คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ฉัตร รัตนทัศนีย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องระบุเหตุคัดค้านคำตัดสินในคำร้องโดยชัดแจ้ง การกล่าวอ้างในคำแก้อุทธรณ์ใช้ไม่ได้
การขอให้พิจารณาคดีใหม่เป็นกระบวนพิจารณาซึ่งคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดและแพ้คดีจะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้น ดังนั้นคู่ความดังกล่าวจะต้องกล่าวคำคัดค้านคำตัดสินของศาลในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยชัดแจ้ง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 จะไปกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ เมื่อไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ย่อมเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงคุ้มครองประโยชน์ทรัพย์มรดกจนคดีถึงที่สุด ศาลต้องเคารพ
ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ท. ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์มรดกที่พิพาทได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามที่คู่ความตกลงกัน เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 การที่คู่ความตกลงกันให้มีการคุ้มครองประโยชน์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่ประการใด ข้อตกลงจึงใช้ได้จะนำบทบัญญัติมาตรา 260 มาใช้บังคับให้เป็นการขัดแย้งกับข้อตกลงของคู่ความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 168/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการจัดการทรัพย์มรดกจนคดีถึงที่สุด: ศาลเคารพข้อตกลงของคู่ความเหนือบทบัญญัติมาตรา 260
ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ท. ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์มรดกที่พิพาทได้จนกว่าจะคดีจะถึงที่สุดตามที่คู่ความตกลงกัน เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 การที่คู่ความตกลงกันให้มีการคุ้มครองประโยชน์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่ประการใด ข้อตกลงจึงใช้ได้ จะนำบทบัญญัติมาตรา 260 มาใช้บังคับให้เป็นการขัดแย้งกับข้อตกลงของคู่ความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากพฤติการณ์การกระทำและความต่อเนื่องของการทำร้าย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่พอใจผู้เสียหายขึ้นมาในขณะที่ดื่มสุรากันจำเลยจึงใช้มีดยาวทั้งด้าม 35 เซ็นติเมตรตัวมีดยาว15เซ็นติเมตร ใบมีดกว้าง3 เซ็นติเมตร แทงผู้เสียหาย 1 ทีที่บนเรือนถูกผู้เสียหายที่หน้าอกขวา ทะลุปอดแล้วมิได้แทงซ้ำอีก ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสจะแทงอีกได้ แม้เมื่อผู้เสียหายตกลงไปข้างล่างแล้ว จำเลยก็หาได้ติดตามลงไปทำร้ายอีกไม่ ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาแต่เพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น มิได้มีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแทงทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากลักษณะการกระทำและเหตุผล
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่พอใจผู้เสียหายขึ้นมาในขณะที่ดื่มสุรากัน จำเลยจึงใช้มีดยาวทั้งด้าม 35 เซนติเมตร ตัวมีดยาว 15 เซนติเมตร ใบมีดกว้าง 3 เซนติเมตร แทงผู้เสียหาย 1 ที ที่บนเรือน ถูกผู้เสียหายที่หน้าอกขวา ทะลุปอด แล้วมิได้แทงซ้ำอีกทั้ง ๆ ที่มีโอกาสจะแทงอีกได้ แม้เมื่อผู้เสียหายตกลงไปข้างล่างแล้ว จำเลยก็หาได้ติดตามลงไปทำร้ายอีกไม่ ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาแต่เพียงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเท่านั้น มิได้มีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: การแย่งมีดจากผู้ทำร้ายและใช้ป้องกันตนเอง
การที่ผู้ตายบุกรุกขึ้นไปบนเรือนจำเลยและเงื้อมีดเข้าไปที่จำเลยนั่งอยู่ แม้จะไม่ทราบ สาเหตุที่ผู้ตายทำเช่นนั้น แต่ลักษณะท่าทางของผู้ตายที่เงื้อมีดเข้าไปหาจำเลย แสดงว่าผู้ตายเข้าไปจะแทงจำเลยซึ่งเป็นภยันตรายจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงจำเลยจึงเข้าต่อสู้แย่งมีดจากผู้ตายมาได้ และในสถานการณ์เช่นนั้น จำเลยย่อมไม่มีเวลาคิดว่าจะควรใช้มีดนั้นหรือไม่เพียงใด ทั้งในขณะเดียวกันนั้นผู้ตายก็ได้ทำการต่อสู้แย่งมีดคืน อันตรายหาได้หมดไปไม่ จำเลยจึงใช้มีดนั้นแทงผู้ตายไปทันทีรวมสองครั้งในขณะที่มีการต่อสู้กันอยู่ การกระทำของจำเลยเท่าที่ได้ทำไปนั้นเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ จำเลยไม่มีความผิด มีดของกลางเป็นมีดของผู้ตายนำมาใช้ในการกระทำผิดให้ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัว: การแย่งมีดจากผู้บุกรุกและใช้เพื่อป้องกันอันตรายถึงชีวิต
การที่ผู้ตายบุกรุกขึ้นไปบนเรือนจำเลยและเงื้อมีดเข้าไปที่จำเลยนั่งอยู่แม้จะไม่ทราบสาเหตุที่ผู้ตายทำเช่นนั้น แต่ลักษณะท่าทางของผู้ตายที่เงื้อมีดเข้าไปหาจำเลยแสดงว่าผู้ตายเข้าไปจะแทงจำเลยซึ่งเป็นภยันตรายจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงจำเลยจึงเข้าต่อสู้แย่งมีดจากผู้ตายมาได้ และในสถานการณ์เช่นนั้นจำเลยย่อมไม่มีเวลาคิดว่าจะควรใช้มีดนั้นหรือไม่เพียงใด ทั้งในขณะเดียวกันนั้นผู้ตายก็ได้ทำการต่อสู้แย่งมีดคืน อันตรายหาได้หมดไปไม่ จำเลยจึงใช้มีดนั้นแทงผู้ตายไปทันทีรวมสองครั้งในขณะที่มีการต่อสู้กันอยู่ การกระทำของจำเลยเท่าที่ได้ทำไปนั้นเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ จำเลยไม่มีความผิด มีดของกลางเป็นมีดของผู้ตายนำมาใช้ในการกระทำผิดให้ริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663-1664/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อในคำฟ้องอาญา: โจทก์ต้องลงชื่อเอง ทนายความลงแทนไม่ได้
คดีอาญานั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี ฯลฯ (7)ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง" คำว่า"โจทก์"มีบทวิเคราะห์ศัพท์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14)ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้ลงชื่อในฟ้อง มีแต่ทนายความของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในฐานะโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา(อ้างฎีกาที่ 618/2490)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663-1664/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อในคำฟ้องคดีอาญา: โจทก์ต้องลงชื่อเอง ทนายความลงแทนไม่ได้
คดีอาญานั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี ฯลฯ (7) ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง" ค่าว่า "โจทก์" มีบทวิเคราะห์ศัพท์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(14) ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหาย ซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้ลงชื่อในฟ้อง มีแต่ทนายความของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในฐานะโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา (อ้างฎีกา 618/2490)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663-1664/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อในคำฟ้องอาญา: โจทก์ต้องลงชื่อเอง ทนายความลงแทนไม่ได้
คดีอาญานั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158บัญญัติว่า'ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมี ฯลฯ (7)ลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง'. คำว่า'โจทก์'มีบทวิเคราะห์ศัพท์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(14)ว่า หมายความถึงพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน. เมื่อโจทก์มิได้ลงชื่อในฟ้อง. มีแต่ทนายความของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในฐานะโจทก์. คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่ศาลจะพึงรับไว้พิจารณา.(อ้างฎีกาที่ 618/2490).
of 17