พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลและการสิ้นสิทธิเรียกร้องบังคับคดีเกิน 10 ปี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันและอนุญาตให้ผ่อนชำระค่าปรับเดือนละ 3,000 บาท แต่ผู้ประกันมิได้ชำระค่าปรับต่อศาลตั้งแต่เดือนแรกและตลอดมา การที่ผู้ประกันไม่ชำระค่าปรับตามที่ศาลมีคำสั่งให้ผ่อนชำระแม้แต่เพียงเดือนแรกผู้ประกันย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลทั้งหมดพนักงานอัยการจึงมีอำนาจที่จะดำเนินการในการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประกัน โดยขอให้ศาลบังคับให้ผู้ประกันชำระค่าปรับทั้งหมดได้ทันทีนับแต่วันที่ผู้ประกันผิดนัด แต่ทั้งนี้ก็จะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลที่สั่งปรับผู้ประกันภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำสั่ง เมื่อพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีเกินกว่า10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลและการหมดอายุสิทธิบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันและอนุญาตให้ผ่อนชำระค่าปรับเดือนละ 3,000 บาท แต่ผู้ประกันมิได้ชำระค่าปรับต่อศาลตั้งแต่เดือนแรกและตลอดมา การที่ผู้ประกันไม่ชำระค่าปรับตามที่ศาลมีคำสั่งให้ผ่อนชำระแม้แต่เพียงเดือนแรก ผู้ประกันย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลทั้งหมด พนักงานอัยการจึงมีอำนาจที่จะดำเนินการในการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประกัน โดยขอให้ศาลบังคับให้ผู้ประกันชำระค่าปรับทั้งหมดได้ทันทีนับแต่วันที่ผู้ประกันผิดนัด แต่ทั้งนี้ก็จะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลที่สั่งปรับผู้ประกันภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำสั่ง เมื่อพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีจากสัญญาประกัน: พนักงานอัยการต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับจากคำสั่งศาล
เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะต้องดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น แต่เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไร จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับ คือจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลภายใน 10 ปี เมื่อพนักงานอัยการมาร้องขอให้ศาลบังคับคดีเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไป
ศาลยึดโฉนดที่ผู้ประกันนำมาให้ศาลยึดไว้ประกอบสัญญาประกันก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ เมื่อการบังคับชำระหนี้ไม่อาจกระทำได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะยึดโฉนดของผู้ประกันไว้ต่อไป
ศาลยึดโฉนดที่ผู้ประกันนำมาให้ศาลยึดไว้ประกอบสัญญาประกันก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ เมื่อการบังคับชำระหนี้ไม่อาจกระทำได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะยึดโฉนดของผู้ประกันไว้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีตามสัญญาประกัน: พนักงานอัยการต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับจากคำสั่งศาล
เมื่อศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกันแล้ว ถ้าผู้ประกันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลย่อมเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะต้องดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น แต่เนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไร จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาใช้บังคับ คือจะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลภายใน 10 ปีเมื่อพนักงานอัยการมาร้องขอให้ศาลบังคับคดีเกินกว่า 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไป ศาลยึดโฉนดที่ผู้ประกันนำมาให้ศาลยึดไว้ประกอบสัญญาประกันก็เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ เมื่อการบังคับชำระหนี้ไม่อาจกระทำได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะยึดโฉนดของผู้ประกันไว้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: สัญญาที่ทำกับพนักงานสอบสวนมีผลผูกพันโจทก์ผู้บังคับบัญชา
โจทก์ควบคุมตัว ส. ไว้ดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกงประชาชนระหว่างสอบสวน โจทก์อนุญาตให้จำเลยประกันตัว ส. ไป โดยทำสัญญาประกันไว้กับโจทก์ว่า ถ้าผิดสัญญาจำเลยยอมชดใช้เงินจำนวน200,000 บาท โจทก์กำหนดให้จำเลยส่งตัว ส.4 ครั้ง จำเลยไม่เคยส่งตัว ส. เลย เป็นเวลานานถึง 2 ปีเศษ จำเลยก็ยังไม่สามารถส่งตัว ส. ผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยขวนขวายติดตามตัวส.เพื่อนำมาส่งมอบให้แก่โจทก์แต่ประการใดประกอบกับส.ต้องหาว่าฉ้อโกงประชาชนเป็นจำนวนเงินถึง 190,000 บาทเศษ เมื่อไม่ได้ตัว ส.มาดำเนินคดีนอกจากส. จะไม่ต้องได้รับโทษแล้วผู้เสียหายก็ไม่มีโอกาสจะได้รับเงินคืนด้วย พฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุลดค่าปรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอัยการจำกัดเฉพาะคดีผิดสัญญาประกันหลังคดีถึงที่สุด เมื่อไม่มีผิดสัญญา อัยการไม่มีอำนาจฎีกา
