พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งขับไล่และการครอบครองปรปักษ์: สิทธิของเจ้าของมรดกเหนือที่ดิน
คำคัดค้านและฟ้องแย้งของผู้คัดค้านระบุในช่องคู่ความว่า อ. และ ป. ผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้คัดค้าน และบรรยายว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านไม่ประสงค์ให้ผู้ร้องอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทต่อไป ขอให้บังคับผู้ร้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารพร้อมรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดิน การฟ้องแย้งของผู้คัดค้านดังกล่าว เป็นการฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยได้แสดงชัดแจ้งซึ่ง สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตายจึงมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ เพราะเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ให้ดำเนินคดีไป อย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะ เป็นจำเลย ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตายจึงมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ เพราะเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ให้ดำเนินคดีไป อย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะ เป็นจำเลย ย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับจากมีโฉนด และการฟ้องขับไล่เมื่อไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
เดิมที่ดินพิพาทยังมิได้ออกโฉนดที่ดิน แม้ว่าบิดามารดาผู้ร้องและผู้ร้องครอบครองก็ย่อมครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ จะครอบครองปรปักษ์ได้ต่อเมื่อเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินเท่านั้น ระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทมีโฉนดที่ดิน
ทางราชการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทเมื่อปี 2508 โดยม.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ หลังจากปี 2508 ช.และผู้ร้องก็อยู่ร่วมบ้านเดียวกันโดยอาศัยสิทธิของ ม. แม้เมื่อปี 2515 ผู้ร้องจะได้ปลูกบ้านขึ้นใหม่เลขที่ 17/1 แทนบ้านเดิมบนที่ดินพิพาทและอยู่ต่อมาโดย ม.มิได้ว่ากล่าว ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องอาศัยสิทธิของ ม.ครั้นปี 2523 ม. ขายที่ดินโฉนดที่พิพาทให้แก่บริษัท ส. ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้งคัดค้านแม้จะปรากฏว่าในปี 2524 ม.ได้รื้อบ้านของตนออกจากที่ดินพิพาทไปปลูกบ้านขึ้นใหม่และมารดาผู้ร้องได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้านที่ปลูกขึ้นใหม่ด้วย ส่วนผู้ร้องยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเป็นเวลาประมาณ 15 ปี ก็ฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทเพราะ ม. ขายที่ดินพิพาทให้แก่ อ. ผู้ซื้อแล้ว อ. ฝากให้ ม. ช่วยดูแล ม.จึงอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาอยู่อาศัย จึงต้องถือว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนบริษัท ส. เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังเจ้าของตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ดังนี้ แม้ผู้ร้องจะอยู่ในที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาช้านานเท่าใด ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ให้ดำเนินคดีไปอย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะเป็นจำเลย จึงย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้
ตามคำคัดค้านและฟ้องแย้ง ผู้คัดค้านระบุว่า ผู้ร้องไม่ได้เข้าทำประโยชน์ใด ๆ ในที่ดิน เพียงแต่พักอาศัยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของ ม. และบ้านดังกล่าวมีบริเวณเพียง 100 ตารางวา เห็นได้ว่า ผู้คัดค้านมิได้คัดค้านเฉพาะบริเวณบ้านที่ผู้ร้องอยู่อาศัย แต่คัดค้านที่ดินส่วนที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ว่าผู้ร้องมิได้ใช้ทำประโยชน์อะไร เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน 74 ตารางวา โดยไม่มีสิทธิย่อมทำให้ผู้คัดค้านได้รับความเสียหาย ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้ผู้ร้องชดใช้แก่ผู้คัดค้านเดือนละ 10,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว
ทางราชการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทเมื่อปี 2508 โดยม.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ หลังจากปี 2508 ช.และผู้ร้องก็อยู่ร่วมบ้านเดียวกันโดยอาศัยสิทธิของ ม. แม้เมื่อปี 2515 ผู้ร้องจะได้ปลูกบ้านขึ้นใหม่เลขที่ 17/1 แทนบ้านเดิมบนที่ดินพิพาทและอยู่ต่อมาโดย ม.มิได้ว่ากล่าว ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องอาศัยสิทธิของ ม.ครั้นปี 2523 ม. ขายที่ดินโฉนดที่พิพาทให้แก่บริษัท ส. ผู้ร้องก็มิได้โต้แย้งคัดค้านแม้จะปรากฏว่าในปี 2524 ม.ได้รื้อบ้านของตนออกจากที่ดินพิพาทไปปลูกบ้านขึ้นใหม่และมารดาผู้ร้องได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้านที่ปลูกขึ้นใหม่ด้วย ส่วนผู้ร้องยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทมาจนถึงวันยื่นคำร้องขอเป็นเวลาประมาณ 15 ปี ก็ฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทเพราะ ม. ขายที่ดินพิพาทให้แก่ อ. ผู้ซื้อแล้ว อ. ฝากให้ ม. ช่วยดูแล ม.จึงอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาอยู่อาศัย จึงต้องถือว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนบริษัท ส. เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังเจ้าของตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ดังนี้ แม้ผู้ร้องจะอยู่ในที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาช้านานเท่าใด ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและมีผู้คัดค้านขึ้นมา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ให้ดำเนินคดีไปอย่างคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นโจทก์ ผู้คัดค้านย่อมมีฐานะเป็นจำเลย จึงย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งผู้ร้องได้
ตามคำคัดค้านและฟ้องแย้ง ผู้คัดค้านระบุว่า ผู้ร้องไม่ได้เข้าทำประโยชน์ใด ๆ ในที่ดิน เพียงแต่พักอาศัยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของ ม. และบ้านดังกล่าวมีบริเวณเพียง 100 ตารางวา เห็นได้ว่า ผู้คัดค้านมิได้คัดค้านเฉพาะบริเวณบ้านที่ผู้ร้องอยู่อาศัย แต่คัดค้านที่ดินส่วนที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ว่าผู้ร้องมิได้ใช้ทำประโยชน์อะไร เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน 74 ตารางวา โดยไม่มีสิทธิย่อมทำให้ผู้คัดค้านได้รับความเสียหาย ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้ผู้ร้องชดใช้แก่ผู้คัดค้านเดือนละ 10,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904-5911/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบพยานของผู้ถูกร้องในคดีเลิกจ้างเมื่อผู้ร้องเสนอคดีฝ่ายเดียว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน อ้างว่าผู้คัดค้านกระทำความผิดที่สมควรจะเลิกจ้าง อันเป็นการเสนอคดีฝ่ายเดียว ผู้ร้องจะต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงให้ศาลเห็นว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้นจริงและเหตุนั้นเป็นเหตุที่สมควรจะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ เว้นแต่ผู้คัดค้านยอมรับในข้อเท็จจริงใด ศาลอาจรับฟังข้อเท็จจริงนั้นโดยผู้ร้องไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดง ทั้งนี้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาหรือไม่ก็ได้ และคำคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ใช่คำให้การ ไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ที่ต้องแสดงโดยชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของผู้ร้อง รวมทั้งเหตุแห่งการยอมรับหรือปฏิเสธ คดีนี้หลังจากผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านแล้ว ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านหรือไม่ เพียงใด โดยให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายนำพยานเข้าสืบก่อน แล้วให้ผู้คัดค้านสืบแก้ แสดงว่าศาลแรงงานเห็นว่า ผู้คัดค้านมิได้ยอมรับว่ามีเหตุตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้างเกิดขึ้น และกรณีสมควรที่จะฟังพยานหลักฐานของผู้คัดค้านประกอบการพิจารณาวินิจฉัยข้ออ้างของผู้ร้องด้วยซึ่งศาลแรงงานมีอำนาจที่จะกระทำได้ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธินำพยานเข้าสืบและศาลแรงงานสามารถนำพยานหลักฐานของผู้คัดค้านมาใช้ประกอบการวินิจฉัย อันเป็นกรณีที่จะต้องรับฟังจากพยานหลักฐานอื่นต่อไป ซึ่งพยานหลักฐานอื่นที่ศาลแรงงานนำมารับฟังดังกล่าวล้วนเป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากการนำสืบของผู้ร้องทั้งสิ้น การรับฟังพยานหลักฐานและการวินิจฉัยคดีของศาลแรงงานจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินที่ถูกยึด ต้องยื่นในชั้นบังคับคดี ไม่ใช่คดีใหม่
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดบังคับคดีเพื่อนำรายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีไปมอบต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ภายในเวลาและกำหนดตามที่ศาลเห็นสมควร แทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307 นั้นจะต้องดำเนินกระบวนการในชั้นบังคับคดี โดยผู้ร้องชอบที่จะไปยื่นคำร้องต่อศาลในคดีซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ใช่มายื่นคำร้องขอเพื่อดำเนินคดีเป็นคดีใหม่อีกต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดในชั้นบังคับคดี ต้องยื่นในคดีเดิม ไม่ใช่คดีใหม่
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดบังคับคดีเพื่อนำรายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีไปมอบต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ภายในเวลาและกำหนดตามที่ศาลเห็นสมควร แทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 นั้นจะต้องดำเนินกระบวนการในชั้นบังคับคดี โดยผู้ร้องชอบที่จะไปยื่นคำร้องต่อศาลในคดีซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ใช่มา ยื่นคำร้องขอเพื่อดำเนินคดีเป็นคดีใหม่อีกต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอและศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้ บริษัท ส. จะถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของบริษัท ส. โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โดยผู้ร้องมิได้กล่าวหาว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้ร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติบังคับให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ส. การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์ กับส่งหมายและสำเนาคำร้องขอแก่บริษัท ส. กับบริษัท ง. ผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวก่อนการไต่สวน จึงมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทั้งการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ก็หาได้เสียสิทธิไม่ เพราะผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก หากคำสั่งศาลชั้นต้นทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัท ส. ถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการจัดกิจการทรัพย์สินของบริษัท ส. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 จะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัท ส. เป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหากเพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส. มีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่าผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) หรือหากการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีนี้มีผลกระทบต่อสิทธิของบริษัท ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีชื่อโฉนดถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว บริษัท ส. ก็อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำสั่งนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งนั้น เพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส. มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวดีกว่าผู้ร้อง โดยไม่จำต้องไปฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ ดังนั้นผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีนี้ของศาลชั้นต้นที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยชอบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และการเพิกถอนกระบวนพิจารณา
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอ บริษัท ส. จะถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของบริษัท ส. โดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โดยผู้ร้องมิได้กล่าวหาว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้ร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติบังคับให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ส. การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์ กับส่งหมายและสำเนาคำร้องขอแก่บริษัท ส.กับบริษัท ค. ผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวก่อนการไต่สวน จึงมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทั้งการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ก็หาได้เสียสิทธิไม่ เพราะผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก หากคำสั่งศาลชั้นต้นทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัท ส. ถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการจัดกิจการทรัพย์สินของบริษัท ส. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 จะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัท ส. เพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส.มีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่าผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) หรือหากการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีนี้มีผลกระทบต่อสิทธิของบริษัทซึ่งเป็นบุคคลผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว บริษัท ส. ก็อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำสั่งนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดีเพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส.มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวดีกว่าผู้ร้อง โดยไม่จำต้องไปฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยชอบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านคำร้องขอจัดการมรดก แม้ศาลจะส่งหมายนัดไต่สวนแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียยังยื่นคำคัดค้านได้ก่อนการไต่สวน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขอจัดการมรดกต่อศาลชั้นต้นเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิได้บัญญัติให้ต้องมีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้ใด การที่ศาลชั้นต้นประกาศคำร้องขอและกำหนดนัดไต่สวนทางหนังสือพิมพ์โดยกำหนดไต่สวน หลังจากครบกำหนดประกาศดังกล่าวเกินกว่า 15 วัน เป็นการชอบแล้ว และตามประกาศของศาลชั้นต้นกำหนดว่า ถ้าผู้ใดจะคัดค้านคำร้องขอนี้ประการใดให้ยื่นคำร้องต่อศาลก่อนกำหนดนี้ ซึ่งหมายความว่าผู้มีส่วนได้เสียอาจยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องได้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะลงมือไต่สวนสืบพยานของผู้ร้อง หากมีการเลื่อนการไต่สวนออกไปโดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ทำการไต่สวน สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้าน ของผู้มีส่วนได้เสียก็ยังคงมีอยู่
การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้ผู้คัดค้านจะเป็นการแจ้งให้ ผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยตรงเพื่อจะได้สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านได้โดยสะดวกก็ตาม แต่หากไม่มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อใดก็ได้ก่อนที่ศาลชั้นต้น จะลงมือไต่สวน การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาแก่ผู้คัดค้านตามที่ระบุไว้ในหมายนัด จึงไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านตามกำหนดในประกาศคำร้องขอและกำหนดนัดไต่สวนของศาลชั้นต้น เมื่อผู้คัดค้านยื่น คำร้องคัดค้านก่อนที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องรับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านไว้พิจารณา จะนับเวลาตามหมายนัดมาตัดสิทธิของผู้คัดค้านหาได้ไม่
การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้ผู้คัดค้านจะเป็นการแจ้งให้ ผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยตรงเพื่อจะได้สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านได้โดยสะดวกก็ตาม แต่หากไม่มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อใดก็ได้ก่อนที่ศาลชั้นต้น จะลงมือไต่สวน การที่ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาแก่ผู้คัดค้านตามที่ระบุไว้ในหมายนัด จึงไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านในอันที่จะยื่นคำร้องคัดค้านตามกำหนดในประกาศคำร้องขอและกำหนดนัดไต่สวนของศาลชั้นต้น เมื่อผู้คัดค้านยื่น คำร้องคัดค้านก่อนที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องรับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านไว้พิจารณา จะนับเวลาตามหมายนัดมาตัดสิทธิของผู้คัดค้านหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านคำร้องขอจัดการมรดก: ศาลไม่ควรกำหนดเวลาแตกต่างจากประกาศ หากไม่มีการส่งหมายนัดก็ยื่นได้ก่อนไต่สวน
แม้การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องในคดีไม่มีข้อพิพาทให้ผู้คัดค้านจะเป็นการแจ้งให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยตรงเพื่อใช้สิทธิร้องคัดค้านได้โดยสะดวกก็ตาม แต่ศาลก็ไม่ควรกำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำร้องคัดค้านให้ต่างไปจากประกาศคำร้องขอและกำหนดนัดไต่สวนที่ประกาศทางหนังสือพิมพ์จนเสียหายแก่สิทธิของผู้คัดค้าน ซึ่งหากไม่มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอผู้คัดค้านก็ชอบที่จะร้องคัดค้านเมื่อใดก็ได้ก่อนที่ศาลจะไต่สวน ฉะนั้นเมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านก่อนที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนคำร้องขอ ศาลชั้นต้นก็ต้องรับคำร้องคัดค้านไว้พิจารณา จะนับระยะเวลาตามหมายนัดมาตัดสิทธิของผู้คัดค้านหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการขอตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อสัญญาซื้อขายตกเป็นพ้นวิสัยจากข้อจำกัดตามกฎหมายที่ดิน
การซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับผู้ตาย ผู้ตายจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องหลังจากออกโฉนดที่ดินแล้ว จึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย หากการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวตกเป็นพ้นวิสัย เนื่องจากที่ดินของผู้ตายที่ออกโฉนดในภายหลังต้องห้ามไม่ให้โอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน ทำให้ผู้ตายหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคแรก ไม่ต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่ผู้ตายหามีสิทธิได้รับชำระราคาที่ดินตอบแทนไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 372 วรรคแรก ผู้ตายจึงต้องคืนเงินราคาที่ดินให้แก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ตายยังมิได้คืนเงิน ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย และมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินแปลงดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย และกรณีมีเหตุจำเป็น ประกอบกับผู้ร้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่เคยถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนล้มละลายมาก่อน ทั้งไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย และกรณีมีเหตุจำเป็น ประกอบกับผู้ร้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต ไม่เคยถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนล้มละลายมาก่อน ทั้งไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย