พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องสอดในคดีเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิคุ้มครองสิทธิของตน
การร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 นั้น อาจทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทก็ได้ไม่จำเป็นต้องฟ้องร้องเป็นคดีมีข้อพิพาท
หากมีการดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดหรือทั้งหมด ซึ่งมีส่วนได้เสียในผลของการประชุมใหญ่นั้น ย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีได้หาใช่มีสิทธิเฉพาะบริษัทซึ่งมีการประชุมใหญ่เท่านั้นไม่
เมื่อโจทก์มิได้เริ่มต้นคดีด้วยการร้องขออย่างคดีไม่มีพิพาทแต่กลับฟ้องบริษัทเป็นจำเลย ทางที่ผู้มีส่วนได้เสียจะเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีได้จึงจำเป็นที่จะต้องเข้ามาด้วยการร้องสอด
ผู้ร้องสอดเป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามมติของที่ประชุมใหญ่ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอน ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะเข้ามาในคดีเพื่อขอความรับรองคุ้มครองบังคับตามสิทธิของตนได้ โดยการร้องสอดเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) บริษัทจำเลยจะต่อสู้คดีหรือยอมรับตามคำฟ้องหรือขาดนัดไม่ต่อสู้คดีประการใดก็หาเป็นการตัดสิทธิผู้ร้องสอดไม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 ผู้ร้องสอดตามมาตรา 57(2) ไม่อาจใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่ในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การผู้ร้องสอดจะร้องสอดเข้ามาเพื่อเป็นจำเลยร่วมหรือแทนที่จำเลยตามมาตรา 57(2) ย่อมหาประโยชน์มิได้ เพราะไม่มีสิทธิในการต่อสู้คดีเช่นเดียวกับจำเลยซึ่งขาดนัด
หากมีการดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท กรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดหรือทั้งหมด ซึ่งมีส่วนได้เสียในผลของการประชุมใหญ่นั้น ย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีได้หาใช่มีสิทธิเฉพาะบริษัทซึ่งมีการประชุมใหญ่เท่านั้นไม่
เมื่อโจทก์มิได้เริ่มต้นคดีด้วยการร้องขออย่างคดีไม่มีพิพาทแต่กลับฟ้องบริษัทเป็นจำเลย ทางที่ผู้มีส่วนได้เสียจะเข้ามาเกี่ยวข้องในคดีได้จึงจำเป็นที่จะต้องเข้ามาด้วยการร้องสอด
ผู้ร้องสอดเป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามมติของที่ประชุมใหญ่ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอน ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะเข้ามาในคดีเพื่อขอความรับรองคุ้มครองบังคับตามสิทธิของตนได้ โดยการร้องสอดเข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) บริษัทจำเลยจะต่อสู้คดีหรือยอมรับตามคำฟ้องหรือขาดนัดไม่ต่อสู้คดีประการใดก็หาเป็นการตัดสิทธิผู้ร้องสอดไม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 ผู้ร้องสอดตามมาตรา 57(2) ไม่อาจใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่ในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การผู้ร้องสอดจะร้องสอดเข้ามาเพื่อเป็นจำเลยร่วมหรือแทนที่จำเลยตามมาตรา 57(2) ย่อมหาประโยชน์มิได้ เพราะไม่มีสิทธิในการต่อสู้คดีเช่นเดียวกับจำเลยซึ่งขาดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อมีเหตุขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกตามพินัยกรรมที่ซับซ้อน
การร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกซึ่งจะต้องมีเหตุขัดข้องหรือจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคแรก นั้น แม้ตามคำร้องจะไม่อ้างเหตุขัดข้องหรือจำเป็นไว้โดยชัดแจ้ง แต่ตามสำเนาพินัยกรรมของเจ้ามรดกท้ายคำร้องมีข้อความซึ่งพอถือได้ว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกก็ชอบที่ศาลจะต้องสั่งรับคำร้องไว้ดำเนินการต่อไป
พินัยกรรมของเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ให้แก่บุตร 8 คนและตัดทายาทซึ่งเป็นบุตร 2 คนมิให้รับมรดกและมีข้อความเกี่ยวกับทรัพย์สินตอนหนึ่งว่า แต่ห้ามมิให้แบ่งให้แจกกันกินกันใช้โดยความยุติธรรมส่วนนายพุฒ พยัคฆเดช พี่ชายใหญ่มีหน้าที่ดูแลความเป็นไปในทรัพย์สมบัติให้คงอยู่แลเสริมสร้างให้เจริญยิ่งขึ้น ข้อความในพินัยกรรมเช่นนี้เห็นได้ว่า จะจัดการมรดกตามพินัยกรรมให้เป็นไปโดยราบรื่นได้ยากจึงพอถือได้ว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกซึ่งทายาทมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
พินัยกรรมของเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ให้แก่บุตร 8 คนและตัดทายาทซึ่งเป็นบุตร 2 คนมิให้รับมรดกและมีข้อความเกี่ยวกับทรัพย์สินตอนหนึ่งว่า แต่ห้ามมิให้แบ่งให้แจกกันกินกันใช้โดยความยุติธรรมส่วนนายพุฒ พยัคฆเดช พี่ชายใหญ่มีหน้าที่ดูแลความเป็นไปในทรัพย์สมบัติให้คงอยู่แลเสริมสร้างให้เจริญยิ่งขึ้น ข้อความในพินัยกรรมเช่นนี้เห็นได้ว่า จะจัดการมรดกตามพินัยกรรมให้เป็นไปโดยราบรื่นได้ยากจึงพอถือได้ว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกซึ่งทายาทมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุขัดข้องในการจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ศาลมีอำนาจสั่งตั้งผู้จัดการมรดกได้
การร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกซึ่งจะต้องมีเหตุขัดข้องหรือจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคแรก นั้น แม้ตามคำร้องจะไม่อ้างเหตุขัดข้องหรือจำเป็นไว้โดยชัดแจ้ง แต่ตามสำเนาพินัยกรรมของเจ้ามรดกท้ายคำร้องมีข้อความซึ่งพอถือได้ว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกก็ชอบที่ศาลจะต้องสั่งรับคำร้องไว้ดำเนินการต่อไป
พินัยกรรมของเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ให้แก่บุตร 8 คน และตัดทายาทซึ่งเป็นบุตร 2 คน มิให้รับมรดกและมีข้อความเกี่ยวกับทรัพย์สินตอนหนึ่งว่า แต่ห้ามมิให้แบ่งให้แจกกันกินกันใช้โดยความยุติธรรมส่วนนายพุฒ พยัคฆเดช พี่ชายใหญ่มีหน้าที่ดูแลความเป็นไปในทรัพย์สมบัติให้คงอยู่แลเสริมสร้างให้เจริญยิ่งขึ้น ข้อความในพินัยกรรมเช่นนี้เห็นได้ว่า จะจัดการมรดกตามพินัยกรรมให้เป็นไปโดยราบรื่นได้ยากจึงพอถือได้ว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกซึ่งทายาทมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
พินัยกรรมของเจ้ามรดกยกทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ให้แก่บุตร 8 คน และตัดทายาทซึ่งเป็นบุตร 2 คน มิให้รับมรดกและมีข้อความเกี่ยวกับทรัพย์สินตอนหนึ่งว่า แต่ห้ามมิให้แบ่งให้แจกกันกินกันใช้โดยความยุติธรรมส่วนนายพุฒ พยัคฆเดช พี่ชายใหญ่มีหน้าที่ดูแลความเป็นไปในทรัพย์สมบัติให้คงอยู่แลเสริมสร้างให้เจริญยิ่งขึ้น ข้อความในพินัยกรรมเช่นนี้เห็นได้ว่า จะจัดการมรดกตามพินัยกรรมให้เป็นไปโดยราบรื่นได้ยากจึงพอถือได้ว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกซึ่งทายาทมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำร้องคัดค้านในคดีจัดการมรดก แม้ยื่นหลังประกาศ แต่ก่อนไต่สวน ศาลชอบที่จะรับได้ และการย้อนกลับคำสั่งไม่ชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ศาลประกาศกำหนดวันและเวลานัดไต่สวนคำร้องขอและว่าผู้ใดจะคัดค้านคำร้องขอนี้ให้ยื่นคำร้องต่อศาลก่อนกำหนดนี้ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านในวันนัดไต่สวน ก่อนศาลเริ่มต้นไต่สวนคำร้องขอ ศาลอาจรับคำร้องคัดค้านไว้พิจารณาได้
