คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นวลน้อย ผลทวี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15016/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน (การให้บริการซอฟต์แวร์) ไม่ใช่สัญญาซื้อขาย จำเลยมีหน้าที่ชำระเงินเมื่อได้รับบริการครบถ้วน
สัญญาการให้สิทธิและการบริการทั้งสองฉบับเป็นสัญญาที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยใช้ซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการโรงแรมโดยจำเลยยินยอมจ่ายค่าตอบแทน ดังนั้น นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่งซึ่งมีผลผูกพันคู่สัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ไม่ใช่สัญญาซื้อขาย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุที่ทรัพย์สินซึ่งซื้อขายชำรุดบกพร่องมาเป็นเหตุปฏิเสธไม่ชำระเงินแก่โจทก์ได้
สำหรับวัตถุประสงค์ของสัญญานั้นปรากฏข้อความในตอนต้นของสัญญาการให้สิทธิและการบริการทั้งสองฉบับว่า จำเลยประสงค์จะได้รับการจัดหา การติดตั้ง การบำรุงรักษา และสิทธิการใช้ระบบบริหารโรงแรมตามที่ระบุในภาคผนวก ก ซึ่งคือระบบซอฟต์แวร์ทั้งสี่ระบบ เมื่อโจทก์ได้จัดหา ติดตั้ง บำรุงรักษา และให้สิทธิจำเลยใช้ระบบซอฟต์แวร์ทั้งสี่ระบบตามสัญญาแล้ว ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตรงตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญาการให้สิทธิและการบริการทั้งสองฉบับซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนในส่วนของตนแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระราคาสัญญาให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15015/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความแตกต่างขององค์ประกอบรวมและประเภทสินค้า
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ไม่ใช่พิจารณาเปรียบเทียบเฉพาะรูปหรือคำหรือข้อความที่ปรากฏหรือเสียงเรียกขานอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ของเครื่องหมายการค้าที่ประกอบกันขึ้นเป็นองค์ประกอบรวมของเครื่องหมายการค้านั้นทั้งหมด รวมทั้งสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นด้วยว่าเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือเป็นสินค้าต่างจำพวกกันแต่มีลักษณะอย่างเดียวกัน และสาธารณชนผู้ใช้หรือบริโภคสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นกลุ่มเดียวกันหรือไม่ ทั้งยังต้องคำนึงถึงความสุจริตในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยสาระสำคัญอยู่ที่ว่าความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้านั้นถึงขนาดที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่
เครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเฉพาะภาคส่วนที่เป็นอักษรโรมัน "HOLLISTER" แล้วเห็นได้ว่าคำดังกล่าวตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์ประกอบด้วยอักษรโรมันที่เหมือนกันกับของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เพียงแต่คำดังกล่าวตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์นั้นเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ส่วนของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีเพียงอักษรโรมัน H ซึ่งเป็นอักษรโรมันตัวแรกเท่านั้นที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนเสียงเรียกขานทั้งเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีเสียงเรียกขานคล้ายกันว่า "โฮลลิสเตอร์" แต่เมื่อพิจารณาในส่วนองค์ประกอบรวมของเครื่องหมายการค้า และ ตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์แล้วเห็นว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอของโจทก์ยังมีภาคส่วนอื่นประกอบอยู่ด้วย โดยเครื่องหมายการค้า มีรูปนกประดิษฐ์อยู่ตรงกลางของเครื่องหมาย มีคำว่า "HOLLISTER" อยู่ด้านบน และมีคำว่า "CALIFORNIA" อยู่ด้านล่างของเครื่องหมาย ส่วนเครื่องหมายการค้า มีรูปนกประดิษฐ์อยู่ด้านบน มีคำว่า "HOLLISTER" อยู่ตรงกลาง และมีคำว่า "CALIFORNIA" อยู่ด้านล่างของเครื่องหมาย แม้คำว่า "CALIFORNIA" จะเป็นชื่อมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาอันเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และในระหว่างพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโจทก์ได้แถลงขอสละประเด็นตามคำฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนคำดังกล่าวด้วยหรือไม่ โดยโจทก์แถลงว่าโจทก์ยินยอมที่จะแสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า "CALIFORNIA" แต่คำดังกล่าวก็ถือเป็นภาคส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์ที่ทำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว นอกจากนี้ เครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์ยังมีรูปนกประดิษฐ์เป็นภาคส่วนที่สำคัญซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าตามคำขอทั้งสองของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเช่นกัน โดยเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีแต่เพียงรูปประดิษฐ์ซึ่งเป็นอักษรโรมัน H จำนวน 4 ตัว ประกอบกันเป็นรูปคล้ายอักษรโรมัน X หรือรูปกากบาท วางอยู่ด้านหน้าคำว่า "Hollister" เท่านั้น เมื่อพิจารณาองค์ประกอบรวมทุกภาคส่วนของเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์เปรียบเทียบกับรายการสินค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เห็นได้ว่าสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำขอนั้นเป็นสินค้าจำพวกที่ 