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยผู้ต้องหาทั้งสามชั่วคราวระหว่างสอบสวน โดย ฉ. ผู้ประกันได้วางหลักประกันเป็นเงินสด 60,000 บาท และทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว ฉ. มาขอหลักประกันคืน ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนหลักประกันแก่ผู้ประกัน ดังนี้ พนักงานอัยการจะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการเกี่ยวกับสัญญาประกันนั้นมีเฉพาะกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันแต่เมื่อความรับผิดตามสัญญาประกันของ ฉ. สิ้นสุดลงแล้ว อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันก็ย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานอัยการจำกัดเฉพาะคดีผิดสัญญาประกัน ไม่ครอบคลุมการขอคืนหลักประกันหลังความรับผิดสิ้นสุด
พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาประกันจำเลย เฉพาะกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันเพื่อดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันเท่านั้น การที่ผู้ประกันขอรับหลักประกันคืนภายหลังความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 118 แม้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งเป็นประการใด พนักงานอัยการก็ไม่มีอำนาจที่จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2011/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามสัญญาประกัน กรณีจำเลยหลบหนีไม่มาศาล ผู้ประกันต้องรับผิดแม้ศาลให้ปล่อยตัว
ผู้ประกันไม่ส่งตัวจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะจำเลยหลบหนี ศาลชั้นต้นจึงปรับผู้ประกันเต็มตามสัญญาประกัน แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ปล่อยตัวจำเลย ก็มิใช่เหตุที่ทำให้ผู้ประกันไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันเพราะความรับผิดตามสัญญาประกันเกิดจากการผิดสัญญาประกัน เมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกันก็หาพ้นความรับผิดไม่ ส่วนผลของคำพิพากษาเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่ช่วยให้ผู้ประกันพ้นความรับผิดตามสัญญาประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2011/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกันจากการที่จำเลยหลบหนีไม่มาศาล แม้ศาลมีคำพิพากษาปล่อยตัว ก็ยังต้องรับผิดตามสัญญาประกัน
ผู้ประกันไม่ส่งตัวจำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะจำเลยหลบหนี ศาลชั้นต้นจึงปรับผู้ประกันเต็มตามสัญญาประกันแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ปล่อยตัวจำเลยก็มิใช่เหตุที่ทำให้ผู้ประกันไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันเพราะความรับผิดตามสัญญาประกันเกิดจากการผิดสัญญาประกันเมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกันก็หาพ้นความรับผิดไม่ ส่วนผลของคำพิพากษาเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่ช่วยให้ผู้ประกันพ้นความรับผิดตามสัญญาประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบธรรมในการดำเนินคดีเช็คและการกำหนดผู้เสียหาย: ผู้เสียหายคือผู้รับเช็คโดยตรง แม้มีการนำเงินเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วน
วัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อและออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระราคานั้น เป็นของส่วนตัวของโจทก์ร่วม มิได้เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ที่โจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการ ดังนั้นเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดและถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายและชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมเรียกเก็บเงินเองและนำสืบในชั้นพิจารณาว่าเรียกเก็บเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.นั้น ก็มิได้แตกต่างกันแต่อย่างใด เพราะการที่โจทก์ร่วมจะนำเงินตามเช็คที่เรียกเก็บเข้าฝากในบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก็เป็นสิทธิของโจทก์ร่วมที่จะทำได้ หาทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.กลายเป็นผู้เสียหายไปไม่
การบันทึกคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งจะจดลงไว้อย่างไรและที่ใด ก็เป็นเรื่องระเบียบภายในของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีผลกระทบต่ออำนาจในการสอบสวนและดำเนินคดี และในปัญหาที่ว่าเขตรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละแห่งจะมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่เพียงใดนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
การบันทึกคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งจะจดลงไว้อย่างไรและที่ใด ก็เป็นเรื่องระเบียบภายในของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีผลกระทบต่ออำนาจในการสอบสวนและดำเนินคดี และในปัญหาที่ว่าเขตรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละแห่งจะมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่เพียงใดนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง