คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัศนี เกาไศยนันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสุจริต: เจ้าของที่ดินฟ้องรื้อถอนมิได้ แต่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเฉพาะส่วนรุกล้ำ
การสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต หมายความว่า ผู้สร้างต้องรู้ในขณะสร้างว่าที่ดินตรงนั้นเป็นของผู้อื่น หากเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนและสร้างโรงเรือนรุกล้ำไปครั้นภายหลังจึงทราบความจริง ถือว่าเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต
ครัวเป็นส่วนหนึ่งของอาคารโรงเรือน การสร้างครัวรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น ย่อมเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นตามกฎหมาย การสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต ผู้สร้างย่อมเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นตามกฎหมาย เจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำไม่อาจฟ้องบังคับให้ผู้สร้างรื้อถอนโรงเรือนได้ แม้ผู้สร้างจะมิได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับเจ้าของที่ดินนั้นให้จดทะเบียนภารจำยอมก็ตาม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เฉพาะโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นเท่านั้นที่ได้รับความคุ้มครองสิ่งอื่น ๆ ที่มิใช่โรงเรือน หาได้รับความคุ้มครองด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิด-ขาดไร้อุปการะ: ฟ้องเพิ่มเติมไม่ขาดอายุความ บิดามีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทนเมื่อบุตรเสียชีวิต
การที่บุตรตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบิดาต้องขาดไร้อุปการะโจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะโดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์มีฐานะดีหรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดภายใน 1 ปีแล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่น แม้โจทก์จะยื่นฟ้องเพิ่มเติมเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันละเมิด แต่ก่อนวันศาลชี้สองสถาน และเป็นฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ย่อมทำได้ฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, ค่าขาดไร้อุปการะ, อายุความฟ้องเพิ่มเติม
การที่บุตรตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบิดาต้องขาดไร้อุปการะโจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะโดยไม่ต้องพิจารณาว่าโจทก์มีฐานะดีหรือไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดภายใน 1 ปีแล้วอายุความย่อมสะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุด หรือเสร็จไปโดยประการอื่น แม้โจทก์จะยื่นฟ้องเพิ่มเติมเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันละเมิด แต่ก่อนวันศาลชี้สองสถาน และเป็นฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ย่อมทำได้ฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่ผู้เช่าค่าเช่าต่ำกว่า 2,000 บาท ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ศาลต้องยึดข้อเท็จจริงเดิม
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงย่อมเป็นอันยุติแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จำต้องฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้น จะวินิจฉัยให้เป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่
การเช่าโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อผู้ให้เช่าได้บอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าด้วยวาจาแล้ว สัญญาเช่าย่อมระงับไปปัญหาที่ว่าการบอกเลิกการเช่าโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับซึ่งทำภายหลัง จะเป็นการบอกเลิกการเช่าโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไม่จำต้องพิจารณาเพราะสัญญาเช่าได้ระงับไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่ผู้เช่า: ข้อเท็จจริงยุติแล้ว ศาลต้องฟังตามชั้นต้น แม้การบอกเลิกซ้ำซ้อน
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริงย่อมเป็นอันยุติแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จำต้องฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้น จะวินิจฉัยให้เป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่
การเช่าโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อผู้ให้เช่าได้บอกเลิกการเช่ากับผู้เช่าด้วยวาจาแล้ว สัญญาเช่าย่อมระงับไปปัญหาที่ว่าการบอกเลิกการเช่าโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับซึ่งทำภายหลัง จะเป็นการบอกเลิกการเช่าโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไม่จำต้องพิจารณาเพราะสัญญาเช่าได้ระงับไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407-408/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วน/บริษัทร่วมรับผิดในละเมิด: ตราประทับ, ฟ้องเคลือบคลุม, การจ้างขับรถ
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งมิได้มีข้อความที่ขอจดทะเบียนระบุไว้ว่าจะต้องมีตราของห้างประทับลงบนลายมือชื่อของหุ้นส่วนผู้จัดการด้วย จึงจะผูกพันห้างนั้นในการดำเนินคดีแทนห้าง เพียงแต่หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อในคำฟ้องหรือคำให้การ แม้จะไม่ประทับตราของห้างด้วยก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ย่อมไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
กรรมการของบริษัทซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใช้ให้ลูกจ้างขับรถยนต์ของบริษัทไปยังสถานที่แห่งหนึ่งโดยกรรมการผู้นั้นนั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างได้ขับรถไปในทางการที่บริษัทจ้างซึ่งบริษัทจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407-408/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิด: ความสมบูรณ์ของคำฟ้อง, ความเคลือบคลุม, และความรับผิดของนายจ้าง
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งมิได้มีข้อความที่ขอจดทะเบียนระบุไว้ว่าจะต้องมีตราของห้างประทับลงบนลายมือชื่อของหุ้นส่วนผู้จัดการด้วย จึงจะผูกพันห้างนั้นในการดำเนินคดีแทนห้าง เพียงแต่หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อในคำฟ้องหรือคำให้การ แม้จะไม่ประทับตราของห้างด้วยก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ย่อมไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
กรรมการของบริษัทซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ใช้ให้ลูกจ้างขับรถยนต์ของบริษัทไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง โดยกรรมการผู้นั้นนั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างได้ขับรถไปในทางการที่บริษัทจ้างซึ่งบริษัทจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของฟ้องอาญาและการเลือกปรับบทลงโทษ: ศาลมีอำนาจพิจารณาจากข้อเท็จจริงแม้โจทก์ขอหลายมาตรา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานบังอาจยักยอกทรัพย์ของทางราชการที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาโดยนำไปขายให้ผู้อื่น อันเป็นการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,151,157,158, 352 และ 353 เช่นนี้ เมื่อมาตราดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่บรรยายในฟ้องทั้งสิ้น และการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามมาตราใดย่อมเป็นหน้าที่ของศาลจะพึงเลือกปรับบทลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และเมื่อศาลปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 147 ซึ่งเป็นการลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาที่โจทก์สืบสมตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแขวง ผู้ต้องสารภาพ การเข้าใจข้อหาเพียงพอ และวัตถุประสงค์ของประกาศ
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรค 2,4และมาตรา 20 แสดงว่าวิธีพิจารณาของศาลแขวงนั้น ต้องการให้ดำเนินการให้เสร็จไปโดยเร็ว ทั้งการฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแขวงนั้นกฎหมายก็มิได้เคร่งครัดเหมือนการฟ้องด้วยลายลักษณ์อักษรตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1121/2502
คดีที่เสนอคำฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแขวง กล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควร ที่สั่งห้ามมิให้นำน้ำแข็งเข้ามาในเขตท้องที่โดยอ้างประกาศของคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรเรื่องห้ามนำน้ำแข็งนอกเขตจังหวัดเข้ามาจำหน่ายในเขตจังหวัดซึ่งเป็นประกาศที่เกี่ยวกับเรื่องโดยตรงมาแต่เพียงฉบับเดียวเมื่อศาลสอบถาม จำเลยก็คงรับสารภาพผิดเช่นเดียวกับที่รับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยพอเข้าใจข้อหาอันเป็นความผิดได้ดีแล้ว จำเลยจะกลับโต้เถียงมาในฎีกาว่าประกาศฉบับนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีผลบังคับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องด้วยวาจาในศาลแขวง การรับสารภาพของผู้ต้องหา และข้อต่อสู้เรื่องความชอบด้วยกฎหมายของประกาศ
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรค 2, 4และมาตรา 20 แสดงว่าวิธีพิจารณาของศาลแขวงนั้น ต้องการให้ดำเนินการให้เสร็จไปโดยเร็ว ทั้งการฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแขวงนั้นกฎหมายก็มิได้เคร่งครัดเหมือนการฟ้องด้วยลายลักษณ์อักษรตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1121/2502
คดีที่เสนอคำฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแขวง กล่าวหาว่าจำเลยกระทำการฝ่าฝืน ประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควร ที่สั่งห้ามมิให้นำน้ำแข็งเข้ามาในเขตท้องที่โดยอ้างประกาศของคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรเรื่องห้ามนำน้ำแข็งนอกเขตจังหวัดเข้ามาจำหน่ายในเขตจังหวัดซึ่งเป็นประกาศที่เกี่ยวกับเรื่องโดยตรงมาแต่เพียงฉบับเดียวเมื่อศาลสอบถาม จำเลยก็คงรับสารภาพผิดเช่นเดียวกับที่รับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยพอเข้าใจข้อหาอันเป็นความผิดได้ดีแล้ว จำเลยจะกลับโต้เถียงมา ในฎีกาว่าประกาศฉบับนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีผลบังคับหาได้ไม่
of 31