พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในข้อเท็จจริง: การป้องกันตนโดยชอบธรรม แม้ผู้ตายไม่มีอาวุธ
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ตายไม่มีอาวุธปืน แต่เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลสมควรทำให้จำเลยสำคัญผิดเข้าใจว่าผู้ตายมีอาวุธปืนและกำลังจะยิงทำร้ายจำเลยในระยะห่างกัน 2 วา อันนับได้ว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงตัวจำเลย จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิกระทำเพื่อป้องกันตนได้และการที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายเพื่อป้องกันตนไป 1 นัดในทันทีนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ด้วย ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2514)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในข้อเท็จจริง: การป้องกันตนโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ตายไม่มีอาวุธ
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ตายไม่มีอาวุธปืน แต่เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลสมควรทำให้จำเลยสำคัญผิดเข้าใจว่าผู้ตายมีอาวุธปืนและกำลังจะยิงทำร้ายจำเลยในระยะห่างกัน 2 วา อันนับได้ว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงตัวจำเลย จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิกระทำเพื่อป้องกันตนได้และการที่จำเลยใช้ปืนยิงผู้ตายเพื่อป้องกันตนไป 1 นัดในทันทีนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ด้วย ความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2514)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความครอบครองปรปักษ์และการสิ้นสุดฐานะผู้จัดการมรดก ทำให้สิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินหมดไป
โจทก์กับ ส.สามีจำเลยเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ย. ตายแล้ว ส. ได้เป็นผู้จัดการมรดกอันมีที่ดินมือเปล่า 1 แปลงกับเรือนในที่ดิน 1 หลัง ต่อมาได้มีการรื้อเรือนปลูกใหม่แทนหลังเดิมและปลูกห้องแถวขึ้นเก็บค่าเช่า ส. ตายไปโดยยังมิได้แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ฐานะของ ส. ในการเป็นผู้จัดการมรดกของ ย. ย่อมสิ้นสุดลง
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัยพ์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยรับมรดกจาก ส. และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้น และเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้น ตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อยหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัยพ์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยรับมรดกจาก ส. และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้น และเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้น ตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อยหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการสิ้นสุดฐานะผู้จัดการมรดก ทำให้สิทธิเรียกร้องคืนทรัพย์สินหมดอายุ
โจทก์กับ ส. สามีจำเลยเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ย. ตายแล้ว ส. ได้เป็นผู้จัดการมรดกอันมีที่ดินมือเปล่า 1 แปลงกับเรือนในที่ดิน 1 หลัง ต่อมาได้มีการรื้อเรือนปลูกใหม่แทนหลังเดิมและปลูกห้องแถวขึ้นเก็บค่าเช่า ส. ตายไปโดยยังมิได้แบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ ฐานะของ ส. ในการเป็นผู้จัดการมรดกของ ย. ย่อมสิ้นสุดลง
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัพย์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยรับมรดกจาก ส.และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้นและเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้นตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน
ก่อนตาย ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินเรือนและห้องแถวนั้นให้จำเลยกับบุตร จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ไม่มีผู้ใดคัดค้าน จำเลยก็ครอบครองทรัพย์สินเหล่านั้นมาโดยถือว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยรับมรดกจาก ส.และขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยครอบครองมาเป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินนั้นและเมื่อโจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ประธานเสียแล้ว เรือนกับห้องแถวหากปลูกอยู่ในที่ดินนั้นตลอดจนค่าเช่าห้องแถวอันเป็นทรัพย์ส่วนควบและดอกผลของที่ดิน จึงตกเป็นของจำเลยไปด้วย โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องเขตที่ดินและสิทธิในผลผลิต แม้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผลผลิตที่เก็บไป ยังไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งแดงที่ 295/2510 ศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดไปตามสัญญาประนีประนอมและคดีถึงที่สุดแล้วว่าให้ถือแนวต้นมะม่วงทั้ง 12 ต้นเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างที่ดินของโจทก์และจำเลยจำเลยจะโต้เถียงว่าต้องแบ่งแนวเขตเป็นอย่างอื่นให้ผิดไปจากคำพิพากษาตามยอมหาได้ไม่
คดีแพ่งแดงที่ 295/2510 โจทก์จำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องที่ดินตรงที่ติดต่อกันในประเด็นที่ว่า มีอาณาเขตอยู่ตรงไหน จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าศาลได้พิพากษาชี้ขาดคดีแพ่งแดงที่ 295/2510 แล้วว่า ให้ถือแนวต้นมะม่วงทั้ง 12 ต้นเป็นแนวเขตที่ดินระหว่างโจทก์จำเลย ต้นมะม่วงที่เป็นแนวเขตจึงเป็นของโจทก์ จำเลยเก็บผลมะม่วงนั้นไป ต้องชดใช้ค่าผลมะม่วงให้โจทก์ประเด็นในคดีนี้เป็นคนละประเด็นกับคดีแพ่งแดงที่ 295/2510 กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 148 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีแพ่งแดงที่ 295/2510 โจทก์จำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องที่ดินตรงที่ติดต่อกันในประเด็นที่ว่า มีอาณาเขตอยู่ตรงไหน จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าศาลได้พิพากษาชี้ขาดคดีแพ่งแดงที่ 295/2510 แล้วว่า ให้ถือแนวต้นมะม่วงทั้ง 12 ต้นเป็นแนวเขตที่ดินระหว่างโจทก์จำเลย ต้นมะม่วงที่เป็นแนวเขตจึงเป็นของโจทก์ จำเลยเก็บผลมะม่วงนั้นไป ต้องชดใช้ค่าผลมะม่วงให้โจทก์ประเด็นในคดีนี้เป็นคนละประเด็นกับคดีแพ่งแดงที่ 295/2510 กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 148 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเรียกค่าเสียหายผลมะม่วงหลังมีคำพิพากษาเรื่องเขตแดน ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีแพ่งแดงที่ 295/2510 ศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดไปตามสัญญาประนีประนอมและคดีถึงที่สุดแล้วว่าให้ถือแนวต้นมะม่วงทั้ง 12 ต้นเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างที่ดินของโจทก์และจำเลยจำเลยจะโต้เถียงว่าต้องแบ่งแนวเขตเป็นอย่างอื่นให้ผิดไปจากคำพิพากษาตามยอมหาได้ไม่
คดีแพ่งแดงที่ 295/2510 โจทก์จำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องที่ดินตรงที่ติดต่อกันในประเด็นที่ว่า มีอาณาเขตอยู่ตรงไหน จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าศาลได้พิพากษาชี้ขาดคดีแพ่งแดงที่ 295/2510 แล้วว่า ให้ถือแนวต้นมะม่วงทั้ง 12 ต้นเป็นแนวเขตที่ดินระหว่างโจทก์จำเลย ต้นมะม่วงที่เป็นแนวเขตจึงเป็นของโจทก์ จำเลยเก็บผลมะม่วงนั้นไป ต้องชดใช้ค่าผลมะม่วงให้โจทก์ประเด็นในคดีนี้เป็นคนละประเด็นกับคดีแพ่งแดงที่ 295/2510กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 148 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีแพ่งแดงที่ 295/2510 โจทก์จำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องที่ดินตรงที่ติดต่อกันในประเด็นที่ว่า มีอาณาเขตอยู่ตรงไหน จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าศาลได้พิพากษาชี้ขาดคดีแพ่งแดงที่ 295/2510 แล้วว่า ให้ถือแนวต้นมะม่วงทั้ง 12 ต้นเป็นแนวเขตที่ดินระหว่างโจทก์จำเลย ต้นมะม่วงที่เป็นแนวเขตจึงเป็นของโจทก์ จำเลยเก็บผลมะม่วงนั้นไป ต้องชดใช้ค่าผลมะม่วงให้โจทก์ประเด็นในคดีนี้เป็นคนละประเด็นกับคดีแพ่งแดงที่ 295/2510กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 148 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงต่อสู้และการป้องกันตัวที่ไม่สมเหตุผล การกระทำโดยสมัครใจเข้าต่อสู้ไม่อาจอ้างบันดาลโทสะได้
ผู้ตายกับจำเลยทะเลาะกัน แล้วผู้ตายถือไม้ยาวแค่แขนมายืนท้าทายอยู่ที่หน้าเรือนให้จำเลยลงไปตีกัน จำเลยเข้าไปหยิบปืนจากในเรือนลงเรือนไป อีก 1 วาจะถึงผู้ตาย ผู้ตายเงื้อไม้ขึ้นจะตี จำเลยจึงยิงผู้ตายดังนี้ จำเลยจะอ้างว่ากระทำไปด้วยบันดาลโทสะไม่ได้ เพราะจำเลยสมัครใจต่อสู้มาแต่แรก และมิได้ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ตามสัญญากู้ ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหรือสืบนอกฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์ แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าซื้อเชื่อสิ่งของบ้าง ยืมเงินก่อนวันทำสัญญากู้บ้างยืมในวันทำสัญญากู้บ้าง แล้วรวมทำเป็นสัญญากู้เงินจำนวนตามฟ้องดังนี้ เป็นการนำสืบถึงความเป็นมาแห่งหนี้ตามสัญญากู้ ไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญากู้ และไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ ไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือสืบนอกฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์ แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าซื้อเชื่อสิ่งของบ้างยืมเงินก่อนวันทำสัญญากู้บ้างยืมในวันทำสัญญากู้บ้าง แล้วรวมทำเป็นสัญญากู้เงินจำนวนตามฟ้องดังนี้ เป็นการนำสืบถึงความเป็นมาแห่งหนี้ตามสัญญากู้ ไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารสัญญากู้ และไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาตามกระทงความผิดที่เข้าเกณฑ์ แม้ขอเพิ่มโทษตามมาตราที่เบากว่าก็ทำได้
เมื่อศาลพิพากษาเรียงกระทงลงโทษและความผิดแต่ละกระทงที่ลงโทษเข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษได้ ย่อมเพิ่มโทษได้ทุกกระทงความผิดที่ลงโทษนั้น
โจทก์ขอให้เพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93เมื่อไม่เข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษตามมาตรา 93 แต่เข้าเกณฑ์เพิ่มโทษตามมาตรา 92 ได้ ศาลย่อมเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าให้ได้
โจทก์ขอให้เพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93เมื่อไม่เข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษตามมาตรา 93 แต่เข้าเกณฑ์เพิ่มโทษตามมาตรา 92 ได้ ศาลย่อมเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ซึ่งเป็นบทที่เบากว่าให้ได้