คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แสวง จินดานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองชำระหนี้ไม่ครบ ยึดทรัพย์อื่นไม่ได้ หากสัญญาจำนองไม่ได้ระบุไว้
จำนองเป็นสัญญาที่เอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้ จึงมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธาน และมีจำนองเป็นอุปกรณ์ของหนี้นั้น
การบังคับจำนองแก่ทรัพย์ซึ่งจำนองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีการไม่ชำระหนี้อันเป็นประธานเกิดขึ้น ดังนั้น ในกรณีที่มีการบังคับจำนองโดยเอาทรัพย์สินของจำเลยซึ่งจำนองไว้ออกขายทอดตลาดเพื่อใช้เงินที่จำเลยกู้โจทก์ไป แต่ขายได้เงินสุทธิน้อยกว่าเงินที่จำเลยค้างชำระอยู่ หากในสัญญาจำนองไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมให้เอาทรัพย์อื่นนอกจากทรัพย์ที่จำนองชำระหนี้ได้อีกแล้ว จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ขาด โจทก์จะขอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยมาชำระหนี้อีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองชำระหนี้ไม่ครบ ศาลฎีกาตัดสินลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาด
จำนองเป็นสัญญาที่เอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้จึงมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธาน และมีจำนองเป็นอุปกรณ์ของหนี้นั้น
การบังคับจำนองแก่ทรัพย์ซึ่งจำนองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีการไม่ชำระหนี้อันเป็นประธานเกิดขึ้น ดังนั้น ในกรณีที่มีการบังคับจำนองโดยเอาทรัพย์สินของจำเลยซึ่งจำนองไว้ออกขายทอดตลาดเพื่อใช้เงินที่จำเลยกู้โจทก์ไป แต่ขายได้เงินสุทธิน้อยกว่าเงินที่จำเลยค้างชำระอยู่หากในสัญญาจำนองไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมให้เอาทรัพย์อื่นนอกจากทรัพย์ที่จำนองชำระหนี้ได้อีกแล้ว จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ขาดโจทก์จะขอให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยมาชำระหนี้อีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทำเหมืองแร่, การผิดสัญญา, และความรับผิดของคู่สัญญา/ตัวแทน
เมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องอย่างคนอนาถาได้. การที่โจทก์จะขอแก้ฟ้องในภายหลังได้หรือไม่นั้น ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179. คือคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังจะต้องเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้. เมื่อศาลเห็นว่าเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งอนุญาตให้แก้ฟ้องได้แล้ว. ก็หาจำเป็นที่ศาลจะต้องไต่สวนเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ฟ้องอย่างคนอนาถาสำหรับคำฟ้องภายหลังอีกไม่.เพราะถือได้ว่า ยังคงเป็นคำฟ้องในคดีเดียวกันซึ่งศาลได้ไต่สวนและมีคำสั่งอนุญาตไว้แล้ว.
ตามคำฟ้องเดิม โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยทำสัญญากันให้จำเลยชำระหนี้แทนโจทก์และรับโอนที่ดินประทานบัตรของโจทก์ไว้เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยประกอบกิจการทำเหมืองแร่. จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา.ไม่จัดตั้งบริษัทขึ้น. แต่กลับขุดเอาแร่ของโจทก์ไปขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิด.คำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์กล่าวความเดิมที่จำเลยทำผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว. ขอให้ศาลพิพากษาให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้จำเลยรับชำระหนี้ที่ออกใช้แทนโจทก์ไป และโอนประทานบัตรพิพาทคืนให้โจทก์. ดังนี้ย่อมเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้.
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาฉบับแรก แล้วต่อมาทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งซึ่งมีข้อความลบล้างสัญญาฉบับแรก. เพื่อใช้ขู่เจ้าหนี้ของโจทก์ให้ยอมรับชำระหนี้และโอนที่ดินประทานบัตรซึ่งเป็นประกันคืนโดยโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาผูกพันกันจริงจัง. ดังนี้ สัญญาฉบับหลังหามีผลเป็นการยกเลิกสัญญาฉบับแรกไม่.
ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อกัน. จำเลยจะต้องชำระหนี้แทนโจทก์และรับโอนที่ดินประทานบัตรของโจทก์เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ประกอบกิจการทำเหมืองแร่. แต่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ได้เข้าปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้และรับโอนประทานบัตรของโจทก์มาในนามจำเลยที่2. ถือได้ว่าการชำระหนี้และรับโอนประทานบัตรดังกล่าวจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1.
ตามสัญญาที่ทำไว้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะต้องจัดตั้งบริษัทขึ้น เพื่อประกอบกิจการทำเหมืองแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ที่โอนให้จำเลย. โดยโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ถือหุ้นตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้. แต่เมื่อบริษัทยังมิได้จัดตั้งขึ้นตามสัญญา. จำเลยจะถือสิทธิเข้าไปทำเหมืองแร่ในที่ดินประทานบัตรนั้นโดยลำพังหาได้ไม่.เพราะผิดข้อตกลงที่ทำไว้. การที่จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินการและในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการและผู้แทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล.ยินยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าร่วมดำเนินการขุดหาแร่ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมหรือเกี่ยวข้องด้วย. ย่อมเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต. และเป็นการผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้.
การที่จำเลยทั้งสองเข้าดำเนินการขุดเอาแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว.จำเลยต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในฐานผิดสัญญาและข้อตกลง. ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิอย่างใด.ในการขุดเอาแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ ต้องรับผิดฐานละเมิด.
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือจะให้เป็นพับกันไปก็ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทำเหมืองแร่, การผิดสัญญา, ละเมิด, ตัวแทน, ความรับผิดร่วม
เมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์ฟ้องอย่างคนอนาถาได้ การที่โจทก์จะขอแก้ฟ้องในภายหลังได้หรือไม่นั้น ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 คือคำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังจะต้องเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ เมื่อศาลเห็นว่าเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งอนุญาตให้แก้ฟ้องได้แล้ว ก็หาจำเป็นที่ศาลจะต้องไต่สวนเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้ฟ้องอย่างคนอนาถาสำหรับคำฟ้องภายหลังอีกไม่เพราะถือได้ว่า ยังคงเป็นคำฟ้องในคดีเดียวกันซึ่งศาลได้ไต่สวนและมีคำสั่งอนุญาตไว้แล้ว
ตามคำฟ้องเดิม โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยทำสัญญากันให้จำเลยชำระหนี้แทนโจทก์และรับโอนที่ดินประทานบัตรของโจทก์ไว้เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างโจทก์จำเลยประกอบกิจการทำเหมืองแร่ จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา ไม่จัดตั้งบริษัทขึ้น แต่กลับขุดเอาแร่ของโจทก์ไปขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว เป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิดคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์กล่าวความเดิมที่จำเลยทำผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้ศาลพิพากษาให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้จำเลยรับชำระหนี้ที่ออกใช้แทนโจทก์ไป และโอนประทานบัตรพิพาทคืนให้โจทก์ ดังนี้ย่อมเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาฉบับแรก แล้วต่อมาทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งซึ่งมีข้อความลบล้างสัญญาฉบับแรก เพื่อใช้ขู่เจ้าหนี้ของโจทก์ให้ยอมรับชำระหนี้และโอนที่ดินประทานบัตรซึ่งเป็นประกันคืนโดยโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาผูกพันกันจริงจัง ดังนี้ สัญญาฉบับหลังหามีผลเป็นการยกเลิกสัญญาฉบับแรกไม่
ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อกัน จำเลยจะต้องชำระหนี้แทนโจทก์และรับโอนที่ดินประทานบัตรของโจทก์เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการทำเหมืองแร่ แต่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ได้เข้าปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้และรับโอนประทานบัตรของโจทก์มาในนามจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าการชำระหนี้และรับโอนประทานบัตรดังกล่าวจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
ตามสัญญาที่ทำไว้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จะต้องจัดตั้งบริษัทขึ้น เพื่อประกอบกิจการทำเหมืองแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ที่โอนให้จำเลย โดยโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ถือหุ้นตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ แต่เมื่อบริษัทยังมิได้จัดตั้งขึ้นตามสัญญา จำเลยจะถือสิทธิเข้าไปทำเหมืองแร่ในที่ดินประทานบัตรนั้นโดยลำพังหาได้ไม่เพราะผิดข้อตกลงที่ทำไว้ การที่จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินการและในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการและผู้แทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลยินยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าร่วมดำเนินการขุดหาแร่ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมหรือเกี่ยวข้องด้วย ย่อมเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต และเป็นการผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียได้
