พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7590/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษคดีอาญาตามมาตรา 335 และการใช้กฎหมายในขณะกระทำผิดเมื่อมีการแก้ไขโทษ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) (8) วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท เมื่อความผิดในมาตราดังกล่าวไม่ใช่คดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จึงไม่อยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย และศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์เสียก่อน หากศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพ ก็คงลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ดังนั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นย่อมฟังว่าจำเลยกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) (8) วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 ตามฟ้องได้ โดยไม่ต้องนำสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดดังกล่าวจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 15 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 335 วรรคสอง และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน ปรากฏว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากัน ส่วนโทษปรับตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิมต้องถือว่า กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 15 ให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 335 วรรคสอง และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน ปรากฏว่าโทษจำคุกตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากัน ส่วนโทษปรับตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิมต้องถือว่า กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7530/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีเยาวชน แก้ไขโทษจำคุกเป็นฝึกอบรม และลดบทลงโทษ ศาลอุทธรณ์แก้โทษแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 80 ประกอบมาตรา 83 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุสิบห้าปีเศษ ลดมาตราส่วนให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75 จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี 9 เดือน อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 (1) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี หากจำเลยอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ แต่ยังควบคุมตัวจำเลยไม่ครบระยะเวลาฝึกอบรมขั้นสูง เหลือระยะเวลาเท่าไร ก็ให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกจนกว่าจะครบระยะเวลาฝึกอบรมดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75 จำคุก 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 9 เดือน ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี ข้อหาอื่นให้ยก นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษ และแก้ไขระยะเวลาฝึกอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ลงโทษจำเลยไม่เกินห้าปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้พิพากษาให้ลงโทษจำเลยเกินห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ขอให้ลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7528/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: คดีเยาวชน ลดโทษจำคุกเป็นฝึกอบรม แล้วจำคุกต่อ ศาลอุทธรณ์ยืน ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้าม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 371 (เดิม) พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิวรรคสอง, 72 วรรคสาม, 72 ทวิวรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 และลดมาตราส่วนให้กึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 75 คงจำคุก 6 ปี 6 เดือน อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142(1) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกำหนดขั้นต่ำ 4 ปี ขั้นสูง 5 ปี หากจำเลยอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ แต่ยังควบคุมตัวจำเลยไม่ครบระยะเวลาฝึกอบรม เหลือระยะเวลาเท่าใด ก็ให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกจนกว่าจะครบระยะเวลาฝึกอบรมดังกล่าว ซึ่งการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรม และจากนั้นส่งตัวจำเลยไปจำคุกยังเรือนจำเช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยจึงไม่เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 ถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ขอให้พิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7404/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดียาเสพติด: จำเลยต้องได้รับการยกประโยชน์แห่งความสงสัยเมื่อพยานหลักฐานโจทก์มีข้อสงสัย
แม้ก่อนเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจได้รับแจ้งจากสายลับว่า จำเลยและ ส. มีพฤติกรรมลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้โทษให้แก่คนในหมู่บ้าน และได้วางแผนล่อซื้อให้สายลับเข้าไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนที่ศาลาที่พักที่เกิดเหตุ แต่เมื่อสายลับส่งสัญญาณให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลยกับพวก กลับพบโทรศัพท์เคลื่อนที่หมายเลขที่สายลับโทรติดต่อขอซื้อเมทแอมเฟตามีน และธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อของกลางที่ ว. ภริยาของ ส. ไม่ได้พบที่จำเลย และสายลับติดต่อทางโทรศัพท์เคลื่อนที่กับ ส. ไม่ใช่ติดต่อกับจำเลยโดยตรง เจ้าพนักงานตำรวจทั้งสามปากเบิกความขัดแย้งกันเรื่องจำเลย หรือ ส. ผู้ใดเป็นคนส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ ทั้งที่ต่างอ้างว่าซุ่มดูอยู่ห่างที่เกิดเหตุประมาณ 30 เมตร สามารถมองเห็นเหตุการณ์ได้ชัดเจนไม่มีกำแพงหรือสิ่งใดบดบัง คำเบิกความจึงไม่น่าเชื่อถือ โจทก์ไม่ได้นำสายลับมาเบิกความยืนยันว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย โจทก์ฎีกาว่าบันทึกคำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของ ว. ระบุสอดคล้องกันว่า จำเลยร่วมจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนด้วย แม้คำรับสารภาพชั้นจับกุม กฎหมายห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับกุม ไม่ได้ห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ร่วมกระทำผิดคนอื่นก็ตาม แต่บันทึกคำให้การชั้นจับกุมก็ดี ชั้นสอบสวนก็ดี ล้วนเป็นพยานบอกเล่า ซึ่ง ว. เบิกความปฏิเสธว่า ลงชื่อในบันทึกการจับกุมโดยไม่ได้อ่าน ส่วนคำให้การชั้นสอบสวน ตนก็ไม่ได้ให้การเช่นนั้น จึงเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักน้อย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานอื่นใดมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยมีพฤติการณ์หรือร่วมรู้เห็นในการมีและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอดพยานโจทก์เท่าที่นำสืบมามีข้อสงสัยตามสมควร ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.เยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7403/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดมีผลผูกพันคดีแพ่งที่เกี่ยวข้อง การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
คดีนี้ ในส่วนอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์มิได้ฎีกา ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ อันจะใช้สิทธิฎีกาในคดีส่วนอาญาดังกล่าวได้ คดีส่วนอาญาย่อมยุติและถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลชั้นอุทธรณ์จึงถือได้ว่า จำเลยมิได้ร่วมกระทำความผิดกับพวก แม้คดีส่วนแพ่งของผู้ร้องจะมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาเกินสองแสนบาท และไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญารับฟังเป็นยุติแล้วว่า จำเลยมิได้ร่วมกระทำความผิด ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ข้อเท็จจริงในส่วนคดีแพ่งจึงต้องฟังว่า จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อผู้ตายอันจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7345/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ผลกระทบแก้ไข ป.พ.พ. และการกำหนดจำนวนค่าเลี้ยงดูตามฐานะ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยซึ่งเป็นบิดา เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันที่โจทก์เกิดจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,720,000 บาท จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ได้ขาดอายุความตามมาตราดังกล่าว เพราะมิใช่การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จำเลยกลับอุทธรณ์ว่า คดีขาดอายุความตามมาตรา 1547 แทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ประเด็นนี้เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยมิได้โต้แย้งโดยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ประเด็นอายุความจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้อายุความในคดีแพ่งจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่จำเลยต้องยกต่อสู้เป็นประเด็นตั้งแต่ในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยไม่ยกต่อสู้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงชอบแล้ว
เดิม ป.พ.พ. มาตรา 1557 บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผล... (3) นับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตร แต่ต่อมาได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตราดังกล่าว นับแต่วันที่ 8 มีนาคม 2551 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด บทบัญญัติดังกล่าวมีผลให้เด็กมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปนับแต่วันที่เด็กเกิด ย่อมมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูได้นับแต่วันคลอดและสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรรวมกันมาเป็นคดีเดียวกับการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ทีเดียว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แก้ไขเพิ่มเติม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูนับแต่วันที่โจทก์เกิดจนถึงวันฟ้องจึงชอบแล้ว หาใช่นับแต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามที่จำเลยฎีกาไม่
แม้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1564 จะกำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างเป็นผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน และในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่ากันก็ตาม แต่ไม่จำเป็นเสมอไปว่าบิดามารดาต้องให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรเป็นจำนวนเท่า ๆ กันตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาปรับแก้ให้เท่ากัน โดยลดค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ จากที่ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดให้รวม 1,370,000 บาท เหลือ 685,000 บาท เพราะการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดู ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 กำหนดให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์แห่งคดี ทั้งมาตรา 1598/39 ศาลจะสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้นหรือลดลงในภายหลังก็ได้ แม้โจทก์มิได้ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในปัญหาข้อนี้ แต่การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดได้ตามที่เห็นควร แม้คู่ความมิได้ขอ และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด 1,370,000 บาท จึงชอบแล้ว
เดิม ป.พ.พ. มาตรา 1557 บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผล... (3) นับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตร แต่ต่อมาได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตราดังกล่าว นับแต่วันที่ 8 มีนาคม 2551 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด บทบัญญัติดังกล่าวมีผลให้เด็กมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปนับแต่วันที่เด็กเกิด ย่อมมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูได้นับแต่วันคลอดและสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรรวมกันมาเป็นคดีเดียวกับการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ทีเดียว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แก้ไขเพิ่มเติม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูนับแต่วันที่โจทก์เกิดจนถึงวันฟ้องจึงชอบแล้ว หาใช่นับแต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามที่จำเลยฎีกาไม่
แม้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1564 จะกำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างเป็นผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน และในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่ากันก็ตาม แต่ไม่จำเป็นเสมอไปว่าบิดามารดาต้องให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรเป็นจำนวนเท่า ๆ กันตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาปรับแก้ให้เท่ากัน โดยลดค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ จากที่ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดให้รวม 1,370,000 บาท เหลือ 685,000 บาท เพราะการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดู ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 กำหนดให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์แห่งคดี ทั้งมาตรา 1598/39 ศาลจะสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้นหรือลดลงในภายหลังก็ได้ แม้โจทก์มิได้ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในปัญหาข้อนี้ แต่การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดได้ตามที่เห็นควร แม้คู่ความมิได้ขอ และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด 1,370,000 บาท จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7343/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนอนุสิทธิบัตร: โจทก์ต้องรอผลการตรวจสอบก่อนฟ้องคดี
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 กำหนดเงื่อนไขวิธีการได้มาซึ่งอนุสิทธิบัตร การปฏิเสธคำขอรับอนุสิทธิบัตร และการให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ไว้ในหมวด 3 ทวิ ซึ่งมีเงื่อนไขแยกต่างหากจากการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในหมวด 2 โดยมีขั้นตอนในกระบวนการพิจารณาและการตรวจสอบคำขอรับอนุสิทธิบัตรโดยฝ่ายพนักงานเจ้าหน้าที่น้อยกว่าในกระบวนการพิจารณาและการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และให้ความคุ้มครองในสิทธิตามอนุสิทธิบัตรซึ่งมีระยะเวลาที่สั้นกว่าการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์
อย่างไรก็ตาม ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศโฆษณาการจดทะเบียนการประดิษฐ์และการออกอนุสิทธิบัตร บุคคลผู้มีส่วนได้เสียอาจขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ดังกล่าวมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 65 ฉ การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมจำเลยที่ 1 กรณีที่อธิบดีของจำเลยที่ 1 มีคำวินิจฉัยว่าการประดิษฐ์นั้นมีลักษณะตามมาตรา 65 ทวิ ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรตามมาตรา 72 ส่วนการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรที่ให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรให้อุทธรณ์ต่อศาล คู่กรณีฝ่ายใดไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 74 หรืออีกวิธีทางหนึ่งได้กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการสามารถฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ หากอนุสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์เพราะขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ รวมถึงคำขอรับอนุสิทธิบัตรที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 9, 10, 11 หรือ 14 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 นว
กระบวนการใช้สิทธิขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรทั้งสองวิธีดังกล่าวเป็นกระบวนการทางเลือก หากบุคคลผู้มีส่วนได้เสียเลือกที่จะใช้สิทธิยื่นขอให้มีการตรวจสอบตามมาตรา 65 ฉ แล้ว ย่อมต้องผูกพันในกระบวนการที่ตนเลือก และไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลจนกว่ากระบวนการดังกล่าวจะสิ้นสุดและนำคดีขึ้นสู่ศาลตามมาตรา 72 และ 74 และไม่อาจนำเรื่องเดียวกันมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวได้อีก เพราะหากนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องได้อีกก็จะมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มีการพิสูจน์สิทธิในเรื่องเดียวกันระหว่างคู่กรณีเดียวกันซ้ำซ้อน
เมื่อโจทก์ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ว่ามีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ และอธิบดีของจำเลยที่ 1 ยังไม่มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำขอตรวจสอบดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 65 นว
อย่างไรก็ตาม ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศโฆษณาการจดทะเบียนการประดิษฐ์และการออกอนุสิทธิบัตร บุคคลผู้มีส่วนได้เสียอาจขอให้ตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ดังกล่าวมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 65 ฉ การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมจำเลยที่ 1 กรณีที่อธิบดีของจำเลยที่ 1 มีคำวินิจฉัยว่าการประดิษฐ์นั้นมีลักษณะตามมาตรา 65 ทวิ ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสิทธิบัตรตามมาตรา 72 ส่วนการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการสิทธิบัตรที่ให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรให้อุทธรณ์ต่อศาล คู่กรณีฝ่ายใดไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 74 หรืออีกวิธีทางหนึ่งได้กำหนดให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการสามารถฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรได้ หากอนุสิทธิบัตรนั้นไม่สมบูรณ์เพราะขาดความใหม่ตามมาตรา 65 ทวิ รวมถึงคำขอรับอนุสิทธิบัตรที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 65 ทศ ประกอบมาตรา 9, 10, 11 หรือ 14 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 นว
กระบวนการใช้สิทธิขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรทั้งสองวิธีดังกล่าวเป็นกระบวนการทางเลือก หากบุคคลผู้มีส่วนได้เสียเลือกที่จะใช้สิทธิยื่นขอให้มีการตรวจสอบตามมาตรา 65 ฉ แล้ว ย่อมต้องผูกพันในกระบวนการที่ตนเลือก และไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลจนกว่ากระบวนการดังกล่าวจะสิ้นสุดและนำคดีขึ้นสู่ศาลตามมาตรา 72 และ 74 และไม่อาจนำเรื่องเดียวกันมาฟ้องขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรดังกล่าวได้อีก เพราะหากนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องได้อีกก็จะมีผลเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มีการพิสูจน์สิทธิในเรื่องเดียวกันระหว่างคู่กรณีเดียวกันซ้ำซ้อน
เมื่อโจทก์ยื่นคำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ตามอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 ว่ามีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ หรือไม่ และอธิบดีของจำเลยที่ 1 ยังไม่มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำขอตรวจสอบดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรของจำเลยที่ 2 อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 65 นว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7070/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: สัญญาประนีประนอมมีความ binding แม้ผู้เยาว์อยู่กับผู้จ่ายหรือไม่
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อศาลชั้นต้น ในข้อ 2 ว่า "ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสามร่วมกัน" ข้อ 3 วรรคสองของสัญญาระบุว่า "สำหรับค่าอุปกรณ์เลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสาม ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบ" จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า สัญญาประนีประนอมนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่า หากบุตรผู้เยาว์ทั้งสามพักอาศัยอยู่กับใครคนนั้นจะเป็นผู้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์พาบุตรผู้เยาว์ทั้งสามไปดูแลในช่วงที่จำเลยที่ 1 ถูกคุมขังในคดีอาญา จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสามนั้น เป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับสัญญาประนีประนอมที่ทำไว้ด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายต่อหน้าศาล ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 จะจ่ายเมื่อบุตรผู้เยาว์ทั้งสามอยู่กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงมีสิทธิขอบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินแทนทายาท & สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการแบ่งทรัพย์สินร่วม
จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นการถือครองที่ดินแทนทายาทคือโจทก์ทั้งสองในฐานะที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย หาใช่เป็นการยึดถือครอบครองไว้ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวไม่ แม้จำเลยจะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ และการที่โจทก์ทั้งสองขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเป็นการขอแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 โดยไม่มีอายุความ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกให้แบ่งมรดก จำเลยจึงไม่อาจยกเอาเรื่องอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาปรับแก่คดีได้
การขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แม้ศาลจะพิพากษาให้แบ่งปันทรัพย์สินกัน แต่ยังต้องดำเนินการอีกหลายขั้นตอนในการแบ่งทรัพย์สินกันตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1364 คำขอของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับมูลหนี้ที่ไม่อาจคาดการณ์หรือกล่าวอ้างได้ในอนาคต จึงไม่ใช่มูลหนี้ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองจะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องในการเรียกร้องค่าเสียหาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2560)
การขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แม้ศาลจะพิพากษาให้แบ่งปันทรัพย์สินกัน แต่ยังต้องดำเนินการอีกหลายขั้นตอนในการแบ่งทรัพย์สินกันตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1364 คำขอของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับมูลหนี้ที่ไม่อาจคาดการณ์หรือกล่าวอ้างได้ในอนาคต จึงไม่ใช่มูลหนี้ที่ให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองจะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องในการเรียกร้องค่าเสียหาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2560)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4224/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แม้ภายหลังพบข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่เป็นไปตามที่ตกลง หากไม่มีเหตุเพิกถอน
โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสที่โจทก์ขอแบ่ง ได้แก่ ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงว่าโจทก์จำเลยร่วมกันซื้อที่ดินดังกล่าว โดยให้จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มาศาลด้วยตนเองและยังมีทนายความโจทก์มาศาลและร่วมลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมด้วย โจทก์มีโอกาสที่จะคัดค้านข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความได้ในขณะที่ทำสัญญาหากไม่เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ไม่คัดค้าน ย่อมแสดงว่าโจทก์พอใจในผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย เมื่อศาลพิพากษาตามยอมแล้วคำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ในภายหลังโจทก์จะมาอ้างว่าทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ถูกเอาเปรียบและเสียหายจากการฉ้อฉลของจำเลยในวันทำสัญญาทั้ง ๆ ที่ในสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่ได้มีเหตุทุจริตผิดกฎหมาย หรือไม่เป็นไปตามข้อตกลงกันอันจะเป็นเหตุที่จะขอเพิกถอนได้ ตามมาตรา 138 วรรคสอง