พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การครอบครองแทนที่ไม่สุจริตและการโอนสิทธิที่ไม่มีผล
โจทก์มอบที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ครอบครองแทนแม้จำเลยที่ 1 จะไปร้องขอจนได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์มา ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น ไม่มีอำนาจนำไปขายให้ผู้อื่น ส.รับซื้อไว้โดยไม่สุจริตเพราะทราบดีว่าไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 ส.ย่อมไม่มีสิทธิในที่พิพาท แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนที่พิพาทจาก ส.โดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิอย่างใด เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน กรณีจะปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299, 1300 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การโอนสิทธิโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
โจทก์มอบที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ครอบครองแทนแม้จำเลยที่ 1 จะไปร้องขอจนได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์มา ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น ไม่มีอำนาจนำไปขายให้ผู้อื่น ส.รับซื้อไว้โดยไม่สุจริต เพราะทราบดีว่าไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 ส.ย่อมไม่มีสิทธิในที่พิพาท แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนที่พิพาทจาก ส.โดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิอย่างใด เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนกรณีจะปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299,1300 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตตามมาตรา 1312 ผู้สร้างเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนไม่ต้องรื้อ
การสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 นั้น หมายความว่าผู้สร้างโรงเรือนต้องรู้ในขณะสร้างว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของคนอื่น จึงจะเรียกได้ว่าไม่สุจริต ถ้าผู้สร้างเข้าใจว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของตนจึงสร้างโรงเรือนรุกล้ำไปครั้นต่อมาจึงทราบว่าที่ตรงรุกล้ำนั้นไม่ใช่ของตนต้องถือว่าเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อ้างว่าจำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวเข้ามาในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต อ้างเพียงว่าที่ดินที่จำเลยปลูกตึกรุกล้ำเข้ามาเป็นที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อ้างถึงความไม่สุจริตของจำเลย จำเลยก็ไม่จำต้องให้การต่อสู้ถึงความไม่สุจริตได้ แต่ที่จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์หาจำเลยรุกล้ำปลูกตึกเป็นที่ดินของจำเลยนั้น ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการแสดงว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างตึกแถวโดยสุจริต และที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นนำสืบไว้ว่า "จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์หรือไม่ จะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่" นั้น ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ในตัวของประเด็นที่ตั้งไว้นั้นที่จะต้องพิจารณาถึงด้วยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปนั้นเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยจะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่ และการจะให้จำเลยรื้อตึกแถวนั้นหรือไม่ก็ต้องอาศัยข้อเท็จจริงถึงความสุจริตของจำเลยว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้สร้างรุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตก็จำต้องยก มาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาปรับบทให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกเหตุจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อ้างว่าจำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวเข้ามาในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต อ้างเพียงว่าที่ดินที่จำเลยปลูกตึกรุกล้ำเข้ามาเป็นที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อ้างถึงความไม่สุจริตของจำเลย จำเลยก็ไม่จำต้องให้การต่อสู้ถึงความไม่สุจริตได้ แต่ที่จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์หาจำเลยรุกล้ำปลูกตึกเป็นที่ดินของจำเลยนั้น ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการแสดงว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างตึกแถวโดยสุจริต และที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นนำสืบไว้ว่า "จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์หรือไม่ จะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่" นั้น ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ในตัวของประเด็นที่ตั้งไว้นั้นที่จะต้องพิจารณาถึงด้วยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปนั้นเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยจะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่ และการจะให้จำเลยรื้อตึกแถวนั้นหรือไม่ก็ต้องอาศัยข้อเท็จจริงถึงความสุจริตของจำเลยว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้สร้างรุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตก็จำต้องยก มาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาปรับบทให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกเหตุจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1312 ผู้สร้างเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตน
การสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินผู้อื่นโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 นั้น หมายความว่าผู้สร้างโรงเรือนต้องรู้ในขณะสร้างว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของคนอื่น จึงจะเรียกได้ว่าไม่สุจริต ถ้าผู้สร้างเข้าใจว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของตนจึงสร้างโรงเรือนรุกล้ำไป ครั้นต่อมาจึงทราบว่าที่ตรงรุกล้ำนั้นไม่ใช่ของตน ต้องถือว่าเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อ้างว่าจำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวเข้ามาในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต อ้างเพียงว่าที่ดินที่จำเลยปลูกตึกรุกล้ำเข้ามาเป็นที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อ้างถึงความไม่สุจริตของจำเลย จำเลยก็ไม่จำต้องให้การต่อสู้ถึงความไม่สุจริตได้ แต่ที่จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์หาจำเลยรุกล้ำปลูกตึกเป็นที่ดินของจำเลยนั้น ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการแสดงว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างตึกแถวโดยสุจริต และที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นนำสืบไว้ว่า "จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์หรือไม่ จะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่" นั้น ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ในตัวของประเด็นที่ตั้งไว้นั้นจะต้องพิจารณาถึงด้วยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปนั้นเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยจะต้องรื้อสวนที่รุกล้ำหรือไม่ และการจะให้จำเลยรื้อตึกแถวนั้นหรือไม่ก็ต้องอาศัยข้อเท็จจริงถึงความสุจริตของจำเลยว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้สร้างรุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตก็จำต้องยกมาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาปรับบทให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกเหตุจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าโจทก์อ้างว่าจำเลยได้ปลูกสร้างตึกแถวเข้ามาในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต อ้างเพียงว่าที่ดินที่จำเลยปลูกตึกรุกล้ำเข้ามาเป็นที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้อ้างถึงความไม่สุจริตของจำเลย จำเลยก็ไม่จำต้องให้การต่อสู้ถึงความไม่สุจริตได้ แต่ที่จำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์หาจำเลยรุกล้ำปลูกตึกเป็นที่ดินของจำเลยนั้น ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการแสดงว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างตึกแถวโดยสุจริต และที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นนำสืบไว้ว่า "จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์หรือไม่ จะต้องรื้อส่วนที่รุกล้ำหรือไม่" นั้น ก็มีข้อเท็จจริงอยู่ในตัวของประเด็นที่ตั้งไว้นั้นจะต้องพิจารณาถึงด้วยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยปลูกสร้างตึกรุกล้ำเข้าไปนั้นเป็นที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยจะต้องรื้อสวนที่รุกล้ำหรือไม่ และการจะให้จำเลยรื้อตึกแถวนั้นหรือไม่ก็ต้องอาศัยข้อเท็จจริงถึงความสุจริตของจำเลยว่าจำเลยได้สร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าจำเลยได้สร้างรุกล้ำเข้าไปโดยสุจริตก็จำต้องยกมาตรา 1312 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาปรับบทให้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ยกเหตุจำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์โดยสุจริตและการละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน ความรับผิดในความเสื่อมสภาพและการใช้ประโยชน์
รถยนต์ยี่ห้อดัทสันกะบะขนาด 1300 ซีซี ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็ถูกคนร้ายลักไป โจทก์แจ้งความไว้กับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา จำเลยที่ 1 แจ้งความไว้กับจำเลยที่ 2 พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลจับคนร้ายลักรถยนต์ได้ ได้รถยนต์ของกลางซึ่งตัวถังเป็นของโจทก์แต่ถูกพ่นสีเปลี่ยนไปจากสีเดิม สารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบุบผารามพิจารณาแล้วเชื่อว่าเป็นรถคันที่หายที่ได้แจ้งความไว้ที่สถานที่ตำรวจท่าเรือกรุงเทพ จึงมอบรถให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินคดี จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ทราบก่อนว่าโจทก์โต้แย้งกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับตัวถังรถยนต์ของกลาง เชื่อโดยสุจริตว่ารถยนต์ของกลางเป็นของจำเลยที่ 1 จึงมอบรถยนต์ของกลางให้จำเลยที่ 1 รับไปรักษา ซึ่งเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบรถยนต์ของกลางให้จำเลยที่ 1 ไปดังกล่าว จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ไม่ทราบมาก่อนว่าโจทก์โต้แย้งกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับตัวถังรถยนต์ของกลาง ขณะรับรถยนต์ของกลางไว้เชื่อโดยสุจริตใจว่ารถยนต์ของกลางทั้งคันเป็นของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 รับรถยนต์ของกลางไว้และซ่อมใช้รถนี้โดยปกติธุระจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน แต่ต่อมาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดศาลพิพากษาว่าตัวถังรถยต์ของกลางเป็นของโจทก์ โจทก์ได้ฟ้องเรียกตัวถังคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้องของโจทก์ตามกฎหมายแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบแล้วว่าตัวถังรถยนต์ของกลางเป็นของโจทก์ซึ่งจะต้องคืนให้โจทก์ แต่จำเลยยังไม่คืนให้โจทก์ยังคงใช้ตัวถังรถยนต์ของโจทก์อยู่ตลอดมา จำเลยที่ 1 จึงตกอยู่ในฐานะทุจริตตั้งแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดฐานะละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป
จำเลยที่ 1 ควรรับผิดในความเสื่อมสภาพของตัวถังและเค่าเสียหายในการที่โจทก์ไม่ได้ใช้ตัวถังรถพิพาทเพียงใดนั้น ควรคำนึงพฤติการณ์แห่งความเป็นจริงของตัวทรัพย์นั้นด้วยว่า เจ้าของทรัพย์นั้นพอจะบรรเทาความเสียหายที่ไม่ได้ใช้ทรัพย์นั้นโดยหาตัวทรัพย์เช่นนั้นมาชดใช้แทนความเสียหายอันพึงเกิดขึ้นนั้นได้หรือไม่เพียงไร เป็นเหตุผลประกอบด้วยคดีนี้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ไม่สามารถจะหาซื้อตัวถังรถยนต์อื่นมาใช้แทนเพื่อประกอบกับเครื่องยนต์ของโจทก์ที่ถูกลักไปและได้รับคืนมา เพื่อโจทก์จะมีรถยต์ไว้ใช้ต่อไป การจะกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าเสียหาย ค่าเสื่อมราคาต่อโจทก์เกินกว่าราคาตัวถังรถพิพาทตามที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นการขัดต่อเหตุผลและความเป็นธรรม
จำเลยที่ 1 ไม่ทราบมาก่อนว่าโจทก์โต้แย้งกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับตัวถังรถยนต์ของกลาง ขณะรับรถยนต์ของกลางไว้เชื่อโดยสุจริตใจว่ารถยนต์ของกลางทั้งคันเป็นของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 รับรถยนต์ของกลางไว้และซ่อมใช้รถนี้โดยปกติธุระจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน แต่ต่อมาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดศาลพิพากษาว่าตัวถังรถยต์ของกลางเป็นของโจทก์ โจทก์ได้ฟ้องเรียกตัวถังคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้องของโจทก์ตามกฎหมายแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบแล้วว่าตัวถังรถยนต์ของกลางเป็นของโจทก์ซึ่งจะต้องคืนให้โจทก์ แต่จำเลยยังไม่คืนให้โจทก์ยังคงใช้ตัวถังรถยนต์ของโจทก์อยู่ตลอดมา จำเลยที่ 1 จึงตกอยู่ในฐานะทุจริตตั้งแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดฐานะละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป
จำเลยที่ 1 ควรรับผิดในความเสื่อมสภาพของตัวถังและเค่าเสียหายในการที่โจทก์ไม่ได้ใช้ตัวถังรถพิพาทเพียงใดนั้น ควรคำนึงพฤติการณ์แห่งความเป็นจริงของตัวทรัพย์นั้นด้วยว่า เจ้าของทรัพย์นั้นพอจะบรรเทาความเสียหายที่ไม่ได้ใช้ทรัพย์นั้นโดยหาตัวทรัพย์เช่นนั้นมาชดใช้แทนความเสียหายอันพึงเกิดขึ้นนั้นได้หรือไม่เพียงไร เป็นเหตุผลประกอบด้วยคดีนี้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ไม่สามารถจะหาซื้อตัวถังรถยนต์อื่นมาใช้แทนเพื่อประกอบกับเครื่องยนต์ของโจทก์ที่ถูกลักไปและได้รับคืนมา เพื่อโจทก์จะมีรถยต์ไว้ใช้ต่อไป การจะกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าเสียหาย ค่าเสื่อมราคาต่อโจทก์เกินกว่าราคาตัวถังรถพิพาทตามที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นการขัดต่อเหตุผลและความเป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบรถยนต์ที่ถูกลักขโมยโดยเชื่อโดยสุจริต และความรับผิดชอบในความเสียหายหลังทราบว่าเป็นของผู้อื่น
