พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความรับผิดทางละเมิด นายจ้าง-ลูกจ้าง ต้องระบุสภาพแห่งข้อหาให้ชัดเจน
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า "จ. กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงจ้างและ รับจ้างทำการขนปอฟอกจากโกดังไปยังเรือเดินสมุทร โดยความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในเรือฉลอมได้ทำให้เกิดเพลิงไหม้ปอฟอก จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างและลูกจ้างผู้ควบคุมเรือต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายของปอ" ดังนี้ เป็นฟ้องที่มีข้ออ้างให้จำเลยต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 เท่านั้น ไม่มีข้ออ้างให้จำเลยต้องรับผิดตามมาตรา 616 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาที่แท้จริงของสัญญา การนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์ว่าสัญญากู้เป็นเพียงหลักฐานการรับเงินค่าเช่า ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยนำสืบได้
จำเลยให้การว่าได้ทำสัญญากู้เงินตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องจริงจำเลยต่อสู้ว่าไม่ใช่เงินที่กู้กันตามธรรมดา หาก 2 สัญญาเช่ากับจำเลยโจทก์ชำระให้จำเลยมาบางส่วน โจทก์ให้จำเลยทำเป็นสัญญากู้ให้ไว้แทนการออกใบรับเงิน ทั้งนี้เพื่อประสงค์ว่า ถ้าจำเลยผู้ให้เช่าผิดนัดไม่ยอมทำสัญญาและจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ โจทก์จะได้ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้นี้คืนจากจำเลย แต่ถ้าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดไม่มาทำสัญญาเช่า โจทก์ยอมให้จำเลยริบเงินจำนวนนี้ได้ และโจทก์จะคืนสัญญากู้สองฉบับนี้ให้จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบพยานบุคคลได้เพราะการนำสืบของจำเลยเป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่าหนี้ตามสัญญากู้ในฟ้องไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ใช่เจตนาที่แท้จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาที่แท้จริงของสัญญากู้: สัญญาเพื่อการเช่าและการริบเงินค่ามัดจำเมื่อผิดสัญญา
จำเลยให้การว่าได้ทำสัญญากู้เงินตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องจริงจำเลยต่อสู้ว่าไม่ใช่เงินที่กู้กันตามธรรมดา หาก 2 สัญญาเช่ากับจำเลยโจทก์ชำระให้จำเลยมาบางส่วน โจทก์ให้จำเลยทำเป็นสัญญากู้ให้ไว้แทนการออกใบรับเงิน ทั้งนี้เพื่อประสงค์ว่า ถ้าจำเลยผู้ให้เช่าผิดนัดไม่ยอมทำสัญญาและจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ โจทก์จะได้ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้นี้คืนจากจำเลย แต่ถ้าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดไม่มาทำสัญญาเช่า โจทก์ยอมให้จำเลยริบเงินจำนวนนี้ได้ และโจทก์จะคืนสัญญากู้สองฉบับนี้ให้จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบพยานบุคคลได้เพราะการนำสืบของจำเลยเป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่าหนี้ตามสัญญากู้ในฟ้องไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ใช่เจตนาที่แท้จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการยกเว้นโทษ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2510: ครอบคลุมเฉพาะอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 5, 6ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนบางชนิดซึ่งยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายหรือยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ มาขอรับอนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลา โดยไม่ต้องรับโทษนั้น หมายความถึงอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นมิได้หมายความรวมถึงอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ แล้ว ฉะนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยมีอาวุธปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาตก็ไม่มีเหตุจะอ้างว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 295/2513)
(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 295/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการยกเว้นโทษ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ เฉพาะปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาต ไม่รวมปืนที่มีทะเบียนแล้ว
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 5, 6 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนบางชนิดซึ่งยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายหรือยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ มาขอรับอนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาโดยไม่ต้องรับโทษนั้นหมายความถึงอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ฉะนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยมีอาวุธปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาตก็ไม่มีเหตุจะอ้างว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 295/2513)
(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 295/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมฐานนำเข้าของผิดกฎหมายและการรับของโจร ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ขัดกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยบังอาจนำทองคำแท่ง ซึ่งเป็นของต้องห้ามต้องจำกัด และยังมิได้เสียภาษีอากรและผ่านด่านศุลกากรโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยบังอาจช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ฯลฯ ซึ่งทองคำดังกล่าวอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตและหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด เช่นนี้ ไม่ถือเป็นฟ้องที่ขัดกันอันจะเป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะความผิดทั้งสองฐานอาศัยข้อเท็จจริงใกล้เคียงกันมาก(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 212/2504) และโจทก์ก็มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานความผิดประกอบทั้งไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้ ถือเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2513)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องรวมความผิดนำเข้าทองคำโดยผิดกฎหมายและรับของโจร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม หากโจทก์ไม่ได้ประสงค์ลงโทษทั้งสองฐาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ จำเลยบังอาจนำทองคำแท่งซึ่งเป็นของต้องห้ามต้องจำกัด และยังมิได้เสียภาษีอากรและผ่านด่านศุลกากรโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยบังอาจช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ฯลฯ ซึ่งทองคำดังกล่าวอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตและหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด เช่นนี้ ไม่ถือเป็นฟ้องที่ขัดกันอันจะเป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะความผิดทั้งสองฐานอาศัยข้อเท็จจริงใกล้เคียงกันมาก(เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 212/2504) และโจทก์ก็มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานความผิดประกอบทั้งไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้ ถือเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2513)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเจ้าหนี้กองมรดก: การฟ้องทายาทคนแรกภายในกำหนดอายุความย่อมสะดุดหยุดอายุความ แม้จะขอเพิ่มทายาทอื่น
เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้ฟ้องภริยาของเจ้ามรดกซึ่งนับได้ว่าเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง เป็นคดีขอให้ชำระหนี้ภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้กองมรดกใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกภายในอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว การฟ้องคดีเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ แม้ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะขอให้เรียกทายาทคนอื่น ๆ เข้ามาเป็นจำเลยร่วมอีกด้วย เมื่อพ้น1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเจ้าหนี้กองมรดก: การฟ้องทายาทคนแรกภายในกำหนดสะดุดอายุความ แม้เรียกทายาทอื่นร่วมภายหลัง
เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้ฟ้องภริยาของเจ้ามรดกซึ่งนับได้ว่าเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งเป็นคดีขอให้ชำระหนี้ภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้กองมรดกใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกภายในอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว การฟ้องคดีเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ แม้ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะขอให้เรียกทายาทคนอื่น ๆ เข้ามาเป็นจำเลยร่วมอีกด้วย เมื่อพ้น1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบของฟ้องอาญา ยักยอกเงิน - ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดประเภทเงินรายได้ หากฟ้องระบุจำนวนเงินที่ยักยอกชัดเจน
ฟ้องบรรยายว่าจำเลยมีหน้าที่ รับจ่าย ทำบัญชีตลอดทั้งควบคุมเก็บรักษาเงินและมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการนี้ว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องนำยอดเงินสดคงเหลือประจำวันส่วนที่เกินกว่า 3,000 บาท เข้าฝากธนาคารระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม2505 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2507 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันตลอดมา จำเลยได้รับเงินรายได้ 10 ประเภทและจ่ายไปคงเหลืออยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย 109,502.68 บาท จำเลยไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวนี้เข้าบัญชีธนาคารกลับเบียดบังยักยอกเป็นอาณาประโยชน์ส่วนตัวเสียปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5ขอให้ลงโทษ ฯลฯ ดังนี้ เมื่ออ่านฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 ซึ่งเป็นบัญชีแสดงจำนวนเงินที่ได้รับและจ่ายไปคงเหลือแต่ละเดือนประจำเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2505 ถึงเดือนธันวาคม 2507เห็นได้ว่า โจทก์ได้กล่าวข้อเท็จจริงถึงจำนวนเงินรายได้ของโจทก์ร่วมที่จำเลยรับไว้และยักยอกไปพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดเงินรายได้ประเภทไหนเท่าใดอีกจึงเป็นฟ้องที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว