พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการขอพิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 208 วรรคแรก บทบัญญัติเกี่ยวกับการยื่นคำขอภายใน 6 เดือนหลังยึดทรัพย์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 กำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ไว้เป็น 2 ระยะตามลำดับกัน กล่าวคือในกรณีแรกต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย และหากศาลได้กำหนดวิธีการอย่างใดเพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทนแล้วก็นับกำหนดระยะเวลาต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามคำกำหนดนั้นแล้วในกรณีที่สอง หากมีพฤติการณ์อันนอกเหนือไม่อาจบังคับได้ อันเป็นเหตุให้คู่ความนั้นไม่อาจยื่นคำขอภายในกำหนดเวลาตามกรณีแรก คู่ความนั้นยังมีสิทธิยื่นคำขอได้อีกภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นสิ้นสุดลง
ส่วนความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนดเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นนั้นเป็นเพียงบทกำหนดระยะเวลาไว้ว่าแม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ หากพฤติการณ์นอกเหนือนั้นทำให้การยื่นคำขอล่าช้าเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์ หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว คู่ความนั้นจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้ และกำหนดระยะเวลา 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ที่ให้สิทธิคู่กรณียื่นคำขอพิจารณาใหม่ในกรณีที่สองดังกล่าวนั้น ก็ต้องอยู่ในบังคับกำหนดเวลา6 เดือนตามความตอนท้ายของวรรคแรกแห่งบทบัญญัตินี้ด้วย
ส่วนความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนดเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นนั้นเป็นเพียงบทกำหนดระยะเวลาไว้ว่าแม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ หากพฤติการณ์นอกเหนือนั้นทำให้การยื่นคำขอล่าช้าเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์ หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว คู่ความนั้นจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้ และกำหนดระยะเวลา 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง ที่ให้สิทธิคู่กรณียื่นคำขอพิจารณาใหม่ในกรณีที่สองดังกล่าวนั้น ก็ต้องอยู่ในบังคับกำหนดเวลา6 เดือนตามความตอนท้ายของวรรคแรกแห่งบทบัญญัตินี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมในสมรส: พยานสัญญากู้ถือเป็นการให้สัตยาบันและก่อหนี้ร่วม
แม้หนี้ตามสัญญากู้จะมีมูลหนี้เนื่องมาจากชายาโจทก์นำเงินมาฝากให้จำเลยหาดอกผล จำเลยก็มีหนี้ผูกพันที่จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้โจทก์ ฉะนั้น เมื่อจำเลยทำสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยจึงมีความผิดที่จะต้องชดใช้เงินตามสัญญากู้
จำเลยก่อหนี้ขึ้นในระหว่างสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องเซ็นชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ จึงถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นและให้สัตยาบันหนี้สินรายนี้ และเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 (4)
จำเลยก่อหนี้ขึ้นในระหว่างสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องเซ็นชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ จึงถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นและให้สัตยาบันหนี้สินรายนี้ และเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการกู้เงินระหว่างสมรส การให้สัตยาบัน และการบังคับชำระหนี้จากสินส่วนตัว
แม้หนี้ตามสัญญากู้จะมีมูลหนี้เนื่องมาจากชายาโจทก์นำเงินมาฝากให้จำเลยหาดอกผล จำเลยก็มีหนี้ผูกพันที่จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้โจทก์ ฉะนั้น เมื่อจำเลยทำสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยจึงมีความรับผิดที่จะต้องชดใช้เงินตามสัญญากู้
จำเลยก่อหนี้ขึ้นในระหว่างสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเมื่อผู้ร้องเซ็นชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ จึงถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นและให้สัตยาบันหนี้สินรายนี้ และเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482(4)
จำเลยก่อหนี้ขึ้นในระหว่างสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องเมื่อผู้ร้องเซ็นชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ จึงถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นและให้สัตยาบันหนี้สินรายนี้ และเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา หากมิได้ยกขึ้นในชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายฝากที่พิพาทไว้กับ ล. ครบกำหนดแล้วไม่ไถ่จำเลยเช่าที่พิพาทจาก ล. ล. ขายที่พิพาทให้โจทก์ครบอายุสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่ออกไป ขอให้ศาลบังคับ จำเลยให้การว่าไม่เคยขายฝากแก่ใคร ไม่ได้ทำสัญญาเช่า แล้วจำเลยจะอุทธรณ์ว่าการเช่านั้นเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ได้บอกเลิกการเช่าเสียก่อนดังนี้ หาได้ไม่ เพราะจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อนี้ให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายฝากที่ดินพิพาทกับ ล. ครบกำหนดไม่ไถ่ จำเลยเช่าที่พิพาทจาก ล. ล. ขายที่พิพาทให้โจทก์ ครบอายุสัญญาเช่าแล้ว จำเลยไม่ออกขอให้ศาลบังคับ จำเลยให้การเพียงว่า ไม่เคยขายฝากที่ดินแก่ใคร ไม่ได้ทำสัญญาเช่า และไม่ได้ลงชื่อไว้ ไม่ได้ต่อสู้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา ฉะนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกการเช่าก่อน ก็ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่จำเลยมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น จำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อนี้มา ก็เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการชำระหนี้ไม่ถือเป็นสัญญาค้ำประกันหากไม่มีข้อตกลงชำระแทน
หนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้มีข้อความในตอนท้ายว่า "ข้าพเจ้า (ระบุชื่อ) ขอรับรองการชำระเงินของ ช. (ลูกหนี้) ตามข้อความข้างต้นทุกประการ" แล้วลงชื่อกำกับไว้ในช่อง "ผู้รับรอง"ท้ายข้อความดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นสัญญาค้ำประกัน เพราะไม่มีข้อความที่จะให้มีความหมายไปได้ว่าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว ตนจะยอมชำระแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับรองการชำระหนี้ไม่ถือเป็นสัญญาค้ำประกันหากไม่มีข้อตกลงชำระแทน
หนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้มีข้อความในตอนท้ายว่า'ข้าพเจ้า (ระบุชื่อ) ขอรับรองการชำระเงินของ ช. (ลูกหนี้) ตามข้อความข้างต้นทุกประการ' แล้วลงชื่อกำกับไว้ในช่อง 'ผู้รับรอง'ท้ายข้อความดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นสัญญาค้ำประกันเพราะไม่มีข้อความที่จะให้มีความหมายไปได้ว่าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว ตนจะยอมชำระแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ถูกต้อง: ศาลต้องพิจารณาคำร้องของโจทก์ก่อนมีคำสั่งถึงที่สุด แม้มีการเปลี่ยนแปลงคำขอท้ายฟ้อง
ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนดให้ ในวันนั้นเองโจทก์ยื่นคำร้องขอสละคำขอท้ายฟ้องบางตอน ศาลชั้นต้นมิได้สั่งรับคำร้องนี้ จนกระทั่งพ้นเวลาที่ได้กำหนดไว้นั้นและโจทก์มิได้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่ม ศาลก็สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี ดังนี้ เป็นการไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามลำดับเมื่อความปรากฏแก่ศาลสูง ๆ ย่อมพิพากษาให้ยกคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาคำร้องเปลี่ยนแปลงคำขอท้ายฟ้องก่อนสั่งคดีมีทุนทรัพย์ การสั่งจำหน่ายคดีก่อนพิจารณาคำร้องไม่ถูกต้อง
ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนดให้ ในวันนั้นเองโจทก์ยื่นคำร้องขอสละคำขอท้ายฟ้องบางตอน ศาลชั้นต้นมิได้สั่งรับคำร้องนี้ จนกระทั่งพ้นเวลาที่ได้กำหนดไว้นั้นและโจทก์มิได้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่ม ศาลก็สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี ดังนี้ เป็นการไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามลำดับเมื่อความปรากฏแก่ศาลสูง ๆ ย่อมพิพากษาให้ยกคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีป่าไม้: แม้เจ้าของรถไม่รู้เห็น ก็ริบได้หากใช้เป็นพาหนะขนย้ายไม้ผิดกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ไว้ในความครอบครอง อันยังมิได้แปรรูปไม่มีรอยตราค่าภาคหลวง หรือรอยตรารัฐบาลขายประทับไว้ และจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางในการกระทำผิดขนย้ายไม้หวงห้ามดังกล่าวเช่นนี้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมสั่งริบรถยนต์ของกลางได้โดยโจทก์มิต้องนำสืบว่ารถยนต์ของกลางเป็นของจำเลยหรือเจ้าของรถยนต์ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ทั้งนี้เพราะรถยนต์ของกลางเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำผิดอันเข้าข่ายต้องริบตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74 ทวิ