คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตกเป็นของรัฐ และการฟ้องเรียกคืนราคาทรัพย์จากผู้ขาย
คำสั่งตาม มาตรา17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร เรื่องให้ทรัพย์สินในกองมรดกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และทรัพย์สินของท่านผู้หญิงวิจิตราธนะรัชต์ ตกเป็นของรัฐ เป็นคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรและโดยมติคณะรัฐมนตรีจึงมีผลบังคับเป็นกฎหมาย ซึ่งในข้อ (ข) ระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งในและนอกประเทศซึ่งเป็นของบุคคลดังกล่าวตกเป็นของรัฐทันทีตั้งแต่วันออกคำสั่ง
เมื่อจำเลยถูกกำจัดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์รายพิพาทโดยกฎหมายและกระทรวงการคลังโจทก์ได้ยึดถือทรัพย์รายพิพาทไว้ในนามของรัฐแล้วการที่จำเลยลักลอบไปจดทะเบียนรับมรดกทรัพย์รายพิพาทมาเป็นของจำเลยแล้วจดทะเบียนโอนขายให้บุคคลอื่นไปการกระทำของจำเลยจึงเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยลักลอบไปจดทะเบียนรับมรดกทรัพย์รายพิพาทเป็นของตนแล้วจดทะเบียนโอนขายให้บุคคลอื่นไป จึงเท่ากับเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ไปขายโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์นั้นได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์ที่จำเลยเอาของโจทก์ไปขาย ไม่ใช่เป็นเรื่องเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด จึงนำอายุความตาม มาตรา 448แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งใช้บังคับ เฉพาะกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. และการไม่มีอำนาจพิจารณาเลือกตั้ง หลังมีการปฏิวัติและใช้ธรรมนูญใหม่
ยื่นคำร้องขอให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ ภายหลังได้มีประกาศของหัวหน้าคณะปฏิวัติให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้อยู่ขณะนั้น และให้สมาชิกภาพของผู้แทนราษฎรเป็นอันสิ้นสุดลงทั่วราชอาณาจักร ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ก็ไม่มีบทบัญญัติให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คดีจึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะบังคับให้การเป็นไปได้ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งที่ร้องคัดค้านจะชอบหรือไม่ ต้องยกคำร้อง.