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องคัดค้านและได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปบ้างแล้ว จะกลับมาสั่งไม่รับคำร้องคัดค้านในภายหลังย่อมเป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องคัดค้านและได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปบ้างแล้ว จะกลับมาสั่งไม่รับคำร้องคัดค้านในภายหลังย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำร้องคัดค้านในคดีจัดการมรดก แม้ยื่นหลังประกาศ แต่ก่อนเริ่มไต่สวน ศาลย่อมชอบที่จะรับไว้พิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ศาลประกาศกำหนดวันและเวลานัดไต่สวนคำร้องขอและว่าผู้ใดจะคัดค้านคำร้องขอนี้ให้ยื่นคำร้องต่อศาลก่อนกำหนดนี้ดังนี้ เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านในวันนัดไต่สวน ก่อนศาลเริ่มต้นไต่สวนคำร้องขอ ศาลอาจรับคำร้องคัดค้านไว้พิจารณาได้
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องคัดค้านและได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปบ้างแล้ว จะกลับมาสั่งไม่รับคำร้องคัดค้านในภายหลัง ย่อมเป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องคัดค้านและได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปบ้างแล้ว จะกลับมาสั่งไม่รับคำร้องคัดค้านในภายหลัง ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการยกให้และครอบครอง ไม่ใช่การครอบครองปรปักษ์ สิทธิเรียกร้องแบ่งแยกที่ดิน
ผู้ร้องทั้งสามและ ส. ได้ที่ดินตามส่วนของตนมาด้วยการยกให้จาก น. ซึ่งเป็นบิดาโดยทำหนังสือจดทะเบียนการให้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินและได้ลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส. ในโฉนดเดียวกันมาตั้งแต่วันที่เปลี่ยนแก้ชื่อในโฉนดเป็นของผู้ร้องทั้งสามกับ ส. นั้นแล้ว ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนตลอดมา หาได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในลักษณะครอบครองปรปักษ์อย่างใดไม่ ระหว่างที่ที่ดินยังมิได้แบ่งแยกโฉนด ผู้มีชื่อในโฉนดร่วมกัน ย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งหมดด้วยกัน การที่ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนที่ดินที่ผู้ร้องได้แยกกันครอบครองเป็นส่วนสัด ก็เป็นที่ดินส่วนของผู้ร้องที่ได้รับมาจากการยกให้และครอบครองมาตามกรรมสิทธิ์อยู่แล้วนั้นเองเพราะไม่ได้ความว่ารุกล้ำเข้าไปในที่ของผู้อื่นซึ่งพอจะอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ได้ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายใดให้สิทธิผู้ร้องขอให้ศาลสั่งแสดงการได้มาซึ่งการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองได้ แต่ผู้ร้องและผู้มีชื่อในโฉนดย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินตามส่วนของตนที่ได้รับการยกให้และต่างครอบครองมาได้ในระหว่างกันเองอยู่แล้ว หากเกิดพิพาทไม่ตกลงกันในการแบ่งต่างก็มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอย่างมีข้อพิพาทกับเจ้าของรวมนั้นโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการยกให้และครอบครอง เจ้าของรวมสิทธิเรียกร้องแบ่งแยกได้
ผู้ร้องทั้งสามและ ส. ได้ที่ดินตามส่วนของตนมาด้วยการยกให้จาก น. ซึ่งเป็นบิดาโดยทำหนังสือจดทะเบียนการให้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินและได้ลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ส. ในโฉนดเดียวกันมาตั้งแต่วันที่เปลี่ยนแก้ชื่อในโฉนดเป็นของผู้ร้องทั้งสามกับ ส. นั้นแล้ว ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนตลอดมา หาได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในลักษณะครอบครองปรปักษ์อย่างใดไม่ ระหว่างที่ที่ดินยังมิได้แบ่งแยกโฉนด ผู้มีชื่อในโฉนดร่วมกัน ย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งหมดด้วยกัน การที่ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนที่ดินที่ผู้ร้องได้แยกกันครอบครองเป็นส่วนสัด ก็เป็นที่ดินส่วนของผู้ร้องที่ได้รับมาจากการยกให้และครอบครองมาตามกรรมสิทธิ์อยู่แล้วนั้นเองเพราะไม่ได้ความว่ารุกล้ำเข้าไปในที่ของผู้อื่นซึ่งพอจะอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ได้ ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายใดให้สิทธิผู้ร้องขอให้ศาลสั่งแสดงการได้มาซึ่งการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองได้ แต่ผู้ร้องและผู้มีชื่อในโฉนดย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินตามส่วนของตนที่ได้รับการยกให้และต่างครอบครองมาได้ในระหว่างกันเองอยู่แล้ว หากเกิดพิพาทไม่ตกลงกันในการแบ่งต่างก็มีสิทธิที่จะดำเนินคดีอย่างมีข้อพิพาทกับเจ้าของรวมนั้นโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมรดกอิสลาม: การพิจารณาคดีโดยมีดะโต๊ะยุติธรรมร่วมกับผู้พิพากษาชอบด้วยกฎหมาย
การตั้งผู้จัดการมรดกของอิสลามศาสนิกก็เพื่อจะให้ผู้นั้นเข้าไปมีอำนาจหน้าที่จัดการรวบรวมและแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายให้เป็นไปตามกฎหมายอิสลาม ฉะนั้น คดีพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องตั้งผู้จัดการมรดก นับได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องมรดก คดีชนิดนี้จึงตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินั้น ให้มีดะโต๊ะยุติธรรมหนึ่งนายนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา แต่เนื่องจากดะโต๊ะยุติธรรมประจำศาลยื่นคำร้องขอถอนตัวเพราะเป็นญาติกับโจทก์จำเลย และเคยเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้มาแล้ว โจทก์จำเลยจึงได้ตกลงเลือกนายอำนวยซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกปฏิบัติหน้าที่แทนดะโต๊ะยุติธรรมเฉพาะคดีตามมาตรา 5 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาคดีโดยให้ดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษาจึงเป็นการชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมรดกอิสลาม: การพิจารณาคดีโดยมีดะโต๊ะยุติธรรมร่วมกับผู้พิพากษาชอบด้วยกฎหมาย
การตั้งผู้จัดการมรดกของอิสลามศาสนิกก็เพื่อจะให้ผู้นั้นเข้าไปมีอำนาจหน้าที่จัดการรวบรวมและแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายให้เป็นไปตามกฎหมายอิสลาม ฉะนั้น คดีพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องตั้งผู้จัดการมรดก นับได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องมรดก คดีชนิดนี้จึงตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 3 และตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัตินั้นให้มีดะโต๊ะยุติธรรมหนึ่งนายนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา แต่เนื่องจากดะโต๊ะยุติธรรมประจำศาลยื่นคำร้องขอถอนตัวเพราะเป็นญาติกับโจทก์จำเลย และเคยเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้มาแล้วโจทก์จำเลยจึงได้ตกลงเลือกนายอำนวยซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกปฏิบัติหน้าที่แทนดะโต๊ะยุติธรรมเฉพาะคดีตามมาตรา 5 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาคดีโดยให้ดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษาจึงเป็นการชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการชี้ขาดกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินมรดกเมื่อมีข้อพิพาทระหว่างผู้จัดการมรดกกับทายาท
ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันโดยศาลตั้ง.ผู้ร้องร้องต่อศาลขอให้ศาลชี้ขาดว่าทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเป็นทรัพย์มรดก. ผู้คัดค้านค้านว่าเป็นทรัพย์ของ ส. บิดาของตน ดังนี้ การโต้แย้งของผู้คัดค้านเป็นการโต้แย้งในฐานะเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีข้อโต้แย้งกันโดยเฉพาะระหว่างผู้จัดการมรดกร่วมกัน ผู้ร้องจะขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในคดีขอตั้งผู้จัดการว่าทรัพย์สิ่งใดเป็นทรัพย์ของกองมรดกไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านโต้แย้งสิทธิของกองมรดก ผู้ร้องก็ชอบที่จะฟ้องร้องได้ตามสิทธิของผู้ร้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2512)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2512)