พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3835/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดตึกแยกจากที่ดิน: การแจ้งยึดไปยังหัวหน้าเขตเพียงพอ และใช้ยันผู้ซื้อตึกได้
เมื่อการยึดตึกพิพาทเป็นการยึดแต่ตัวตึกโดยไม่ได้ยึดรวมกับที่ดินที่ตึกตั้งอยู่ด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับอสังหาริมทรัพย์เช่นนี้ได้แก่นายอำเภอหรือผู้ทำการแทน ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดตึกพิพาทและได้มีหนังสือแจ้งการยึดไปยังหัวหน้าเขตแล้ว ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่ามีการแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่ทราบแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 และย่อมมีผลตามมาตรา 305 การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โอนตึกพิพาทที่ถูกยึดแก่ผู้ร้องในภายหลัง จึงหาอาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3835/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดตึกแยกจากที่ดิน และผลของการโอนทรัพย์หลังการยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อการยึดตึกพิพาทเป็นการยึดแต่ตัวตึกโดยไม่ได้ยึดรวมกับที่ดินที่ตึกตั้งอยู่ด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับอสังหาริมทรัพย์เช่นนี้ได้แก่นายอำเภอหรือผู้ทำการแทน ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดตึกพิพาทและได้มีหนังสือแจ้งการยึดไปยังหัวหน้าเขตแล้ว ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่ามีการแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่ทราบแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 และย่อมมีผลตามมาตรา 305 การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โอนตึกพิพาทที่ถูกยึดแก่ผู้ร้องในภายหลัง จึงหาอาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินหลังการซื้อขาย: การยึดโดยชอบตามกฎหมายและการโอนสิทธิที่ใช้ยันเจ้าหนี้ไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดเฉพาะบ้านซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์อื่นอันอยู่ในที่ดิน และได้แจ้งการยึดแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและนายอำเภอท้องที่ ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71(2) ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งการยึดโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 แล้ว หาจำต้อง แจ้งการยึดต่อเจ้าพนักงานที่ดินอีกไม่
การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดโอนหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้ แล้ว หาอาจใช้ยันเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่
การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ก่อให้เกิดโอนหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดภายหลังที่ได้ทำการยึดไว้ แล้ว หาอาจใช้ยันเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2708/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโอนที่ดินตามคำพิพากษาศาล: ไม่จำเป็นต้องใช้ น.ส.3 ฉบับผู้ถือ หากศาลมีคำสั่งให้ถือคำพิพากษาเป็นเจตนา
ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 72 ที่บัญญัติให้คู่กรณีนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น หมายถึงคู่กรณีที่มีความประสงค์จะขอทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยปกติธรรมดา จึงต้องนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับผู้ถือมาจดทะเบียน มิใช่กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาชี้ขาดให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของคู่กรณีที่ไม่ยอมมาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
การที่ศาลพิพากษาให้ บ. โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของ บ. เมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขอจดทะเบียนที่ดิน โดยถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของ บ. ดังนี้ แม้โจทก์ไม่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ฉบับผู้ถือไปแสดงเพราะบ. ผู้มีชื่อใน น.ส.3 ไม่ยอมมาจดทะเบียนให้ จำเลยก็ชอบที่จะจดทะเบียนให้ตามคำพิพากษานั้น
การที่ศาลพิพากษาให้ บ. โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของ บ. เมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขอจดทะเบียนที่ดิน โดยถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของ บ. ดังนี้ แม้โจทก์ไม่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ฉบับผู้ถือไปแสดงเพราะบ. ผู้มีชื่อใน น.ส.3 ไม่ยอมมาจดทะเบียนให้ จำเลยก็ชอบที่จะจดทะเบียนให้ตามคำพิพากษานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในเรือนบนที่ดิน: สิทธิเหนือพื้นดินสำคัญกว่าการจดทะเบียนซื้อขายฝาก
โจทก์ซื้อเรือนพิพาทก่อนจำเลย โดยโจทก์จดทะเบียนการซื้อขายฝากต่อกรมการอำเภอ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71 (2) ส่วนจำเลยจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินและเรือนพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน ดังนี้ ตราบใดที่เรือนพิพาทยังปลูกอยู่บนที่ดินจำเลยซื้อมา เรือนย่อมเป็นส่วนควบกับที่ดิน การที่จะก่อตั้งกรรมสิทธิ์ในเรือนแยกออกต่างหากจากที่ดิน จะทำได้ก็โดยการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410 โจทก์เพียงแต่จดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายเรือน หาได้จดทะเบียนก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินโดยให้โจทก์เป็นเจ้าของเรือนพิพาทอันเป็นสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินไม่ จำเลยซื้อที่ดินพร้อมด้วยโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดิน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว สิทธิของจำเลยในเรือนพิพาทจึงดีกว่าของโจทก์
เมื่อจำเลยยกประเด็นเรื่องทรัพยสิทธิ คือ สิทธิเหนือพื้นดินขึ้นสู้ในคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นในเรื่องนี้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511)
เมื่อจำเลยยกประเด็นเรื่องทรัพยสิทธิ คือ สิทธิเหนือพื้นดินขึ้นสู้ในคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นในเรื่องนี้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในเรือนเมื่อที่ดินเปลี่ยนมือ: สิทธิเหนือพื้นดินสำคัญกว่าการจดทะเบียนซื้อขายเรือนก่อน
โจทก์ซื้อเรือนพิพาทก่อนจำเลย โดยโจทก์จดทะเบียนการซื้อขายฝากต่อกรมการอำเภอ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71(2). ส่วนจำเลยจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินและเรือนพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน. ดังนี้ตราบใดที่เรือนพิพาทยังปลูกอยู่บนที่ดินที่จำเลยซื้อมา เรือนย่อมเป็นส่วนควบกับที่ดิน. การที่จะก่อตั้งกรรมสิทธิ์ในเรือนแยกออกต่างหากจากที่ดิน จะทำได้ก็โดยการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410. โจทก์เพียงแต่จดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายเรือน หาได้จดทะเบียนก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินโดยให้โจทก์เป็นเจ้าของเรือนพิพาทอันเป็นสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินไม่. จำเลยซื้อที่ดินพร้อมด้วยโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดิน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว. สิทธิของจำเลยในเรือนพิพาทจึงดีกว่าของโจทก์.
เมื่อจำเลยยกประเด็นเรื่องทรัพยสิทธิ คือ สิทธิเหนือพื้นดินขึ้นสู้ในคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นในเรื่องนี้. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511).
เมื่อจำเลยยกประเด็นเรื่องทรัพยสิทธิ คือ สิทธิเหนือพื้นดินขึ้นสู้ในคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นในเรื่องนี้. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาทเมื่อที่ดินถูกซื้อขาย: สิทธิเหนือพื้นดินสำคัญกว่าการจดทะเบียนซื้อขายเรือนก่อน
โจทก์ซื้อเรือนพิพาทก่อนจำเลย โดยโจทก์จดทะเบียนการซื้อขายฝากต่อกรมการอำเภอ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71(2) ส่วนจำเลยจดทะเบียนการซื้อขายที่ดินและเรือนพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินดังนี้ตราบใดที่เรือนพิพาทยังปลูกอยู่บนที่ดินที่จำเลยซื้อมา เรือนย่อมเป็นส่วนควบกับที่ดินการที่จะก่อตั้งกรรมสิทธิ์ในเรือนแยกออกต่างหากจากที่ดินจะทำได้ก็โดยการก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1410 โจทก์เพียงแต่จดทะเบียนนิติกรรมซื้อขายเรือน หาได้จดทะเบียนก่อตั้งสิทธิเหนือพื้นดินโดยให้โจทก์เป็นเจ้าของเรือนพิพาทอันเป็นสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินไม่จำเลยซื้อที่ดินพร้อมด้วยโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดินและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วสิทธิของจำเลยในเรือนพิพาทจึงดีกว่าของโจทก์
เมื่อจำเลยยกประเด็นเรื่องทรัพยสิทธิ คือ สิทธิเหนือพื้นดินขึ้นสู้ในคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นในเรื่องนี้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511)
เมื่อจำเลยยกประเด็นเรื่องทรัพยสิทธิ คือ สิทธิเหนือพื้นดินขึ้นสู้ในคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นในเรื่องนี้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินที่เคยถูกไต่สวนออกโฉนดแล้วแต่ถูกทำลาย การจดทะเบียนโดยปลัดอำเภอแทน นายอำเภอชอบด้วยกฎหมาย
ที่พิพาทเป็นที่ทำประโยชน์แล้ว จนเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำใบไต่สวนและทำโฉนดแล้วพร้อมที่จะมอบให้เจ้าของที่เดิมซึ่งได้ร้องขอออกโฉนดไว้ หากแต่เจ้าของที่เดิมไม่ไปรับใบไต่สวนและโฉนดจนเกิน 10 ปี เจ้าพนักงานจึงได้สั่งทำลายเสีย ที่พิพาทจึงไม่มีใบไต่สวนและไม่มีโฉนด ครั้นที่พิพาทตกมาเป็นของจำเลยโดยเจ้าของเดิมที่ว่านั้นยกให้จำเลย จำเลยก็ได้ครอบครองทำประโยชน์มา จำเลยร้องขอให้ศาลสั่งแสดงสิทธิ ศาลก็สั่งแสดงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาท ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินที่อยู่ในความหมายของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 6 คือเป็นที่ดินที่อยู่ในประเภทที่ดินซึ่งเจ้าของมีสิทธิขอรับโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เวลาจะโอนขายไม่ต้องให้นายอำเภอรับรองว่าได้ทำประโยชน์แล้ว การจดทะเบียนสิทธิและการทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทรายนี้ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำแทนนายอำเภอ ย่อมเป็นการทำที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินที่เคยทำประโยชน์แล้วและไม่มีโฉนด การจดทะเบียนโดยปลัดอำเภอชอบด้วยกฎหมาย
ที่พิพาทเป็นที่ทำประโยชน์แล้ว จนเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำใบไต่สวนและทำโฉนดแล้วพร้อมที่จะมอบให้เจ้าของที่เดิม ซึ่งได้ร้องขอออกโฉนดไว้ หากแต่เจ้าของที่เดิมไม่ไปรับใบไต่สวนและโฉนดจนเกิน 10 ปี เจ้าพนักงานจึงได้สั่งทำลายเสีย ที่พิพาทจึงไม่มีใบไต่สวนและไม่มีโฉนด ครั้นที่พิพาทตกมาเป็นของจำเลย โดยเจ้าของเดิมที่ว่านั้นยกให้จำเลย ๆ ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์มา จำเลยร้องขอให้ศาลสั่งแสดงสิทธิ ศาลก็สั่งแสดงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาท ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินที่อยู่ในความหมายของ พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 6 คือ เป็นที่ดินที่อยู่ในประเภทที่ดินซึ่งเจ้าของมีสิทธิขอรับโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เวลาจะโอนขายไม่ต้องให้นายอำเภอรับรองว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว การจดทะเบียนสิทธิและการทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทรายนี้ ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำแทนนายอำเภอ ย่อมเป็นการทำที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71 (2)