พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำให้การได้ แม้ไม่เกี่ยวกับคำให้การเดิม ศาลพิพากษาตามเนื้อที่พิพาทที่คู่ความรับรอง ไม่เกินคำขอ
การแก้ไขคำให้การนั้น กฎหมายมิได้บัญญัติว่า ข้อความที่ขอแก้ไขใหม่จะต้องเกี่ยวกับคำให้การเดิมหรือข้ออ้างเดิมคงบัญญัติห้ามเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น ฉะนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ จะเป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ จึงไม่สำคัญ
แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยแต่ศาลฎีกาสั่งรับหากปรากฏว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในท้องสำนวน พอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องให้ศาลชั้นต้นสืบพยานฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การเพิ่มเติมอีก
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ครอบครอง โดยอ้างว่าเป็นของโจทก์รวม 3 ส่วน ในจำนวน 6 ส่วนหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของโฉนด แม้มิได้ขอเจาะจงว่าที่ดินส่วนใดเป็นของโจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทภายในเส้นสีแดงตามแผนที่ซึ่งคู่ความนำชี้เนื้อที่ประมาณ 1 ใน 4 ของโฉนดเป็นของโจทก์ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทภายในเส้นสีแดงเป็นของโจทก์ได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือเกินคำฟ้องไม่
แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยแต่ศาลฎีกาสั่งรับหากปรากฏว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในท้องสำนวน พอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องให้ศาลชั้นต้นสืบพยานฟังข้อเท็จจริงตามคำให้การเพิ่มเติมอีก
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ครอบครอง โดยอ้างว่าเป็นของโจทก์รวม 3 ส่วน ในจำนวน 6 ส่วนหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของโฉนด แม้มิได้ขอเจาะจงว่าที่ดินส่วนใดเป็นของโจทก์ แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทภายในเส้นสีแดงตามแผนที่ซึ่งคู่ความนำชี้เนื้อที่ประมาณ 1 ใน 4 ของโฉนดเป็นของโจทก์ศาลย่อมพิพากษาว่าที่พิพาทภายในเส้นสีแดงเป็นของโจทก์ได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือเกินคำฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยตัวผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวก่อนศาลตัดสินและผลกระทบต่อการลงโทษตามมาตรา 316
จำเลยกับพวกจับ ก. ใส่กุญแจมือพาตัวไป มารดาของ ก. ตามไปทันจำเลย ขอตัว ก. คืน จำเลยเรียกเงินค่าไถ่ 2,000 บาท พวกผู้เสียหายมอบเงิน 2,000 บาทให้จำเลยเพื่อเป็นค่าไถ่ตามที่จำเลยเรียกร้อง แล้วจำเลยจึงได้จัดการปล่อยตัว ก. โดยไม่ปรากฏว่า ก. ได้รับอันตรายสาหัส หรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้จัดให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขังได้รับเสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โดยผู้นั้นมิได้รับอันตรายสาหัส หรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ซึ่งมาตรา 316 ให้ลงโทษน้อยกว่าที่กำหนดไว้ แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องเงินทดรองค่าจ้างทำของและการจ้างเหมา
โจทก์ว่าจ้างจำเลยทำไม้ โดยจำเลยผู้รับจ้างเป็นผู้ตัดฟันชักลาก ล่องนำไม้ไปส่งอู่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นการจ้างเหมา สัญญาจ้างนี้อยู่ในลักษณะจ้างทำของ
สิทธิเรียกร้องในการที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินทดรองค่าจ้างทำของที่จ่ายล่วงหน้าและเหลืออยู่ คืนจากจำเลยผู้รับจ้าง มีอายุความ 10 ปี
