คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 118

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหลักประกันหลังจำเลยเสียชีวิต: ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล vs. ผู้รับมรดกตามพินัยกรรม
คดีนี้ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว โดยนำสมุดบัญชีเงินฝากประจำธนาคารเป็นหลักประกัน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 ในระหว่างพิจารณา แต่ในระหว่างการเลื่อนคดีไปเพื่อนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 4 สัญญาประกันตัวจำเลยที่ 4 เป็นอันสิ้นสุดลง ศาลชั้นต้นต้องคืนหลักประกันแก่ผู้ประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 118 แต่เมื่อจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ประกันถึงแก่ความตาย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและผู้คัดค้านซึ่งอ้างว่าเป็นผู้รับมรดกหลักประกันดังกล่าวตามพินัยกรรมต่างยื่นคำร้องขอคืนหลักประกันดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น การพิจารณาคำร้องดังกล่าวย่อมเป็นกรณีพิจารณาความเกี่ยวกับสัญญาประกันตัวจำเลยที่ 4 ในคดีอาญา และเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 และลักษณะ 2 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติว่าเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาเป็นอย่างไรแล้ว ให้คำสั่งหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้นถึงที่สุดแต่ประการใด ผู้คัดค้านจึงชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้คืนหลักประกันให้แก่ผู้ร้องได้
ป.วิ.อ. มาตรา 118 บัญญัติว่า "เมื่อคดีถึงที่สุดหรือความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไปตามมาตรา 116 หรือโดยเหตุอื่น ให้คืนหลักประกันแก่ผู้ที่ควรรับไป" ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตายอันเป็นเหตุให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) สัญญาประกันตัวจำเลยที่ 4 เป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงชอบที่จะคืนหลักประกันให้แก่ผู้ที่ควรรับไป แม้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 ตามคำสั่งศาลมีหน้าที่ตามกฎหมายในการรวบรวมทรัพย์มรดกของจำเลยที่ 4 ผู้ตายรวมเข้าไว้ในกองมรดกผู้ตายรวมถึงการขอคืนหลักประกันของจำเลยที่ 4 ผู้ตายเพื่อแบ่งปันแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอคืนหลักประกันดังกล่าวด้วย โดยอ้างว่าจำเลยที่ 4 ทำพินัยกรรมยกมรดกเป็นสมุดบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกและผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดเพชรบุรี กรณีจึงยังฟังได้ไม่แน่นอนว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นผู้ที่ควรได้รับสมุดบัญชีเงินฝากประจำอันเป็นหลักประกันไปจากศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นผู้สั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวใช้ดุลพินิจให้รอฟังคำสั่งศาลจังหวัดเพชรบุรีในคดีดังกล่าว จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15004/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวในคดีอาญา: ความรับผิดของผู้ประกันเมื่อผู้ต้องหาไม่มาตามนัด แม้จะมีการสลับชื่อผู้ต้องหา
ขณะที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลพัทยายื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาที่ใช้ชื่อ ล. ผู้ประกันยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาดังกล่าวโดยมีประกัน ศาลชั้นต้นอนุญาต สัญญาประกันจึงมีผลสมบูรณ์ตลอดไปในระหว่างสอบสวน สัญญาประกันในคดีอาญาจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อคดีถึงที่สุด เว้นแต่มีการถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน ผู้ต้องหาตาย ผิดสัญญาประกัน หรือศาลสั่งยกเลิกสัญญาประกัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 116 และมาตรา 118 ที่ผู้ประกันอ้างว่าทำสัญญาประกันไปโดยสำคัญผิดในตัวบุคคลนั้น เห็นว่า ผู้ประกันไม่ได้สำคัญผิดในตัวบุคคลเพราะผู้ประกันต้องการขอปล่อยชั่วคราวบุคคลที่ใช้ชื่อ ล. ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีที่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลพัทยายื่นคำร้องขอฝากขัง การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาดังกล่าวโดยมีประกัน และศาลชั้นต้นอนุญาตจึงเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้วว่า ศาลได้สั่งปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่ใช้ชื่อ ล. โดยมีประกันตรงตามเจตนาของผู้ประกัน หาใช่ผู้ประกันสำคัญผิดในตัวบุคคลไม่ สัญญาประกันที่ผู้ประกันทำต่อศาลชั้นต้นจึงมีผลสมบูรณ์ เมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาดังกล่าวตามกำหนดนัด จึงต้องรับผิดตามสัญญาประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10072/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประกันในคดีอาญา แม้เกิน 10 ปี ผู้ประกันยังต้องส่งตัวจำเลยต่อศาล
การบังคับตามสัญญาประกันในกรณีที่ผิดสัญญาประกันต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 เป็นผลสืบเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลย แต่ผู้ประกันไม่ส่งตัวจำเลยตามนัดอันเป็นกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาประกัน การบังคับตามสัญญาประกันจึงเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ประกันจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญ โดยผู้ประกันมีหน้าที่ต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาส่งต่อศาลตามกำหนด ตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลต้องถือว่าผู้ประกันยังผิดสัญญาประกัน แต่หากผู้ประกันขวนขวายนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาส่งศาลภายในอายุความทางอาญา ศาลก็อาจลดหรืองดค่าปรับแก่ผู้ประกันได้ตามพฤติการณ์แห่งคดี แม้ผู้ประกันนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาส่งต่อศาลเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันมีสิทธิและหน้าที่ดังกล่าว ผู้ร้องจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งปรับผู้ประกันทั้งสองได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกันทั้งสอง โดยไม่จำต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีอีก ดังนี้ เมื่อผู้ร้องยังมีสิทธิบังคับคดีแก่ผู้ประกันทั้งสอง กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันทั้งสองและคืนเงิน 500,000 บาท แก่ผู้ประกันที่ 1 โดยเหตุอื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวระงับเมื่อผู้ประกันเสียชีวิตก่อนผิดสัญญา ผู้จัดการมรดกไม่ต้องรับผิด
สัญญาประกันตัวจำเลยในคดีอาญาเป็นสัญญาที่ผูกพันเฉพาะตัวผู้ประกัน เมื่อผู้ประกันตายลงในระหว่างที่มีสัญญาประกันและยังไม่มีหนี้ปรับฐานผิดสัญญาประกันเกิดขึ้น สัญญาประกันนั้นย่อมเป็นอันระงับลงผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ประกันจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกัน และไม่มีเหตุที่ศาลจะยึดถือหลักประกันไว้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้ามลำดับศาลในคดีประกันตัวอาญา: ไม่อาจใช้วิธีการอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
การที่ผู้ประกันยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อสิทธิในการร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้ประกันสิ้นสุดแล้ว ศาลชั้นต้นต้องคืนหลักประกันแก่ผู้ประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 118 นั้น เป็นกรณีพิจารณาความเกี่ยวกับสัญญาประกันตัวจำเลยในคดีอาญา ซึ่งการใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ดังเช่นคดีแพ่ง จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้องเพราะเป็นการอุทธรณ์ข้ามลำดับศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้ามลำดับศาลในคดีประกันตัวอาญา: ไม่อนุญาตอุทธรณ์ฎีกาโดยตรง
การที่ผู้ประกันยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อสิทธิในการร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้ประกันสิ้นสุดแล้ว ศาลชั้นต้นต้องคืนหลักประกันแก่ผู้ประกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 118 นั้น เป็นกรณีพิจารณาความเกี่ยวกับสัญญาประกันตัวจำเลยในคดีอาญา ซึ่งการใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ดังเช่นคดีแพ่ง จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้องเพราะเป็นการอุทธรณ์ข้ามลำดับศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9208-9209/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยชั่วคราวเกิน 6 เดือนสิ้นสุดลง พนักงานสอบสวนต้องคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกัน
การปล่อยชั่วคราวของพนักงานสอบสวนนั้น สามารถให้ปล่อยชั่วคราวได้สูงสุดเพียง 6 เดือน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 113 วรรคหนึ่ง เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาเป็นอันสิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนไม่อาจควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อไปได้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องมาขอปล่อยผู้ต้องหาด้วยการนำโฉนดที่ดินมาให้จำเลยยึดถือไว้อีก จำเลยจึงต้องคืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของเงินสดหลักประกัน: ความสัมพันธ์ทนาย-ลูกความ และพยานหลักฐานสนับสนุน
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นเพียงทนายความกับลูกความ ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นญาติ หรือมีความสัมพันธ์ในการที่จะนำเงินสดถึง 200,000 บาท มาเป็นหลักประกันให้จำเลย อนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 118 บัญญัติให้คืน
หลักประกันแก่ผู้ที่ควรรับไป เมื่อจำเลยยื่นคำคัดค้านว่าเงินที่วางประกันเป็นของจำเลยและพยานของจำเลยเบิกความเป็นลำดับเชื่อมโยงกันมีเหตุผลมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของผู้ร้องที่ศาลชั้นต้นส่งคืนหลักประกันตามสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอถอนสัญญาประกันและผลกระทบต่อความรับผิดตามสัญญา การมอบตัวผู้ต้องหาทำให้ความรับผิดสิ้นสุด
เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาประกัน ส. ผู้ต้องหาต่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน ได้ยื่นหนังสือมีข้อความว่าขอถอนหลักทรัพย์อันเป็นหลักประกันเพื่อนำไปขายให้ผู้อื่น และจำเลยได้มอบตัว ส.ผู้ต้องหาคืนต่อโจทก์พร้อมทั้งนำหลักทรัพย์ของ อ.และพาตัวอ.มาทำสัญญาประกัน ส. ผู้ต้องหาฉบับใหม่ต่อโจทก์ด้วย โดยสัญญาระบุชื่อ อ. เป็นผู้ประกันแต่ผู้เดียว กรณีจึงมิใช่เรื่องจำเลยขอเปลี่ยนหลักประกัน แต่เป็นเรื่องขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน เมื่อจำเลยมอบตัวต่อ ส. ผู้ต้องหาคืนต่อโจทก์แล้วเช่นนี้ ความรับผิดของจำเลยตามสัญญาประกันที่จำเลยทำต่อโจทก์ดังกล่าว ย่อมหมดไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 116

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขอถอนหลักประกันสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา ความรับผิดตามสัญญาสิ้นสุดเมื่อคืนหลักทรัพย์
เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาประกัน ส.ผู้ต้องหาต่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน ได้ยื่นหนังสือมีข้อความว่าขอถอนหลักทรัพย์อันเป็นหลักประกันเพื่อนำไปขายให้ผู้อื่น และจำเลยได้มอบตัว ส.ผู้ต้องหาคืนต่อโจทก์พร้อมทั้งนำหลักทรัพย์ของ อ.และพาตัว อ.มาทำสัญญาประกัน ส.ผู้ต้องหาฉบับใหม่ต่อโจทก์ด้วย โดยสัญญาระบุชื่อ อ.เป็นผู้ประกันแต่ผู้เดียว กรณีจึงมิใช่เรื่องจำเลยขอเปลี่ยนหลักประกัน แต่เป็นเรื่องขอถอนสัญญาประกันหรือขอถอนหลักประกัน เมื่อจำเลยมอบตัวต่อ ส.ผู้ต้องหาคืนต่อโจทก์แล้วเช่นนี้ ความรับผิดของจำเลยตามสัญญาประกันที่จำเลยทำต่อโจทก์ดังกล่าว ย่อมหมดไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 116
of 5