คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 199

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยการรับชำระด้วยทรัพย์สินอื่นแทนการโอนทรัพย์สินเดิม สิทธิระงับเมื่อเจ้าหนี้รับชำระหนี้แล้ว
ว.เป็นสามีธ.และเป็นบุตรของจำเลยว.และธ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์2 จำนวน คือหนี้เกิดจากการซื้อหุ้นและออกเช็คกับหนี้เงินกู้รวมเป็นเงิน 24,128,385 บาท โดยยอมรับผิดร่วมกัน จำเลยยินยอมให้ ว.นำที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่พิพาทโอนชำระหนี้แก่โจทก์ต่อมาโจทก์แจ้งให้ ว.จัดการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะใช้สิทธิดำเนินคดีตามกฎหมาย และ/หรือใช้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความหักทรัพย์สินที่ไม่ชำระหนี้ออกไปและหาก ว.ม่ดำเนินการโจทก์ขอถือหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นการแจ้งว่าโจทก์ขอตั้งผู้ตีราคาทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ช.เป็นผู้ตีราคาและผู้ตีราคาได้ตีราคาทรัพย์ที่นำมาชำระหนี้ไม่ได้เป็นเงิน 2,930,000 บาทต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ ว.ดำเนินการดังที่แจ้งไว้อีกครั้ง แต่ ว.มิได้ดำเนินการแต่อย่างใด โจทก์จึงยื่นฟ้องว.และธ.เป็นคดีล้มละลาย โดยนำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคาเป็นเงิน 2,930,000 บาทเพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้หักออกจากการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ นำไปเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องและขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้ว ดังนี้ เมื่อทรัพย์สินที่ ว.และ ธ.นำมาทำสัญญาเพื่อโอนชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้แก่ที่ดินและบ้าน ที่ดินและที่พิพาทกับรถยนต์นั้น เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และ ว.กับส.ลูกหนี้ระบุไว้ว่า หากทรัพย์สินดังกล่าวรายใดไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ก็ต้องหักออกไปตามราคาที่ตกลงกัน หากตกลงกันไม่ได้ก็ให้ผู้ตีราคาซึ่งโจทก์เป็นผู้ตั้งขึ้นมาตีราคา คำวินิจฉัยของผู้ตีราคาดังกล่าวให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีการตกลงราคาหรือตีราคาทรัพย์สินแล้ว ก็จะต้องนำไปหักออกจากยอดเงินที่ระบุไว้ในสัญญา และถือว่า ว.และธ.ยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่เป็นหนี้เงินตามจำนวนเงินที่มีการตกลงหรือตีราคาทรัพย์สินนั้นเมื่อปรากฏว่า หลังจากจำเลยปฏิเสธไม่ยอมโอนที่พิพาทแก่โจทก์แล้ว โจทก์มีหนังสือถึง ว.และธ.ขอให้ตีราคาที่พิพาทจนต่อมาได้มีการตั้งผู้ตีราคาและตีราคาที่พิพาท แล้วโจทก์นำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคาเพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ไปรวมกับยอดเงินที่โจทก์ฟ้องว.และธ. เป็นคดีล้มละลาย และศาลมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้ว ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ได้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นจากลูกหนี้แทนการชำระหนี้โดยการรับโอนที่ดินพิพาทตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้หนี้ของลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะต้องโอนที่พิพาทแก่โจทก์เป็นอันระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 321 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีก การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้มีการโอนที่พิพาทชำระหนี้ต่อไป และยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 198 และมาตรา 199 ขึ้นอ้างและปรับบทก็เพื่อวินิจฉัยให้เห็นว่าเมื่อโจทก์เลือกให้ว.และธ. ลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนที่พิพาทแก่โจทก์เข้าข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 198แสดงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้โอนที่พิพาทแล้ว ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้เป็นเงินแก่โจทก์เพียงอย่างเดียวเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 199 โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องจำเลยโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์อีก อันอยู่ในประเด็นที่ว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการยอมรับชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
ว.เป็นสามี ธ.และเป็นบุตรของจำเลย ว.และ ธ.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ 2 จำนวน คือหนี้เกิดจากการซื้อหุ้นและออกเช็คกับหนี้เงินกู้รวมเป็นเงิน 24,128,385 บาท โดยยอมรับผิดร่วมกัน จำเลยยินยอมให้ ว.นำที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่พิพาทโอนชำระหนี้แก่โจทก์ต่อมาโจทก์แจ้งให้ ว.จัดการโอนทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะใช้สิทธิดำเนินคดีตามกฎหมาย และ/หรือใช้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความหักทรัพย์สินที่ไม่ชำระหนี้ออกไป และหาก ว.ไม่ดำเนินการโจทก์ขอถือหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นการแจ้งว่าโจทก์ขอตั้งผู้ตีราคาทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ช.เป็นผู้ตีราคาและผู้ตีราคาได้ตีราคาทรัพย์ที่นำมาชำระหนี้ไม่ได้เป็นเงิน 2,930,000 บาท ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้ ว.ดำเนินการดังที่แจ้งไว้อีกครั้ง แต่ ว.มิได้ดำเนินการแต่อย่างใด โจทก์จึงยื่นฟ้อง ว.และ ธ.เป็นคดีล้มละลาย โดยนำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคาเป็นเงิน 2,930,000 บาท เพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้หักออกจากการชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ นำไปเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องและขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้วดังนี้ เมื่อทรัพย์สินที่ ว.และ ธ.นำมาทำสัญญาเพื่อโอนชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้แก่ที่ดินและบ้าน ที่ดินและที่พิพาทกับรถยนต์นั้น เมื่อสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์และ ว.กับ ส.ลูกหนี้ระบุไว้ว่า หากทรัพย์สินดังกล่าวรายใดไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ก็ต้องหักออกไปตามราคาที่ตกลงกัน หากตกลงกันไม่ได้ก็ให้ผู้ตีราคาซึ่งโจทก์เป็นผู้ตั้งขึ้นมาตีราคา คำวินิจฉัยของผู้ตีราคาดังกล่าวให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีการตกลงราคาหรือตีราคาทรัพย์สินแล้ว ก็จะต้องนำไปหักออกจากยอดเงินที่ระบุไว้ในสัญญา และถือว่า ว.และ ธ.ยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่เป็นหนี้เงินตามจำนวนเงินที่มีการตกลงหรือตีราคาทรัพย์สินนั้น เมื่อปรากฏว่า หลังจากจำเลยปฏิเสธไม่ยอมโอนที่พิพาทแก่โจทก์แล้ว โจทก์มีหนังสือถึง ว.และ ธ.ขอให้ตีราคาที่พิพาท จนต่อมาได้มีการตั้งผู้ตีราคาและตีราคาที่พิพาท แล้วโจทก์นำราคาทรัพย์สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ตีราคา เพราะไม่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ไปรวมกับยอดเงินที่โจทก์ฟ้อง ว.และ ธ.เป็นคดีล้มละลาย และศาลมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนนี้ไปแล้ว ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ได้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นจากลูกหนี้แทนการชำระหนี้โดยการรับโอนที่พิพาทตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอม-ยอมความ ย่อมทำให้หนี้ของลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะต้องโอนที่พิพาทแก่โจทก์เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 321 วรรคแรก จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความอีก
การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้มีการโอนที่พิพาทชำระหนี้ต่อไป และยก ป.พ.พ.มาตรา 198 และมาตรา 199ขึ้นอ้างและปรับบทก็เพื่อวินิจฉัยให้เห็นว่าเมื่อโจทก์เลือกให้ ว.และ ธ.ลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้เป็นเงินแทนการโอนที่พิพาทแก่โจทก์เข้าข้อยกเว้นของ ป.พ.พ.มาตรา 198 แสดงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องให้โอนที่พิพาทแล้ว ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้เป็นเงินแก่โจทก์เพียงอย่างเดียวเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมาตาม ป.พ.พ.มาตรา 199 โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องให้จำเลยโอนที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์อีก อันอยู่ในประเด็นที่ว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องโอนที่พิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของขาดนัดยื่นคำให้การ และประเด็นการครอบครองที่ดินที่พิสูจน์ไม่ได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง เมื่อศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์เท่านั้น ไม่มีสิทธิอ้างพยานเอกสาร เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นไม่ได้อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการยกเว้นอายุความสำหรับหนี้เพื่ออุตสาหกรรม
เจ้าหนี้ส่งมอบกระดาษรายพิพาทให้ลูกหนี้เพื่อเอาไปพิมพ์แบบเรียนจำหน่ายดังนี้ เป็นการทำเพื่ออุตสาหกรรมของลูกหนี้ต้องตามสบัญญัติยกเว้นไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)ไม่ต้องคำนึงถึงอายุความ 2 ปี
การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนหนี้ มีเงื่อนไขว่าถ้าผู้รับโอนไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ให้ผู้รับโอนมีสิทธิเลือกเรียกร้องเอาจากผู้โอนหรือลูกหนี้ได้ดังนี้ เป็นการโอนหนี้กันโดยแท้จริงแล้ว เป็นแต่เพียงผู้โอนตกลงประกันหนี้รายนี้ของลูกหนี้ไว้ด้วยเท่านั้น(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายกระดาษเพื่ออุตสาหกรรมและการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ที่มีประกัน
เจ้าหนี้ส่งมอบกระดาษรายพิพาทให้ลูกหนี้เพื่อเอาไปพิมพ์แบบเรียนจำหน่าย ดังนี้เป็นการทำเพื่ออุตสาหกรรมของลูกหนี้ต้องตามบัญญัติยกเว้นไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) ไม่ต้องคำนึงถึงอายุความ 2 ปี
การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนหนี้ มีเงื่อนไขว่า ถ้าผู้รับโอนไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ ให้ผู้รับโอนสิทธิเลือกเรียกร้องเอาจากผู้โอนหรือลูกหนี้ได้ ดังนี้เป็นการโอนหนี้กันโดยแท้จริงแล้ว เป็นแต่เพียงผู้โอนตกลงประกันหนี้รายนี้ของลูกหนี้ไว้ด้วยเท่านั้น
(ประชุมครั้งใหญ่ครั้งที่ 1/2502)