พบผลลัพธ์ทั้งหมด 309 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนสินค้าและเงินค่าขายหลังศาลสั่งคืนของกลาง การรักษาทรัพย์แทนเจ้าของ และการผิดนัดชำระหนี้
กรณีที่พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใดๆ อันจะพึงริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึดให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของ การที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13 พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501 ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืน โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507 เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของ การที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13 พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501 ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืน โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507 เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนสินค้าของกลางที่ศาลสั่งให้คืนแก่เจ้าของหลังคดีถึงที่สุด และสิทธิเรียกร้องเงินค่าขายจากกรมศุลกากร
กรณีที่พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใดๆ อันจะพึงริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึดให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของการที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งโจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืนโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของการที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งโจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืนโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันการเบิกเงินเกินบัญชี, สิทธิเรียกร้องเจ้าหนี้, การคิดดอกเบี้ยหลังล้มละลาย, การเลิกสัญญา
โจทก์จำนองที่ดินไว้กับธนาคารจำเลยเป็นประกันสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท อ. หนี้ตามบัญชีเดินสะพัดระหว่างบริษัท อ. กับจำเลยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นหนี้ที่สั่งจ่ายเป็นเช็คเสมอไป หากเป็นหนี้ส่วนที่ตกลงให้มีบัญชีกันแล้ว จะเป็นหนี้ที่เกิดจากสัญญาหรือมูลอื่นก็ย่อมลงบัญชีกันได้ บริษัท อ. เคยยินยอมให้จำเลยเอาหนี้รับจำนำใบประทวนสินค้าที่บริษัท อ. เป็นลูกหนี้บริษัทในเครือเดียวกับธนาคารจำเลย รวมทั้งหนี้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการจำนำใบประทวนสินค้ามาลงในบัญชีเดินสะพัดที่บริษัท อ. เบิกเงินเกินบัญชี การลงบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการแจ้งยอดหนี้พร้อมทั้งรายการให้โจทก์ทราบตลอดมาทุกระยะโจทก์ก็ไม่คัดค้าน และโจทก์ในฐานะกรรมการจัดการของบริษัท อ.ยังได้ลงชื่อรับรอง ยอดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดของบริษัทอ. อีกด้วยวิธีการที่จำเลยเอาหนี้ดังกล่าวมาลงในบัญชีนั้น เป็นวิธีการตามลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด หาอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องแปลงหนี้ใหม่ไม่ เมื่อปรากฏว่าบริษัท อ. ยังเป็นลูกหนี้จำเลยอยู่โจทก์ก็ต้องรับผิดชำระหนี้แทนตามสัญญาจำนอง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษในเรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย มิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเหมือนคดีแพ่งสามัญ หาใช่เป็นบทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้วห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ฉะนั้น แม้บริษัท อ. ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ผู้ทำสัญญาจำนองเป็นประกันโดยไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้ จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยได้(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2506)
เมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเดินสะพัดของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคิดหักทอนบัญชีกันและถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องเงินค้างชำระและลูกหนี้ผิดนัดในตัวแล้วจำเลยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปหาได้ไม่(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 658-659/2511)
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษในเรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย มิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเหมือนคดีแพ่งสามัญ หาใช่เป็นบทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้วห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ฉะนั้น แม้บริษัท อ. ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ผู้ทำสัญญาจำนองเป็นประกันโดยไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้ จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยได้(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2506)
เมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเดินสะพัดของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคิดหักทอนบัญชีกันและถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องเงินค้างชำระและลูกหนี้ผิดนัดในตัวแล้วจำเลยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปหาได้ไม่(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 658-659/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, จำนอง, ล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้, การคิดดอกเบี้ย, การรับชำระหนี้
โจทก์จำนองที่ดินไว้กับธนาคารจำเลยเป็นประกันสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท อ. หนี้ตามบัญชีเดินสะพัดระหว่างบริษัท อ. กับจำเลยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นหนี้ที่สั่งจ่ายเป็นเช็คเสมอไป หากเป็นหนี้ส่วนที่ตกลงให้มีบัญชีกันแล้ว จะเป็นหนี้ที่เกิดจากสัญญาหรือมูลอื่นก็ย่อมลงบัญชีกันได้ บริษัท อ. เคยยินยอมให้จำเลยเอาหนี้รับจำนำใบประทวนสินค้าที่บริษัท อ. เป็นลูกหนี้บริษัทในเครือเดียวกับธนาคารจำเลย รวมทั้งหนี้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการจำนำใบประทวนสินค้ามาลงในบัญชีเดินสะพัดที่บริษัท อ. เบิกเงินเกินบัญชี การลงบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการแจ้งยอดหนี้พร้อมทั้งรายการให้โจทก์ทราบตลอดมาทุกระยะโจทก์ก็ไม่คัดค้าน และโจทก์ในฐานะกรรมการจัดการของบริษัท อ.ยังได้ลงชื่อรับรองยอดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดของบริษัทอ. อีกด้วย วิธีการที่จำเลยเอาหนี้ดังกล่าวมาลงในบัญชีนั้น เป็นวิธีการตามลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด หาอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องแปลงหนี้ใหม่ไม่ เมื่อปรากฏว่าบริษัท อ. ยังเป็นลูกหนี้จำเลยอยู่ โจทก์ก็ต้องรับผิดชำระหนี้แทนตามสัญญาจำนอง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษในเรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย มิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเหมือนคดีแพ่งสามัญ หาใช่เป็นบทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ฉะนั้น แม้บริษัท อ. ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ผู้ทำสัญญาจำนองเป็นประกันโดยไม่จำกัดความรับผิดซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยได้ (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2506)
เมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเดินสะพัดของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคิดหักทอนบัญชีกันและถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องเงินค้างชำระและลูกหนี้ผิดนัดในตัวแล้ว จำเลยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปหาได้ไม่(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 658-659/2511)
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษในเรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย มิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเหมือนคดีแพ่งสามัญ หาใช่เป็นบทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ฉะนั้น แม้บริษัท อ. ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ผู้ทำสัญญาจำนองเป็นประกันโดยไม่จำกัดความรับผิดซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยได้ (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2506)
เมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเดินสะพัดของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคิดหักทอนบัญชีกันและถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องเงินค้างชำระและลูกหนี้ผิดนัดในตัวแล้ว จำเลยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปหาได้ไม่(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 658-659/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตการก่อสร้างอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร
เมื่อมีผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ที่จะใช้ดุลพินิจเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นในการอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้บุคคลปลูกสร้างอาคารอย่างใดๆ ได้
โจทก์ยื่นขออนุญาตก่อสร้างกำแพงต่อจำเลย จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งไม่อนุญาตโดยอ้างเหตุขัดข้อง 3 ประการ ครั้นเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย จำเลยได้ยื่นคำให้การแสดงถึงเหตุหลายประการนอกเหนือไปจากเหตุที่จำเลยอ้างไว้ ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยในคดีได้ ซึ่งศาลจะต้องรับวินิจฉัย
โจทก์ยื่นขออนุญาตก่อสร้างกำแพงต่อจำเลย จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งไม่อนุญาตโดยอ้างเหตุขัดข้อง 3 ประการ ครั้นเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย จำเลยได้ยื่นคำให้การแสดงถึงเหตุหลายประการนอกเหนือไปจากเหตุที่จำเลยอ้างไว้ ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยในคดีได้ ซึ่งศาลจะต้องรับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตการก่อสร้างอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
เมื่อมีผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ที่จะใช้ดุลพินิจเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้น ในการอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้บุคคลปลูกสร้างอาคารอย่างใดๆ ได้
โจทก์ยื่นขออนุญาตก่อสร้างกำแพงต่อจำเลย จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งไม่อนุญาตโดยอ้างเหตุขัดข้อง 3 ประการ ครั้นเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย จำเลยได้ยื่นคำให้การแสดงถึงเหตุหลายประการนอกเหนือไปจากเหตุที่จำเลยอ้างไว้ ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยในคดีได้ ซึ่งศาลจะต้องรับวินิจฉัย
โจทก์ยื่นขออนุญาตก่อสร้างกำแพงต่อจำเลย จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งไม่อนุญาตโดยอ้างเหตุขัดข้อง 3 ประการ ครั้นเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย จำเลยได้ยื่นคำให้การแสดงถึงเหตุหลายประการนอกเหนือไปจากเหตุที่จำเลยอ้างไว้ ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยในคดีได้ ซึ่งศาลจะต้องรับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างลูกจ้างร่วมรับผิดละเมิด, ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิ: ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนเริ่มต้นต่างกัน
นายจ้างผู้ร่วมรับผิดกับลูกจ้างในกรณีละเมิดจะต้องเสียดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันละเมิดเช่นเดียวกับลูกจ้างผู้กระทำละเมิด
ผู้รับประกันวินาศภัยซึ่งเข้ารับช่วงสิทธิโดยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งถูกกระทำละเมิดไปแล้วย่อมมีสิทธิขอให้คิดดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ละเมิดนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นไป จะขอให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดไม่ได้
ผู้รับประกันวินาศภัยซึ่งเข้ารับช่วงสิทธิโดยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งถูกกระทำละเมิดไปแล้วย่อมมีสิทธิขอให้คิดดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ละเมิดนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นไป จะขอให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างและผู้รับประกันภัยในกรณีละเมิด: การคิดดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน
นายจ้างผู้ร่วมรับผิดกับลูกจ้างในกรณีละเมิดจะต้องเสียดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันละเมิดเช่นเดียวกับลูกจ้างผู้กระทำละเมิด
ผู้รับประกันวินาศภัยซึ่งเข้ารับช่วงสิทธิโดยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งถูกกระทำละเมิดไป แล้วย่อมมีสิทธิขอให้คิดดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ละเมิดนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นไป จะขอให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดไม่ได้
ผู้รับประกันวินาศภัยซึ่งเข้ารับช่วงสิทธิโดยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งถูกกระทำละเมิดไป แล้วย่อมมีสิทธิขอให้คิดดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ละเมิดนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินจำนวนนั้นไป จะขอให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายและการกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ การเลิกสัญญาต้องเป็นไปตามกฎหมาย
หนังสือสัญญาจะซื้อขายมิได้ระบุไว้ว่า ถ้าผู้จะซื้อผิดสัญญา ไม่ผ่อนชำระราคาทรัพย์ที่ซื้อขายเป็นรายเดือนตามกำหนด ให้ผู้จะขายใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ทันที และปรากฏว่าคู่สัญญามิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาผ่อนชำระราคาเป็นสารสำคัญตามสัญญา ฉะนั้น แม้ผู้จะซื้อผิดสัญญา ไม่ผ่อนชำระราคาทรัพย์ที่ซื้อขายเป็นรายเดือนตามวันที่กำหนดไว้ ผู้จะขายก็จะบอกเลิกสัญญาทันทีมิได้ หากแต่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 โดยต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควร บอกกล่าวให้ผู้จะซื้อชำระหนี้ราคาทรัพย์ที่ ติดค้างอยู่ ต่อเมื่อผู้จะซื้อไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น ผู้จะขายจึงจะเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายทวงหนี้และเจตนายักยอก: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงและการยอมรับค่าจ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงหาว่ายักยอกทรัพย์ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นชี้ขาด แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงควรฟังเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่มิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียเองแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ฟังใหม่นั้นโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้นได้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงให้