พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และสิทธิในมรดก: บันทึกแบ่งทรัพย์ต้องมีลายมือชื่อหรือการแสดงเจตนาตามกฎหมายจึงจะมีผล
บันทึการแบ่งทรัพย์ที่เจ้ามรดกทำขึ้นมิได้ลงลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้าของมรดก จึงไม่มีผลเป็นพินัยกรรม แม้จะถือว่าเจ้ามรดกแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมด้วยวาจาต่อหน้า ค. และ อ. เพราะเจ้ามรดกไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ แต่ ค.และอ. ก็มิได้ไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอและแจ้งข้อความผู้ที่ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ ตลอดจนวันเดือนปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม และพฤติการณ์พิเศษ บันทึกการแบ่งทรัพย์ย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลเป็นพินัยกรรม จำเลยซึ่งมิได้เป็นภรรยาเจ้ามรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิอ้างเอาประโยชน์จากบันทึกนี้ได้ และไม่มีสิทธิรับมรดก
เจ้ามรดกยังไม่ได้ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลย การให้ย่อมยังไม่สมบูรณ์
เจ้ามรดกยังไม่ได้ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลย การให้ย่อมยังไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และสิทธิในการรับมรดก: บันทึกแบ่งทรัพย์ที่ไม่มีลายมือชื่อเจ้ามรดก ไม่ถือเป็นพินัยกรรม
บันทึกการแบ่งทรัพย์ที่เจ้ามรดกทำขึ้นมิได้ลงลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของเจ้ามรดก จึงไม่มีผลเป็นพินัยกรรม แม้จะถือว่าเจ้ามรดกแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมด้วยวาจาต่อหน้า ค.และอ. เพราะเจ้ามรดกไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้ แต่ ค.และอ.ก็มิได้ไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอและแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ ตลอดจนวันเดือนปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม และพฤติการณ์พิเศษ บันทึกการแบ่งทรัพย์ย่อมตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลเป็นพินัยกรรม จำเลยซึ่งมิได้เป็นภรรยาเจ้ามรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิอ้างเอาประโยชน์จากบันทึกนี้ได้ และไม่มีสิทธิรับมรดก
เจ้ามรดกยังไม่ได้ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลย การให้ย่อมยังไม่สมบูรณ์
เจ้ามรดกยังไม่ได้ยกทรัพย์พิพาทให้จำเลย การให้ย่อมยังไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีการค้าสำหรับสินค้ามือสอง: การพิจารณาประเภทการค้าและผู้ประกอบการ
คำว่า "ของเก่า" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474 มาตรา 3 นั้นหมายความว่า ทรัพย์ที่เสนอขายแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นของที่ใช้แล้วเสมอไป
ผู้ประกอบการค้ารายใดจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละเท่าใดของรายรับ จะต้องพิจารณาถึงประเภทการค้าที่ผู้นั้นกระทำ และรายการที่ประกอบการค้าตลอดจนตัวผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีประมวลเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงแต่ชนิดของรายการที่ประกอบการค้าหรือบุคคลผู้ประกอบการค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ รายการประกอบการค้าชนิดหนึ่ง 1(ก) มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ แม้โจทก์จะสั่งสินค้ารถยนต์บรรทุกและเครื่องอะไหล่ซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย แต่เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้เป็นผู้ค้าของเก่าตามกฎหมาย ก็หาได้ชื่อว่า โจทก์เป็นผู้ขายทุกทอด ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 7(ค) ของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่าไม่
ผู้ประกอบการค้ารายใดจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราภาษีร้อยละเท่าใดของรายรับ จะต้องพิจารณาถึงประเภทการค้าที่ผู้นั้นกระทำ และรายการที่ประกอบการค้าตลอดจนตัวผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีประมวลเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงแต่ชนิดของรายการที่ประกอบการค้าหรือบุคคลผู้ประกอบการค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 1 การขายของ รายการประกอบการค้าชนิดหนึ่ง 1(ก) มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตในอัตราร้อยละ 5 ของรายรับ แม้โจทก์จะสั่งสินค้ารถยนต์บรรทุกและเครื่องอะไหล่ซึ่งเป็นของเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย แต่เมื่อโจทก์มิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้เป็นผู้ค้าของเก่าตามกฎหมาย ก็หาได้ชื่อว่า โจทก์เป็นผู้ขายทุกทอด ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 7(ค) ของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่าไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต นับแต่วันก่อสร้างเสร็จ ไม่ใช่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่ยังไม่ได้รับอนุญาต
ความผิดฐานปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479 ซึ่งได้แก้ไขแล้วโดยพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 นั้น จะเกิดเป็นความผิดขึ้นเริ่มแต่วันทำการปลูกสร้างติดต่อเนื่องกันไปจนถึงวันทำการปลูกสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่การปลูกสร้างอาคารเสร็จลง หาใช่ความผิดนั้นจะต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่ผู้กระทำยังไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในมรดกของภริยาที่สมรสใหม่ และสิทธิของสามีในการฟ้องเรียกทรัพย์สินมรดกที่เป็นสินบริคณห์