สิทธิเรียกร้องในการที่โจทก์จะฟ้องเรียกเงินทดรองค่าจ้างทำของที่จ่ายล่วงหน้าและเหลืออยู่ คืนจากจำเลยผู้รับจ้าง มีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็ค แม้ไม่ใช่เจ้าของบัญชีเช็ค
ส. เอาเช็คซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของบัญชีเช็คมาเขียนสั่งจ่ายเงิน ต่อมาโจทก์ผู้ทรงนำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ เช่นนี้ ส. ผู้สั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ตามเนื้อความแห่งเช็คนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็ค แม้ไม่ใช่เจ้าของบัญชี
ส. เอาเช็คซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของบัญชีเช็คมาเขียนสั่งจ่ายเงิน ต่อมาโจทก์ผู้ทรงนำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ เช่นนี้ ส. ผู้สั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ตามเนื้อความแห่งเช็คนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งของผู้จัดการมรดก: ไม่ถือเป็นการฟ้องระหว่างบิดากับบุตร จึงไม่ขัดมาตรา 1534
โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจำเลย ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจำเลยย่อมฟ้องแย้งในฐานะผู้จัดการมรดกได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534(ประชุมใหญ่ครั้งที่18/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องแย้งของผู้จัดการมรดก: การฟ้องแย้งในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมทำได้ แม้ฟ้องคู่สมรสของเจ้ามรดก
โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจำเลย ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก จำเลยย่อมฟ้องแย้งในฐานะผู้จัดการมรดกได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534(ประชุมใหญ่ครั้งที่18/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยหน้าที่กรรมการดูแลเงินรายได้ ทำให้เกิดการทุจริตยักยอกทรัพย์ ต้องรับผิดเพื่อละเมิด
เดิมกองทัพอากาศเป็นผู้ดูแลเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ในสนามบินดอนเมือง ต่อมารัฐบาลตกลงจะแยกกิจการบินพลเรือนออกจากกองทัพอากาศ ให้กรมการขนส่งจัดเก็บรายได้ต่างๆ เป็นของกรมการขนส่ง แต่ในที่สุดยังแยกไม่ได้ เพราะไม่มีงบประมาณและคนดำเนินการ ในระหว่างที่ยังแยกไม่ได้นี้คณะกรรมการลงมติให้กองทัพอากาศมีอำนาจหน้าที่เก็บค่าธรรมเนียมเครื่องบินขึ้นลงตลอดจนพักแรม ส่วนรายได้ รายจ่ายให้เป็นของกรมการขนส่ง กองทัพอากาศ โดยกรมการบินพลเรือนเพียงเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลจัดเก็บและนำส่งกระทรวงการคลังให้ เมื่อมีการทุจริตเกี่ยวกับเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีบุคคลจะต้องรับผิดชอบทางแพ่งในฐานละเมิด กรมการขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรายได้ย่อมมีอำนาจฟ้องได้
กรรมการตรวจเงินแผ่นดินรายงานไปยังกระทรวงกลาโหมว่ามีการทุจริตยักยอกเงินค่าธรรมเนียมสนามบินในกรมการบินพลเรือนกองทัพอากาศจึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางอาญาโดยจำเลยที่ 1 ถูกสอบสวนร่วมกับพันจ่าอากาศและนายทหารอีกสองนาย คณะกรรมการสอบสวนแล้วเสนอรายงานว่า พันจ่าอากาศและนายทหารสองนายนั้นเป็นผู้รับผิดทางอาญา เจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศจึงมีบันทึกเสนอผู้บัญชาการทหารอากาศว่า การสอบสวนไม่มีหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการทุจริตเป็นแต่เพียงบกพร่องต่อหน้าที่ อันเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตซึ่งจะได้พิจารณาและดำเนินการในเรื่องความรับผิดทางแพ่งต่อไป เห็นสมควรสั่งถอนประกันเพื่อคืนหลักประกันให้จำเลยที่ 1 รองผู้บัญชาการทหารอากาศรับคำสั่งผู้บัญชาการทหารอากาศเซ็นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนประกันได้ ต่อมากองทัพอากาศสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาหาผู้ต้องรับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการทำรายงานเสนอว่าจำเลยคนใดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วยจะต้องรับผิดทางแพ่งเป็นเงินเท่าใด และผู้บัญชาการทหารอากาศลงชื่อรับทราบ ดังนี้ ถือว่ากองทัพอากาศรู้ตัวผู้ทำละเมิดซึ่งจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ผู้บัญชาการทหารอากาศรู้ตัวผู้ทำละเมิดซึ่งจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ผู้บัญชาการทหารอากาศลงชื่อรับทราบ จะถือว่ากองทัพอากาศรู้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ทำละเมิดตั้งแต่วันที่รองผู้บัญชาการทหารอากาศเซ็นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนประกันหาได้ไม่
จำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการประจำกรมการบินพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งจากกรมการบินพลเรือนให้เป็นกรรมการควบคุมดูแลเงินรายได้ผลประโยชน์ มีหน้าที่ควบคุมดูแลเงินค่าธรรมเนียมขึ้นลงของเครื่องบินกับค่าเช่าอันเป็นเงินรายได้ของโจทก์ แต่จำเลยปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองทัพอากาศทำให้เกิดการทุจริตโดยนายทหารชั้นประทวนยักยอกเอาเงินดังกล่าวไปซึ่งถ้าหากได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับแล้วการทุจริตรายนี้คงไม่เกิดขึ้นได้ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยต้องรับผิดเพื่อละเมิด
กรรมการตรวจเงินแผ่นดินรายงานไปยังกระทรวงกลาโหมว่ามีการทุจริตยักยอกเงินค่าธรรมเนียมสนามบินในกรมการบินพลเรือนกองทัพอากาศจึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางอาญาโดยจำเลยที่ 1 ถูกสอบสวนร่วมกับพันจ่าอากาศและนายทหารอีกสองนาย คณะกรรมการสอบสวนแล้วเสนอรายงานว่า พันจ่าอากาศและนายทหารสองนายนั้นเป็นผู้รับผิดทางอาญา เจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศจึงมีบันทึกเสนอผู้บัญชาการทหารอากาศว่า การสอบสวนไม่มีหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการทุจริตเป็นแต่เพียงบกพร่องต่อหน้าที่ อันเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตซึ่งจะได้พิจารณาและดำเนินการในเรื่องความรับผิดทางแพ่งต่อไป เห็นสมควรสั่งถอนประกันเพื่อคืนหลักประกันให้จำเลยที่ 1 รองผู้บัญชาการทหารอากาศรับคำสั่งผู้บัญชาการทหารอากาศเซ็นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนประกันได้ ต่อมากองทัพอากาศสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาหาผู้ต้องรับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการทำรายงานเสนอว่าจำเลยคนใดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วยจะต้องรับผิดทางแพ่งเป็นเงินเท่าใด และผู้บัญชาการทหารอากาศลงชื่อรับทราบ ดังนี้ ถือว่ากองทัพอากาศรู้ตัวผู้ทำละเมิดซึ่งจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ผู้บัญชาการทหารอากาศรู้ตัวผู้ทำละเมิดซึ่งจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ผู้บัญชาการทหารอากาศลงชื่อรับทราบ จะถือว่ากองทัพอากาศรู้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ทำละเมิดตั้งแต่วันที่รองผู้บัญชาการทหารอากาศเซ็นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนประกันหาได้ไม่
จำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการประจำกรมการบินพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งจากกรมการบินพลเรือนให้เป็นกรรมการควบคุมดูแลเงินรายได้ผลประโยชน์ มีหน้าที่ควบคุมดูแลเงินค่าธรรมเนียมขึ้นลงของเครื่องบินกับค่าเช่าอันเป็นเงินรายได้ของโจทก์ แต่จำเลยปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองทัพอากาศทำให้เกิดการทุจริตโดยนายทหารชั้นประทวนยักยอกเอาเงินดังกล่าวไปซึ่งถ้าหากได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับแล้วการทุจริตรายนี้คงไม่เกิดขึ้นได้ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยต้องรับผิดเพื่อละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยหน้าที่กรรมการควบคุมเงินรายได้ ก่อให้เกิดการทุจริตยักยอกทรัพย์ ต้องรับผิดทางละเมิด
เดิมกองทัพอากาศเป็นผู้ดูแลเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ในสนามบินดอนเมือง ต่อมารัฐบาลตกลงจะแยกกิจการบินพลเรือนออกจากกองทัพอากาศ ให้กรมการขนส่งจัดเก็บรายได้ต่างๆ เป็นของกรมการขนส่ง แต่ในที่สุดยังแยกไม่ได้ เพราะไม่มีงบประมาณและคนดำเนินการ ในระหว่างที่ยังแยกไม่ได้นี้คณะกรรมการลงมติให้กองทัพอากาศมีอำนาจหน้าที่เก็บค่าธรรมเนียมเครื่องบินขึ้นลงตลอดจนพักแรม ส่วนรายได้ รายจ่ายให้เป็นของกรมการขนส่ง กองทัพอากาศ โดยกรมการบินพลเรือนเพียงเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลจัดเก็บและนำส่งกระทรวงการคลังให้ เมื่อมีการทุจริตเกี่ยวกับเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีบุคคล จะต้องรับผิดชอบทางแพ่งในฐานละเมิด กรมการขนส่งซึ่งเป็น เจ้าของรายได้ย่อมมีอำนาจฟ้องได้
กรรมการตรวจเงินแผ่นดินรายงานไปยังกระทรวงกลาโหมว่ามีการทุจริตยักยอกเงินค่าธรรมเนียมสนามบินในกรมการบินพลเรือนกองทัพอากาศจึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางอาญาโดยจำเลยที่ 1 ถูกสอบสวนร่วมกับพันจ่าอากาศและนายทหารอีกสองนาย คณะกรรมการสอบสวนแล้วเสนอรายงานว่า พันจ่าอากาศและนายทหารสองนายนั้นเป็นผู้รับผิดทางอาญา เจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศจึงมีบันทึกเสนอผู้บัญชาการทหารอากาศว่า การสอบสวนไม่มีหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการทุจริตเป็นแต่เพียงบกพร่องต่อหน้าที่ อันเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตซึ่งจะได้พิจารณาและดำเนินการในเรื่องความรับผิดทางแพ่งต่อไป เห็นสมควรสั่งถอนประกันเพื่อคืนหลักประกันให้จำเลยที่ 1 รองผู้บัญชาการทหารอากาศรับคำสั่งผู้บัญชาการทหารอากาศเซ็นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1ถอนประกันได้ ต่อมากองทัพอากาศสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาหาผู้ต้องรับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการทำรายงานเสนอว่าจำเลยคนใดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วยจะต้องรับผิดทางแพ่งเป็นเงินเท่าใด และผู้บัญชาการทหารอากาศลงชื่อรับทราบ ดังนี้ ถือว่ากองทัพอากาศรู้ตัวผู้ทำละเมิดซึ่งจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ผู้บัญชาการทหารอากาศรู้ตัวผู้ทำละเมิดซึ่งจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ผู้บัญชาการทหารอากาศลงชื่อรับทราบ จะถือว่ากองทัพอากาศรู้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ทำละเมิดตั้งแต่วันที่รองผู้บัญชาการทหารอากาศเซ็นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนประกันหาได้ไม่
จำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการประจำกรมการบินพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งจากกรมการบินพลเรือนให้เป็นกรรมการควบคุมดูแลเงินรายได้ผลประโยชน์ มีหน้าที่ควบคุมดูแลเงินค่าธรรมเนียม ขึ้นลงของเครื่องบินกับค่าเช่าอันเป็นเงินรายได้ของโจทก์ แต่จำเลยปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองทัพอากาศทำให้เกิดการทุจริตโดยนายทหารชั้นประทวนยักยอกเอาเงินดังกล่าวไปซึ่งถ้าหากได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับแล้วการทุจริตรายนี้คงไม่เกิดขึ้นได้ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยต้องรับผิดเพื่อละเมิด
