พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาต้องยกประเด็นในชั้นอุทธรณ์ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงถึงที่สุดตามอำนาจศาลอุทธรณ์ และการลดโทษจากคำรับสารภาพ
ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์โต้แย้งเฉพาะในส่วนดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลชั้นต้นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาในทำนองว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องนั้น จึงเป็นการฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะเหตุจำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้กระทำความผิดได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางตาม พ.ร.บ.แร่: หน้าที่การพิสูจน์ของเจ้าของทรัพย์สินในการป้องกันการกระทำผิด
ผู้ร้องขอให้ริบรถของกลางตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 154 ซึ่งมาตราดังกล่าววรรคท้าย บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านผู้ขอคืนของกลาง ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าผู้คัดค้านไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดและจะมีการนำทรัพย์สินของกลางดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด อีกทั้งผู้คัดค้านได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ศาลจึงจะไม่ริบของกลาง แต่ทางนำสืบของผู้คัดค้านได้ความเพียงว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของทรัพย์สินของกลางดังกล่าวและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่อันเป็นข้อนำสืบตาม ป.อ. มาตรา 36 ซึ่ง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 154 วรรคท้าย มิให้นำมาใช้บังคับ เมื่อผู้คัดค้านไม่สามารถพิสูจน์ข้ออ้างตามพระราชบัญญัติแร่ฯ ดังกล่าวได้ พยานหลักฐานของผู้คัดค้านจึงไม่เพียงพอที่จะให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินของกลางแก่ผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11058/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและพรากเด็กเพื่ออนาจาร: พยานหลักฐานของผู้เสียหายมีน้ำหนักกว่าคำเบิกความของจำเลย
จำเลยฎีกาว่า การสอบสวนไม่ชอบเพราะพนักงานสอบสวนละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้แสดงไว้โดยชัดแจ้งว่าพนักงานสอบสวนละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8718/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลตามกฎกระทรวง แม้ไม่มีการใช้น้ำจริง โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์การใช้งาน
พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 เป็นกฎหมายพิเศษที่มีเจตนารมณ์ที่จะควบคุมดูแลการขุดเจาะน้ำบาดาลและการระบายน้ำลงบ่อบาดาล ทั้งนี้ เพื่อป้องกันรักษาแหล่งน้ำบาดาลซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้ขาดแคลนหรือเสียหาย อีกทั้งป้องกันการทรุดตัวของแผ่นดินและการก่อให้เกิดมลพิษแก่น้ำบาดาลอันเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินหรือสุขภาพของประชาชน อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แม้ขณะที่จำเลยขุดเจาะน้ำบาดาลในที่ดินของจำเลย บริเวณพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรียังไม่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตน้ำบาดาล แต่เมื่อต่อมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) กำหนดเขตน้ำบาดาลเพิ่มเติมโดยให้ท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเขตน้ำบาดาล และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2538 ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2538 เป็นต้นไป การประกอบกิจการน้ำบาดาลโดยการขุดเจาะน้ำบาดาลหรือใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลทั้งสิบสองบ่อในที่ดินจำเลยที่อยู่ในเขตน้ำบาดาลตามฟ้องจะต้องอยู่ภายใต้ความควบคุมของโจทก์ และจำเลยจะต้องขอรับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตามมาตรา 17 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 และจำเลยจะต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามที่ระบุไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 จึงไม่ได้มีผลย้อนหลังบังคับแก่การขุดเจาะน้ำบาดาลและการใช้น้ำบาดาลของจำเลยก่อนวันที่ 18 มกราคม 2538
ในการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับอนุญาตนั้นโจทก์เรียกเก็บตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) โดยหากผู้รับใบอนุญาตไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำบาดาลก็เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) ข้อ 2 (2) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) ข้อ 3 (2) ที่ไม่อาจคำนวณปริมาณน้ำบาดาลที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้ได้ ซึ่งตามกฎกระทรวงทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตโดยไม่คำนึงว่าจะมีการใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่ เพียงใด เพราะเป็นกรณีที่ไม่สามารถคำนวณการใช้น้ำบาดาลได้ เนื่องจากผู้รับใบอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำ ซึ่งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการใช้น้ำบาดาลจากบ่อของผู้ได้รับใบอนุญาตในที่ดินของผู้รับใบอนุญาตนั้นอยู่ในความรู้เห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้จริง กฎกระทรวงจึงกำหนดเป็นภาระของผู้ได้รับใบอนุญาตที่จะต้องชำระค่าน้ำบาดาลในปริมาณสูงสุดตามใบอนุญาต โจทก์ไม่มีหน้าที่ภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยได้ใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่
แม้ขณะที่จำเลยขุดเจาะน้ำบาดาลในที่ดินของจำเลย บริเวณพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรียังไม่ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตน้ำบาดาล แต่เมื่อต่อมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) กำหนดเขตน้ำบาดาลเพิ่มเติมโดยให้ท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีเป็นเขตน้ำบาดาล และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2538 ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2538 เป็นต้นไป การประกอบกิจการน้ำบาดาลโดยการขุดเจาะน้ำบาดาลหรือใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลทั้งสิบสองบ่อในที่ดินจำเลยที่อยู่ในเขตน้ำบาดาลตามฟ้องจะต้องอยู่ภายใต้ความควบคุมของโจทก์ และจำเลยจะต้องขอรับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ตามมาตรา 17 และมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 และจำเลยจะต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามที่ระบุไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) พ.ร.บ.น้ำบาดาล พ.ศ.2520 จึงไม่ได้มีผลย้อนหลังบังคับแก่การขุดเจาะน้ำบาดาลและการใช้น้ำบาดาลของจำเลยก่อนวันที่ 18 มกราคม 2538
ในการเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาลจากบ่อน้ำบาดาลที่ได้รับอนุญาตนั้นโจทก์เรียกเก็บตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) โดยหากผู้รับใบอนุญาตไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำบาดาลก็เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2537) ข้อ 2 (2) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2540) ข้อ 3 (2) ที่ไม่อาจคำนวณปริมาณน้ำบาดาลที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้ได้ ซึ่งตามกฎกระทรวงทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าใช้น้ำบาดาลตามปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตโดยไม่คำนึงว่าจะมีการใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่ เพียงใด เพราะเป็นกรณีที่ไม่สามารถคำนวณการใช้น้ำบาดาลได้ เนื่องจากผู้รับใบอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลไม่ได้ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำ ซึ่งข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการใช้น้ำบาดาลจากบ่อของผู้ได้รับใบอนุญาตในที่ดินของผู้รับใบอนุญาตนั้นอยู่ในความรู้เห็นของผู้ได้รับใบอนุญาตเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะสามารถตรวจสอบปริมาณน้ำที่ผู้ได้รับใบอนุญาตใช้จริง กฎกระทรวงจึงกำหนดเป็นภาระของผู้ได้รับใบอนุญาตที่จะต้องชำระค่าน้ำบาดาลในปริมาณสูงสุดตามใบอนุญาต โจทก์ไม่มีหน้าที่ภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยได้ใช้น้ำบาดาลจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาเรื่องทำให้เสียทรัพย์ แม้จำเลยอ้างกรรมสิทธิ์ที่ดิน แต่โจทก์อ้างการครอบครองโดยชอบ ศาลต้องไต่สวน
คดีอาญาเรื่องใดจะต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาอัตราโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดเป็นสำคัญ เมื่อความผิดในกระทงนั้นมีความผิดหลายบทรวมอยู่ด้วย ถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ก็ถือว่าทุกบทไม่ต้องห้าม
แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้อง แต่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่แท้จริงและได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องจากบิดาตลอดมา โดยจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการครอบครองที่ดินโดยชอบ กรณีเช่นนี้หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน ก็ชอบที่จะดำเนินการตามกฎหมายเพื่อรักษาสิทธิของตน ไม่มีสิทธิหรืออำนาจเข้าไปรบกวนการครอบครองของโจทก์โดยพลการการที่จำเลยได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินแล้วทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย จึงอาจมีมูลเป็นความผิดตามฟ้องได้ เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 ที่จะรับไว้ไต่สวนมูลฟ้อง
แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้อง แต่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่แท้จริงและได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องจากบิดาตลอดมา โดยจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นการครอบครองที่ดินโดยชอบ กรณีเช่นนี้หากจำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน ก็ชอบที่จะดำเนินการตามกฎหมายเพื่อรักษาสิทธิของตน ไม่มีสิทธิหรืออำนาจเข้าไปรบกวนการครอบครองของโจทก์โดยพลการการที่จำเลยได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินแล้วทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหาย จึงอาจมีมูลเป็นความผิดตามฟ้องได้ เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 ที่จะรับไว้ไต่สวนมูลฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8472/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไข ศาลไม่อาจปรับโทษเดิมเมื่อคดีถึงที่สุดหลังกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 และคดีของจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 และศาลฎีกาพิพากษาหลังจาก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ใช้บังคับแล้ว และได้ปรับบทลงโทษและกำหนดโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่แล้ว กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ใหม่ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7892/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษในชั้นอุทธรณ์ และการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่เพื่อประโยชน์แก่จำเลย
แม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ขอให้ลดโทษและโจทก์อุทธรณ์เพียงข้อกฎหมายว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานนั้นสูงเกินไป ก็มีอำนาจกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่รูปคดี อันเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษแก่จำเลยตามความผิดของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกอุทธรณ์ซึ่งจะเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 ประกอบด้วยมาตรา 215 แต่อย่างใด
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ข้อความใหม่แทน สำหรับคดีนี้ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 (เดิม) กำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดสำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะบังคับตาม ป.อ. มาตรา 75 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรพิจารณาลงโทษก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควร การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ข้อความใหม่แทน สำหรับคดีนี้ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 (เดิม) กำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดสำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะบังคับตาม ป.อ. มาตรา 75 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรพิจารณาลงโทษก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควร การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6034/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์องค์ประกอบสินค้าในสัญญาซื้อขาย ผู้ผลิตต้องพิสูจน์ตามที่ระบุ หากพิสูจน์ไม่ได้ ถือผิดสัญญา
โจทก์เป็นผู้ผลิตและระบุองค์ประกอบรวมทั้งแสดงข้อบ่งใช้ไว้ในฉลากย่อมต้องมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่ายาฆ่าเชื้ออัล-ไบโอไซด์ 25 มีส่วนประกอบตามที่ระบุไว้จริง ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์จึงไม่ถูกต้อง และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขและวินิจฉัยไปตามภาระการพิสูจน์ที่ถูกต้องได้
เมื่อโจทก์มีภาระการพิสูจน์ แต่ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า ย่าฆ่าเชื้ออัล-ไบโอไซด์ 25 มีสารกลูตารัลดีไฮด์เป็นองค์ประกอบอยู่ 12.5 เปอร์เซนต์ ตามที่ระบุไว้ในฉลากจึงต้องถือว่าโจทก์ส่งมอบสินค้าที่ซื้อไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสัญญา โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่ชำระราคาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
เมื่อโจทก์มีภาระการพิสูจน์ แต่ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า ย่าฆ่าเชื้ออัล-ไบโอไซด์ 25 มีสารกลูตารัลดีไฮด์เป็นองค์ประกอบอยู่ 12.5 เปอร์เซนต์ ตามที่ระบุไว้ในฉลากจึงต้องถือว่าโจทก์ส่งมอบสินค้าที่ซื้อไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสัญญา โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และเมื่อสัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่ชำระราคาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5228/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง vs ลักทรัพย์ และรับของโจร: การกระทำที่เข้าข่ายความผิดทางอาญา
การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์เพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้ การที่ผู้เสียหายยินยอมส่งมอบรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เนื่องจากถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงให้ทำสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน เพียงแต่อาศัยสัญญาดังกล่าว เพื่อเป็นช่องทางให้ได้รถจักรยานยนต์ของกลางก็ตาม ก็ถือเป็นส่งมอบการครอบครองโดยสมัครใจ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ลักทรัพย์
จำเลยที่ 4 รับซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณา แม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ได้กล่าวในฟ้องที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทำผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ และจำเลยที่ 4 รับซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยทั้งสี่มิได้หลงข้อต่อสู้ และไม่ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ การกระทำของจำเลยที่ 4 ถือว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร
จำเลยที่ 4 จ่ายเงินค่าซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 มอบกุญแจรถของกลางให้แก่จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 ขึ้นนั่งคร่อมรถจะขับออกไป แต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเสียก่อน ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้รับทรัพย์ที่ซื้อจากจำเลยที่ 3 ไว้แล้ว เป็นความผิดฐานรับของโจรสำเร็จแล้ว หาใช่เป็นเพียงพยายามรับของโจร การปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และศาลลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฐานร่วมกันฉ้อโกงและลงโทษจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจร ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม
จำเลยที่ 4 รับซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณา แม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ได้กล่าวในฟ้องที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทำผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ และจำเลยที่ 4 รับซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยทั้งสี่มิได้หลงข้อต่อสู้ และไม่ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ การกระทำของจำเลยที่ 4 ถือว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร
จำเลยที่ 4 จ่ายเงินค่าซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 มอบกุญแจรถของกลางให้แก่จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 ขึ้นนั่งคร่อมรถจะขับออกไป แต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเสียก่อน ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้รับทรัพย์ที่ซื้อจากจำเลยที่ 3 ไว้แล้ว เป็นความผิดฐานรับของโจรสำเร็จแล้ว หาใช่เป็นเพียงพยายามรับของโจร การปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และศาลลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฐานร่วมกันฉ้อโกงและลงโทษจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจร ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4143/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่งในการลดโทษคดียาเสพติด ต้องเป็นข้อมูลที่ช่วยปราบปรามการกระทำความผิดได้จริง
การที่ผู้กระทำความผิดจะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 จะต้องประกอบด้วยเหตุสองประการ กล่าวคือ ผู้กระทำความผิดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญ และข้อมูลนั้นจะต้องเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ลำพังเพียงให้ข้อมูลแต่ไม่เป็นประโยชน์ หรือเป็นประโยชน์ธรรมดาที่มิได้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หรือเป็นประโยชน์แต่มิใช่ข้อมูลที่สำคัญ ผู้ให้ข้อมูลหาได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติดังกล่าวไม่ คดีนี้แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากจับกุมจำเลยได้แล้ว จำเลยได้ให้ข้อมูลต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่ายังมีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่ที่บ้านของจำเลยพร้อมกับพาเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนมาเป็นของกลางอีก 700 เม็ด กับจำเลยให้การต่อผู้จับกุมจำเลยและพนักงานสอบสวนถึงเส้นทางในการขยายผลเพื่อจับกุมผู้ร่วมกระทำผิดคนอื่นต่อไปด้วยนั้นก็ตาม แต่ของกลางดังกล่าวถูกซุกซ่อนอยู่ในตู้เสื้อผ้าในห้องนอนของจำเลยเอง ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจต้องติดตามไปตรวจค้นที่บ้านพักของจำเลยและตรวจพบของกลางได้โดยไม่ยาก ส่วนที่จำเลยให้การต่อผู้จับกุมจำเลยและพนักงานสอบสวนนั้น ข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนมีการสืบสวนสอบสวนขยายผลในการจับกุมผู้กระทำความผิดอื่นมาดำเนินคดีโดยอาศัยข้อมูลของจำเลยแต่ประการใด ดังนี้ กรณีดังกล่าวจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนอันจะเป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2554)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2554)