คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวน พูนคำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การว่าจ้างทวงหนี้และการหักเงินค่าจ้าง มิใช่ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หากมีเจตนาเปิดเผยและได้รับความยินยอม
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงหาว่ายักยอกทรัพย์ ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นชี้ขาด แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงควรฟังเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่มิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียเอง แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ฟังใหม่นั้นโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิของผู้ซื้อรถยนต์โดยสุจริตจากพ่อค้า: ผู้ขายต้องรับผิดชำระราคาคืน
โจทก์ซื้อรถยนต์โดยสุจริตจากจำเลยซึ่งเป็นพ่อค้าผู้ขายของชนิดนั้น แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มายึดรถยนต์นั้นจากโจทก์ไปเป็นของกลางในคดีอาญา และศาลอาญาพิพากษาให้คืนรถยนต์แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริง แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 โจทก์มีสิทธิ์ไม่จำต้องคืนรถยนต์ที่ซื้อขายให้แก่เจ้าของที่แท้จริงเว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมาแต่วัตถุประสงค์ของโจทก์ในการซื้อรถยนต์ก็เพื่อจะได้รถยนต์มาเป็นกรรมสิทธิ์ หาใช่เพื่อรับชดใช้ราคาคืนไม่ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475 ก็มิได้ บัญญัติว่า ผู้ซื้อทรัพย์โดยสุจริตตามมาตรา 1332 ไม่ อยู่ในฐานะที่จะถูกรอนสิทธิดังนั้น เมื่อเจ้าของที่แท้จริงมารบกวนขัดสิทธิโจทก์ผู้ซื้อและโจทก์จำต้องคืนรถยนต์ให้ไปตามคำพิพากษาของศาลไม่ว่าโจทก์จะได้รับชดใช้ราคาที่ซื้อมาหรือมีสิทธิได้รับชดใช้ราคาหรือไม่ ก็ต้องถือว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิซึ่งจำเลยผู้ขายต้องรับผิดในผลนั้น
การที่โจทก์จำต้องยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดรถยนต์ไปและศาลอาญาได้พิพากษาให้คืนแก่เจ้าของที่แท้จริงไปแล้ว รถยนต์ที่ซื้อขายจึงหลุดไปจากโจทก์ผู้ซื้อ จำเลยผู้ขายต้องรับผิดชำระราคารถยนต์คืนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 479 และใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามมาตรา 475 (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิผู้ซื้อรถยนต์โดยสุจริตจากผู้ขาย จำเลยต้องรับผิดชำระราคาและค่าเสียหาย
โจทก์ซื้อรถยนต์โดยสุจริตจากจำเลยซึ่งเป็นพ่อค้าผู้ขายของชนิดนั้น แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มายึดรถยนต์นั้นจากโจทก์ไปเป็นของกลางในคดีอาญา และศาลอาญาพิพากษาให้คืนรถยนต์แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงแม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332โจทก์มีสิทธิ์ไม่จำต้องคืนรถยนต์ที่ซื้อขายให้แก่เจ้าของที่แท้จริงเว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมาแต่วัตถุประสงค์ของโจทก์ในการซื้อรถยนต์ก็เพื่อจะได้รถยนต์มาเป็นกรรมสิทธิ์ หาใช่เพื่อรับชดใช้ราคาคืนไม่ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475ก็มิได้ บัญญัติว่า ผู้ซื้อทรัพย์โดยสุจริตตามมาตรา 1332 ไม่ อยู่ในฐานะที่จะถูกรอนสิทธิดังนั้น เมื่อเจ้าของที่แท้จริงมารบกวนขัดสิทธิโจทก์ผู้ซื้อและโจทก์จำต้องคืนรถยนต์ให้ไปตามคำพิพากษาของศาลไม่ว่าโจทก์จะได้รับชดใช้ราคาที่ซื้อมาหรือมีสิทธิได้รับชดใช้ราคาหรือไม่ก็ต้องถือว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิซึ่งจำเลยผู้ขายต้องรับผิดในผลนั้น
การที่โจทก์จำต้องยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยึดรถยนต์ไปและศาลอาญาได้พิพากษาให้คืนแก่เจ้าของที่แท้จริงไปแล้ว รถยนต์ที่ซื้อขายจึงหลุดไปจากโจทก์ผู้ซื้อ จำเลยผู้ขายต้องรับผิดชำระราคารถยนต์คืนให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 479 และใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามมาตรา 475
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนิยาม 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ต้องพิจารณาแหล่งที่มาของทุนขององค์การ
การที่จะถือว่าจำเลยซึ่งเป็นพนักงานขององค์การค้าของคุรุสภาเป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502หรือไม่ จะต้องได้ความว่า ทุนทั้งหมดหรือทุนเกินร้อยละห้าสิบขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นของรัฐ เมื่องานหรือทุนที่ดำเนินการองค์การค้าของคุรุสภาเป็นของคุรุสภาซึ่งเป็นนิติบุคคล มิใช่เป็นของรัฐ จำเลยจึงไม่เป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความ 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ทุนขององค์กรต้องมาจากรัฐเกินครึ่ง จึงจะถือเป็นพนักงานได้
การที่จะถือว่าจำเลยซึ่งเป็นพนักงานขององค์การค้าของคุรุสภาเป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 หรือไม่ จะต้องได้ความว่า ทุนทั้งหมดหรือทุนเกินร้อยละห้าสิบขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นของรัฐ เมื่องานหรือทุนที่ดำเนินการองค์การค้าของคุรุสภาเป็นของคุรุสภาซึ่งเป็นนิติบุคคล มิใช่เป็นของรัฐ จำเลยจึงไม่เป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2240/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามคำท้าสาบานและการฟ้องซ้ำในประเด็นเดิม
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้จดทะเบียนรับรอง ก. เป็นบุตรแล้วตกลงท้าสาบานกันโดยถ้าจำเลยสาบานได้ ต้องฟังว่าก. ไม่ใช่บุตรของจำเลย จำเลยสาบานได้ตามคำท้า โจทก์จึงขอถอนฟ้อง และแถลงต่อศาลว่า ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอีก ศาลสั่งอนุญาต คำแถลงของโจทก์เช่นนี้เป็นการยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ซึ่งบัญญัติมิให้โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยได้ใหม่ จึงผูกมัดตัวโจทก์ตามคำท้า โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยขอให้จดทะเบียนรับ ก. เป็นบุตร อันมีประเด็นอย่างเดียวกันอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแบ่งทรัพย์สินมรดกและการพิจารณาภาพถ่ายเป็นพยานหลักฐาน
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาแบ่งทรัพย์สินตามบัญชีท้ายฟ้องให้ พ.กับส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงิน 37,935 บาทถ้าไม่สามารถแบ่งเป็นเงินได้. ขอให้ศาลขายทอดตลาดแบ่งเงินให้ พ.กับส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงินคนละ 37,935 บาท ให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินต้นดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ศาลพิพากษาให้ พ.กับส. และจำเลยแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ ให้ประมูลระหว่างกันเอง ถ้าไม่ตกลงกัน ให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใด ให้แบ่งกันตามส่วน ไม่เป็นการตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในวิธีแบ่งทรัพย์เช่นนี้ คำขอท้ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยก็ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งเช่นนี้ไม่ชอบไม่ได้
ภาพถ่ายที่เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่ใช่พยานเอกสาร อันจะต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานดังบังคับไว้ในมาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแบ่งทรัพย์สินมรดกตามคำฟ้อง และการไม่ถือว่าภาพจำลองวัตถุเป็นพยานเอกสาร
โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาแบ่งทรัพย์สินตามบัญชีท้ายฟ้องให้ พ. กับ ส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงิน 37,935 บาทถ้าไม่สามารถแบ่งเป็นเงินได้. ขอให้ศาลขายทอดตลาดแบ่งเงินให้ พ. กับ ส. คนละส่วนเท่าๆ กัน เป็นเงินคนละ 37,935 บาทให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินต้นดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ ศาลพิพากษาให้ พ. กับ ส.และจำเลยแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลระหว่างกันเอง ถ้าไม่ตกลงกัน ให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใด ให้แบ่งกันตามส่วน ไม่เป็นการตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้อง เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในวิธีแบ่งทรัพย์เช่นนี้ คำขอท้ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยก็ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้แบ่งเช่นนี้ไม่ชอบไม่ได้
ภาพถ่ายที่เป็นภาพจำลองวัตถุ ไม่ใช่พยานเอกสารอันจะต้องส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันสืบพยานดังบังคับไว้ในมาตรา 90 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยวิธีประมูล/ขายทอดตลาด ศาลตัดสินนอกคำฟ้องหรือไม่ และอำนาจฟ้องกรณีแบ่งมรดก
เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นพ้องด้วยกับ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้แบ่งทรัพย์ระหว่างกันเองก่อนเมื่อไม่สามารถแบ่งได้ ให้ทายาทและจำเลยประมูลกันเองถ้าไม่ตกลงกันให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันตามส่วน และจำเลยยังมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์แบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้อีก ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องไม่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรกเพราะโจทก์ฟ้องเรียกเป็นเงินและให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงิน ไม่ได้
กรณีฟ้องขอแบ่งมรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่แบ่งให้ทายาทตามสิทธิของทายาท มิใช่เป็นเรื่องแบ่งมรดกโดยสัญญาโจทก์ย่อมฟ้องได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการประมูลหรือขายทอดตลาดเมื่อตกลงแบ่งกันไม่ได้ และอำนาจฟ้องในกรณีแบ่งมรดกโดยจำเลยไม่แบ่งให้ทายาท
เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยก็เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้แบ่งทรัพย์ระหว่างกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ ให้ทายาทและจำเลยประมูลกันเอง ถ้าไม่ตกลงกันให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันตามส่วน และจำเลยยังมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์แบ่งทรัพย์โดยวิธีนี้อีก ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าศาลตัดสินนอกคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องไม่ ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก เพราะโจทก์ฟ้องเรียกเป็นเงินและให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงิน ไม่ได้
กรณีฟ้องขอแบ่งมรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่แบ่งให้ทายาทตามสิทธิของทายาท มิใช่เป็นเรื่องแบ่งมรดกโดยสัญญา โจทก์ย่อมฟ้องได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง
of 31