3 รายการสินค้า ลิปบาล์ม ลิปกลอส สเปรย์ฉีดตัวสำหรับใช้เป็นเครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวและให้กลิ่นหอม เครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวใช้กับร่างกาย เครื่องสำอางระงับกลิ่นตัว ยาดับกลิ่นตัว เครื่องสำอางระงับกลิ่นเหงื่อ ครีมเสริมสวย ครีมเสริมสวยสำหรับทาตัว โลชั่นเสริมสวย เครื่องสำอางใช้กับร่างกาย เครื่องสำอางใช้เสริมสวย โลชั่นทาตัว โลชั่นทามือ เครื่องสำอางใช้ทำความสะอาดร่างกาย โคโลญ สารให้กลิ่นหอมสำหรับใช้กับร่างกาย น้ำหอม ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องสำอางและเครื่องประทินผิว ซึ่งมักวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป และผู้ใช้สินค้าดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป แต่สินค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นสินค้าจำพวกที่ 5 รายการสินค้า วัสดุตกแต่งบาดแผล น้ำยาทำความสะอาดผิว ครีมปรับสภาพผิว ขี้ผึ้งกันความชื้น กาวใช้ในทางการแพทย์ สารลอกกาวใช้ในทางการแพทย์ แผ่นปิดผิวหนัง ครีมและแป้งใช้รักษาบาดแผลและแผลเปิดของลำไส้บริเวณหน้าท้อง สารหล่อลื่นรูเปิดผนังหน้าท้อง เจลทาผิวใช้ในทางการแพทย์ ยาดับกลิ่นที่ไม่ได้ใช้กับร่างกาย ซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้ในทางการแพทย์ ดังนั้น ผู้ใช้สินค้าดังกล่าวจึงเป็นแพทย์ พยาบาล หรือผู้ป่วยที่แพทย์แนะนำให้ใช้สินค้าดังกล่าวเท่านั้น และสถานที่จำหน่ายก็มีเพียงเฉพาะในโรงพยาบาลหรือร้านขายยาซึ่งมีเภสัชกรคอยแนะนำซึ่งบุคคลดังกล่าวย่อมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นอย่างดี ดังนั้น ทั้งรายการสินค้า กลุ่มผู้ใช้สินค้า และสถานที่จำหน่ายสินค้าของโจทก์และของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงแตกต่างกัน ยังไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าสาธารณชนผู้ใช้สินค้าของโจทก์และผู้ใช้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจะสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองคำขอคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสองคำขอของโจทก์จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14618/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจากประวัติผู้ต้องหา การนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาลงโทษขัดต่อกฎหมาย
แม้จะปรากฏจากคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางถึงเหตุไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยว่า จำเลยเคยกระทำความผิดฐานเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรของผู้อื่นมาแล้วหลายคดี แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงดังกล่าวได้มาจากรายงานเจ้าหน้าที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ตรวจสอบประวัติผู้กระทำผิดจากระบบงานบริหารสำนวนคดี โดยที่โจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในคำฟ้อง และไม่ปรากฏว่ามีการสอบข้อเท็จจริงนี้จากจำเลยด้วย รายงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจึงไม่ใช่พยานหลักฐานแต่เป็นเพียงเอกสารภายในหน่วยงานเพื่อสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ศาลกับศาล การที่จำเลยให้การรับสารภาพจึงเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงเท่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยและพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยนั้น จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงนอกสำนวนมาพิจารณาลงโทษจำเลย ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นควรแก้ไขโทษให้เหมาะสมกับสภาพความผิดและพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14615/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่างประเทศก่อน การฟ้องร้องละเมิดเครื่องหมายการค้าในไทย
การกระทำของจำเลยทั้งสี่จะมีมูลครบองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 108 และมาตรา 110 (1) ประกอบมาตรา 109 พยานหลักฐานของโจทก์จะต้องมีมูลเพียงพอให้รับฟังได้ว่าสินค้าที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายนั้น เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่มีบุคคลใดทำขึ้นโดยปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักรของโจทก์ด้วย เมื่อไม้กอล์ฟอุปกรณ์เล่นกอล์ฟ และถุงกอล์ฟจำนวน 25 ชิ้น ของกลาง เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยบริษัท ค. ซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "KAMUI" ไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ส่วนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวไว้ในราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2553 อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่บริษัทดังกล่าวได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ประเทศญี่ปุ่นกว่าสิบปี ทั้งในฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทไม้กอล์ฟแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "KAMUI" ไว้โดยชอบในประเทศญี่ปุ่นด้วย เมื่อสินค้าของกลางทั้งหมด เป็นสินค้าที่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "KAMUI" ซึ่งมีบริษัทดังกล่าวเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าที่ได้รับการจดทะเบียนไว้อยู่ก่อนแล้วในประเทศญี่ปุ่น จึงหาใช่สินค้าที่มีบุคคลใดจัดทำขึ้นโดยปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14505/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษอาญาตามมาตรา 92 ต้องพิสูจน์วันพ้นโทษที่แน่นอนและกระทำความผิดภายใน 5 ปีนับแต่วันนั้น