การที่จำเลยทั้งสองเข้าดำเนินการขุดเอาแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว จำเลยต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในฐานผิดสัญญาและข้อตกลง ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิอย่างใด ในการขุดเอาแร่ในที่ดินประทานบัตรของโจทก์ ต้องรับผิดฐานละเมิด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือจะให้เป็นพับกันไปก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมทางน้ำ: สิทธิการใช้ทางเรือต่อเนื่องแม้สภาพที่ดินเปลี่ยนไป จำเลยต้องรักษาสิทธิโจทก์
คูพิพาทใช้เป็นทางเรือและทางน้ำให้เรือผ่านเข้าออกมาหลายสิบปี ซึ่งอยู่ระหว่างที่ดินโจทก์จำเลย ต่อมาโจทก์จำเลยไดทำหนังสือรับรองว่าคูพิพาทเป็นทางเรือและทางน้ำที่โจทก์จำเลยใช้ร่วมกัน จำเลยจะไม่ก่อสร้างอะไรลงในคูพิพาท ดังนั้นคูพิพาทจึงเป็นภารจำยอม จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายและตามคำรับรองที่ให้ไว้กับโจทก์ ต้องงดเว้นการกระทำหรือสร้างสิ่งใดลงในคูพิพาท เพื่อให้เสื่อมประโยชน์แก่โจทก์ ตามสิทธิแห่งภารจำยอมที่มีอยู่เหนือคูพิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมทางน้ำ: สิทธิการใช้ทางเรือและทางน้ำร่วมกัน แม้สภาพที่ดินเปลี่ยนแปลง
คูพิพาทใช้เป็นทางเรือและทางน้ำให้เรือผ่านเข้าออกมาหลายสิบปี ซึ่งอยู่ระหว่างที่ดินโจทก์จำเลย. ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำหนังสือรับรองว่าคูพิพาทเป็นทางเรือและทางน้ำที่โจทก์จำเลยใช้ร่วมกัน. จำเลยจะไม่ก่อสร้างอะไรลงในคูพิพาท. ดังนั้นคูพิพาทจึงเป็นภารจำยอม จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายและตามคำรับรองที่ให้ไว้กับโจทก์. ต้องงดเว้นการกระทำหรือสร้างสิ่งใดลงในคูพิพาทเพื่อมิให้เสื่อมประโยชน์แก่โจทก์. ตามสิทธิแห่งภารจำยอมที่มีอยู่เหนือคูพิพาทนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1700/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมในการใช้ทางน้ำ: การรักษาสิทธิและการกระทำที่เสื่อมประโยชน์
คูพิพาทใช้เป็นทางเรือและทางน้ำให้เรือผ่านเข้าออกมาหลายสิบปี ซึ่งอยู่ระหว่างที่ดินโจทก์จำเลย ต่อมาโจทก์จำเลยได้ทำหนังสือรับรองว่าคูพิพาทเป็นทางเรือและทางน้ำที่โจทก์จำเลยใช้ร่วมกัน จำเลยจะไม่ก่อสร้างอะไรลงในคูพิพาท ดังนั้นคูพิพาทจึงเป็นภารจำยอม จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายและตามคำรับรองที่ให้ไว้กับโจทก์ ต้องงดเว้นการกระทำหรือสร้างสิ่งใดลงในคูพิพาทเพื่อมิให้เสื่อมประโยชน์แก่โจทก์ ตามสิทธิแห่งภารจำยอมที่มีอยู่เหนือคูพิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคล
มารดาตาย โจทก์จำเลยได้รับโอนมรดกที่พิพาทร่วมกัน.ต่อมาได้ตกลงแบ่งแยกกันครอบครอง ถือว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จไป. เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 850. แต่เมื่อมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 จะนำพยานบุคคลมาสืบหาได้ไม่. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 โดยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 530/2496 และ 1420/2510.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มีจะนำสืบพยานบุคคลไม่ได้
มารดาตาย โจทก์จำเลยได้รับโอนมรดกที่พิพาทร่วมกัน ต่อมาได้ตกลงแบ่งแยกกันครอบครอง ถือว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จไป เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 850 แต่เมื่อมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 จะนำพยานบุคคลมาสืบหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 โดยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 530/2496 และ 1420/2510

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคล
มารดาตาย โจทก์จำเลยได้รับโอนมรดกที่พิพาทร่วมกัน ต่อมาได้ตกลงแบ่งแยกกับครอบครอง ถือว่าเป็ฯการตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทจะมีขึ้นให้เสร็จไป เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 850 แต่เมื่อมิได้มีหลักฐษนเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตามประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 851 จะนำพยายบุคคลมาสืบหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 โดยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 530/2496 และ 147/2510
of 4