พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระดอกเบี้ยเกินกฎหมาย แม้เป็นโมฆะ แต่หากชำระโดยสมัครใจแล้ว จะนำมาหักหนี้ต้นเงินไม่ได้
โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 มีผลให้ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อจำเลยชำระดอกเบี้ยดังกล่าวด้วยความสมัครใจตามที่ตกลงกู้ยืมเงินกับโจทก์ จึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 407 และ 411 จำเลยจะเรียกดอกเบี้ยคืนหรือนำมาหักชำระหนี้ต้นเงินหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธุรกิจเช่าซื้อไม่เข้าข่ายธุรกิจเงินทุน, อำนาจลงนามหลังแปรสภาพบริษัท, ดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดมีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อและให้เช่าทรัพย์สิน การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ จึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ และธุรกิจดังกล่าวของโจทก์มิใช่ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแยกประเภทไว้ ดังบทนิยาม "ธุรกิจเงินทุน" ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพก็หมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัดตามมาตรา 184 แต่มาตรา 185 ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทจำกัดที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดว่า บริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สินหนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทจำกัด การที่บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินแทนได้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ช. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1ทำกับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับจากวันผิดนัด และโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพก็หมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัดตามมาตรา 184 แต่มาตรา 185 ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทจำกัดที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดว่า บริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สินหนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทจำกัด การที่บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินแทนได้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ช. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1ทำกับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับจากวันผิดนัด และโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9571/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและดอกเบี้ยเกินอัตรา: วิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะ และกฎหมายห้ามดอกเบี้ยเกินอัตราใช้ไม่ได้กับสัญญาเช่าซื้อ
สิทธิการบอกเลิกสัญญาและวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ป.พ.พ. กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว โดยให้สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อตามมาตรา 573 และให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าซื้อตามมาตรา 574 ไม่ใช่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 กรณีจึงไม่อาจนำวิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าในกฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ ตามมาตรา 560 มาใช้บังคับในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้
ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 เป็นการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในการกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจจะนำมาใช้บังคับแก่การเช่าซื้อได้
ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 เป็นการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในการกู้ยืมเงินเท่านั้น ไม่อาจจะนำมาใช้บังคับแก่การเช่าซื้อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตรา: ธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของตนเอง
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ขณะจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ โจทก์ประกาศอัตราดอกเบี้ยโดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยในการอำนวยสินเชื่อไว้สำหรับสินเชื่อสำหรับบุคคลทั่วไปว่า 1.1 กรณีอยู่ภายในวงเงินและไม่ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี และ 1.2 กรณีเกินวงเงิน/ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระอัตราร้อยละ 19 ต่อปี กรณีของจำเลยอยู่ในหลักเกณฑ์ข้อ 1.1 แต่ในสัญญากู้ยืมเงินระบุดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในชั้นพิจารณาของศาลพนักงานฝ่ายสินเชื่อและเร่งรัดหนี้สินของโจทก์เบิกความยืนยันว่าคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่าโจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ในการคิดอัตราดอกเบี้ยมิได้อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แต่การคิดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 ซึ่งกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งโจทก์ได้ออกประกาศดอกเบี้ยและส่วนลดตามอัตราดอกเบี้ยแต่ละกรณี ดังนั้น การที่โจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) จึงเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8731/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ผิดกฎหมาย (ดอกเบี้ยเกินอัตรา) ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค แม้โอนให้ผู้อื่น
อุทธรณ์ของโจทก์ว่า การที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่ ฝ. แทนเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4หรือไม่ โดยมิได้อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นประการอื่น อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย
การที่จำเลยกู้ยืมเงิน ฝ. ฝ. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำเลยออกเช็คฉบับแรกจำนวน 4,000,000 บาทให้แก่ ฝ. โดยรวมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนไว้แล้ว ต่อมาธนาคารตามเช็คนั้นปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงออกเช็คให้แก่ ฝ. จำนวน2 ฉบับ ฉบับละ 2,000,000 บาท ซึ่งรวมทั้งเช็คพิพาท แสดงให้เห็นว่าเช็คพิพาทซึ่งออกเพื่อชำระหนี้ตามเช็คฉบับแรกมีมูลหนี้อันเกิดจากการคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้รวมอยู่ ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้ ฝ. จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่ทราบว่ามีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การออกเช็คพิพาทของจำเลยซึ่งไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายกลับมาเป็นความผิดขึ้นมาอีก
การที่จำเลยกู้ยืมเงิน ฝ. ฝ. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำเลยออกเช็คฉบับแรกจำนวน 4,000,000 บาทให้แก่ ฝ. โดยรวมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนไว้แล้ว ต่อมาธนาคารตามเช็คนั้นปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงออกเช็คให้แก่ ฝ. จำนวน2 ฉบับ ฉบับละ 2,000,000 บาท ซึ่งรวมทั้งเช็คพิพาท แสดงให้เห็นว่าเช็คพิพาทซึ่งออกเพื่อชำระหนี้ตามเช็คฉบับแรกมีมูลหนี้อันเกิดจากการคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้รวมอยู่ ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้ ฝ. จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่ทราบว่ามีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การออกเช็คพิพาทของจำเลยซึ่งไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายกลับมาเป็นความผิดขึ้นมาอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงินภายใต้ พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม และ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
โจทก์เป็นสถาบันการเงินจึงต้องใช้ พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 มาใช้บังคับ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวให้สิทธิสถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ แต่ไม่ให้เกินกว่าอัตราสูงสุดที่รัฐมนตรีกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ หาเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ย- เกินอัตรา พ.ศ. 2475 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อรถแทรกเตอร์: การคิดดอกเบี้ยรวมในราคารถ ไม่ขัดกฎหมาย
ราคาค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ตามสัญญาเช่าซื้อได้รวมค่าเช่ากับราคารถแทรกเตอร์ที่เช่าซื้อเข้าไว้ด้วยกัน การกำหนดราคาค่าเช่าซื้อดังกล่าวไม่มีกฎหมายห้ามไว้และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน แม้ราคาค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ดังกล่าวโจทก์จะกำหนดโดยวิธีหักเงินชำระล่วงหน้าออกไปก่อน แล้วนำส่วนที่เหลือไปคิดดอกเบี้ย คำนวณเป็นดอกเบี้ยเท่าใด บวกเข้ากับเงินที่ค้างชำระ จากนั้นจึงกำหนดเป็นค่างวด ซึ่งเป็นวิธีการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ของโจทก์โดยชอบ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยในสัญญาเช่าซื้อ การรวมราคารถและค่าเช่าไม่ขัดกฎหมาย
การกำหนดราคาค่าเช่าซื้อรถโดยรวมค่าเช่ากับราคารถที่เช่าซื้อเข้าไว้ด้วยกัน ไม่มีกฎหมายห้ามทำและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั้งการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อโดยวิธีหักเงินชำระล่วงหน้าออกไปก่อนแล้วนำส่วนที่เหลือไปคิดดอกเบี้ย คำนวณเป็นดอกเบี้ยได้เท่าใดบวกเข้ากับเงินที่ค้างชำระ จึงกำหนดเป็นค่างวด ซึ่งดอกเบี้ยดังกล่าวมากกว่าอัตราร้อยละ 24 ต่อปี ก็มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475สัญญาเช่าซื้อจึงใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้กู้ยืม แม้ดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย ก็ไม่กระทบสิทธิเรียกร้องเงินต้น การออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชีเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
หนี้ต้นเงินกู้ยืมที่จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่โจทก์กับดอกเบี้ยของต้นเงินกู้ยืมเป็นหนี้คนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้แม้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยจะเกินจากอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยก็คงมีผลแต่เพียงว่าโจทก์สิ้นสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อาจคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเท่านั้นแต่หาได้สิ้นสิทธิที่จะได้รับต้นเงินกู้ยืมไม่ และหากจำเลยชำระดอกเบี้ยไปแล้วก็หาอาจที่จะเรียกคืนหรือนำไปหักจากต้นเงินกู้ยืมได้ไม่ เมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วยการออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้เพราะขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงใช้เงินได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7909/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ต้นเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยเป็นสิทธิแยกกัน แม้ดอกเบี้ยผิดกฎหมายก็ไม่กระทบสิทธิรับต้นเงิน การออกเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชีเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
หนี้ต้นเงินกู้ยืมที่จำเลยออกเช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่โจทก์กับดอกเบี้ยของต้นเงินกู้ยืมเป็นหนี้คนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ แม้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยจะเกินจากอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยก็คงมีผลแต่เพียงว่าโจทก์สิ้นสิทธิในการได้รับดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อาจคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเท่านั้น แต่หาได้สิ้นสิทธิที่จะได้รับต้นเงินกู้ยืมไม่ และหากจำเลยชำระดอกเบี้ยไปแล้วก็หาอาจที่จะเรียกคืนหรือนำไปหักจากต้นเงินกู้ยืมได้ไม่ เมื่อเช็คพิพาทที่จำเลยออกมิได้รวมดอกเบี้ยที่มิชอบเข้าไว้ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้เพราะขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงใช้เงินได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4