เมื่อโจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษในกรณีที่จำเลยได้กระทำความผิดคดีนี้ภายในเวลาห้าปี นับแต่วันพ้นโทษในคดีก่อน ข้อเท็จจริงจะต้องรับฟังได้ว่าจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีก่อนและได้พ้นโทษมาเมื่อวันใดด้วย เนื่องจากโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้เป็นระยะเวลาเกินกว่าห้าปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยต้องโทษจำคุกครบ 1 ปี 6 เดือน ในคดีก่อนหรือไม่ จึงยังไม่แน่ชัดว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ภายในห้าปีนับแต่วันพ้นโทษคดีก่อนตามฟ้อง ทั้งในชั้นพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยให้การรับแค่ว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ โดยไม่ได้รับว่าภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษได้กลับมากระทำความผิดในคดีนี้อีก ซึ่งโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานในส่วนนี้ ข้อเท็จจริงจึงไม่พอให้รับฟังได้ว่ามีเหตุให้เพิ่มโทษจำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 92

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14503/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีละเมิดเครื่องหมายการค้า โดยอ้างเหตุไม่ทราบว่าเป็นสินค้าปลอม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์เนื่องจากขัดกับคำรับสารภาพ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้อย่างชัดเจนว่า จำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าโทรศัพท์จำนวน 1 เครื่อง ที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "NOKIA" ของบริษัท น. ผู้เสียหาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้โดยชอบแล้ว โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีการปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้เสียหายดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามคำฟ้องดังกล่าว แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยกลับอุทธรณ์โดยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิด เพราะจำเลยเป็นเพียงผู้รับจ้างขายสินค้า มิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์ ไม่ทราบแหล่งที่มาของโทรศัพท์ของกลาง รวมทั้งไม่ทราบว่าโทรศัพท์ดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยทำงานเป็นพนักงานขายโทรศัพท์ที่ร้านเกิดเหตุชื่อร้าน จ. เพียงสองเดือนเศษก่อนถูกจับกุม จึงไม่มีความถนัดรอบรู้ในชนิดสินค้าที่เพิ่งรับหน้าที่ขาย ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงซึ่งขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14503/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ขัดแย้งกับคำรับสารภาพเดิม และการแก้ไขโทษทางอาญาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าโทรศัพท์จำนวน 1 เครื่อง ที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "NOKIA" ของผู้เสียหาย อันเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีผู้ทำปลอมเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้เสียหายซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้โดยชอบแล้ว โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีการปลอมเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้เสียหายดังกล่าว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามคำฟ้องดังกล่าว แต่เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาแล้วจำเลยกลับอุทธรณ์โดยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดเพราะจำเลยเป็นเพียงผู้รับจ้างขายสินค้า มิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์ ไม่ทราบแหล่งที่มาของโทรศัพท์ของกลาง รวมทั้งไม่ทราบว่าโทรศัพท์ดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยทำงานเป็นพนักงานขายโทรศัพท์ที่ร้านเกิดเหตุเพียงสองเดือนเศษก่อนถูกจับกุมจึงไม่มีความถนัดรอบรู้ในชนิดสินค้าที่เพิ่งรับหน้าที่ขาย ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงซึ่งขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13585/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความทางอาญาที่ไม่สมบูรณ์และการระงับคดีทรัพย์สินทางปัญญา ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณา
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาและจำเลยยื่นอุทธรณ์แล้ว การพิจารณาว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปหรือไม่และต้องจำหน่ายคดีในส่วนดังกล่าวหรือไม่จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ การที่ศาลดังกล่าวมีคำสั่งว่าผู้เสียหายกับจำเลยเป็นการยอมความกันโดยชอบ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 ระงับ และจำหน่ายคดีส่วนดังกล่าวออกจากสารบบความ จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศชอบที่จะมีคำสั่งในส่วนดังกล่าวเสียใหม่
