คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวน พูนคำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง (กระบือและเกวียน) ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูป
จำเลยมีความผิดฐานแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครองและข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยได้ใช้กระบือและเกวียนชักลากไม้จากป่านำไปเก็บไว้ที่บ้าน ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ใช้กระบือและเกวียนเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด จึงเป็นของต้องริบ (เทียบฎีกาที่ 784/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง (กระบือและเกวียน) ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูป
จำเลยมีความผิดฐานแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครองและข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยได้ใช้กระบือและเกวียนชักลากไม้จากป่านำไปเก็บไว้ที่บ้าน ดังนี้ถือว่าจำเลยได้ใช้กระบือและเกวียน เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดจึงเป็นของต้องริบ
(เทียบฎีกาที่ 784/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินมัสยิด: การครอบครองปรปักษ์ต้องนับจากวันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
มัสยิดอาจได้กรรมสิทธิที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ได้
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 5 ให้มัสยิดซึ่งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เป็นนิติบุคคล ซึ่งหมายความว่า ให้เป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นต้นไป แต่ปรากฏว่ามัสยิดจำเลยร่วมจดทะเบียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2499 การที่จะถือว่า อ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะการให้ต้องมีผู้รับ แม้จะฟังว่าจำเลยร่วมครอบครองปรปักษ์ต่อมาหลังจากการยกให้ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ต้องนับการครอบครองแต่วันเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป แต่ถ้านับตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2499 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้อง คือ วันที่ 15 กรกฎาคม 2509 แล้ว ก็เห็นได้ว่ายังไม่ครบ 10 ปี จึงไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินมัสยิด: การครอบครองปรปักษ์ต้องนับจากวันที่เป็นนิติบุคคล
มัสยิดอาจได้กรรมสิทธิที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ได้
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 5 ให้มัสยิดซึ่งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เป็นนิติบุคคลซึ่งหมายความว่าให้เป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นต้นไป แต่ปรากฏว่ามัสยิดจำเลยร่วมจดทะเบียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2499 การที่จะถือว่าอ. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ย่อมเป็นไปไม่ได้เพราะการให้ต้องมีผู้รับ แม้จะฟังว่าจำเลยร่วมครอบครองปรปักษ์ต่อมาหลังจากการยกให้ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ต้องนับการครอบครองแต่วันเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป แต่ถ้านับตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2499จนถึงวันที่โจทก์ฟ้อง คือ วันที่ 15 กรกฎาคม 2509 แล้ว ก็เห็นได้ว่ายังไม่ครบ 10 ปี จึงไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 138

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา, การอยู่โดยละเมิด, และความรับผิดของบุคคลที่ไม่ใช่คู่สัญญา
ตามหนังสือสัญญาเช่าตึกพิพาท ปรากฏว่าผู้เช่าคือจำเลยที่ 1 เท่านั้น และค่าเช่าเพียงเดือนละ 60 บาท โจทก์ผู้ให้เช่าจะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าด้วย และค่าเช่าเดือนละ 445.42 บาท ดังนี้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ครบกำหนดสัญญาเช่าตึกและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ผู้เช่าไม่ส่งมอบตึกและจำเลยที่ 2 ทำการค้าอยู่ในตึกพิพาทต่อมาการอยู่ต่อมาของจำเลยที่ 2 เป็นการอยู่โดยละเมิดจริงดังฟ้อง แม้โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าด้วยแต่ศาลฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าแต่ผู้เดียว ดังนี้ ก็ต้องพิพากษาให้ขับไล่จำเลยที่ 2 ด้วย และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหาย กับร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: การพิสูจน์ข้อเท็จจริงนอกเหนือจากสัญญา และความรับผิดของผู้อยู่อาศัยโดยละเมิด
ตามหนังสือสัญญาเช่าตึกพิพาท ปรากฏว่าผู้เช่าคือจำเลยที่ 1 เท่านั้นและค่าเช่าเพียงเดือนละ 60 บาท โจทก์ผู้ให้เช่าจะนำสืบว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าด้วย และค่าเช่าเดือนละ 445.42 บาท ดังนี้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ครบกำหนดสัญญาเช่าตึกและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1ผู้เช่าไม่ส่งมอบตึกและจำเลยที่ 2 ทำการค้าอยู่ในตึกพิพาทต่อมา การอยู่ต่อมาของจำเลยที่ 2 เป็นการอยู่โดยละเมิดจริงดังฟ้อง แม้โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าด้วยแต่ศาลฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าแต่ผู้เดียว ดังนี้ ก็ต้องพิพากษาให้ขับไล่จำเลยที่ 2 ด้วย และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหาย กับร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการถูกทำร้าย: การแทงหลังถูกตบหน้าเข้าข่ายมาตรา 72
จำเลยเกิดปากเสียง ด่าทอแล้วใช้มือผลักซึ่งกันและกันกับพวกคนหนึ่งของผู้ตาย ผู้ตายเข้าห้ามให้แยกกันและใช้มือตบหน้าจำเลยไป 1 ที โดยมิได้แสดงอาการว่าจะทำร้ายจำเลยด้วยอาวุธอะไรต่อไปอีก จำเลยได้ชักมีดออกแทงผู้ตายไปทันทีถูกผู้ตายเป็นแผลฉกรรจ์ถึง 3 แผล ถึงแก่ความตาย ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่ากระทำเพื่อป้องกันตนเองให้พ้นภยันตรายที่ใกล้จะถึงหาได้ไม่และการที่ผู้ตายใช้มือตบหน้าจำเลยก่อนเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยแทงทำร้ายผู้ตายไปในขณะนั้น จึงเป็นการกระทำความผิดด้วยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแทงทำร้ายผู้อื่นหลังถูกตบหน้า: บันดาลโทสะ vs. ป้องกันตัว
จำเลยเกิดปากเสียง ด่าทอแล้วใช้มือผลักซึ่งกันและกันกับพวกคนหนึ่งของผู้ตาย ผู้ตายเข้าห้ามให้แยกกันและใช้มือตบหน้าจำเลยไป 1 ที โดยมิได้แสดงอาการว่าจะทำร้ายจำเลยด้วยอาวุธอะไรต่อไปอีก จำเลยได้ชักมีดออกแทงผู้ตายไปทันทีถูกผู้ตายเป็นแผลฉกรรจ์ถึง 3 แผล ถึงแก่ความตาย ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่ากระทำเพื่อป้องกันตนเองให้พ้นภยันตรายที่ใกล้จะถึงหาได้ไม่และการที่ผู้ตายใช้มือตบหน้าจำเลยก่อนเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยแทงทำร้ายผู้ตายไปในขณะนั้น จึงเป็นการกระทำความผิดด้วยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินโดยผู้รับมรดกแต่เพียงผู้เดียว ธนาคารผู้รับจำนองสุจริตมีสิทธิบังคับจำนองได้ ผู้รับมรดกร่วมกันไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยและผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกในที่ดินร่วมกัน จำเลยไปโอนรับมรดกที่ดินใส่ชื่อตนแต่ผู้เดียว ครั้นแล้วจำเลยนำไปจำนองไว้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ดังนี้ นิติกรรมการจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยมีผลสมบูรณ์ ธนาคารโจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้เต็มตามสัญญา ผู้ร้องจะขอกันส่วนของผู้ร้องจากจำนวนเงินที่ขายทอดตลาดที่ดินจากการบังคับจำนองหาได้ไม่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1046/2480)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองโดยผู้แทนที่ไม่ชอบ ธนาคารสุจริตมีสิทธิบังคับได้ ผู้รับมรดกไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยและผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกในที่ดินร่วมกัน จำเลยไปโอนรับมรดกที่ดินใส่ชื่อตนแต่ผู้เดียว ครั้นแล้วจำเลยนำไปจำนองไว้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ดังนี้ นิติกรรมการจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยมีผลสมบูรณ์ ธนาคารโจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้เต็มตามสัญญา ผู้ร้องจะขอกันส่วนของผู้ร้องจากจำนวนเงินที่ขายทอดตลาดที่ดินจากการบังคับจำนองหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1046/2480)
of 31