คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 681 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองหนี้ในอนาคต: สัญญาจำนองยังผูกพันแม้มีการชำระหนี้บางส่วน
สัญญาจำนองที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยมีความหมายแจ้งชัดว่า สัญญาจำนองที่ดินพิพาทนอกจากจะประกันหนี้เงินที่ ส. ได้กู้ไปจากจำเลยในขณะทำสัญญาจำนองแล้ว ยังรวมถึงเป็นประกันหนี้ที่ ส. จะกู้ไปจากจำเลยต่อไปในอนาคตด้วย หากสัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ โดยจำกัดวงเงินจำนองที่โจทก์จะต้องรับผิดทั้งสิ้นไม่เกิน 260,000 บาท ซึ่งจากบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคสองและมาตรา 707 เมื่อสัญญาจำนองกำหนดวงเงินจำนองที่โจทก์จะต้องรับผิดไม่เกิน 260,000 บาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าว หลังจากทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทแล้ว ส. ได้กู้เงินจำเลยจำนวน 50,000 บาท ซึ่งยังไม่เต็มวงเงินจำนอง แม้จะได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้จำเลยครบถ้วนแล้วในวันที่ 3 มกราคม 2546 แต่เมื่อโจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงเลิกสัญญาจำนอง สัญญาจำนองที่ดินพิพาทยังมีผลผูกพันอยู่ไม่ระงับสิ้นไป ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2546 ส. ได้กู้เงินจำเลยจำนวน 130,000 บาท ซึ่งไม่เกินจำนวนวงเงินที่โจทก์จะต้องรับผิดต้องถือว่าหนี้กู้เงินครั้งหลังเป็นหนี้ในอนาคต สัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมครอบคลุมถึงหนี้กู้ยืมเงินครั้งหลังอันเป็นหนี้ประธานด้วย หาจำต้องไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันใหม่อีก เมื่อสัญญาจำนองที่ดินพิพาทมีข้อความชัดเจนว่า เป็นการจำนองหนี้ในอนาคตด้วย หามีข้อสงสัยที่จะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 แต่อย่างใดไม่ การที่ ส. ค้างชำระหนี้เงินกู้ครั้งหลังที่มีอยู่แก่จำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองซึ่งประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวอยู่สัญญาจำนองยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองหนี้ในอนาคต: สัญญาจำนองยังผูกพัน แม้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว
สัญญาจำนองที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลย มีใจความว่า ผู้จำนองได้ตกลงจำนองที่ดินกับบรรดาสิ่งปลูกสร้างต่อไปภายหน้าแก่ผู้รับจำนองเพื่อประกันหนี้เงินซึ่ง ส. สมาชิกได้กู้ไปจากผู้รับจำนองแล้วในเวลานี้หรือจะกู้ในเวลาหนึ่งเวลาใดต่อไปในภายหน้าดังปรากฏจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยในบัญชีสหกรณ์ กับทั้งหนี้สินต่าง ๆ ซึ่ง ส. จะต้องรับผิดไม่ว่าในฐานะใด ๆ ต่อสหกรณ์ ตลอดจนค่าอุปกรณ์ทุกอย่างเนื่องจากการผิดสัญญาของผู้จำนองหรือของ ส. เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 260,000 บาท จากข้อสัญญาดังกล่าวนี้มีความหมายแจ้งชัดว่า สัญญาจำนองที่ดินพิพาทนอกจากจะประกันหนี้เงินที่ ส. ได้กู้ไปจากจำเลยในขณะทำสัญญาจำนองนี้แล้ว ยังรวมถึงเป็นประกันหนี้ที่ ส. จะกู้ไปจากจำเลยต่อไปในอนาคตด้วย หากสัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่โดยจำกัดวงเงินจำนองที่โจทก์จะต้องรับผิดทั้งสิ้นไม่เกิน 260,000 บาท ซึ่งตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติว่าหนี้ในอนาคตหรือหนี้มีเงื่อนไขจะประกันไว้เพื่อเหตุการณ์ซึ่งหนี้นั้นอาจเป็นผลได้จริงก็ประกันได้ และมาตรา 707 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนองอนุโลมตามควร จากบทบัญญัติดังกล่าวนี้เมื่อสัญญาจำนองกำหนดวงเงินจำนองที่โจทก์จะต้องรับผิดไม่เกิน 260,000 บาท แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าว หลังจากทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทแล้ว ส. ได้กู้เงินจำเลยจำนวน 50,000 บาท ซึ่งยังไม่เต็มวงเงินจำนอง แม้จะได้ชำระหนี้ดังกล่าวให้จำเลยครบถ้วนแล้วในวันที่ 3 มกราคม 2546 แต่เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้ตกลงเลิกสัญญาจำนอง สัญญาจำนองที่ดินพิพาทยังมีผลผูกพันอยู่ไม่ระงับสิ้นไป ต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2546 ส. ได้กู้เงินจำเลยจำนวน 130,000 บาท ซึ่งไม่เกินจำนวนวงเงินที่โจทก์จะต้องรับผิด จึงต้องถือว่าหนี้กู้เงินครั้งหลังนี้เป็นหนี้ในอนาคต สัญญาจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมครอบคลุมถึงหนี้กู้ยืมเงินครั้งหลังอันเป็นหนี้ประธานด้วย กรณีหาจำต้องไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันใหม่อีก การที่ ส. ยังค้างชำระหนี้เงินกู้ครั้งหลังจำนวน 130,000 บาท ที่มีอยู่แก่จำเลย โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองที่ดินพิพาทซึ่งประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าวอยู่ สัญญาจำนองยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาจ้างแรงงาน กรณีเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่
จำเลยค้ำประกัน ช. ในขณะที่ ช. มีตำแหน่งผู้ช่วยจัดโชว์สินค้าตามห้างซึ่งไม่เกี่ยวกับการขายสินค้าของโจทก์ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเงินอันเนื่องมาจากการขายสินค้าซึ่งตามสภาพงานจะต้องมีทั้งสินค้าใหม่ๆ เงินที่ขายสินค้าหมุนเวียนผ่านมือไป อันมีลักษณะการทำงานแตกต่างไปจากการช่วยจัดโชว์สินค้าอย่างสิ้นเชิง งานตำแหน่งพนักงานขายสินค้าจึงถือได้ว่าอยู่นอกเหนือเจตนาและความมุ่งหมายจะผูกพันตนของจำเลยตามสัญญาค้ำประกันในขณะเข้าทำสัญญาค้ำประกัน การที่ ช. ได้กระทำความเสียหายแก่โจทก์ขณะอยู่ในตำแหน่งพนักงานขายสินค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5143/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันครอบคลุมหนี้ทั้งปัจจุบันและอนาคต ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้ใหม่ด้วย หากสัญญายังไม่สิ้นผล
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ฉบับแรกมีจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีต่อไปในภายหน้าและให้มีผลตลอดไปตราบเท่าที่จำเลยที่ 1 ยังมีหนี้สินคงค้างอยู่กับโจทก์ ซึ่งสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมิได้กำหนดว่าค้ำประกันหนี้จำนวนใดโดยเฉพาะเจาะจง และมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาค้ำประกัน แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้กับโจทก์ใหม่อีก โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในสัญญาค้ำประกันหนี้ใหม่ก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ได้ตกลงยกเลิกสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ต่อกัน และให้ยึดถือเอาสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำไว้กับโจทก์เพียงฉบับเดียว ดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ทำไว้กับโจทก์จึงยังคงมีผลบังคับอยู่ เมื่อโจทก์นำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับใหม่มาฟ้อง จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ต้องรับผิดในหนี้ใหม่ตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันและจำนองครอบคลุมหนี้ในอนาคต จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในหนี้กู้ยืม
สัญญาค้ำประกันและจำนองเป็นประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติว่า หนี้ในอนาคตก็ประกันได้ และมาตรา 707 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนองอนุโลมตามควร ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันไว้ก่อนที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ครั้งที่ 3 จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินครั้งที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยของศาลแรงงาน & ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ข้อความที่จำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายโจทก์ไว้ในสำนวนอย่างชัดแจ้งตามคำให้การพยานจำเลย ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจหยิบยกข้อความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล้วนเป็นกรณีที่ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมา ย่อมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ซึ่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ขอค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดชดใช้แทนแก่โจทก์จนครบ แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจะได้กระทำกันก่อนที่จำเลยที่ 1เข้าทำงานกับโจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นการประกันความรับผิดในหนี้ในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งหนี้นั้นอาจเกิดขึ้นจริงหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา681 วรรคสอง เมื่อต่อมาหนี้นั้นได้เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงค้ำประกันไว้ จำเลยที่ 2ก็ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม และสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต
ข้อความที่จำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายโจทก์ไว้ในสำนวน อย่างชัดแจ้งตามคำให้การพยานจำเลย ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจ หยิบยกข้อความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นการวินิจฉัย ไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล้วนเป็นกรณีที่ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมา ย่อมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ซึ่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2ขอค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิด ชดใช้แทนแก่โจทก์จนครบ แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจะได้กระทำกันก่อน ที่จำเลยที่ 1 เข้าทำงานกับโจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นการประกันความรับผิดในหนี้ในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งหนี้นั้นอาจเกิดขึ้นจริง หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง เมื่อต่อมาหนี้นั้นได้เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลง ค้ำประกันไว้ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดง โดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้าง โดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ชัดแจ้งอย่างไร คำให้การจำเลยจึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอนเพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาล โดยทำสัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับ จำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทนจนครบถ้วน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลยแต่ประการใด เพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหา สัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับ ส่วนจำนวนความรับผิดก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญญาประกันต่อไป สัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า 'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็นผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า' ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมาย และสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161, 167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ขัดต่อกฎหมาย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดง โดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็น หลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้าง โดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้อง ของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ชัดแจ้งอย่างไร คำให้การจำเลย จึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอน เพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาล โดยทำสัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับ จำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทน จนครบถ้วน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลย แต่ประการใด เพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหา สัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับ ส่วนจำนวนความรับผิด ก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญญาประกัน ต่อไปสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้หา ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า 'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็น ผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า' ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับ ไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับ จำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็น หลักประกันก่อน
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมาย และสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161,167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้างโดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้งและไม่ชัดแจ้งอย่างไรคำให้การจำเลยจึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้งไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอนเพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาลโดยทำสัญญาไว้ว่าถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับจำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทนจนครบถ้วนสัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลยแต่ประการใดเพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาสัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับส่วนจำนวนความรับผิดก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญยาประกันต่อไปสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใดๆก็ดีถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็นผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า'ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมายและสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161,167และตาราง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับมิได้ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย.
of 2