ตามรายงานสรุปผลการไกล่เกลี่ยของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยแถลงขอชำระเงินบรรเทาค่าเสียหาย ฝ่ายผู้เสียหายแถลงตกลงรับเงินดังกล่าว แต่ในส่วนของคดีขอให้เป็นดุลพินิจของศาลโดยไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 จึงไม่ระงับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13584/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียน vs. ป.อ.272: ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าเฉพาะบทบัญญัติ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
การเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้า ของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรสำหรับสินค้าที่จำพวกที่ 9 รายการสินค้า ตลับคาร์ทริดจ์ตัวพิมพ์ (สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์) มาใช้โดยทำให้ปรากฏที่ซองถุงลมกันกระแทกสำหรับบรรจุตลับคาร์ทริดจ์ตัวพิมพ์ (สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์) ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรของผู้เสียหายกับสินค้าตลับคาร์ทริดจ์ตัวพิมพ์ (สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์) ของจำเลยทั้งสอง โดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าที่อยู่ในซองถุงลมกันกระแทกดังกล่าวเป็นสินค้าของผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักรตามที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 บัญญัติไว้เป็นความผิดโดยเฉพาะแล้ว ดังนี้ การเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อบรรจุสินค้าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้อื่นอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) นั้นต้องเป็นการเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักรมาใช้เท่านั้น เพราะหากเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าดังที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ได้บัญญัติไว้เป็นบทเฉพาะอยู่แล้ว บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 272 (1) จึงมีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองแก่ชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความที่เป็นเครื่องหมายการค้าเฉพาะที่เป็นเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน เมื่อเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร การเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้เสียหายมาใช้โดยทำให้ปรากฏที่หีบห่อเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของผู้เสียหายจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ได้อีก แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องก็ตาม ไม่ใช่เรื่องการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหานี้แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) ได้
ป.อ. มาตรา 29 บัญญัติว่า "ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับ หรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ..." คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่พิพากษาว่า หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าปรับให้กักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ. มาตรา 30 โดยไม่ได้ระบุให้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 29 และ 30 เป็นการบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าปรับโดยไม่ได้ยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 มาชดใช้ค่าปรับก่อนแล้วให้กักขังจำเลยที่ 2 แทนค่าปรับทันที ซึ่งเป็นการพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าปรับที่ไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13583/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทำให้ความผิดฐานละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเปลี่ยนจาก ป.อ. มาตรา 272 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
ความผิดฐานเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อแจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นนั้น แม้รูป Seiken ตามเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายจะเป็นรูป รอยประดิษฐ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าของผู้เสียหายด้วยก็ตาม แต่เมื่อผู้เสียหายได้นำรูป รอยประดิษฐ์ดังกล่าวไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจนมีสภาพเป็นเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักร อันมีผลทำให้ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนที่หากผู้อื่นปลอมเครื่องหมายการค้าจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272 (1) อีก ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้า ร่วมกันมีสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมไว้เพื่อจำหน่าย และร่วมกันเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อแจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่น จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ดังฟ้องโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนากระทำความผิดดังที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองจะมาอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นอีกมิได้เพราะขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสอง และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัยให้
of 28