คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรัญ อิศระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมในความสัมพันธ์ทางเพศ: ไม่มีละเมิดและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ในการพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์สมัครใจยินยอมให้จำเลยร่วมประเวณี มิใช่ถูกจำเลยข่มขืนใจ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นเรื่องสมัครใจ จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์: การสนับสนุนด้วยการขนย้ายทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิด
(พฤติการณ์การกระทำของจำเลยที่เป็นเหตุผลเชื่อได้ว่ารู้เห็นในการกระทำการปล้นทรัพย์อยู่ด้วย)
เมื่อกรณีฟังได้ว่าจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นคนขับรถบรรทุก จำเลยที่ 7 เป็นเด็กประจำรถรู้เห็นในการปล้นทรัพย์อยู่ด้วย การที่จำเลยที่ 6 ที่ 7 นำรถยนต์ไปจอดรอรับกระบือที่ได้จากการปล้นพาหนีไปให้พ้นจากการติดตามเอาคืนของเจ้าทรัพย์และเจ้าพนักงาน จึงเป็นการกระทำส่วนหนึ่งเพื่อให้การปล้นทรัพย์บรรลุผลสำเร็จอันเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำการกระทำของจำเลยที่ 6 ที่ 7 จึงเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1268/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รู้เห็นการปล้นทรัพย์: การกระทำสนับสนุนการปล้นทรัพย์ถือเป็นตัวการร่วม
(พฤติการณ์การกระทำของจำเลยที่เป็นเหตุผลเชื่อได้ว่ารู้เห็นในการกระทำการปล้นทรัพย์อยู่ด้วย)
เมื่อกรณีฟังได้ว่าจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นคนขับรถยนต์บรรทุก จำเลยที่ 7เป็นเด็กประจำรถรู้เห็นในการปล้นทรัพย์อยู่ด้วย การที่จำเลยที่ 6 ที่ 7นำรถยนต์ไปจอดรอรับกระบือที่ได้จากการปล้นพาหนีไปให้พ้นจากการติดตามเอาคืนของเจ้าทรัพย์และเจ้าพนักงาน จึงเป็นการกระทำส่วนหนึ่งเพื่อให้การปล้นทรัพย์บรรลุผลสำเร็จอันเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ การกระทำของจำเลยที่ 6 ที่ 7 จึงเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจร: ตัวการร่วมกระทำผิดฐานลักทรัพย์/ฉ้อโกง ไม่มีความผิดฐานรับของโจร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรับข้าวเปลือกไว้จากผู้อื่นโดยรู้ว่าเป็นของร้ายอันได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือฉ้อโกง นั้น ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องครบองค์ความผิดฐานรับของโจร ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว จึงไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
ข้อเท็จจริงฟังว่า จำเลยใช้ผู้อื่นไปลักทรัพย์หรือฉ้อโกงนั้น ถือว่าจำเลยเป็นตัวการด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ดังนั้น เมื่อจำเลยรับทรัพย์นั้นจากผู้ที่จำเลยใช้ ถือว่าเป็นการรับทรัพย์ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรรมอันเดียวกับความผิดฐานลักทรัพย์หรือฉ้อโกง ที่จำเลยเป็นผู้ใช้นั้นเอง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจร: ตัวการร่วมกระทำผิดฐานลักทรัพย์/ฉ้อโกงไม่ต้องรับโทษฐานรับของโจร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรับข้าวเปลือกไว้จากผู้อื่นโดยรู้ว่าเป็นของร้ายอันได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือฉ้อโกงนั้น ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องครบองค์ความผิดฐานรับของโจรชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว จึงไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
ข้อเท็จจริงฟังว่า จำเลยใช้ผู้อื่นไปลักทรัพย์หรือฉ้อโกงนั้นถือว่าจำเลยเป็นตัวการด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ดังนั้น เมื่อจำเลยรับทรัพย์นั้นจากผู้ที่จำเลยใช้ ถือว่าเป็นการรับทรัพย์ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรรมอันเดียวกับความผิดฐานลักทรัพย์หรือฉ้อโกง ที่จำเลยเป็นผู้ใช้นั้นเอง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อเป็นภริยา ไม่ถือว่าเป็นการพาไปเพื่ออนาจาร
จำเลยกับผู้เยาว์รักใคร่ชอบพอกันแล้วหนีตามกันไปพักค้างคืนที่อื่น 20 กว่าคืน แล้วพากันกลับมาขอขมาพ่อแม่ผู้เยาว์ และพักอยู่กินด้วยกันที่บ้านพ่อแม่ผู้เยาว์อีก 10 กว่าวัน พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยพาผู้เยาว์ไปเพื่อเป็นภริยา ไม่ใช่พาไปเพื่ออนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพาผู้เยาว์ไปอยู่กินฉันสามีภริยา ไม่ถือเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร
จำเลยกับผู้เยาว์รักใคร่ชอบพอกันแล้วหนีตามกันไปพักค้างคืนที่อื่น 20 กว่าคืนแล้วพากันกลับมาขอขมาพ่อแม่ผู้เยาว์ และพักอยู่กินด้วยกันที่บ้านพ่อแม่ผู้เยาว์อีก 10 กว่าวันพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยพาผู้เยาว์ไปเพื่อเป็นภริยา ไม่ใช่พาไปเพื่ออนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกมีสิทธิขอเป็นได้ แม้ไม่ใช่ทายาทโดยตรง
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียในมาตรา 1713 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะทายาทโดยธรรมหรือในทางพินัยกรรมของผู้ตายโดยตรง พ. เป็นทายาทโดยธรรมของ ท. และ พ. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์ เมื่อ พ. ตายไปแล้วโจทก์ก็มีสิทธิร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ได้ แต่การที่ศาลจะตั้งใครนั้นต้องคำนึงถึงวรรค 5 แห่งมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้จำกัดเฉพาะทายาท ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกย่อมมีสิทธิขอเป็นได้
คำว่าผู้มีส่วนได้เสียในมาตรา 1713 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในฐานะทายาทโดยธรรมหรือในทางพินัยกรรมของผู้ตายโดยตรง พ. เป็นทายาทโดยธรรมของ ท. และ พ. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้โจทก์ เมื่อ พ. ตายไปแล้วโจทก์ก็มีสิทธิร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ได้ แต่การที่ศาลจะตั้งใครนั้นต้องคำนึงถึงวรรคห้าแห่งมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการขอพิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 208 วรรคสุดท้าย พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง: กำหนดเวลา 15 วัน และ 6 เดือน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 กำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้เป็น 2 ระยะตามลำดับกัน กล่าวคือในกรณีแรกต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย และหากศาลได้กำหนดวิธีการอย่างใดเพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทนแล้ว ก็นับกำหนดระยะเวลาต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามคำกำหนดนั้นแล้ว ในกรณีที่สอง หากมีพฤติการณ์อันนอกเหนือไม่อาจบังคับได้ อันเป็นเหตุให้คู่ความนั้นไม่อาจยื่นคำขอภายในกำหนดเวลาตามกรณีแรก คู่ความนั้นยังมีสิทธิยื่นคำขอได้อีกภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นสิ้นสุดลง
ส่วนความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนดเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอื่นโดยวิธีอื่นนั้น เป็นเพียงบทกำหนดระยะเวลาไว้ว่า แม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ หากพฤติการณ์นอกเหนือนั้นทำให้การยื่นคำขอล่าช้าเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์ หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว คู่ความนั้นจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้ และกำหนดระยะเวลา 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงที่ให้สิทธิคู่กรณียื่นคำขอพิจารณาใหม่ในกรณีที่สองดังกล่วนั้น ก็ต้องอยู่ในบังคับกำหนดเวลา 6 เดือน ตามความตอนท้ายของวรรคแรกแห่งบทบัญญัตินี้ด้วย
of 36