พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาต้องชัดเจน: การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนถึงเจตนาหรือความประมาทของจำเลย ทำให้ฟ้องไม่รับพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระราชวังกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แล้วจำเลยที่ 2 ได้แจ้งพร้อมแสดงหมายจับให้โจทก์ดู โจทก์จึงชำระเงินตามเช็คให้โดยจำเลยที่ 2 ตกลงว่าจะไปถอนคำร้องทุกข์ แต่จำเลยไม่ถอนคำร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน เป็นเหตุให้โจทก์ถูกเจ้าพนักงานจับกุมและควบคุมกักขัง ปราศจากเสรีภาพไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง อันเป็นการทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถูกกักขังและปราศจากเสรีภาพในร่างกายโดยมิชอบ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310, 311, 83ดังนี้ การฟ้องขอให้ลงโทษฐานความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 310 ต้องปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวกักขังหรือทำให้ปราศจากเสรีภาพต่อร่างกาย และการขอให้ลงโทษฐานประมาทตามมาตรา 311 โจทก์ก็ไม่ได้บรรยายชัดว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทอย่างไร ซึ่งจะพอทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์ยังไม่แสดงพอถึงการกระทำของจำเลยอันจะรับพิจารณาเอาเป็นความผิดแก่จำเลยตามที่ขอ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม (เทียบฎีกาที่ 105/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, กรรมสิทธิ์รถยนต์, ค่ารักษาพยาบาลซ้ำซ้อน
การฟ้องนายจ้างให้ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ไม่จำต้องบอกกล่าวนายจ้างก่อนเพราะถือได้ว่าผิดนัดมาตั้งแต่วันละเมิดแล้ว
ผู้ซื้อรถจักรยานยนต์จากผู้ขายโดยชำระราคาเพียงครึ่งหนึ่งที่เหลือจะชำระเมื่อไรก็ได้ และผู้ขายจะโอนทะเบียนเป็นชื่อผู้ซื้อเมื่อชำระราคาให้ครบแล้ว ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในรถได้โอนเป็นของผู้ซื้อแล้ว เมื่อมีผู้ทำละเมิดให้รถจักรยานยนต์เสียหาย ผู้ซื้อมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
ข้าราชการผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการ และเบิกไปแล้ว จะฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลจากผู้กระทำละเมิดอีกไม่ได้
ผู้ซื้อรถจักรยานยนต์จากผู้ขายโดยชำระราคาเพียงครึ่งหนึ่งที่เหลือจะชำระเมื่อไรก็ได้ และผู้ขายจะโอนทะเบียนเป็นชื่อผู้ซื้อเมื่อชำระราคาให้ครบแล้ว ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในรถได้โอนเป็นของผู้ซื้อแล้ว เมื่อมีผู้ทำละเมิดให้รถจักรยานยนต์เสียหาย ผู้ซื้อมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
ข้าราชการผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการ และเบิกไปแล้ว จะฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลจากผู้กระทำละเมิดอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องฎีกาไม่ชัดเจน: การไม่ระบุเหตุผลแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายในฎีกา ทำให้ฎีกาต้องห้ามตามกฎหมาย
ที่ฟ้องฎีกาโจทก์กล่าวเพียงแต่ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังไม่ชอบด้วยความเห็นของโจทก์ โดยมิได้แสดงให้เห็นว่าไม่ชอบในข้อไหน เพียงใดก็ดี และที่ว่า โจทก์ขอถือเอาคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์เป็นฟ้องฎีกาก็ดี ถือได้ว่าเป็นการกล่าวข้อความขึ้นลอย ๆ โดยมิได้กล่าวข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา ฟ้องฎีกาของโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงต้องยึดถือระยะเวลาการแจ้งข้อหาใหม่ หากเปลี่ยนข้อหาเดิมเป็นข้อหาใหม่ภายหลัง
บทบัญญัติในมาตรา 9 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ที่ห้ามมิให้ผู้ว่าคดีฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 7 เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการก่อน นั้น หมายความเฉพาะคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้
ชั้นแรกพนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดที่จะพิจารณาพิพากษา พนักงานสอบสวนสอบสวนแล้วเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง พนักงานอัยการสั่งให้ฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 พนักงานสอบสวน จึงแจ้งข้อหาตามมาตรา 334 ให้จำเลยทราบ และยื่นฟ้องต่อศาลแขวงในวันเดียวกันกรณีนี้ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามมาตรา 334เมื่อได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงภายในกำหนดเวลา 72 ชั่วโมงแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องหรือขออนุญาตจาก อธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง
ชั้นแรกพนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดที่จะพิจารณาพิพากษา พนักงานสอบสวนสอบสวนแล้วเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง พนักงานอัยการสั่งให้ฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 พนักงานสอบสวน จึงแจ้งข้อหาตามมาตรา 334 ให้จำเลยทราบ และยื่นฟ้องต่อศาลแขวงในวันเดียวกันกรณีนี้ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามมาตรา 334เมื่อได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงภายในกำหนดเวลา 72 ชั่วโมงแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องหรือขออนุญาตจาก อธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์โดยอ้อม ศาลสามารถลงโทษฐานชิงทรัพย์ได้ แม้ไม่ได้อ้างมาตราโดยตรง
ฟ้องกล่าวหาจำเลยกระทำผิดพยายามฆ่าผู้อื่น อ้างบทมาตราที่ขอให้ลงโทษจำเลยมาแต่เพียงมาตรา 288,289,80 เมื่อ ในคำฟ้องโจทก์บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยมาแล้วว่า จำเลยยิงผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ และยังมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายด้วย ดังนี้ ย่อมแปลคำฟ้องของโจทก์ได้ว่ามุ่งประสงค์ที่จะให้ลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์อยู่ด้วย และเมื่อศาลฟังว่าจำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาเอาทรัพย์ไป การกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ จึงเป็นเหตุฉกรรจ์ของความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(7), 80 อยู่แล้ว ศาลจึงไม่จำต้องปรับบทว่าจำเลยกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยอีกบทหนึ่งแต่ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่จำเลยชิงไปให้แก่เจ้าทรัพย์ในคดีเช่นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษได้แม้โจทก์ไม่ฎีกา
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรมาด้วยกันสองฐาน ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ยกข้อหารับของโจร แม้จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำผิด เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นเพียงความผิดฐานรับของโจรซึ่งมีอัตราโทษที่จะลงเบากว่าความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเช่า: ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้เช่าห้ามโต้แย้งอำนาจผู้ให้เช่าที่ตนยินยอมทำสัญญาด้วย
ในการให้เช่าทรัพย์สินนั้น ผู้ให้เช่าหาจำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่านั้นเสมอไปไม่ ฉะนั้น เมื่อจำเลยยินยอมทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่าและมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาเช่าได้ จำเลยย่อมถูกปิดปากมิให้คัดค้านโต้แย้งอำนาจของผู้ให้เช่าซึ่งตนยอมรับว่ามีฐานะเช่นนั้นตามสัญญาเช่าซึ่งตนได้ทำไว้กับโจทก์แล้วนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407-408/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วน/บริษัทร่วมรับผิดในละเมิด: ตราประทับ, ฟ้องเคลือบคลุม, การจ้างขับรถ
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งมิได้มีข้อความที่ขอจดทะเบียนระบุไว้ว่าจะต้องมีตราของห้างประทับลงบนลายมือชื่อของหุ้นส่วนผู้จัดการด้วย จึงจะผูกพันห้างนั้นในการดำเนินคดีแทนห้าง เพียงแต่หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อในคำฟ้องหรือคำให้การ แม้จะไม่ประทับตราของห้างด้วยก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ย่อมไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
กรรมการของบริษัทซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใช้ให้ลูกจ้างขับรถยนต์ของบริษัทไปยังสถานที่แห่งหนึ่งโดยกรรมการผู้นั้นนั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างได้ขับรถไปในทางการที่บริษัทจ้างซึ่งบริษัทจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ย่อมไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
กรรมการของบริษัทซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใช้ให้ลูกจ้างขับรถยนต์ของบริษัทไปยังสถานที่แห่งหนึ่งโดยกรรมการผู้นั้นนั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างได้ขับรถไปในทางการที่บริษัทจ้างซึ่งบริษัทจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407-408/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิด: ความสมบูรณ์ของคำฟ้อง, ความเคลือบคลุม, และความรับผิดของนายจ้าง
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งมิได้มีข้อความที่ขอจดทะเบียนระบุไว้ว่าจะต้องมีตราของห้างประทับลงบนลายมือชื่อของหุ้นส่วนผู้จัดการด้วย จึงจะผูกพันห้างนั้นในการดำเนินคดีแทนห้าง เพียงแต่หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อในคำฟ้องหรือคำให้การ แม้จะไม่ประทับตราของห้างด้วยก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ย่อมไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
กรรมการของบริษัทซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ใช้ให้ลูกจ้างขับรถยนต์ของบริษัทไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง โดยกรรมการผู้นั้นนั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างได้ขับรถไปในทางการที่บริษัทจ้างซึ่งบริษัทจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ย่อมไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
กรรมการของบริษัทซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ใช้ให้ลูกจ้างขับรถยนต์ของบริษัทไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง โดยกรรมการผู้นั้นนั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างได้ขับรถไปในทางการที่บริษัทจ้างซึ่งบริษัทจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญาและการเลือกปรับบทลงโทษ: ศาลมีอำนาจพิจารณาจากข้อเท็จจริงแม้โจทก์ขอหลายมาตรา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานบังอาจยักยอกทรัพย์ของทางราชการที่จำเลยได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาโดยนำไปขายให้ผู้อื่น อันเป็นการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,151,157,158, 352 และ 353 เช่นนี้ เมื่อมาตราดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยตามข้อเท็จจริงที่บรรยายในฟ้องทั้งสิ้น และการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดตามมาตราใดย่อมเป็นหน้าที่ของศาลจะพึงเลือกปรับบทลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และเมื่อศาลปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 147 ซึ่งเป็นการลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาที่โจทก์สืบสมตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