พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้เนื่องจากสัญญาเลิกกันโดยปริยาย สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
จำเลยที่ 1 ออกเช็คตามฟ้องให้โจทก์เป็นมัดจำในการว่าจ้างช่วงให้โจทก์ทำเฟอร์นิเจอร์แก่ อ. เช็คตามฟ้องจึงมีมูลหนี้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำงานตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ไปแล้วหรือไม่เพียงใด อ. ก็ได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ทำเฟอร์นิเจอร์แก่ อ. เสียเอง ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้ทักท้วงอย่างใด ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เลิกสัญญากันโดยปริยาย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำงานตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ และฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงต้องคืนมัดจำแก่จำเลยที่ 1หนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดมากกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5 ที่ใช้ในการกระทำความผิดจึงต้องใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 บังคับแก่กรณีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3โดยถือว่าคดีเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีอาญาใช้เช็คไม่มีเงิน กับ คดีแพ่งเรียกใช้เงินตามเช็ค ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นเรื่องฟ้องซ้ำ จำเลยก็ยกขึ้นมาคัดค้านในชั้นฎีกาได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องทางอาญาขอให้ลงโทษจำเลยฐานใช้เช็คไม่มีเงิน แต่คดีหลังโจทก์ฟ้องทางแพ่งขอให้จำเลยใช้เงินตามเช็คที่จำเลยเป็นสั่งจ่าย แม้ว่าจะเป็นเช็คฉบับเดียวกันกับที่พิพาทกันในคดีอาญา ก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องทางอาญาขอให้ลงโทษจำเลยฐานใช้เช็คไม่มีเงิน แต่คดีหลังโจทก์ฟ้องทางแพ่งขอให้จำเลยใช้เงินตามเช็คที่จำเลยเป็นสั่งจ่าย แม้ว่าจะเป็นเช็คฉบับเดียวกันกับที่พิพาทกันในคดีอาญา ก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน