คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 ม. 39

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายกเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล: ต้องมีเจตนาประมาทเลินเล่อเป็นเหตุโดยตรง
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปโดยมีจำเลยที่ 3 ร่วมด้วยนั้น ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นผลโดยตรงให้เกิดมีการยักยอกเงินรายนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยอื่น
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า เป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่วๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้วคณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทนฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัดไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้น หากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586-589/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเทศบาลฟ้องรื้อถอนอาคารต่อเติมผิดกฎหมาย ไม่ติดอายุความอาญา
ต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจนถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้ว คณะเทศมนตรีเทศบาลโดยนายกเทศมนตรีมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้นได้ เพราะถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 11 วรรค 2
การฟ้องคดีขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้นพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 11 วรรค 2 ให้อำนาจไว้ มิใช่มีฐานะเป็นผู้เสียหายจึงไม่อยู่ในบังคับเรื่องอายุความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 และต้องใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586-589/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารต่อเติม และอายุความตาม ป.พ.พ. เมื่อ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคารไม่มีกำหนดอายุความ
ต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจนถูกพนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับไปแล้ว คณะเทศมนตรีเทศบาลโดยนายกเทศมนตรีมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้นได้ เพราะถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร 2479 มาตรา 11 วรรค 2 การฟ้องคดีขอให้บังคับรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมนั้น พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร 2479 มาตรา 11 วรรค 2 ให้อำนาจไว้ มิใช่มีฐานะเป็นผู้เสียหาย จึงไม่อยู่ในบังคับเรื่องอายุความตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 51 และต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
of 2