คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัศนี เกาไศยนันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้มูลละเมิด: การคำนวณดอกเบี้ยจากวันละเมิด/วันฟ้อง และการคิดดอกเบี้ยรายเดือน
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดเป็นต้นไป ฉะนั้น ค่าเสียหายคำนวณเป็นเงินก้อนจากวันละเมิดจนถึงวันฟ้อง จึงต้องคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดให้ตั้งแต่วันละเมิดแต่ถ้าคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุมาไม่ชัดแจ้งว่า ให้จำเลยชำระตั้งแต่วันใดศาลอาจให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องก็ได้
ส่วนค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชำระเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะหยุดทำละเมิดนั้น หลักการคิดดอกเบี้ยไม่เหมือนกับการคำนวณค่าเสียหายเป็นเงินก้อนเดียวดังกรณีข้างต้น ในกรณีเช่นนี้ถ้าจำเลยผิดนัด ไม่ชำระในเดือนใด ก็ให้คิดดอกเบี้ยแต่เดือนที่ผิดนัดนั้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมมีสถานะเป็นคำพิพากษา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจยกเว้นการปฏิบัติตามได้
จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีแพ่งเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินคดีนั้นจำเลยกับผู้ร้องได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ว่า จำเลยจะออกโฉนดที่พิพาทแล้วโอนให้ผู้ร้อง โดยผู้ร้องจะต้องชำระราคาที่ดินอีก 10,000 บาทให้จำเลย ต่อมาจำเลยถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และที่ดินมีราคาสูงขึ้นเป็น 100,000 บาทเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2485 มาบอกปัดความผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเพราะสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระราคาที่ดินอีก 10,000 บาท นั้นมิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้ แต่เป็นสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ถือได้ว่าเป็นสิทธิตามคำพิพากษานั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความหลังศาลพิพากษาตามยอม ถือเป็นสิทธิและหน้าที่ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ล้มละลายไม่อาจปฏิเสธได้
จำเลยถูกผู้ร้องฟ้องคดีแพ่งเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินคดีนั้นจำเลยกับผู้ร้องได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ว่า จำเลยจะออกโฉนดที่พิพาทแล้วโอนให้ผู้ร้อง โดยผู้ร้องจะต้องชำระราคาที่ดินอีก 10,000 บาทให้จำเลย ต่อมาจำเลยถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และที่ดินมีราคาสูงขึ้นเป็น 100,000 บาท เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรา 122 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2485 มาบอกปัดความผูกพันตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเพราะสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระราคาที่ดินอีก 10,000 บาทนั้น มิใช่สิทธิตามสัญญาโดยแท้ แต่เป็นสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว ถือได้ว่าเป็นสิทธิตามคำพิพากษานั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถาน ไม่ถือเป็นเหตุทิ้งฟ้อง หากศาลยังสามารถดำเนินกระบวนการต่อไปได้
ศาลกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบวันนัดแล้ว ครั้นถึงกำหนดวันนัด โจทก์ไม่มาศาล เช่นนี้ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลในวันนัดชี้สองสถาน ไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง หากศาลยังไม่ได้สั่งให้ชี้สองสถาน
ศาลกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบวันนัดแล้ว ครั้นถึงกำหนดวันนัด โจทก์ไม่มาศาล เช่นนี้ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ ชำระหนี้ได้ แม้ยังมิได้เลือกวิธีรับเงิน
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟฯ กรณีออกจากงานอยู่ 2 ฉบับ ซึ่งผู้ออกจากงานไม่ว่าเพราะเหตุใด (นอกจากถูกไล่ออก) อาจเลือกรับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวหรือเป็นรายเดือนตามข้อบังคับฉบับหนึ่งฉบับใดก็ได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นพนักงานของการรถไฟฯ และลาออกจากงานย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ สุดแต่จะเลือก แม้ยังไม่เลือกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้วิธีหนึ่งให้การรถไฟฯส่งเงินนั้นมายังศาลได้
ความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ที่ว่าทรัพย์สินของการรถไฟฯ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้น มุ่งหมายถึงการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯโดยตรง กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ หาใช่เป็นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของการรถไฟโดยตรงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ ไม่เป็นการบังคับคดีต่อทรัพย์สินโดยตรง
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสำหรับจ่ายสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟฯ กรณีออกจากงานอยู่ 2 ฉบับ ซึ่งผู้ออกจากงานไม่ว่าเพราะเหตุใด (นอกจากถูกไล่ออก)อาจเลือกรับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวหรือเป็นรายเดือนตามข้อบังคับฉบับหนึ่งฉบับใดก็ได้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นพนักงานของการรถไฟฯ และลาออกจากงานย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯสุดแต่จะเลือก แม้ยังไม่เลือก เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้วิธีหนึ่ง ให้การรถไฟฯส่งเงินนั้นมายังศาลได้
ความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494 ที่ว่า ทรัพย์สินของการรถไฟฯ ย่อมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีนั้น มุ่งหมายถึงการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯโดยตรง กรณีที่ศาลมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการรถไฟฯ หาใช่เป็นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของการรถไฟโดยตรงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะ คำนวณจากพฤติการณ์วันเกิดเหตุ แม้ผู้รับประโยชน์มีรายได้ภายหลัง
ลูกจ้างของจำเลยขับรถในทางการที่จ้างชนสามีโจทก์ถึงแก่ความตายด้วยความประมาท โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้
เมื่อสามีโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ มีอาชีพตั้งปั๊มน้ำมันจำหน่ายน้ำมันเบนซินแม้โจทก์จะได้เป็นผู้จัดการมรดกเข้าดำเนินการค้าน้ำมันเบนซิน ต่อมาหลังจากสามีโจทก์ตายแล้ว ก็หาเป็นเหตุทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยไม่
ในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะนั้นย่อมต้องคำนวณโดยอาศัยพฤติการณ์ในวันเกิดเหตุนั้นเองเป็นหลักพฤติการณ์ทั้งหลายภายหลังวันเกิดเหตุ หาอาจนำมาพิจารณาในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนในการขาดไร้อุปการะของโจทก์ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะจากเหตุละเมิด: คำนวณจากพฤติการณ์วันเกิดเหตุ แม้ผู้ตายมีอาชีพและผู้รับผลประโยชน์ทำงานต่อ
ลูกจ้างของจำเลยขับรถในทางการที่จ้างชนสามีโจทก์ถึงแก่ความตายด้วยความประมาท โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้
เมื่อสามีโจทก์ยังมีชีวิตอยู่มีอาชีพตั้งปั๊มน้ำมันจำหน่ายน้ำมันเบนซิน แม้โจทก์จะได้เป็นผู้จัดการมรดกเข้าดำเนินการค้าน้ำมันเบนซิน ต่อมาหลังจากสามีโจทก์ตายแล้ว ก็หาเป็นเหตุทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยไม่
ในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะนั้นย่อมต้องคำนวณโดยอาศัยพฤติการณ์ในวันเกิดเหตุนั้นเองเป็นหลักพฤติการณ์ทั้งหลายภายหลังวันเกิดเหตุ หาอาจนำมาพิจารณาในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนในการขาดไร้อุปการะของโจทก์ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงนอกสัญญาเช่าซื้อต้องยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่เคยกล่าวอ้างมาก่อน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าเช่าซื้อคืนจากจำเลย 12,000 บาท จำเลยให้การว่าจำเลยมิได้ตกลงกับโจทก์ว่าจะเป็นผู้นำรถไปขายให้บุคคลภายนอก และจะชำระเงินที่โจทก์ส่งชำระแก่จำเลยแล้วให้โจทก์ การที่จำเลยฎีกาว่าข้อที่โจทก์อ้างมีข้อตกลงกันว่าจำเลยต้องคืนเงิน 12,000 บาทแก่โจทก์นั้นโจทก์นำสืบไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสัญญาเช่าซื้อ ข้อตกลงนี้ต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 31