พบผลลัพธ์ทั้งหมด 172 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชี้ช่องทางการซื้อขายที่ดินและการได้รับค่านายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845
ว. อยากจะซื้อที่ดินของจำเลย ได้ติดต่อกับพี่ชายซึ่งอยู่ใกล้กับที่ดินนั้น พี่ชายแนะให้ไปติดต่อกับ พ. พ. ได้เขียนชื่อและตำบลที่อยู่ของจำเลยให้ ชื่อและตำบลที่อยู่ของจำเลยนี้ พ. ได้มาจากโจทก์ จำเลยเคยแจ้งให้โจทก์หาผู้ซื้อที่ดิน ผลที่สุดจำเลยก็ได้ขายที่ดินให้แก่ ว. การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการชี้ช่องหรือจัดการให้ทำสัญญาสำเร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าสำหรับธุรกิจค้ำประกัน: มิใช่การเป็นนายหน้าหรือตัวแทน แต่เป็นการประกอบธุรกิจการค้าประเภทธนาคาร
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจการค้าหลายประเภทซึ่งรวมทั้งการเข้าทำสัญญาค้ำประกันต่อธนาคารในการประกอบธุรกิจในทางค้ำประกันโจทก์ได้ทำสัญญาต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด โดยโจทก์จะรับเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในบรรดาธุรกิจต่างๆ ซึ่งธนาคารจะมอบหมายให้เป็นผู้ค้ำประกันผู้เคยค้าที่จะทำนิติกรรมผูกพันกับธนาคาร ซึ่งในการนี้ธนาคารได้ช่วยค่าใช้จ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนๆ ละไม่น้อยกว่า 5,000 บาททุกเดือน และยังแบ่งผลประโยชน์ที่ธนาคารจะพึงได้รับจากดอกเบี้ยที่โจทก์เข้าค้ำประกันให้อีก ทั้งธนาคารยอมให้โจทก์เรียกผลประโยชน์ในการค้ำประกันจากลูกหนี้ตามสมควร โดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคาร เพื่อประกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของโจทก์ โจทก์ได้นำหลักทรัพย์มูลค่าสิบล้านบาทมาวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารการประกอบกิจการค้าของโจทก์ดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบธุรกิจของโจทก์เอง โดยโจทก์ใช้ทรัพย์สินเป็นการลงทุนวางเป็นประกันต่อธนาคารและในการที่โจทก์เข้าทำสัญญาค้ำประกันลูกหนี้กับธนาคารนั้น แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์ตอบแทน โจทก์ก็เสี่ยงในการที่จะได้รับความเสียหายในฐานะร่วมรับผิดต่อธนาคารในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันเป็นส่วนตัว การประกอบกิจการค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นนายหน้าและตัวแทน ทั้งมิใช่เป็นการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 10แต่เป็นการประกอบธุรกิจการค้าในประเภทการค้า 12 ธนาคารโดยกิจการของโจทก์เข้าลักษณะกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจค้ำประกันไม่เข้าข่ายนายหน้า/ตัวแทน เสียภาษีตามประเภทธุรกิจธนาคาร
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจการค้าหลายประเภทซึ่งรวมทั้งการเข้าทำสัญญาค้ำประกันต่อธนาคาร ในการประกอบธุรกิจในทางค้ำประกันโจทก์ได้ทำสัญญาต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด โดยโจทก์จะรับเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในบรรดาธุรกิจต่างๆ ซึ่งธนาคารจะมอบหมายให้เป็นผู้ค้ำประกันผู้เคยค้าที่จะทำนิติกรรมผูกพันกับธนาคาร ซึ่งในการนี้ธนาคารได้ช่วยค่าใช้จ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนๆ ละไม่น้อยกว่า 5,000 บาททุกเดือน และยังแบ่งผลประโยชน์ที่ธนาคารจะพึงได้รับจากดอกเบี้ยที่โจทก์เข้าค้ำประกันให้อีก ทั้งธนาคารยอมให้โจทก์เรียกผลประโยชน์ในการค้ำประกันจากลูกหนี้ตามสมควร โดยได้รับความเห็นชอบจากธนาคาร เพื่อประกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของโจทก์ โจทก์ได้นำหลักทรัพย์มูลค่าสิบล้านบาทมาวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารการประกอบกิจการค้าของโจทก์ดังกล่าวแล้วเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบธุรกิจของโจทก์เองโดยโจทก์ใช้ทรัพย์สินเป็นการลงทุนวางเป็นประกันต่อธนาคารและในการที่โจทก์เข้าทำสัญญาค้ำประกันลูกหนี้กับธนาคารนั้น แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์ตอบแทน โจทก์ก็เสี่ยงในการที่จะได้รับความเสียหายในฐานะร่วมรับผิดต่อธนาคารในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันเป็นส่วนตัว การประกอบกิจการค้าของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นนายหน้าและตัวแทน ทั้งมิใช่เป็นการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 10 แต่เป็นการประกอบธุรกิจการค้าในประเภทการค้า 12 ธนาคาร โดยกิจการของโจทก์เข้าลักษณะกิจการของผู้ที่ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้า: ผลสำเร็จจากการชี้ช่อง แม้มีการเปลี่ยนแปลงราคาสัญญาจำนอง
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าจัดการให้จำเลยได้จำนองที่ดิน. โจทก์ติดต่อกับธนาคารจนธนาคารตกลงรับจำนองในราคาสองล้านหนึ่งแสนบาทแล้ว. จำเลยเปลี่ยนใจจะจำนองราคาสามล้านบาท. จำเลยจึงให้ผู้อื่นไปติดต่อกับธนาคารแห่งนั้นจนธนาคารยอมรับจำนองในราคาสามล้านบาท. ดังนี้ ถือว่าสัญญาจำนองสามล้านบาทที่จำเลยทำกับธนาคารนั้น เป็นผลสำเร็จของการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าสำเร็จเมื่อการจำนองที่ดินสำเร็จ แม้มีการเปลี่ยนแปลงราคาก็ตาม
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าจัดการให้จำเลยได้จำนองที่ดิน โจทก์ติดต่อกับธนาคารจนธนาคารตกลงรับจำนองในราคาสองล้านหนึ่งแสนบาทแล้ว จำเลยเปลี่ยนใจจะจำนองราคาสามล้านบาท จำเลยจึงให้ผู้อื่นไปติดต่อกับธนาคารแห่งนั้น จนธนาคารยอมรับจำนองในราคาสามล้านบาท ดังนี้ ถือว่าสัญญาจำนองสามล้านบาทที่จำเลยทำกับธนาคารนั้นเป็นผลสำเร็จของการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าสำเร็จเมื่อจำเลยได้จำนองที่ดินตามผลของการชี้ช่องของนายหน้า แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงราคา
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เป็นนายหน้าจัดการให้จำเลยได้จำนองที่ดิน โจทก์ติดต่อกับธนาคารจนธนาคารตกลงรับจำนองในราคาสองล้านหนึ่งแสนบาทแล้ว จำเลยเปลี่ยนใจจะจำนองราคาสามล้านบาท จำเลยจึงให้ผู้อื่นไปติดต่อกับธนาคารแห่งนั้นจนธนาคารยอมรับจำนองในราคาสามล้านบาท ดังนี้ ถือว่าสัญญาจำนองสามล้านบาทที่จำเลยทำกับธนาคารนั้น เป็นผลสำเร็จของการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้าและค่าใช้จ่ายตัวแทน: เกิดขึ้นโดยปริยาย แม้ไม่มีข้อตกลงชัดเจน ศาลกำหนดตามสมควร
โจทก์ให้จำเลยจัดการขายที่ดิน จำเลยได้จัดการขายที่ดินของโจทก์ได้สำเร็จย่อมเป็นกิจการที่ทำให้แก่กันโดยพฤติการณ์ที่คาดหมายได้ว่าย่อมทำให้แต่เพื่อจะเอาบำเหน็จ จึงถือได้ว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 846 แม้จะฟังไม่ได้ว่าตกลงให้ค่านายหน้าแก่กันเป็นจำนวนที่เกินไปจาก 11,000 บาทดังที่จำเลยนำสืบ จำเลยก็ยังมีสิทธิได้ค่าบำเหน็จ เมื่อไม่ได้ความว่าค่าบำเหน็จนั้นได้ตกลงกันเป็นจำนวนเท่าใด และไม่ปรากฏธรรมเนียมในการนี้ ศาลย่อมกำหนดให้เท่าที่กำหนดได้ตามสมควร
ส่วนค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยได้รับมอบให้จัดการโอนขายที่ดินแทนโจทก์ในภายหลังอีกส่วนหนึ่งนั้น แม้จำเลยไม่สามารถนำสืบให้ฟังได้ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนี้แน่นอน ซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกเอาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 816 เมื่อไม่ได้ความว่าค่าใช้จ่ายที่จำเลยเสียไปนั้นไปจำนวนแน่นอนเท่าใด ศาลก็กำหนดให้ได้ตามที่ควรนับว่าจำเป็นต้องใช้จ่ายไปเช่นเดียวกัน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2510)
ส่วนค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยได้รับมอบให้จัดการโอนขายที่ดินแทนโจทก์ในภายหลังอีกส่วนหนึ่งนั้น แม้จำเลยไม่สามารถนำสืบให้ฟังได้ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนี้แน่นอน ซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกเอาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 816 เมื่อไม่ได้ความว่าค่าใช้จ่ายที่จำเลยเสียไปนั้นไปจำนวนแน่นอนเท่าใด ศาลก็กำหนดให้ได้ตามที่ควรนับว่าจำเป็นต้องใช้จ่ายไปเช่นเดียวกัน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าบำเหน็จนายหน้าและค่าใช้จ่ายตัวแทน แม้ไม่มีข้อตกลงชัดเจน ก็มีสิทธิเรียกร้องได้ตามสมควร
โจทก์ให้จำเลยจัดการขายที่ดินจำเลยได้จัดการขายที่ดินของโจทก์ได้สำเร็จย่อมเป็นกิจการที่ทำให้แก่กันโดยพฤติการณ์ที่คาดหมายได้ว่าย่อมทำให้แต่เพื่อจะเอาบำเหน็จจึงถือได้ว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 846แม้จะฟังไม่ได้ว่าได้ตกลงให้ค่านายหน้าแก่กันเป็นจำนวนที่เกินไปจาก11,000 บาท ดังที่จำเลยนำสืบ จำเลยก็ยังมีสิทธิได้ค่าบำเหน็จเมื่อไม่ได้ความว่าค่าบำเหน็จนั้นได้ตกลงกันเป็นจำนวนเท่าใด และไม่ปรากฏธรรมเนียมในการนี้ ศาลย่อมกำหนดให้เท่าที่กำหนดได้ตามสมควร
ส่วนค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยได้รับมอบให้จัดการโอนขายที่ดินแทนโจทก์ในภายหลังอีกส่วนหนึ่งนั้น แม้จำเลยไม่สามารถนำสืบให้ฟังได้ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนี้แน่นอนซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกเอาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816เมื่อไม่ได้ความว่าค่าใช้จ่ายที่จำเลยเสียไปนั้นเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใดศาลก็กำหนดให้ได้ตามที่ควรนับว่าจำเป็นต้องใช้จ่ายไปเช่นเดียวกัน(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2510)
ส่วนค่าใช้จ่ายในการที่จำเลยได้รับมอบให้จัดการโอนขายที่ดินแทนโจทก์ในภายหลังอีกส่วนหนึ่งนั้น แม้จำเลยไม่สามารถนำสืบให้ฟังได้ แต่ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนี้แน่นอนซึ่งจำเลยมีสิทธิเรียกเอาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816เมื่อไม่ได้ความว่าค่าใช้จ่ายที่จำเลยเสียไปนั้นเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใดศาลก็กำหนดให้ได้ตามที่ควรนับว่าจำเป็นต้องใช้จ่ายไปเช่นเดียวกัน(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่านายหน้า: แยกความแตกต่างระหว่างนายหน้ากับผู้รับจ้างตามมาตรา 165 และการใช้สิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) และ (7) เป็นบทบัญญัติให้บุคคลเรียกเอาค่า เช่น ค่าที่ได้ส่งมอบของค่าทำของ ฯลฯหรือไม่ก็เรียกเอาสินจ้าง แต่ไม่ได้บัญญัติให้บุคคลเหล่านั้นเรียกเอาค่าบำเหน็จ บำเหน็จบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 ซึ่งเป็นเรื่องของนายหน้า ดังนั้น นายหน้ากับบุคคลที่กล่าวไว้ในมาตรา 165(1) และ (7) จึงไม่เหมือนกัน การใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่เหมือนกันไปด้วย โจทก์เรียกร้องเอาค่าบำเหน็จและไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี(ที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 24/2509 ได้เห็นชอบตามร่างคำพิพากษาฉบับนี้)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีนายหน้า: ค่าบำเหน็จต่างจากค่าจ้าง/ค่าทำของตามมาตรา 165, อายุความ 10 ปี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) และ (7) เป็นบทบัญญัติให้บุคคลเรียกเอาค่า เช่น ค่าที่ได้ส่งมอบของ ค่าทำของ ฯลฯ หรือไม่ก็เรียกเอาสินจ้าง แต่ไม่ได้บัญญัติให้บุคคลเหล่านั้นเรียกเอาค่าบำเหน็จ บำเหน็จบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 ซึ่งเป็นเรื่องของนายหน้า ดังนั้น นายหน้ากับบุคคลที่กล่าวไว้ในมาตรา 165 (1) และ (7) จึงไม่เหมือนกัน การใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่เหมือนกันไปด้วย โจทก์เรียกร้องเอาค่าบำเหน็จและไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี
(ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2509 ได้เห็นชอบตามร่างคำพิพากษาฉบับนี้)
(ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2509 ได้เห็นชอบตามร่างคำพิพากษาฉบับนี้)