กรรมการตรวจเงินแผ่นดินรายงานไปยังกระทรวงกลาโหมว่ามีการทุจริตยักยอกเงินค่าธรรมเนียมสนามบินในกรมการบินพลเรือนกองทัพอากาศจึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางอาญาโดยจำเลยที่ 1 ถูกสอบสวนร่วมกับพันจ่าอากาศและนายทหารอีกสองนาย คณะกรรมการสอบสวนแล้วเสนอรายงานว่า พันจ่าอากาศและนายทหารสองนายนั้นเป็นผู้รับผิดทางอาญา เจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศจึงมีบันทึกเสนอผู้บัญชาการทหารอากาศว่า การสอบสวนไม่มีหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการทุจริตเป็นแต่เพียงบกพร่องต่อหน้าที่ อันเป็นเหตุให้เกิดการทุจริตซึ่งจะได้พิจารณาและดำเนินการในเรื่องความรับผิดทางแพ่งต่อไป เห็นสมควรสั่งถอนประกันเพื่อคืนหลักประกันให้จำเลยที่ 1 รองผู้บัญชาการทหารอากาศรับคำสั่งผู้บัญชาการทหารอากาศเซ็นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1ถอนประกันได้ ต่อมากองทัพอากาศสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาหาผู้ต้องรับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการทำรายงานเสนอว่าจำเลยคนใดรวมทั้งจำเลยที่ 1 ด้วยจะต้องรับผิดทางแพ่งเป็นเงินเท่าใด และผู้บัญชาการทหารอากาศลงชื่อรับทราบ ดังนี้ ถือว่ากองทัพอากาศรู้ตัวผู้ทำละเมิดซึ่งจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ผู้บัญชาการทหารอากาศรู้ตัวผู้ทำละเมิดซึ่งจะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ผู้บัญชาการทหารอากาศลงชื่อรับทราบ จะถือว่ากองทัพอากาศรู้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้ทำละเมิดตั้งแต่วันที่รองผู้บัญชาการทหารอากาศเซ็นสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนประกันหาได้ไม่
จำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการประจำกรมการบินพลเรือนซึ่งได้รับแต่งตั้งจากกรมการบินพลเรือนให้เป็นกรรมการควบคุมดูแลเงินรายได้ผลประโยชน์ มีหน้าที่ควบคุมดูแลเงินค่าธรรมเนียม ขึ้นลงของเครื่องบินกับค่าเช่าอันเป็นเงินรายได้ของโจทก์ แต่จำเลยปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองทัพอากาศทำให้เกิดการทุจริตโดยนายทหารชั้นประทวนยักยอกเอาเงินดังกล่าวไปซึ่งถ้าหากได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับแล้วการทุจริตรายนี้คงไม่เกิดขึ้นได้ ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยต้องรับผิดเพื่อละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องขับไล่ซ้ำในประเด็นกรรมสิทธิ์เดียวกันที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี
คดีก่อน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากตึกพิพาทของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยเป็นผู้ออกทุนทรัพย์ปลูกสร้างตึกพิพาทในที่ดินของโจทก์และจำเลยยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้โจทก์ ตึกพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ากรรมสิทธิ์ตึกพิพาทตกเป็นของโจทก์แล้วแต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่ครบกำหนด โจทก์ยังไม่ครบกำหนด โจทก์ยังไม่มีอำนาจพ้องพิพากษายกฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่ากรรมสิทธิ์ในตึกพิพาทเป็นของจำเลย ขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ก็มาฟ้องคดีใหม่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารโดยอ้างว่าสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยคงต่อสู้เช่นเดิมว่าตึกพิพาทเป็นของจำเลย ดังนี้ ทั้งสองคดีย่อมมีประเด็นอย่างเดียวกันว่าตึกพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย การที่โจทก์มาฟ้องคดีใหม่จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)