รถยนต์ยี่ห้อดัทสันกะบะขนาด1300ซีซี ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็ถูกคนร้ายลักไป โจทก์แจ้งความไว้กับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลยานนาวา จำเลยที่ 1 แจ้งความไว้กับจำเลยที่ 2 พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจท่าเรือกรุงเทพซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลจับคนร้ายลักรถยนต์ได้ได้รถยนต์ของกลางซึ่งตัวถังเป็นของโจทก์แต่ถูกพ่นสีเปลี่ยนไปจากสีเดิม สารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบุบผารามพิจารณาแล้วเชื่อว่าเป็นรถคันที่หายที่ได้แจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจท่าเรือกรุงเทพ จึงมอบรถให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินคดี จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่ทราบมาก่อนว่าโจทก์โต้แย้งกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับตัวถังรถยนต์ของกลาง เชื่อโดยสุจริตว่ารถยนต์ของกลางเป็นของจำเลยที่ 1 จึงมอบรถยนต์ของกลางให้จำเลยที่ 1 รับไปรักษาซึ่งเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 มอบรถยนต์ของกลางให้จำเลยที่ 1 ไปดังกล่าว จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ไม่ทราบมาก่อนว่าโจทก์โต้แย้งกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับตัวถังรถยนต์ของกลาง ขณะรับรถยนต์ของกลางไว้เชื่อโดยสุจริตใจว่ารถยนต์ของกลางทั้งคันเป็นของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 รับรถยนต์ของกลางไว้และซ่อมใช้รถนี้โดยปกติธุระจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน แต่ต่อมาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดศาลพิพากษาว่าตัวถังรถยนต์ของกลางเป็นของโจทก์ โจทก์ได้ฟ้องเรียกตัวถังคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้องของโจทก์ตามกฎหมายแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบแล้วว่าตัวถังรถยนต์ของกลางเป็นของโจทก์ซึ่งจะต้องคืนให้โจทก์ แต่จำเลยยังไม่คืนให้โจทก์ยังคงใช้ตัวถังรถยนต์ของโจทก์อยู่ตลอดมา จำเลยที่ 1 จึงตกอยู่ในฐานะทุจริตตั้งแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป
จำเลยที่ 1 ควรรับผิดในความเสื่อมสภาพของตัวถังและค่าเสียหายในการที่โจทก์ไม่ได้ใช้ตัวถังรถพิพาทเพียงใดนั้น ควรคำนึงพฤติการณ์แห่งความเป็นจริงของตัวทรัพย์นั้นด้วยว่า เจ้าของทรัพย์นั้นพอจะบรรเทาความเสียหายที่ไม่ได้ใช้ทรัพย์นั้นโดยหาตัวทรัพย์เช่นนั้นมาชดใช้แทนความเสียหายอันพึงเกิดขึ้นนั้นได้หรือไม่เพียงไร เป็นเหตุผลประกอบด้วย คดีนี้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ไม่สามารถจะหาซื้อตัวถังรถยนต์อื่นมาใช้แทนเพื่อประกอบกับเครื่องยนต์ของโจทก์ที่ถูกลักไปและได้รับคืนมา เพื่อโจทก์จะมีรถยนต์ไว้ใช้ต่อไป การจะกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าเสียหาย ค่าเสื่อมราคาต่อโจทก์เกินกว่าราคาตัวถังรถพิพาทตามที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นการขัดต่อเหตุผลและความเป็นธรรม
จำเลยที่ 1 ไม่ทราบมาก่อนว่าโจทก์โต้แย้งกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับตัวถังรถยนต์ของกลาง ขณะรับรถยนต์ของกลางไว้เชื่อโดยสุจริตใจว่ารถยนต์ของกลางทั้งคันเป็นของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 รับรถยนต์ของกลางไว้และซ่อมใช้รถนี้โดยปกติธุระจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน แต่ต่อมาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดศาลพิพากษาว่าตัวถังรถยนต์ของกลางเป็นของโจทก์ โจทก์ได้ฟ้องเรียกตัวถังคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้องของโจทก์ตามกฎหมายแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบแล้วว่าตัวถังรถยนต์ของกลางเป็นของโจทก์ซึ่งจะต้องคืนให้โจทก์ แต่จำเลยยังไม่คืนให้โจทก์ยังคงใช้ตัวถังรถยนต์ของโจทก์อยู่ตลอดมา จำเลยที่ 1 จึงตกอยู่ในฐานะทุจริตตั้งแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป
จำเลยที่ 1 ควรรับผิดในความเสื่อมสภาพของตัวถังและค่าเสียหายในการที่โจทก์ไม่ได้ใช้ตัวถังรถพิพาทเพียงใดนั้น ควรคำนึงพฤติการณ์แห่งความเป็นจริงของตัวทรัพย์นั้นด้วยว่า เจ้าของทรัพย์นั้นพอจะบรรเทาความเสียหายที่ไม่ได้ใช้ทรัพย์นั้นโดยหาตัวทรัพย์เช่นนั้นมาชดใช้แทนความเสียหายอันพึงเกิดขึ้นนั้นได้หรือไม่เพียงไร เป็นเหตุผลประกอบด้วย คดีนี้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ไม่สามารถจะหาซื้อตัวถังรถยนต์อื่นมาใช้แทนเพื่อประกอบกับเครื่องยนต์ของโจทก์ที่ถูกลักไปและได้รับคืนมา เพื่อโจทก์จะมีรถยนต์ไว้ใช้ต่อไป การจะกำหนดให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้ค่าเสียหาย ค่าเสื่อมราคาต่อโจทก์เกินกว่าราคาตัวถังรถพิพาทตามที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นการขัดต่อเหตุผลและความเป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต่างประเทศ การปรับราคาเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยน และสิทธิของผู้ขาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้ากัน โดยมีข้อกำหนดในสัญญาว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจำเลยผู้ขายมีสิทธิแก้ไขและปรับราคาสินค้าใหม่ได้ข้อตกลงเช่นนี้เห็นได้ว่าเพื่อประโยชน์ของผู้ขาย ในกรณีที่สินค้าราคาสูงขึ้นเพราะการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแม้ตามข้อตกลงดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศใดเป็นหลัก แต่ก็ย่อมหมายถึงเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้านี้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่ามีเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องอยู่ 2สกุล คือเงินดอลล่าร์ของอเมริกาที่จำเลยใช้ชำระราคาสินค้ากับเงินมาร์คของเยอรมันเจ้าของสินค้าที่ซื้อขายกัน และอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์เปลี่ยนแปลงอันมีผลทำให้เงินมาร์คมีราคาสูงขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิปรับราคาสินค้าที่ตกลงขายให้โจทก์สูงขึ้นได้ตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ไม่ยินยอม จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ และจะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ: สิทธิปรับราคาตามอัตราแลกเปลี่ยน และผลของการไม่ยินยอมปรับราคา
โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้ากัน โดยมีข้อกำหนดในสัญญาว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จำเลยผู้ขายมีสิทธิแก้ไขและปรับราคาสินค้าใหม่ได้ ข้อตกลงเช่นนี้เห็นได้ว่าเพื่อประโยชน์ของผู้ขาย ในกรณีที่สินค้าราคาสูงขึ้นเพราะการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แม้ตามข้อตกลงดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ถืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศใดเป็นหลัก แต่ก็ย่อมหมายถึงเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้านี้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่ามีเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 สกุล คือเงินดอลล่าร์ของอเมริกาที่จำเลยใช้ชำระราคาสินค้า กับเงินมาร์คของเยอรมันเจ้าของสินค้าที่ซื้อขายกันและอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์เปลี่ยนแปลงอันมีผลทำให้เงินมาร์คมีราคาสูงขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิปรับราคาสินค้าที่ตกลงขายให้โจทก์สูงขึ้นได้ตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์ไม่ยินยอม จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ และจะว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายรถยนต์โดยให้เช่าซื้ออยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัท
วัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์มีการจำหน่ายรถยนต์ ถือว่าการที่โจทก์จำหน่ายรถยนต์โดยให้เช่าซื้อก็อยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินโดยเสน่หาเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน เจ้าหนี้มีสิทธิขอเพิกถอนได้ แม้ผู้รับโอนไม่มีส่วนรู้เห็น
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดิน 2 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2, ที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรชายและบุตรสะใภ้ จำเลยให้การว่าที่ดินแปลงหนึ่งติดจำนอง อีกแปลงหนึ่งติดขายฝาก จำเลยที่ 2, ที่ 3 นำเงินไปไถ่ถอน จำเลยที่ 1 จึงโอนที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างให้เป็นการกระทำโดยสุจริต ที่จำเลยนำสืบว่าที่ดินแปลงหนึ่งพร้อมสิ่งปลูกสร้างเดิมเป็นของ พ. ยกให้จำเลยที่ 2 ในวันแต่งงาน แต่โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ก่อน ต่อมาจำเลยที่ 1 จึงทำนิติกรรมโอน ทรัพย์นั้นให้แก่จำเลยที่ 2, ที่ 3 เป็นการนำสืบนอกประเด็นศาลไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไปกู้เงินบุคคลอื่นเอามาให้จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงโอนทรัพย์นั้นให้หากจำเลยที่ 2 ทำเช่นนั้นจริง ก็เป็นการทำเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เป็นมารดาการโอนทรัพย์เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการโอนให้โดยมีค่าภารติดพันหาได้ไม่
ที่จำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไปกู้เงินบุคคลอื่นเอามาให้จำเลยที่ 1 ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงโอนทรัพย์นั้นให้หากจำเลยที่ 2 ทำเช่นนั้นจริง ก็เป็นการทำเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เป็นมารดาการโอนทรัพย์เช่นนั้นจะถือว่าเป็นการโอนให้โดยมีค่าภารติดพันหาได้ไม่