พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีมรดก: พินัยกรรม, ใบมอบอำนาจ, ผู้จัดการมรดก, และการรับฟังพยานหลักฐาน
เนื้อหาของเอกสารพิพาทเป็นจดหมายที่ผู้ตายแจ้งให้ส. ทราบว่าผู้ตายทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ล. โดยขอให้ส.เป็นพยานคนที่สองด้วยและเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ขอให้ ส. ช่วยดูแลให้ ล.เก็บรักษาทรัพย์สินส่วนใหญ่ของผู้ตายไว้ให้เด็กชาย บ.ด้วยเท่ากับเป็นการฝากฝังให้ ส. ช่วยดูแลทรัพย์สินตามพินัยกรรมที่ทำไว้แล้วให้แก่เด็กชายบ. ตามเอกสารพิพาทนี้แสดงว่ามีพินัยกรรมอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ ส. ช่วยเป็นพยานในพินัยกรรมอีกคนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายเขียนเอกสารพิพาทขึ้นเองทั้งฉบับก็ตามลำพังเอกสารดังกล่าวหาใช่เป็นพินัยกรรมของผู้ตายไม่เป็นเพียงการแจ้งให้ ส.ทราบว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ ล. และขอให้ ส.ช่วยดูแลด้วยเท่านั้น แม้ผู้ร้องเพิ่งจะอ้างเอกสารที่อ้างว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องเพิ่งค้นพบภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคดีนี้มาท้ายอุทธรณ์เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังได้ เอกสารพิพาทมีข้อความระบุว่าเป็นใบมอบอำนาจเขียนขึ้นด้วยลายมือผู้ตายเอง แสดงเจตนาขอยกทรัพย์ทุกอย่างที่มีอยู่ให้แก่ ส. ผู้เป็นภริยา และว่า นิติกรรมอันใดที่ ส. กระทำให้ถือว่าผู้ตายได้กระทำเองโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และลงชื่อผู้ตายไว้นั้นเอกสารดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นพินัยกรรม เพราะมิได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆอันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย ดังนั้นแม้จะฟังว่าผู้ตายทำเอกสารดังกล่าวขึ้นไว้ก็ตามก็ไม่มีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 กล่าวถึงว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้ผู้คัดค้านที่ 1และกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 1ว่ามีบุตรด้วยกัน 2 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในฐานะผู้รับพินัยกรรมหรือในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสอง คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เป็นการขัดกันหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงขนาดที่จะพิจารณาคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้ คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพียงแต่บรรยายให้ศาลเห็นว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายและมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก เพื่อแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนทรัพย์มรดกและทายาทมีอยู่อย่างไรเป็นขั้นตอนในชั้นจัดการมรดก แม้คำร้องขอระบุทรัพย์มรดกและทายาทของผู้ตายไม่ครบถ้วน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่สุจริตไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6172/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งคืนรถยนต์เช่าซื้อที่ถูกยึด: การฟ้องร้องต้องเป็นคดีมีข้อพิพาท
ผู้ร้องยื่นร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ ซึ่งได้ให้ ว.เช่าซื้อไปแล้วว. ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันทันทีตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาและ ว.ต้องส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่ผู้ร้องแต่ว.ไม่ส่งคืน ต่อมารถยนต์ได้เกิดอุบัติเหตุถูกพนักงานสอบสวนยึดไว้เพื่อประกอบคดี ผู้ร้องได้ไปติดต่อขอรับรถยนต์คืนแต่พนักงานสอบสวนไม่คืนให้ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวน คืนรถยนต์ให้แก่ผู้ร้อง การยื่นคำร้องขอดังกล่าวไม่มีกฎหมาย สนับสนุนให้ยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้ หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับรถยนต์ ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลได้ โดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง อย่างคดีมีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 เมื่อผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ตามกฎหมาย ผู้ร้องย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอ ฉะนั้น แม้ผู้คัดค้าน จะยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดีก็ตามก็ไม่สามารถดำเนินคดีต่อไปอย่างคดีที่มีข้อพิพาทได้ และไม่อาจปรับเข้ากับมาตรา 188(4) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6172/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนรถยนต์เช่าซื้อที่ถูกยึดหลังเกิดอุบัติเหตุ: ศาลไม่อำนาจพิจารณาคดีไม่มีข้อพิพาท
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งได้ให้ว.เช่าซื้อไปแล้วว. ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกันทันทีตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาและว. ต้องส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่ผู้ร้องแต่ว. ไม่ส่งคืนต่อมารถยนต์ได้เกิดอุบัติเหตุถูกพนักงานสอบสวนยึดไว้เพื่อประกอบคดีผู้ร้องได้ไปติดต่อขอรับรถยนต์คืนแต่พนักงานสอบสวนไม่คืนให้ขอให้ศาลมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนคืนรถยนต์ให้แก่ผู้ร้องการยื่นคำร้องดังกล่าวไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับรถยนต์ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลได้โดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55เมื่อผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ตามกฎหมายผู้ร้องย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอฉะนั้นแม้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดีก็ตามก็ไม่สามารถดำเนินคดีต่อไปอย่างคดีที่มีข้อพิพาทได้และไม่อาจปรับเข้ากับมาตรา188(4)ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5216/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำครอบครองปรปักษ์: ประเด็นเดิม วินิจฉัยแล้ว ถึงที่สุด
ผู้ร้องเป็นทั้งคู่ความในคดีก่อนและคู่ความในคดีนี้ประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้เป็นอย่างเดียวกันคือผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่เหตุที่อาศัยเป็นหลักแหล่งการวินิจฉัยในคดีก่อนคือฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของและฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา10ปีซึ่งหมายความว่าฟังไม่ได้ว่าการครอบครองของผู้ร้องตั้งแต่ปี2508จนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอในคดีก่อนคือวันที่29พฤศจิกายน2531เป็นการครอบครองปรปักษ์ดังนี้การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้ว่าการครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปี2518จนถึงวันยืนคำร้องขอคดีนี้คือวันที่25มิถุนายน2533เป็นเวลาเกิน10ปีแล้วจึงเป็นการอาศัยเหตุแห่งการวินิจฉัยเดียวกันเมื่อคดีก่อนถึงที่สุดการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(11)คู่ความหมายความว่าบุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลดังนี้เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ยื่นคำร้องขอต่อศาลผู้ร้องก็คือคู่ความนั่นเองและเมื่อผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนคดีของผู้ร้องจึงเป็นการฟ้องซ้ำได้ไม่จำต้องมีผู้คัดค้านในคดีก่อนจึงจะเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5216/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ครอบครองปรปักษ์ - ประเด็นเดิม เหตุเดียวกัน แม้เปลี่ยนข้ออ้าง
ผู้ร้องเป็นทั้งคู่ความในคดีก่อนและคู่ความในคดีนี้ประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้เป็นอย่างเดียวกันคือ ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ เหตุที่อาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยในคดีก่อนคือ ฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของ และฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งหมายความว่าฟังไม่ได้ว่าการครอบครองของผู้ร้องตั้งแต่ปี 2508 จนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอในคดีก่อนคือวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531เป็นการครอบครองปรปักษ์ ดังนี้การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้ว่าการครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปี 2518 จนถึงวันยื่นคำร้องขอคดีนี้คือวันที่ 25 มิถุนายน 2533 เป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้วจึงเป็นการอาศัยเหตุแห่งการวินิจฉัยเดียวกันเมื่อคดีก่อนถึงที่สุด การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11)คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลดังนี้เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ผู้ร้องก็คือคู่ความนั่นเอง และเมื่อผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน คดีของผู้ร้องจึงเป็นการฟ้องซ้ำได้ไม่จำต้องมีผู้คัดค้านในคดีก่อนจึงจะเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5216/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำเรื่องครอบครองปรปักษ์: เหตุเดิมฟ้องแล้ว ศาลยกคำร้อง ขอใหม่ไม่ได้ แม้มีข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ผู้ร้องเป็นทั้งคู่ความในคดีก่อนและคู่ความในคดีนี้ ประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้เป็นอย่างเดียวกันคือ ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ เหตุที่อาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยในคดีก่อนคือฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอย่างเจ้าของ และฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอในคดีก่อนคือวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้ว่าครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปี 2518 จนถึงวันยื่นคำร้องขอคดีนี้คือวันที่ 25 มิถุนายน2533 เป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว จึงเป็นการอาศัยเหตุแห่งการวินิจฉัยเดียวกันคำร้องขอในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้ำ
