พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม: ความสมบูรณ์แม้มีข้อบกพร่องด้านรูปแบบ หากมีเจตนาและปฏิบัติตามกฎหมาย
ผู้เยาว์อายุ 8 ขวบ บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกัน ป. รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม ในคำร้องขอจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมบิดาของผู้เยาว์เป็นผู้ลงชื่อแทนที่จะเป็นมารดา แต่เมื่อยื่นคำร้องนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบถามและไต่สวนฝ่ายผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และฝ่ายที่จะเป็นบุตรบุญธรรมถูกต้องตามเงื่อนไขของการจดทะเบียนแล้วทั้งมารดาของผู้เยาว์ก็ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ให้ความยินยอมที่ด้านหลังคำร้องนี้ด้วย ถือได้ว่าคำร้องขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนี้ได้ทำตามแบบโดยชอบแล้ว และการที่ช่องลายมือชื่อผู้ร้องขอจดทะเบียนในทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมไม่มีลายมือชื่อบุตรบุญธรรม แต่ด้านหลังมีบันทึกปากคำของผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้ให้ความยินยอม ซึ่งมารดาอันเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ได้ให้ความยินยอมโดยมีลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ความบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การจดทะเบียนไม่สมบูรณ์และแม้บันทึกด้านหลังทะเบียนนั้นจะไม่ได้ลงวันเดือนปีไว้ด้วย แต่เมื่อเห็นได้ชัดว่านายทะเบียนได้ทำในวันเวลาเดียวต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนด้านหน้า เหตุเพียงเท่านี้ก็ไม่ทำให้การจดทะเบียนไม่สมบูรณ์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการหักกลบลบหนี้: ทรัพย์สินที่ยึดมีมูลค่าไม่พอชำระหนี้ และหนี้โจทก์สูงกว่าจำเลย
ข้อเท็จจริงของคดีนี้โจทก์จำเลยแถลงรับกันอยู่ว่าหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับคดีเอากับจำเลยมีทุนทรัพย์เพียง 316,350 บาทซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุด ทั้งปรากฏชัดว่าบรรดาทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์นำยึดไว้นั้นทุกรายการมีผู้ร้องขัดทรัพย์อยู่ จึงไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์จะบังคับคดีเอากับทรัพย์สินที่ยึดไว้แล้วได้มากน้อยเพียงใด ประกอบกับหนี้ของโจทก์ที่จะบังคับกับจำเลยมีจำนวนแน่นอนและสูงกว่าหนี้ที่จำเลยฟ้องเรียกร้องจากโจทก์อยู่เป็นจำนวนถึง 90,000 บาทเศษ เฉพาะหุ้นที่โจทก์นำยึดขอขายทอดตลาด จำเลยก็รับว่ามีราคาน้อยเพียง 3,000 บาทเท่านั้นจึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าแม้จำเลยจะเป็นฝ่ายชนะคดีโจทก์ก็ไม่สามารถที่จะหักกลบลบหนี้กันได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 ข้อเท็จจริงที่ ปรากฏในสำนวนจึงมีพอที่ศาลจะสั่งได้ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาใหม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการหักกลบลบหนี้: แม้มีคดีละเมิดค้าง แต่เจ้าหนี้ยังบังคับคดีจากหนี้ถึงที่สุดได้หากทรัพย์สินยึดเพียงพอ
ข้อเท็จจริงของคดีนี้โจทก์จำเลยแถลงรับกันอยู่ว่าหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับคดีเอากับจำเลยมีทุนทรัพย์ถึง 400,000 บาทเศษ แต่คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ในข้อหาละเมิดเรียกค่าเสียหายมีทุนเพียง 316,350 บาท ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุด ทั้งปรากฏชัดว่าบรรดาทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์นำยึดไว้นั้นทุกรายการมีผู้ร้องขัดทรัพย์อยู่ จึงไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์จะบังคับคดีเอากับทรัพย์สินที่ยึดไว้แล้วได้มากน้อยเพียงใด ประกอบกับหนี้ของโจทก์ที่จะบังคับกับจำเลยมีจำนวนแน่นอนและสูงกว่าหนี้ที่จำเลยฟ้องเรียกร้องจากโจทก์อยู่เป็นจำนวนถึง 90,000 บาทเศษ เฉพาะหุ้นที่โจทก์นำยึดขอขายทอดตลาด จำเลยก็รับว่ามีราคาน้อยเพียง 3,000 บาทเท่านั้น จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าแม้จำเลยจะเป็นฝ่ายชนะคดีโจทก์ก็ไม่สามารถที่จะหักกลบลบหนี้กันได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ข้อเท็จจริงที่ ปรากฏในสำนวนจึงมีพอที่ศาลจะสั่งได้ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาใหม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจของศาลส่งตัวเด็กไปสถานพินิจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) เป็นฎีกาต้องห้าม
เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีเด็กและเยาวชนพิพากษาใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) แล้ว จำเลยฎีกาขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นฎีกาต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29 และมาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลพินิจส่งตัวเด็กไปยังสถานพินิจฯ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเด็ดขาด ไม่สามารถฎีกาได้
เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีเด็กและเยาวชนพิพากษาใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) แล้ว จำเลยฎีกาขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นฎีกาต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29 และมาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายเปลี่ยนแปลงกลางคดี: การยกฟ้องเมื่อกฎหมายที่ใช้บังคับถูกยกเลิก
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 26 และ 51 ลงโทษผู้นำใบยาแห้งพันธุ์ต่างประเทศตั้งแต่หนึ่งกิโลกรัมขึ้นไป ออกนอกเขตจังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามบทบัญญัตินี้ ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2513 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 13 และ 19 บัญญัติให้ยกเลิก มาตรา 26 และ 51 ดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ การกระทำของจำเลยตามฟ้องย่อมไม่เป็นความผิดต่อไป ต้องยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายเปลี่ยนแปลงระหว่างพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อความผิดเดิม
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 26 และ 51 ลงโทษผู้นำใบยาแห้งพันธุ์ต่างประเทศตั้งแต่หนึ่งกิโลกรัมขึ้นไปออกนอกเขตจังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามบทบัญญัตินี้ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2512 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 13 และ 19 บัญญัติให้ยกเลิกมาตรา 26 และ 51 ดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ การกระทำของจำเลยตามฟ้องย่อมไม่เป็นความผิดต่อไป ต้องยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: ความรับผิดชอบสินค้า, เงินทุนหมุนเวียน, และลักษณะความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่ายในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญา ระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้น หากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: สิทธิเรียกร้องค่าสินค้าและเงินทุนหมุนเวียนเมื่อเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่าย ในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียน เป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญาระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้นหากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินมือเปล่า: การโอนและการคุ้มครองสิทธิ แม้มี น.ส.3 ก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์
โจทก์ซื้อที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าจาก ต. และ ครอบครองทำกินมาเป็นเวลานานปีแล้ว แม้ ต. จะได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ที่พิพาทแปลงนี้ และโอนขายให้จำเลยภายหลัง ซึ่งรับซื้อไว้โดยสุจริตดังปรากฏหลักฐานการโอนตามหนังสือ น.ส.3 ก็ตาม จำเลยก็หาได้ไปซึ่งสิทธิในที่พิพาทแต่อย่างใดไม่ เพราะ น.ส.3 หาใช่เป็นหลักฐานกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนเช่นโฉนดที่ดินไม่ จึงจะนำมาตรา 1299, 1300ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้แก่กรณีนี้มิได้ (เทียบเคียงฎีกาที่ 1076-1077-1078/2510)