ทรัพย์มรดกซึ่งหญิงมีสามีมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งก่อนทำการสมรสกับสามี แม้ทรัพย์มรดกนั้นยังไม่ได้แบ่งปันกัน ก็ย่อมเป็นสินเดิมของหญิงนั้น และเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462 โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีสิทธิฟ้องเรียกมรดกส่วนของภริยาซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภริยาได้ ตามมาตรา 1469 และแม้จำเลยเป็นมารดาของภริยาโจทก์ ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534 เพราะจำเลยไม่ใช่บุพการีโจทก์และมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องแทนภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสามีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกส่วนของภริยาที่เป็นสินบริคณห์ แม้ยังไม่ได้แบ่งมรดก
ทรัยพ์มรดกซึ่งหญิงมีสามีมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งก่อนทำการสมรสกับสามีแม้ทรัพย์มรดกนั้นยังไม่ได้แบ่งปันกันก็ย่อมเป็นสินเดิมของหญิงนั้น และเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1462 โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีสิทธิฟ้องเรียกมรดกส่วนของภริยาซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภริยาได้ ตามมาตรา 1469 และแม้จำเลยเป็นมารดาของภริยาโจทก์ ก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534 เพราะจำเลยไม่ใช่บุพการีโจทก์ และมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องแทนภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากการขาดไร้อุปการะของคู่สมรสหลังเกิดเหตุเสียชีวิต
สามีภริยาอยู่กินด้วยกันมาได้ 30 ปีเศษ ขณะมีชีวิตอยู่ได้ช่วยเหลือในทางค้าขาย แสดงว่าสามีภริยาต่างก็มีอุปการะซึ่งกันและกัน ฉะนั้นเมื่อฝ่ายหนึ่งตายลง ย่อมเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องขาดไร้อุปการะและการขาดไร้อุปการะเช่นว่านี้เป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมายผู้ที่มีชีวิตอยู่จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนการขาดอุปการะกรณีคู่สมรสเสียชีวิต: การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็นเหตุให้มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
สามีภริยาอยู่กินด้วยกันมาได้ 30 ปีเศษ ขณะมีชีวิตอยู่ได้ช่วยเหลือในทางค้าขาย แสดงว่าสามีภริยาต่างก็มีอุปการะซึ่งกันและกัน ฉะนั้นเมื่อจำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ฝ่ายหนึ่งตายลง ย่อมเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องขาดไร้อุปการะและการขาดไร้อุปการะเช่นว่านี้เป็นการขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ผู้ที่มีชีวิตอยู่จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการวางเงินค่าทดแทนเวนคืน: ศาลต้องวินิจฉัยสถานะเจ้าของก่อนจ่ายเงิน
ผู้ร้องในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ยื่นคำร้องขอวางเงินค่าทดแทนตามที่เห็นสมควรต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาตรา 28 เพราะผู้ร้องคัดค้านมิใช่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืน ส่วนผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฝ่ายต่างคัดค้าน เป็นปรปักษ์กันเองว่าต่างคนต่างเป็นเจ้าของแต่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองเห็นว่าเงินค่าทดแทนยังไม่เป็นธรรม ผู้ร้องไม่มีสิทธิวางเงินต่อศาล ขอให้ยกคำร้องคดีจึงมีประเด็นว่าผู้ร้องมีสิทธิวางเงินรายนี้ได้หรือไม่ และถ้ามีสิทธิวางได้ ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองจะมีสิทธิรับเงินที่วางได้เพียงไรหรือไม่ แต่ในการพิจารณา ศาลเพียงแต่สอบถามคู่ความเมื่อไม่ตกลงกันก็มีคำสั่งให้คู่กรณีไปดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย โดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่พิพาท ผู้ร้องคัดค้านจึงยังไม่อยู่ในฐานะที่จะมีสิทธิรับเงินรายนี้ได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการวางเงินค่าทดแทนเวนคืนและการรับเงินเมื่อสถานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังไม่ชัดเจน
ผู้ร้องในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ยื่นคำร้องขอวางเงินค่าทดแทนตามที่เห็นสมควรต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 28 เพราะผู้ร้องคัดค้านมิใช่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืน ส่วนผู้ร้องคัดค้านทั้งสองฝ่ายต่างคัดค้านเป็นปรปักษ์กันเองว่าต่างคนต่างเป็นเจ้าของ แต่ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองเห็นว่าเงินค่าทดแทนยังไม่เป็นธรรม ผู้ร้องไม่มีสิทธิวางเงินต่อศาล ขอให้ยกคำร้อง คดีจึงมีประเด็นว่าผู้ร้องมีสิทธิวางเงินรายนี้ได้หรือไม่ และถ้ามีสิทธิวางได้ ผู้ร้องคัดค้านทั้งสองจะมีสิทธิรับเงินที่วางได้เพียงไรหรือไม่ แต่ในการพิจารณา ศาลเพียงแต่สอบถามคู่ความ เมื่อไม่ตกลงกันก็มีคำสั่งให้คู่กรณีไปดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย โดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นที่พิพาท ผู้ร้องคัดค้านจึงยังไม่อยู่ในฐานะที่จะมีสิทธิรับเงินรายนี้ได้ตามกฎหมาย