พบผลลัพธ์ทั้งหมด 172 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาประเมินภาษีตามประกาศ คปถ.ฉบับที่ 8 และการปฏิบัติที่ขัดแย้งกับปกติวิสัยทางการค้า
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 กำหนดให้การประเมินตามหมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนที่ออกก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติใช้บังคับให้แล้วเสร็จภายในเวลาสองปี ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีหมายเรียกลงวันที่ 26 สิงหาคม 2517 ไปยังโจทก์ว่าประสงค์จะทำการตรวจสอบการเสียภาษีอากรตั้งแต่ปี 2512 ถึงปัจจุบัน ซึ่งตามข้อความดังกล่าวแสดงว่าจำเลยประสงค์จะตรวจสอบภาษีสำหรับปี 2517 อันเป็นปีปัจจุบันด้วย กรณีไม่จำต้องให้จำเลยมีหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีอากรปี 2517 อีก เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยทำการประเมินภาษีอากรปี 2517 แล้วเสร็จเกินกำหนดเวลาสองปีดังกล่าว การประเมินจึงไม่ชอบ
การตรวจสอบไต่สวนภาษีอากรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 มิได้จำกัดแต่เพียงเฉพาะการให้ออกหมายเรียกมาตรวจสอบเท่านั้น แต่หมายถึงการออกหนังสือเชิญผู้มีหน้าที่ชำระหรือนำส่งภาษีอากรมาทำการตรวจสอบด้วย การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปพบเพื่อทราบข้อความบางอย่างอันเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 และ 2519 แม้จะไม่ได้ใช้ถ้อยคำว่าให้โจทก์ไปพบเพื่อตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์ก็ตาม ก็เห็นได้ว่าเป็นการเรียกไปพบเพื่อให้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์เพื่อนำไปสู่การพิจารณาว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ถูกต้องหรือไม่ อันเป็นการตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์นั่นเองดังนั้น จำเลยจึงต้องดำเนินการประเมินหรือออกคำสั่งให้ชำระหรือนำส่งภาษีอากรให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีโดยให้เวลาน้อยกว่า7 วัน แม้จะเป็นการไม่ชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และ 87 ตรี แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านมาแต่แรก กลับยินยอมปฏิบัติตามหมายเรียก ตลอดจนให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นและเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินแล้ว ดังนี้โจทก์จึงจะอ้างว่าหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบไม่ได้
ระยะเวลาที่กำหนดให้ทำการประเมินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8นั้น รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งขยายออกไปตามควรแก่กรณีได้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นแต่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
การซื้อขายสินค้าแบบไดเรก ไฟแนนซ์ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติคือโจทก์จะสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศต่อเมื่อมีผู้ซื้อในประเทศไทยต้องการซื้อ และโจทก์ได้เปิดเผยให้ผู้ขายในต่างประเทศทราบตัวผู้ซื้อที่แท้จริงในประเทศไทยด้วยการให้ผู้ซื้อในประเทศไทยส่งเงินค่าสินค้าไปให้ผู้ขายในต่างประเทศโดยตรง และให้ผู้ขายในต่างประเทศส่งสินค้ามายังผู้ซื้อในประเทศโดยตรง ผิดปกติวิสัยของพ่อค้าคนกลางที่ซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อจะพึงปฏิบัติ เพราะการเปิดเผยให้ผู้ซื้อทราบแหล่งที่ซื้อและเปิดเผยให้ผู้ขายทราบราคาที่ผู้ซื้อต้องชำระย่อมเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรงในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องซื้อผ่านโจทก์ ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าของผู้ขายในต่างประเทศ มิใช่เป็นผู้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปดังที่โจทก์อ้าง
การตรวจสอบไต่สวนภาษีอากรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 มิได้จำกัดแต่เพียงเฉพาะการให้ออกหมายเรียกมาตรวจสอบเท่านั้น แต่หมายถึงการออกหนังสือเชิญผู้มีหน้าที่ชำระหรือนำส่งภาษีอากรมาทำการตรวจสอบด้วย การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ให้โจทก์ไปพบเพื่อทราบข้อความบางอย่างอันเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2518 และ 2519 แม้จะไม่ได้ใช้ถ้อยคำว่าให้โจทก์ไปพบเพื่อตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์ก็ตาม ก็เห็นได้ว่าเป็นการเรียกไปพบเพื่อให้ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดในงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของโจทก์เพื่อนำไปสู่การพิจารณาว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ถูกต้องหรือไม่ อันเป็นการตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษีของโจทก์นั่นเองดังนั้น จำเลยจึงต้องดำเนินการประเมินหรือออกคำสั่งให้ชำระหรือนำส่งภาษีอากรให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษีโดยให้เวลาน้อยกว่า7 วัน แม้จะเป็นการไม่ชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และ 87 ตรี แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านมาแต่แรก กลับยินยอมปฏิบัติตามหมายเรียก ตลอดจนให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นและเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินแล้ว ดังนี้โจทก์จึงจะอ้างว่าหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบไม่ได้
ระยะเวลาที่กำหนดให้ทำการประเมินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8นั้น รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งขยายออกไปตามควรแก่กรณีได้ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นแต่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
การซื้อขายสินค้าแบบไดเรก ไฟแนนซ์ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติคือโจทก์จะสั่งซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศต่อเมื่อมีผู้ซื้อในประเทศไทยต้องการซื้อ และโจทก์ได้เปิดเผยให้ผู้ขายในต่างประเทศทราบตัวผู้ซื้อที่แท้จริงในประเทศไทยด้วยการให้ผู้ซื้อในประเทศไทยส่งเงินค่าสินค้าไปให้ผู้ขายในต่างประเทศโดยตรง และให้ผู้ขายในต่างประเทศส่งสินค้ามายังผู้ซื้อในประเทศโดยตรง ผิดปกติวิสัยของพ่อค้าคนกลางที่ซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อจะพึงปฏิบัติ เพราะการเปิดเผยให้ผู้ซื้อทราบแหล่งที่ซื้อและเปิดเผยให้ผู้ขายทราบราคาที่ผู้ซื้อต้องชำระย่อมเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรงในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องซื้อผ่านโจทก์ ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าของผู้ขายในต่างประเทศ มิใช่เป็นผู้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้า: การฟ้องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา ไม่ใช่ลาภมิควรได้, อายุความ 10 ปี, และข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ใหม่ในฎีกา
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นนายหน้าเพื่อชี้ช่องให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขงในเขตจังหวัดอุทัยธานีแต่ผู้เดียว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองตกลงให้จำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าติดต่อเพื่อให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขง และข้อความที่ว่าแต่ผู้เดียว ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขงในเขตจังหวัดอุทัยธานีแต่ผู้เดียวนั่นเอง โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าเพื่อให้โจทก์คนหนึ่งคนใดเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกา คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสองฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์ที่ 2จะลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างจำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้จ่ายเงินค่านายหน้าบางส่วนให้แก่จำเลยทั้งสองล่วงหน้า ย่อมถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ให้สัตยาบันยอมรับเอาสัญญาว่าจ้างนายหน้าดังกล่าวแล้ว สัญญานายหน้าย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1
กรณีที่จะเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 นั้น ต้องเป็นการที่บุคคลใดได้ทรัพย์สิ่งใดมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ คดีนี้ตามฟ้องโจทก์เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองรับเงินค่านายหน้าล่วงหน้าไว้จากโจทก์ตามสัญญานายหน้า จึงเป็นการรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่เรื่องลาภมิควรได้ เมื่อปรากฏต่อมาว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราได้ตามข้อตกลง และโจทก์ทั้งสองเรียกเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้าดังกล่าวคืนจึงเป็นเรื่องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา มิใช่กรณีเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ จะนำเอาอายุความ1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ซึ่งเป็นอายุความเกี่ยวกับลาภมิควรได้มาใช้บังคับไม่ได้
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้จำเลยคืนเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้า เพราะจำเลยผิดสัญญานายหน้าเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญารับเป็นนายหน้ากับโจทก์เพราะจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. นั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นนายหน้าให้แก่โจทก์โดยเป็นตัวแทนของ อ.หรือไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์ที่ 2จะลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างจำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้จ่ายเงินค่านายหน้าบางส่วนให้แก่จำเลยทั้งสองล่วงหน้า ย่อมถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ให้สัตยาบันยอมรับเอาสัญญาว่าจ้างนายหน้าดังกล่าวแล้ว สัญญานายหน้าย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1
กรณีที่จะเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 นั้น ต้องเป็นการที่บุคคลใดได้ทรัพย์สิ่งใดมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ คดีนี้ตามฟ้องโจทก์เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองรับเงินค่านายหน้าล่วงหน้าไว้จากโจทก์ตามสัญญานายหน้า จึงเป็นการรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่เรื่องลาภมิควรได้ เมื่อปรากฏต่อมาว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราได้ตามข้อตกลง และโจทก์ทั้งสองเรียกเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้าดังกล่าวคืนจึงเป็นเรื่องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา มิใช่กรณีเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ จะนำเอาอายุความ1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ซึ่งเป็นอายุความเกี่ยวกับลาภมิควรได้มาใช้บังคับไม่ได้
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้จำเลยคืนเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้า เพราะจำเลยผิดสัญญานายหน้าเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญารับเป็นนายหน้ากับโจทก์เพราะจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. นั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นนายหน้าให้แก่โจทก์โดยเป็นตัวแทนของ อ.หรือไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับจ้างขนส่งและตัวแทนขนส่ง: การแบ่งหน้าที่และผลประโยชน์บ่งชี้ความร่วมมือทางธุรกิจ
บริษัท จ. ต้องการส่งสินค้าไปต่างประเทศ ได้ติดต่อกับจำเลย จำเลยรับจัดการให้ โดยติดต่อกับบริษัท ซ. ซึ่งเป็นบริษัทเดินเรือรับจ้างขนส่งสินค้าทางทะเลให้ทำการขนส่งสินค้าให้บริษัท ว. เมื่อบรรทุกสินค้าลงเรือแล้วจำเลยได้ออกใบตราส่งสินค้าให้แก่บริษัท จ. และเก็บค่าระวางเรือ และจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าจ้างขนสินค้าแก่ผู้ขนส่งสินค้าลงเรือ เมื่อเรือของบริษัทซ. เข้ามาในประเทศไทย จำเลยเป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย กองนำร่อง กรมเจ้าท่า เมื่อเรือจะออกจากประเทศไทยจำเลยก็เป็นผู้ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย กองนำร่องกรมเจ้าท่าและเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อให้เรือออกจากประเทศไทยการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการดำเนินงานขนส่งสินค้าของบริษัท จ. ในลักษณะร่วมกับบริษัท ซ. โดยวิธีแบ่งหน้าที่กันดำเนินงานและแบ่งผลประโยชน์ด้วยกัน มิใช่เป็นเพียงนายหน้าของบริษัท ซ..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด vs. นายหน้า: การซื้อขายไม่ผูกพันเจ้าของหากจำเลยที่ 2 เป็นเพียงนายหน้า
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้พาจำเลยที่ 1 มาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน จากโจทก์จำนวนหนึ่งและก่อนหน้านี้ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 2 ก็เป็นเช่นนี้ตลอดมา จำเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงนายหน้า เท่านั้นหาใช่เป็นตัวแทนเชิดของโจทก์ไม่ การซื้อขายรถยนต์พิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 จะขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทตามฟ้องแย้งไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5673/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาและการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ทำให้สิทธิเรียกร้องเงินส่วนแบ่งและบำเหน็จค่านายหน้าไม่เกิด
สัญญาร่วมงานขายไม้ซุงสัก ระหว่างบริษัท ก. กับจำเลยทั้งสองระบุว่า ในการแบ่งกำไรการร่วมงานขายไม้ซุงสัก จำเลยที่ 2 จะได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินสด 15 ล้านบาท ไม่ว่ากิจการจะขาดทุนหรือไม่และบริษัท ก. จะต้องจ่ายเงินคืนแก่จำเลยที่ 2 ในยอดเงินลงทุนทั้งหมดของจำเลยที่ 2 ส่วนสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส. ในฐานะส่วนตัวและผู้รับสัญญาแทน ล. ระบุว่า ตามสัญญาร่วมงานดังกล่าวส.และล.เป็นผู้ชักนำกิจการร่วมงานขายไม้ซุงสัก มาเสนอจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงให้สัญญาว่า ในยอดเงิน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2จะพึงได้รับจากบริษัท ก. จำเลยที่ 2 จะแบ่งจ่ายให้ ส.2 ล้านบาทและ ล. 1 ล้านบาท ส่วนกำไรอีก 10 เปอร์เซ็นต์ที่จะพึงได้จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะแบ่งให้แก่ ส. และ ล. ตามอัตราส่วนคือของจำเลยที่ 2 จำนวน 12 ส่วน ของ ส.2 ส่วน และของ ล. 1 ส่วนสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกันซึ่งมีความหมายว่าบริษัท ก. จะต้องชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อได้ร่วมดำเนินงานกับจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศหรือภายในประเทศแล้วและจำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินบำเหน็จค่านายหน้า 1 ล้านบาทให้แก่ล. ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเงิน 15 ล้านบาทจากบริษัท ก. แล้วการได้รับเงินจำนวน 15 ล้านบาทของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ดังนั้นเงินจำนวน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2 จะพึงได้รับจากบริษัท ก.ตามหนังสือให้สัญญาจึงหมายถึงเงินตามสัญญาร่วมงาน เมื่อต่อมาก่อนที่บริษัท ก. และจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศได้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามมิให้ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และบริษัท ก. สามารถจำหน่ายไม้ซุงสักได้ภายในประเทศอันจะถือได้ว่าเป็นการบรรลุวัตถุประสงค์ของสัญญาร่วมงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจำนวน 15 ล้านบาทตามสัญญาร่วมงานจากบริษัท ก. ถือได้ว่าเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ยังไม่สำเร็จจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องแบ่งเงิน 1 ล้านบาทจ่ายเป็นบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. สามีโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5673/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญา, การบรรลุวัตถุประสงค์สัญญา, สิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จค่านายหน้า
สัญญาร่วมงานขายไม้ซุงสัก ระหว่างบริษัท ก. กับจำเลยทั้งสองระบุว่า ในการแบ่งกำไรการร่วมงานขายไม้ซุงสัก จำเลยที่ 2 จะได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินสด 15 ล้านบาท ไม่ว่ากิจการจะขาดทุนหรือไม่และบริษัท ก. จะต้องจ่ายเงินคืนแก่จำเลยที่ 2 ในยอดเงินลงทุนทั้งหมดของจำเลยที่ 2 ส่วนสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส. ในฐานะส่วนตัวและผู้รับสัญญาแทน ล. ระบุว่า ตามสัญญาร่วมงานดังกล่าวส. และ ล. เป็นผู้ชักนำกิจการร่วมงานขายไม้ซุงสัก มาเสนอจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงให้สัญญาว่า ในยอดเงิน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2จะพึงได้รับจากบริษัท ก. จำเลยที่ 2 จะแบ่งจ่ายให้ ส. 2 ล้านบาทและ ล. 1 ล้านบาท ส่วนกำไรอีก 10 เปอร์เซ็นต์ที่จะพึงได้จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะแบ่งให้แก่ ส. และ ล. ตามอัตราส่วนคือของจำเลยที่ 2 จำนวน 12 ส่วน ของ ส. 2 ส่วน และของ ล. 1 ส่วนสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกันซึ่งมีความหมายว่าบริษัท ก. จะต้องชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อได้ร่วมดำเนินงานกับจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศหรือภายในประเทศแล้วและจำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินบำเหน็จค่านายหน้า 1 ล้านบาทให้แก่ล. ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเงิน 15 ล้านบาทจากบริษัท ก. แล้วการได้รับเงินจำนวน 15 ล้านบาทของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ดังนั้นเงินจำนวน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2 จะพึงได้รับจากบริษัท ก.ตามหนังสือให้สัญญาจึงหมายถึงเงินตามสัญญาร่วมงาน เมื่อต่อมาก่อนที่บริษัท ก. และจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศได้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามมิให้ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และบริษัท ก. สามารถจำหน่ายไม้ซุงสักได้ภายในประเทศอันจะถือได้ว่าเป็นการบรรลุวัตถุประสงค์ของสัญญาร่วมงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจำนวน 15 ล้านบาทตามสัญญาร่วมงานจากบริษัท ก. ถือได้ว่าเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ยังไม่สำเร็จจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องแบ่งเงิน 1 ล้านบาทจ่ายเป็นบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. สามีโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นตัวแทน ไม่ใช่รับขนส่ง ทำให้จำเลยต้องชำระค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง
ประเด็นที่ว่า โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยหรือไม่นั้น โจทก์ได้กล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่โจทก์เป็นผู้จัดส่งสินค้าให้จำเลยโดยเป็นผู้ติดต่อสายการบินทำการชนส่งให้ ติดต่อเกี่ยวกับพิธีการศุลกากร เป็นการกระทำแทนจำเลยทั้งสิ้นมิใช่กระทำในนามของโจทก์เองโดยตรง ใบตราส่งซึ่งเป็นของสายการบินก็ระบุว่าจำเลยในนามโจทก์เป็นผู้ส่งของ รายการในใบเสร็จรับเงินที่โจทก์เรียกเก็บเงินจากจำเลยก็ได้ระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายแทนจำเลยไว้ว่า มีค่าระวางสินค้าทางอากาศ ค่าล่วงเวลาศุลกากร/เปิดศุลกสถานค่าอากร ค่านายตรวจ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าธรรมเนียมคลังสินค้าค่ารถบรรทุกและอื่น ๆ แยกต่างหากจากค่าบริการของโจทก์ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่าโจทก์คิดแต่เพียงค่าบริการในการจัดส่งสินค้าให้จำเลยเท่านั้น มิได้คิดค่าระวางพาหนะในฐานะเป็นผู้ขนส่งแต่อย่างใดลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการให้บริการในการจัดส่งสินค้ายิ่งกว่าเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เพราะไม่มีการกระทำอันแสดงว่าโจทก์ตกลงขนของหรือสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อบำเหน็จซึ่งได้แก่ค่าระวางพาหนะ และโจทก์ได้ออกใบตราส่งเองแต่อย่างใดความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนมิใช่รับขนทั้งโจทก์ไม่ได้ทำการชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญากับผู้ใด และไม่ได้จัดการให้จำเลยได้ทำสัญญากับผู้ใดด้วยการกระทำของโจทก์ จึงไม่เข้าลักษณะนายหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 การที่สินค้าของจำเลยสูญหาย เสียหายหรือถึงที่หมายล่าช้าเนื่องจากการขนส่งของสายการบินโดยไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบจำเลยต้องชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ออกไปเนื่องในการจัดทำกิจการแก่โจทก์พร้อมทั้งบำเหน็จตามสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4812/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแทน-นายจ้าง และขอบเขตความรับผิดของผู้ให้บริการจัดส่งสินค้า
ประเด็นที่ว่า โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยหรือไม่นั้น โจทก์ได้กล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่โจทก์เป็นผู้จัดส่งสินค้าให้จำเลยโดยเป็นผู้ติดต่อสายการบินทำการชนส่งให้ ติดต่อเกี่ยวกับพิธีการศุลกากร เป็นการกระทำแทนจำเลยทั้งสิ้นมิใช่กระทำในนามของโจทก์เองโดยตรง ใบตราส่งซึ่งเป็นของสายการบินก็ระบุว่าจำเลยในนามโจทก์เป็นผู้ส่งของ รายการในใบเสร็จรับเงินที่โจทก์เรียกเก็บเงินจากจำเลยก็ได้ระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายแทนจำเลยไว้ว่า มีค่าระวางสินค้าทางอากาศ ค่าล่วงเวลาศุลกากร/เปิดศุลกสถานค่าอากร ค่านายตรวจ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าธรรมเนียมคลังสินค้าค่ารถบรรทุกและอื่น ๆ แยกต่างหากจากค่าบริการของโจทก์ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่าโจทก์คิดแต่เพียงค่าบริการในการจัดส่งสินค้าให้จำเลยเท่านั้น มิได้คิดค่าระวางพาหนะในฐานะเป็นผู้ขนส่งแต่อย่างใดลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการ ให้บริการในการจัดส่งสินค้ายิ่งกว่าเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เพราะไม่มีการกระทำอันแสดงว่าโจทก์ตกลงขนของหรือสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อบำเหน็จซึ่งได้แก่ค่าระวางพาหนะ และโจทก์ได้ออกใบตราส่งเองแต่อย่างใดความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนมิใช่รับขน ทั้งโจทก์ไม่ได้ทำการชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญากับผู้ใด และไม่ได้จัดการให้จำเลยได้ทำสัญญากับผู้ใดด้วยการกระทำของโจทก์ จึงไม่เข้าลักษณะนายหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 การที่สินค้าของจำเลยสูญหาย เสียหายหรือถึงที่หมายล่าช้าเนื่องจากการขนส่งของสายการบินโดยไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบจำเลยต้องชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ออกไปเนื่องในการจัดทำกิจการ แก่โจทก์พร้อมทั้งบำเหน็จตามสัญญา
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยที่โจทก์เป็นผู้จัดส่งสินค้าให้จำเลยโดยเป็นผู้ติดต่อสายการบินทำการชนส่งให้ ติดต่อเกี่ยวกับพิธีการศุลกากร เป็นการกระทำแทนจำเลยทั้งสิ้นมิใช่กระทำในนามของโจทก์เองโดยตรง ใบตราส่งซึ่งเป็นของสายการบินก็ระบุว่าจำเลยในนามโจทก์เป็นผู้ส่งของ รายการในใบเสร็จรับเงินที่โจทก์เรียกเก็บเงินจากจำเลยก็ได้ระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จ่ายแทนจำเลยไว้ว่า มีค่าระวางสินค้าทางอากาศ ค่าล่วงเวลาศุลกากร/เปิดศุลกสถานค่าอากร ค่านายตรวจ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่าธรรมเนียมคลังสินค้าค่ารถบรรทุกและอื่น ๆ แยกต่างหากจากค่าบริการของโจทก์ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดว่าโจทก์คิดแต่เพียงค่าบริการในการจัดส่งสินค้าให้จำเลยเท่านั้น มิได้คิดค่าระวางพาหนะในฐานะเป็นผู้ขนส่งแต่อย่างใดลักษณะการประกอบกิจการของโจทก์ดังกล่าวเป็นการ ให้บริการในการจัดส่งสินค้ายิ่งกว่าเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เพราะไม่มีการกระทำอันแสดงว่าโจทก์ตกลงขนของหรือสินค้าไปส่งให้แก่ผู้รับตราส่งเพื่อบำเหน็จซึ่งได้แก่ค่าระวางพาหนะ และโจทก์ได้ออกใบตราส่งเองแต่อย่างใดความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทนมิใช่รับขน ทั้งโจทก์ไม่ได้ทำการชี้ช่องให้จำเลยเข้าทำสัญญากับผู้ใด และไม่ได้จัดการให้จำเลยได้ทำสัญญากับผู้ใดด้วยการกระทำของโจทก์ จึงไม่เข้าลักษณะนายหน้า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 845 การที่สินค้าของจำเลยสูญหาย เสียหายหรือถึงที่หมายล่าช้าเนื่องจากการขนส่งของสายการบินโดยไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่อของโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชอบจำเลยต้องชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ออกไปเนื่องในการจัดทำกิจการ แก่โจทก์พร้อมทั้งบำเหน็จตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับก่อน หากเงื่อนไขไม่สำเร็จ นายหน้าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่านายหน้า
จำเลยทั้งสามทำสัญญาจะขายที่ดินให้ผู้จะซื้อโดยตกลงกันว่าที่ดินที่จะซื้อขายยังมีคดีพิพาทอยู่กับบุคคลภายนอก ถ้าคดีถึงที่สุดเมื่อใดไม่ว่าจะโดยคำพิพากษาของศาลหรือโดยการประนีประนอมยอมความ ถ้าผู้ขายชนะคดีและมีสิทธิแต่ฝ่ายเดียว ผู้ขายจะแจ้งยืนยันให้ผู้ซื้อทราบ ถ้าผู้ขายไม่มีสิทธิตามกฎหมายโดยผลแห่งคำพิพากษา ผู้ขายจะคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ย สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับก่อน
สัญญาจะซื้อขายที่ดินได้ทำกันไว้มีเงื่อนไขเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จ ได้มีการเลิกสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นนายหน้าให้กับการซื้อขายดังกล่าว เมื่อข้อตกลงการเป็นนายหน้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาบำเหน็จค่านายหน้าได้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินได้ทำกันไว้มีเงื่อนไขเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จ ได้มีการเลิกสัญญา โจทก์ซึ่งเป็นนายหน้าให้กับการซื้อขายดังกล่าว เมื่อข้อตกลงการเป็นนายหน้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์จึงไม่อาจเรียกเอาบำเหน็จค่านายหน้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับก่อน สัญญาเป็นโมฆะเมื่อเงื่อนไขไม่สำเร็จ ผู้เป็นนายหน้าจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จ
ข้อตกลงเป็นนายหน้ามิได้ตกลงหรือกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นประกอบกับสัญญาจะซื้อขายที่ได้ทำกันไว้มีเงื่อนไขเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จก็มิได้มีการเลิกสัญญาเช่นนี้ โจทก์จะเรียกค่าบำเหน็จ ค่านายหน้า จากจำเลยหาได้ไม่