แม้ในคดีก่อนมีแต่ผู้ร้องฝ่ายเดียว ไม่มีผู้คัดค้านก็ตาม ผู้ร้องก็เป็นคู่ความตามความหมายของ ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) เมื่อผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน คดีของผู้ร้องจึงเป็นการฟ้องซ้ำได้
การที่ผู้ร้องอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า ผู้ร้องเป็นผู้ขอติดตั้งน้ำประปา ไฟฟ้า และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของผู้ร้อง ซึ่งบางส่วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลยกคำร้องขอในคดีก่อน แต่เกิดขึ้นยังไม่ถึง 10 ปีก็เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุที่ศาลชั้นต้นอาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยยกคำร้องขอนั่นเอง ผู้ร้องจะนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่มารวมกับข้อเท็จจริงเดิมเพื่อให้เห็นว่าครอบครองปรปักษ์ครบ 10 ปีแล้วไม่ได้
ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง กฎหมายมิได้บัญญัติให้อำนาจศาลในการสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมแก่ผู้ร้องได้
แม้ในคดีก่อนมีแต่ผู้ร้องฝ่ายเดียว ไม่มีผู้คัดค้านก็ตาม ผู้ร้องก็เป็นคู่ความตามความหมายของ ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) เมื่อผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน คดีของผู้ร้องจึงเป็นการฟ้องซ้ำได้
การที่ผู้ร้องอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า ผู้ร้องเป็นผู้ขอติดตั้งน้ำประปา ไฟฟ้า และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของผู้ร้อง ซึ่งบางส่วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลยกคำร้องขอในคดีก่อน แต่เกิดขึ้นยังไม่ถึง 10 ปีก็เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุที่ศาลชั้นต้นอาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยยกคำร้องขอนั่นเอง ผู้ร้องจะนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่มารวมกับข้อเท็จจริงเดิมเพื่อให้เห็นว่าครอบครองปรปักษ์ครบ 10 ปีแล้วไม่ได้
ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง กฎหมายมิได้บัญญัติให้อำนาจศาลในการสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมแก่ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5216/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีครอบครองปรปักษ์: ศาลยกฟ้องเนื่องจากประเด็นและเหตุผลเดิม
ผู้ร้องเป็นทั้งคู่ความในคดีก่อนและคู่ความในคดีนี้ประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้เป็นอย่างเดียวกันคือ ผู้ร้องครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ เหตุที่อาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยในคดีก่อนคือฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอย่างเจ้าของ และฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของที่ดินติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอในคดีก่อนคือวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอในคดีนี้ว่าครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปี2518 จนถึงวันยื่นคำร้องขอคดีนี้คือวันที่ 25 มิถุนายน 2533เป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว จึงเป็นการอาศัยเหตุแห่งการวินิจฉัยเดียวกันคำร้องขอในคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้ำ แม้ในคดีก่อนมีแต่ผู้ร้องฝ่ายเดียว ไม่มีผู้คัดค้านก็ตามผู้ร้องก็เป็นคู่ความตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) เมื่อผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกับคู่ความในคดีก่อน คดีของผู้ร้องจึงเป็นการฟ้องซ้ำได้ การที่ผู้ร้องอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่า ผู้ร้องเป็นผู้ขอติดตั้งน้ำประปา ไฟฟ้า และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของผู้ร้อง ซึ่งบางส่วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลยกคำร้องขอในคดีก่อน แต่เกิดขึ้นยังไม่ถึง 10 ปี ก็เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในเหตุที่ศาลชั้นต้นอาศัยเป็นหลักแห่งการวินิจฉัยยกคำร้องขอนั่นเอง ผู้ร้องจะนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่มารวมกับข้อเท็จจริงเดิมเพื่อให้เห็นว่าครอบครองปรปักษ์ครบ 10 ปีแล้วไม่ได้ ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง กฎหมายมิได้บัญญัติให้อำนาจศาลในการสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมแก่ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5505/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอรับเด็กเป็นบุตรหลังบิดาถึงแก่ความตาย: ต้องเริ่มด้วยคดีไม่มีข้อพิพาท
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในกรณีที่ชายผู้ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปก่อนเสนอคดีนั้น จะเสนอคดีเป็นคำฟ้องโดยยื่นคำฟ้องผู้ที่ถึงแก่ความตายไปแล้วไม่ได้ เพราะไม่มีตัวความที่จะฟ้องเป็นจำเลยและในเบื้องต้นก็ยังไม่ทราบว่าจะมีผู้ใดคัดค้านหรือไม่ การเริ่มคดีในชั้นแรกจึงต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทขึ้นมาก่อน เมื่อมีผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านขึ้นมาศาลจึงจะดำเนินคดีต่อไปอย่างคดีมีข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5505/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอรับรองเด็กเป็นบุตรหลังบิดาเสียชีวิต: วิธีการเสนอคดีและการพิสูจน์ความเป็นบุตร
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในกรณีที่ชายผู้ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปก่อนเสนอคดีนั้น จะเสนอคดีเป็นคำฟ้องโดยยื่นคำฟ้องผู้ที่ถึงแก่ความตายไปแล้วไม่ได้ เพราะไม่มีตัวความที่จะฟ้องเป็นจำเลยและในเบื้องต้นก็ยังไม่ทราบว่าจะมีผู้ใดคัดค้านหรือไม่ การเริ่มคดีในชั้นแรกจึงต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทขึ้นมาก่อน เมื่อมีผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านขึ้นมา ศาลจึงจะดำเนินคดีต่อไปอย่างคดีมีข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องหนี้สัญญา กู้ยืม และการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลมีอำนาจรับฟังได้หากมีเหตุผลความจำเป็น
โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้เงิน2 ฉบับ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2518 ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืนมีจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่2 มีนาคม 2532 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันชี้สองสถาน จำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพิ่มข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 10 ปี ดังนี้เห็นได้ว่าวันที่โจทก์ยื่นฟ้องและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ปรากฏอยู่ในฟ้องแล้ว และจำเลยทั้งห้าทราบมาแต่แรกที่ได้รับสำเนาฟ้องแล้วว่าการกู้เงินตามที่กล่าวในฟ้องเป็นการกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน ซึ่งอายุความฟ้องร้องย่อมเริ่มนับทันทีที่โจทก์ให้กู้ไป จึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งห้าอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อเพิ่มเติมข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความได้ก่อนวันชี้สองสถาน แม้จำเลยทั้งห้าจะยังไม่ได้รับสำเนาสัญญากู้เงินจากโจทก์ก็ตาม ข้อเท็จจริงที่จำเลยอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความก็ปรากฏอยู่ในคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานแล้ว จำเลยทั้งห้าหาจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องจากสำเนาสัญญากู้แต่อย่างใดไม่ทั้งเรื่องที่ขอแก้ไขคำให้การนี้ก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้มีข้อต่อสู้เกี่ยวกับอายุความภายหลังวันชี้สองสถาน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสอง (เดิม) ตามฟ้องโจทก์ปรากฏอยู่แล้วว่า โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เป็นเงิน 544,600 บาท และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคงค้างอยู่ในวันคิดบัญชีคือวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531เป็นต้นเงิน 164,000 บาท และดอกเบี้ย 150,564.09 บาทดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแจ้งชัดแล้วว่า หนี้ต้นเงินจำนวน164,600 บาท ที่ค้างชำระคิดมาจากยอดหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าว และการกล่าวถึงดอกเบี้ยก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าหมายถึงดอกเบี้ยของต้นเงินที่ค้างชำระอยู่ดังกล่าวโดยนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 นั่นเองส่วนรายละเอียดในการคิดบัญชีนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ได้แสดงความจำนงอ้างสัญญากู้เป็นพยานโดยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคแรกแล้ว แต่ในการสืบพยาน โจทก์มิได้ส่งสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วันดังที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90(เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าแก้ไขคำให้การในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นเรื่องอายุความตามที่จำเลยทั้งห้าฎีกาขึ้นมา