พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินมือเปล่าต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงเรื่องการประกาศขายก่อนจดทะเบียน การอ้างเหตุผลเรื่องเงินชำระไม่ชอบ
ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า เจ้าพนักงานจะรับจดทะเบียนโอนให้แก่คู่กรณีได้ต่อเมื่อได้มีการประกาศขายมีกำหนด 30 วันตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 5 เสียก่อน ฉะนั้น การที่โจทก์จำเลยได้ไปอำเภอในวันที่ 1 สิงหาคม 2510 ตามสัญญา ก็เพื่อจะดำเนินการประกาศขายดังกล่าวข้างต้น แต่จำเลยกลับไม่ยอมประกาศขายโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มีเงินสดชำระเพียง 20,000 บาท ส่วนอีก 37,500 บาทโจทก์จะขอจ่ายเป็นเช็คลงวันล่วงหน้า ในเมื่อครบประกาศแล้วหนึ่งเดือนข้ออ้างดังกล่าวของจำเลยฟังไม่ขึ้น เพราะเหตุว่าในวันนั้นโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผู้ซื้อยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าที่ดินให้กับจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายผู้ขายแต่อย่างใดเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ตึกแถวหลังบอกเลิกสัญญาเช่า: ไม่เข้าหลักยกเว้นภาษีโรงเรือน แม้ผู้เช่ายังไม่ยอมออก
เจ้าของทำสัญญาให้ผู้อื่นเช่าที่ดินเพื่อรื้อตึกแถวในที่ดินนั้นแล้วสร้างใหม่ ได้มอบที่ดินและตึกแถวให้แล้วซึ่งตามสัญญาไม่ใช่เป็นการมอบกรรมสิทธิ์ตึกแถวให้ ตึกแถวนั้นมีผู้เช่าอยู่อาศัยจากเจ้าของเจ้าของจึงบอกเลิกการเช่าและงดเก็บค่าเช่า แต่ผู้ที่อยู่ในตึกแถวก็ยังไม่ออกไป แม้ดังนี้ก็ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่เจ้าของจะได้รับยกเว้นไม่เสียภาษีโรงเรือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ตึกแถวหลังสัญญาเช่า: แม้บอกเลิกสัญญาเช่าและงดเก็บค่าเช่า แต่ตึกยังเป็นกรรมสิทธิ์เดิม เจ้าของต้องเสียภาษี
เจ้าของทำสัญญาให้ผูอื่นเช่าที่ดินเพื่อรื้อตึกแถวในที่ดินนั้นแล้วสร้างใหม่ ได้มอบที่ดินและตึกแถวให้แล้วซึ่งตามสัญญาไม่ใช่เป็นการมอบสิทธิ์ตึกแถวให้ตึกแถวนั้นมีเช่าอยู่อาศัยจากเจ้าของ เจ้าของจึงบอกเลิกการเช่าและงดเก็บค่าเช่า แต่ผู้ที่อยู่ในตึกแถวก็ยังไม่ออกไป แม้ดังนี้ก็ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่เจ้าของจะได้รับยกเว้นไม่เสียภาษีโรงเรือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นการจับกุมผู้กระทำผิดค้าประเวณี – ความรับผิดของเจ้าพนักงานตำรวจ
เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปในสำนักงานค้าประเวณีขณะเปิดทำการค้าประเวณีอยู่ ได้ประกาศตนเป็นตำรวจและจับหญิงโสเภณีไปจากสถานค้าประเวณี แล้วมอบหญิงดังกล่าวให้พวกของตนไป โดยมิได้นำมาดำเนินคดีตามกฎหมายนั้น ย่อมเกิดความเสียหายแก่ราชการตำรวจ และถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นการจับกุมผู้กระทำผิดค้าประเวณี สร้างความเสียหายแก่ราชการตำรวจ
เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปในสำนักค้าประเวณีขณะเปิดทำการค้าประเวณีอยู่ได้ประกาศตนเป็นตำรวจและจับหญิงโสเภณีไปจากสถานค้าประเวณีแล้วมอบหญิงดังกล่าวให้กับพวกของตนไปโดยมิได้นำมาดำเนินคดีตามกฎหมายนั้น ย่อมเกิดความเสียหายแก่ราชการตำรวจ และถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: หลักฐานการกู้ยืม, การเบิกเงิน, และดอกเบี้ยทบต้น
ฟ้องดังกล่าว จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ไป 10,000 บาท สัญญาให้ดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน จำเลยที่ 1 ค้างดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2505 ตลอดมา ดังนี้ พอเป็นที่เข้าใจฟ้องได้ว่า จำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหมาย จ.1 เป็นหลักฐานการกู้ยืมอยู่แล้ว การเบิกเงินไปแต่ละคราวภายหลังเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัด หาจำต้องมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือเป็นพิเศษอีกชั้นหนึ่งไม่ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์ให้จ่ายเงินไปแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่ และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว และยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่ และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว และยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลผูกพัน แม้จะไม่มีหลักฐานการเบิกเงินเพิ่มเติม และศาลรับฟังเอกสารแม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความ
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ไป10,000 บาท สัญญาให้ดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน จำเลยที่ 1 ค้างดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2505 ตลอดมา ดังนี้พอเป็นที่เข้าใจฟ้องได้ว่าจำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหมาย จ.1 เป็นหลักฐานการกู้ยืมอยู่แล้วการเบิกเงินไปแต่ละคราวภายหลังเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัด หาจำต้องมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือเป็นพิเศษอีกชั้นหนึ่งไม่ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์ให้จ่ายเงินไปแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปแล้วและยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปแล้วและยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมวิ่งราวทรัพย์: การกระทำที่แสดงเจตนาในการช่วยเหลือและแบ่งหน้าที่กันทำ
จำเลยที่ 1 กระชากสร้อยคอผู้เสียหายได้แล้ววิ่งหนีไปซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 2 จอดติดเครื่องคอยอยู่ห่างที่เกิดเหตุ 10 วาเศษ แล้วจำเลยที่ 2 ขับรถนั้นหาจำเลยที่ 1 หนีไปในทันใด พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยแบ่งหน้าที่กันทำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมวิ่งราวทรัพย์: การกระทำที่แสดงเจตนาในการร่วมกระทำผิด
จำเลยที่ 1 กระชากสร้อยคอผู้เสียหายได้แล้ววิ่งหนีไปซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 2 จอดติดเครื่องคอยอยู่ห่างที่เกิดเหตุ 10 วาเศษแล้วจำเลยที่ 2 ขับรถนั้นพาจำเลยที่ 1 หนีไปในทันใด พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์โดยแบ่งหน้าที่กันทำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันการกู้ยืม ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีเจตนาออกเช็คเพื่อให้ใช้ไม่ได้
จำเลยขอยืมเงินโจทก์ร่วมบอกว่าจะเอาไปทำการค้า แสดงอยู่ในตัวว่าไม่มีเงินจึงต้องยืม ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่โจทก์ร่วมในวันนั้นเอง ย่อมเป็นที่เข้าใจกันระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยว่าไม่ใช่เป็นเรื่องออกเช็คให้นำไปขึ้นเงินชำระหนี้ในวันนั้น จึงมีผลเท่ากับออกเช็คไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืม แม้ต่อมาธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค