คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 188

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยกรณีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน ราคาไม่เกิน 2 แสนบาท เหตุฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินรวม 3 แปลงมาโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าการเข้าครอบครองที่ดิน ดังกล่าวครอบครองแทน พ. กรณีจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำร้องขอ เป็นคดีมีทุนทรัพย์และศาลจะต้องแยกพิจารณาที่ดินแต่ละแปลงออกต่างหากจากกันเป็นรายแปลงว่าเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างหรือเป็นดังที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านทุนทรัพย์จึงต้องแยกออกเฉพาะที่ดินแต่ละแปลง เมื่อปรากฏว่าที่ดินทั้งสามแปลงมี ราคาแปลงละไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นคดีที่ราคา ทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของที่ดิน แต่ละแปลงไม่เกินสองแสนบาท อันต้องห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นคู่ความและการหมดอายุสิทธิร้องสอดคดี การครอบครองปรปักษ์ และผลของการจดทะเบียนสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นไปแล้ว คดีได้เสร็จสิ้นกระบวนการสมบูรณ์แล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลชั้นต้นตั้งแต่ก่อนวันที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเกิน10 ปี การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นก็ไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจึงไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) ในคดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4420/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์เป็นผลให้ได้กรรมสิทธิ์เมื่อจดทะเบียนแล้ว ผู้สอดร้องขอไม่มีสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทนั้นไปแล้ว คดีได้เสร็จสิ้นกระบวนการสมบูรณ์แล้วตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนให้ผู้ร้องเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามคำสั่งศาลชั้นต้น ตั้งแต่ก่อนวันที่ผู้ร้องสอดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเกิน 10 ปีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นก็ไม่มีอีกต่อไป ผู้ร้องสอดจึงไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1)ในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกจากพินัยกรรม 2 ฉบับที่มิได้ขัดแย้งกัน ศาลอนุญาตให้ผู้รับตามพินัยกรรมแต่ละฉบับเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก แต่ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมทั้ง 2 ฉบับเป็นทรัพย์คนละส่วนกัน ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นบุตรคนหนึ่งของผู้ตายและมีสิทธิรับมรดกส่วนหนึ่งของผู้ตายตามสำเนาพินัยกรรมเอกสารท้ายคำร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทของผู้ตาย เมื่อปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องขอ ผู้ร้องจึงใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอตั้งผู้จัดการมรดกได้
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกส่วนหนึ่ง และฉบับหลังตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกในทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่ข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งสองฉบับมิได้ขัดกัน จึงไม่มีผลทำให้ผู้ร้องถูกเพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก ดังนั้น พินัยกรรมของผู้ตายทั้งสองฉบับย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย และเมื่อผู้ตายมีความประสงค์ให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรมให้แยกจากกันเช่นนี้ จึงไม่สมควรที่ศาลจะตั้งผู้ร้องหรือผู้คัดค้านคนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว จึงให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ละฉบับตามความประสงค์ของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกจากหน้าที่เนื่องจากไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก และการแต่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน เมื่อผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงถึงที่สุดแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และยกคำร้องของผู้คัดค้านนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีไปในทางใด ก็ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงมิใช่กรณีที่ยังไม่ทราบว่าใครจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันที่ยังไม่ถึงที่สุดเพราะผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก็ผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่ความจนกว่าคำสั่งนั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไขกลับหรืองดเสีย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นและทราบคำสั่งแล้ว ถือว่าหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้เริ่มขึ้นแล้วในวันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1716 ดังนั้นผู้ร้องและผู้คัดค้านจึงต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวันนับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1728 ทั้งนี้ต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายในหนึ่งเดือนตามมาตรา 1729 และหากผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาและ ตามแบบที่กำหนดไว้ มาตรา 1731 ก็บัญญัติให้ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกได้ การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกทั้งหมดรวมทั้งเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียว ยังไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก และแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทบ้างเลย ทั้งยังแสดงเจตนาที่จะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเช่นนี้ จึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกและการแต่งตั้งใหม่เนื่องจากละเลยหน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกัน เมื่อผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงถึงที่สุดแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและยกคำร้องของผู้คัดค้านนั้น ไม่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาคดีไปในทางใดก็ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงมิใช่กรณีที่ยังไม่ทราบว่าใครจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างแม้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันที่ยังไม่ถึงที่สุดเพราะผู้ร้องอุทธรณ์นั้น คำสั่งดังกล่าวก็ผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่ความจนกว่าคำสั่งนั้นจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ตามป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลชั้นต้นและทราบคำสั่งแล้ว ถือว่าหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้เริ่มขึ้นแล้วในวันดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1716 ดังนั้นผู้ร้องและผู้คัดค้านจึงต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวัน นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา1728 ทั้งนี้ต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายในหนึ่งเดือนตามมาตรา 1729และหากผู้จัดการมรดกไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในกำหนดเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้ มาตรา 1731 ก็บัญญัติให้ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกได้
ที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลหน้าที่ผู้จัดการมรดกก็เพราะว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายมีอะไรบ้างนั้นเป็นเรื่องสำคัญ และเมื่อบัญชีทรัพย์ที่ผู้ร้องยื่นต่อศาลขณะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ใช่บัญชีทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องลงมือจัดทำให้แล้วเสร็จภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1728 และ 1729 และโดยที่ข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมด ทรัพย์มรดกที่ให้เช่าผู้ร้องก็เป็นผู้เก็บค่าเช่าตลอดมา ผู้ตายถึงแก่ความตายตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม2534 แต่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้ครอบครองรวมทั้งเก็บผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียว ยังไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดก และแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทบ้างเลย ทั้งยังแสดงเจตนาที่จะไม่จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเช่นนี้ จึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายของผู้ตายซึ่งผู้ตายได้รับรองแล้วผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกประกอบกับศาลได้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว จึงสมควรตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8407/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอพิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 207 ว.พ.พ. ต้องเป็นคู่ความที่ถูกศาลสั่งให้แพ้คดีและถูกสั่งขาดนัด
ผู้ที่จะมีสิทธิร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 นั้น นอกจากจะต้องเป็นคู่ความฝ่ายที่ถูกศาลสั่งว่าขาดนัดพิจารณาแล้ว จะต้องปรากฏว่าศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นข้อพิพาทด้วย คดีนี้ผู้คัดค้านนำคำคัดค้านและขอเลื่อนคดีมายื่นต่อศาลชั้นต้นหลังจากที่ศาลได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบุตรชายด้วย กฎหมายของผู้ตายเสร็จสิ้นไปก่อนแล้ว การที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำคัดค้านและไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี คดีนี้จึงยังคงเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและไม่มีประเด็นข้อพิพาท เมื่อผู้คัดค้านมิได้ถูกศาลสั่งว่าขาดนัดพิจารณา และศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้คัดค้านแพ้คดีในประเด็นข้อพิพาท ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอเป็นผู้จัดการมรดกจำกัดเฉพาะทายาทตามกฎหมาย ผู้ร้องไม่มีสิทธิเนื่องจากเป็นทายาทอันดับ 4
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกเพียงว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกเพียงผู้เดียว โดยมิได้อ้างสิทธิหรือส่วนได้เสียอย่างอื่น เมื่อปรากฏตามคำร้องขอนั้นชัดแจ้งว่า เจ้ามรดกยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่อีก 2 คน ซึ่งเป็นทายาทอันดับ 3 ตามป.พ.พ.มาตรา 1629 (3) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ส่วนผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดาเดียวกับเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทอันดับ 4 ตามมาตรา 1629 (4) ดังนี้ ผู้ร้องจึงถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง และเมื่อผู้ร้องมิใช่ทายาทของเจ้ามรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1713 (1) จึงไม่อาจร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้ และแม้ทายาทของเจ้ามรดกที่มีชีวิตอยู่ดังกล่าวถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถอยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง และทายาทนั้นไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ และหากไม่มีผู้จัดการมรดกจะทำให้ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกเกิดความเสียหายได้ก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องอ้างสิทธิในการขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกตามมาตรา 1713 (1) ชัดแจ้งอยู่แล้ว การที่จะไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องยังมีสิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิของการเป็นทายาทโดยธรรม ย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกคำร้องขอและนอกประเด็น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยไม่จำต้องทำการไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกถูกจำกัดเนื่องจากสถานะทายาทลำดับที่ 4 และการอ้างสิทธิเกินขอบเขตคำร้อง
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกเพียงว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกเพียงผู้เดียวโดยมิได้อ้างสิทธิหรือส่วนได้เสียอย่างอื่น เมื่อปรากฎตามคำร้องขอนั้นชัดแจ้งว่า เจ้ามรดกยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่อีก 2 คน ซึ่งเป็นทายาทอันดับ 3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3)ซึ่งยัง มีชีวิตอยู่ ส่วนผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดาเดียวกับเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทอันดับ 4 ตามมาตรา 1629(4)ดังนี้ ผู้ร้องจึงถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่งและเมื่อผู้ร้องมิใช่ทายาทของเจ้ามรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1713(1) จึงไม่อาจร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้ และแม้ทายาทของเจ้ามรดกที่มีชีวิตอยู่ดังกล่าวถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถอยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง และทายาทนั้นไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ และหากไม่มีผู้จัดการมรดกจะทำให้ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกเกิดความเสียหายได้ก็ตามแต่เมื่อผู้ร้องอ้างสิทธิในการขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกตามมาตรา 1713(1) ชัดแจ้งอยู่แล้ว การที่จะไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องยังมีสิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิของการเป็นทายาทโดยธรรม ย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกคำร้องขอและนอกประเด็น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยไม่จำต้องทำการไต่สวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8216/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ประเด็นการตั้งผู้จัดการมรดกแยกจากประเด็นการพิสูจน์ทรัพย์มรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ คดีไม่มีประเด็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอะไรบ้างหรือไม่ เพราะขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องการรวบรวมทรัพย์มรดกหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกไปแล้ว หากการรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านโต้แย้งได้ ผู้คัดค้านก็ชอบที่จะดำเนินคดีเอาแก่ผู้ร้องได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก จึง ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของผู้ร้องคัดค้าน
of 25