจ้ง ทำให้โจทก์ขาดไร้อุปการะ และได้เรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ย่อมถือว่าคำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่น ว่านั้นแล้ว จึงเป็นที่สมบูรณ์ ส่วนค่าสินไหมทดแทนควรจะเป็นเท่าใด หากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะได้อุปการะโจทก์อย่างไรบ้างนั้น เป็นเพียงรายละเอียดและอาจคาดหมายได้ ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งไม่จำต้องกล่าวไว้โดยละเอียดในฟ้อง
การที่ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยที่ 4 มิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ในการวางสายไฟฟ้านั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะไปว่ากล่าวกันเอง เมื่อได้ความว่าเหตุที่บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายนั้น เนื่องจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ตัดสารโทรเลขตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เช่นกัน และเป็นไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ทำให้เสาโทรเลขล้มลง สายโทรเลขช่วงถัดไปหย่อนไปแตะกับสายไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าไหลตามสายโทรเลขต้นที่ล้มลงไปในคูน้ำและเป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้านั้นช๊อตบุตรโจทก์ตาย จำเลยที่ 1 จะปัดความรับผิดไม่ได้
แม้ตามฐานะโจทก์ไม่จำต้องพึ่งผู้ตายก็ตาม แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายทั้งสองเป็นผู้เยาว์ยังอยู่ในระหว่างที่โจทก์ให้อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา และโจทก์ก็หวังผู้ตายเป็นที่พึ่งของโจทก์ในภายหน้า ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 บัญญัติว่า บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานั้น มิได้หมายความว่าเมื่อบิดามารดามีรายได้เลี้ยงชีพของตนเองแล้ว หน้าที่ของบุตรที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาจะหมดสิ้นไปเมื่อบุตรโจทก์ถึงแก่กรรมเพราะการละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: จำกัดเฉพาะทรัพย์สินที่วางประกันตามสัญญา
มาตรา 274 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นเพียงบทบัญญัติให้อำนาจศาลที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันโดยไม่ต้องฟ้องผู้ค้ำประกันเป็นคดีใหม่เท่านั้นหามีข้อความให้ปรากฏว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดต่อโจทก์เกินกว่าหลักทรัพย์ที่นำมาวางประกันต่อศาลไม่ผู้ค้ำประกันจะรับผิดเพียงใด ในระยะเวลาอย่างไรต้องแล้วแต่ข้อสัญญา เมื่อตามหนังสือสัญญาค้ำประกันมีว่า ถ้าจำเลยแพ้คดีและไม่ชำระเงินให้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเงินเท่าใด ผู้ค้ำประกันยอมให้บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินที่ผู้ค้ำประกันนำมาวางให้ไว้เป็นประกันต่อศาลได้ทันทีและในสัญญานี้ได้ระบุรายการหลักทรัพย์ที่ผู้ค้ำประกันนำมาวางโดยหลักทรัพย์นี้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นทั้งโจทก์ก็ไม่คัดค้าน ยอมให้ผู้ค้ำประกันทำหนังสือสัญญาประกันได้ จึงชอบที่โจทก์จะขอบังคับเอาจากทรัพย์ที่วางไว้ตามสัญญา จะขอบังคับคดีเอากับทรัพย์สินอื่นอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้กู้ยืมหยุดชะงักจากการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา และการฟ้องเรียกหนี้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ โดยบรรยายปีที่กู้สลับกัน ไม่เรียงลำดับแต่ละปีแต่ได้อ้างเอกสารสำเนาสัญญากู้แต่ละฉบับมาท้ายฟ้อง ตรงกับคำบรรยายฟ้องและไม่ขัดกับเอกสาร ดังนี้ ฟ้องของโจกท์ไม่เคลือบคลุม
ป. กู้เงินของสามีโจทก์ไป และมอบนาให้ทำกินต่างดอกเบี้ยตลอดมาต่อมา ป. ตาย จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ได้มอบนานั้นให้ทำต่างดอกเบี้ยจนกระทั่งสามีโจกท์ตายและเมื่อสามีโจกท์ตายแล้ว จำเลยก็มอบนาดังกล่าวให้โจกท์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของสามีทำนาต่างดอกเบี้ยต่อมาอีกดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ปฎิบัติการชำระดอกเบี้ยด้วยการให้ทำนา เป็นการรับสารภาพต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการส่งดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง (อ้างฎีกาประชุมใหญ่ที่ 159/2513)
หนี้กู้ยืมที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาอันพึงชำระหนี้ไว้นั้น เจ้าหนี้จะฟ้องให้ชำระหนี้ที่ยืมไปโดยไม่ต้องบอกกล่าวก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 873/2518)
of 35