พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืมเงินและการจำนองทรัพย์สิน แม้ฟ้องผิดฐานแต่ศาลสามารถแก้ไขได้
แม้หนี้เงินกู้จำนวน 3,500,000 บาท ซึ่งอ. สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์ เป็นหนี้ที่อ. ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของอ.ฝ่ายเดียวก็ตามแต่จำเลยก็ยินยอมให้อ.กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่อ. ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4)จำเลยในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับอ. ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ หนี้เงินกู้ที่อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่อ. และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่อ. สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดยอ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวอ. ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้วกรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีกจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อ เป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตามแต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไร การที่ โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ. สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอมและจำเลย ยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่อ. และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไปจะเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ก็ตามแต่เมื่อจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วต่อมาอ. ได้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หลังจากนั้นอ. และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีกเมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้งแต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ระบุไว้ในสัญญาในวันที่21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งมิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ตกลงทำสัญญาให้คิดดอกเบี้ยฝ่าฝืนกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืมและจำนองทรัพย์สิน แม้ภริยาไม่ได้กู้โดยตรง แต่ให้ความยินยอมและสัตยาบันถือเป็นลูกหนี้ร่วม
แม้หนี้เงินกู้ซึ่ง อ. สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของอ.ฝ่ายเดียวก็ตามแต่จำเลยก็ยินยอมให้อ. กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่ อ. ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4) จำเลย ในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับ อ. ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งมิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐาน ดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็น หนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ หนี้เงินกู้ที่ อ. กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ. สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ประกันเงินกู้ โดย อ. ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ. ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐาน แห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมี หลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัดจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อ เป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตามแต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์ นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ. สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอม จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนอง อัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2537 อ. ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หลังจากนั้น อ. และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวด วันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็น ผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537 เป็นต้นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัด ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืม และผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาจำนอง
แม้หนี้เงินกู้ซึ่ง อ.สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์ เป็นหนี้ที่ อ.ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของ อ.ฝ่ายเดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ยินยอมให้ อ.กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่ อ.ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) จำเลยในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับ อ.ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้
หนี้เงินกู้ที่ อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ.สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดย อ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ.ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตาม แต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ.สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21มีนาคม 2537 อ.ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หลังจากนั้น อ.และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้
หนี้เงินกู้ที่ อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ.สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดย อ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ.ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตาม แต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ.สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21มีนาคม 2537 อ.ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หลังจากนั้น อ.และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย, สิทธิบังคับคดีจำนอง, ความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง
จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การข้อ 2 ว่า จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ และไม่เคยเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยคนใดที่มีภาระจำต้องชำระหนี้แก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 5 จะมิได้ให้เหตุผลหรือรายละเอียดแห่งการปฏิเสธไว้แต่คำให้การของจำเลยที่ 2และที่ 5 ดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การต่อไปในข้อที่ 9 ก็เป็นเพียงคำให้การที่หยิบยกข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นต่อสู้ว่า หากจำเลยที่ 2 และที่ 5 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 5 ก็ยังหลุดพ้นจากความรับผิดต่อผู้ให้กู้ โดยเหตุที่ผู้ให้กู้ได้ปล่อยให้ทรัพย์จำนองหลุดพ้น มิใช่เป็นคำให้การที่ยอมรับ หรือถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 รับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงมิได้ขัดแย้งกันเอง หรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ และต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การปฏิเสธในเรื่องการทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นประเด็นที่โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5ทำสัญญาค้ำประกัน สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานยังมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่า จำเลยที่ 2 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เป็นผลให้คดีโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 ดังนี้คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน แม้ตามสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าผู้กู้ได้กู้เงินจากโจทก์จำนวน 3,000,000 บาท และในขณะทำหนังสือสัญญานี้ผู้กู้ได้รับเงินไปครบถ้วนและเรียกร้อยแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์และที่โจทก์นำสืบได้ความว่า ในวันที่ทำสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์เพียง 2,000,000 บาทและหลังจากนั้นในวันที่ 20 มิถุนายน 2526 จำเลยที่ 1ได้รับเงินไปอีก 1,000,000 บาท กรณีหาจำเป็นที่โจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ในภายหลังอีกไม่ เพราะโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือในจำนวนเงิน 3,000,000 บาทที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นผู้กู้ยืมมาแสดงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แล้ว โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลถึงการรับเงินตามจำนวนที่ระบุในสัญญากู้เงินได้ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส.ซึ่งมิได้เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจหลักทรัพย์และเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 14 ต่อปี มาปรับแก่คดี เมื่อสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส. ตามเอกสารหมาย จ.6 กำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ19.5 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินจากจำเลยที่ 1 และไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้จำนองในอัตราเดียวกันด้วยได้ แต่โจทก์ยังมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 แม้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส.ตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์และโจทก์ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระดอกเบี้ยเสร็จสิ้นแล้วจึงนำมาชำระต้นเงิน ซึ่งชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 เช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แล้ว แม้ดอกเบี้ยนั้นจะเกินอัตราตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ ก็มีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ ที่จำเลยที่ 5 อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นรับฟังตารางคำนวณดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 มาวินิจฉัยเป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ไม่ชอบ เพราะเป็นเอกสารที่ทำขึ้นลอย ๆ นั้น เมื่อศาลศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1ได้ชำระดอกเบี้ยไปแล้วเพียงใดหรือไม่ โดยมิได้นำเอกสารหมาย จ.13 มาวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่โจทก์ ที่จำเลยที่ 5ฎีกาในข้อนี้ขึ้นมาอีก ศาลฎีกาจึงไม่จึงต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเป็นโมฆะเนื่องจากขาดอากรแสตมป์, ดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย, และการชำระหนี้ดอกเบี้ยเกิน
จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การข้อ 2 ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ และไม่เคยเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยคนใดที่มีภาระจำต้องชำระหนี้แก่โจทก์แม้จำเลยที่ 2 และที่ 5 จะมิได้ให้เหตุผลหรือรายละเอียดแห่งการปฏิเสธไว้แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 5 ดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์แล้ว ส่วนที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การต่อไปในข้อที่ 9 ก็เป็นเพียงคำให้การที่หยิบยกข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นต่อสู้ว่า หากจำเลยที่ 2และที่ 5 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 5 ก็ยังหลุดพ้นจากความรับผิดต่อผู้ให้กู้ โดยเหตุที่ผู้ให้กู้ได้ปล่อยให้ทรัพย์จำนองหลุดพ้น มิใช่เป็นคำให้การที่ยอมรับ หรือถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 รับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงมิได้ขัดแย้งกันเอง หรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ และต้องถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้การปฏิเสธในเรื่องการทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นประเด็นที่โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 5ทำสัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานยังมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่า จำเลยที่ 2 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เป็นผลให้คดีโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 5รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 680 ดังนี้ คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน
แม้ตามสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าผู้กู้ได้กู้เงินจากโจทก์จำนวน3,000,000 บาท และในขณะทำหนังสือสัญญานี้ผู้กู้ได้รับเงินไปครบถ้วนและเรียบร้อยแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์และที่โจทก์นำสืบได้ความว่า ในวันที่ทำสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์เพียง 2,000,000 บาท และหลังจากนั้นในวันที่ 20 มิถุนายน 2526 จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปอีก 1,000,000 บาทกรณีหาจำเป็นที่โจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ในภายหลังอีกไม่ เพราะโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือในจำนวนเงิน 3,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นผู้กู้ยืมมาแสดงตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 แล้ว โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลถึงการรับเงินตามจำนวนที่ระบุในสัญญากู้เงินได้
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส.ซึ่งมิได้เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจหลักทรัพย์และเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี มาปรับแก่คดี
เมื่อสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส.ตามเอกสารหมาย จ.6 กำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินจากจำเลยที่ 1 และไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้จำนองในอัตราเดียวกันด้วยได้ แต่โจทก์ยังมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาผิดนัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
แม้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส.ตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ และโจทก์ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระดอกเบี้ยเสร็จสิ้นแล้วจึงนำมาชำระต้นเงิน ซึ่งชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 329 เช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แล้ว แม้ดอกเบี้ยนั้นจะเกินอัตราตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ ก็มีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ
ที่จำเลยที่ 5 อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นรับฟังตารางคำนวณดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 มาวินิจฉัยเป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ไม่ชอบ เพราะเป็นเอกสารที่ทำขึ้นลอย ๆ นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระดอกเบี้ยไปแล้วเพียงใดหรือไม่ โดยมิได้นำเอกสารหมายจ.13 มาวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่โจทก์ ที่จำเลยที่ 5 ฎีกาในข้อนี้ขึ้นมาอีก ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
สัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานยังมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่า จำเลยที่ 2 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เป็นผลให้คดีโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 5รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 680 ดังนี้ คดีของโจทก์จึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ จำเลยที่ 2 และที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน
แม้ตามสัญญากู้เงินจะมีข้อความว่าผู้กู้ได้กู้เงินจากโจทก์จำนวน3,000,000 บาท และในขณะทำหนังสือสัญญานี้ผู้กู้ได้รับเงินไปครบถ้วนและเรียบร้อยแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์และที่โจทก์นำสืบได้ความว่า ในวันที่ทำสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากโจทก์เพียง 2,000,000 บาท และหลังจากนั้นในวันที่ 20 มิถุนายน 2526 จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปอีก 1,000,000 บาทกรณีหาจำเป็นที่โจทก์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจำนวน 1,000,000 บาท ในภายหลังอีกไม่ เพราะโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือในจำนวนเงิน 3,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นผู้กู้ยืมมาแสดงตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 แล้ว โจทก์ย่อมนำสืบพยานบุคคลถึงการรับเงินตามจำนวนที่ระบุในสัญญากู้เงินได้
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้ยืมจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส.ซึ่งมิได้เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนหรือธุรกิจหลักทรัพย์และเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ จึงต้องนำ ป.พ.พ.มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี มาปรับแก่คดี
เมื่อสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส.ตามเอกสารหมาย จ.6 กำหนดดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินจากจำเลยที่ 1 และไม่มีสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 5 ในฐานะผู้จำนองในอัตราเดียวกันด้วยได้ แต่โจทก์ยังมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาผิดนัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 224
แม้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างจำเลยที่ 1 กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส.ตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ และโจทก์ได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระดอกเบี้ยเสร็จสิ้นแล้วจึงนำมาชำระต้นเงิน ซึ่งชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 329 เช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แล้ว แม้ดอกเบี้ยนั้นจะเกินอัตราตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ ก็มีผลเท่ากับว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันต้องชำระ
ที่จำเลยที่ 5 อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นรับฟังตารางคำนวณดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 มาวินิจฉัยเป็นคุณแก่ฝ่ายโจทก์ไม่ชอบ เพราะเป็นเอกสารที่ทำขึ้นลอย ๆ นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระดอกเบี้ยไปแล้วเพียงใดหรือไม่ โดยมิได้นำเอกสารหมายจ.13 มาวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่โจทก์ ที่จำเลยที่ 5 ฎีกาในข้อนี้ขึ้นมาอีก ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมเงิน: การเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินกู้และดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุชัดเจนว่าจำเลยได้รับเงิน80,000 บาท ไปแล้วในวันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวน 80,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากโจทก์นำหนี้เงินกู้เดิม10,000 บาท รวมกับยอดหนี้เงินกู้ใหม่ 13,000 บาท แล้วโจทก์คิดต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท โดยให้จำเลยผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาทเป็นเวลา 70 เดือน เป็นการนำสืบว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใดไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) แต่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้
จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือนเมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ.มาตรา 161 และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลย คดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย
จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือนเมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
ป.วิ.พ.มาตรา 161 และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลย คดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อตกลงในสัญญากู้ยืมเงิน, ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด, และอำนาจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความระบุชัดเจนว่าจำเลยได้รับเงิน80,000 บาท ไปแล้วในวันทำสัญญา การที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินเต็มตามจำนวน 80,000 บาท ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เนื่องจากโจทก์นำหนี้เงินกู้เดิม 10,000 บาทรวมกับยอดหนี้เงินกู้ใหม่ 13,000 บาท แล้วโจทก์คิดต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท โดยให้จำเลยผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือน เป็นการนำสืบว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนเท่าใด ไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)แต่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามมาตรา 94 วรรคท้าย จำเลยย่อมนำสืบได้ จำเลยกู้เงินโจทก์ 23,000 บาท มิใช่ 80,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน และโจทก์คิดดอกเบี้ยโดยนำต้นเงินรวมกับดอกเบี้ยเป็นจำนวน 70,000 บาท แล้วให้จำเลยชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 70 เดือน เมื่อคำนวณแล้วได้เป็นอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161และ 167 บัญญัติให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ ดังนั้น แม้ว่าในคำให้การของจำเลยมิได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยคดีนี้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง คำให้การของจำเลยที่ขอให้ศาลไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทและที่จำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยไม่ใช่คำขอท้ายคำฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ทำให้เช็คเป็นโมฆะ, สิทธิเรียกร้องต้นเงินยังคงอยู่
แม้จำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าเช็คพิพาทมีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทบต้นไว้ในเช็คนั้นด้วยจึงเป็นโมฆะทั้งฉบับ ทั้งท้ายคำให้การยังมีคำขอให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนของเงินที่เป็นดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะ แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ไม่ชอบ
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้เดิมซึ่งจำเลยกู้ยืมจากโจทก์จำนวน 100,000 บาทโดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ในการเรียกดอกเบี้ยเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงิน เพราะส่วนของนิติกรรมที่เป็นโมฆะคือการคิดดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ในนิติกรรมกู้ยืมเงินเท่านั้น ส่วนต้นเงินที่กู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานยังสมบูรณ์อยู่แยกออกจากกันได้ สำหรับเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืม เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้กู้ยืมและโจทก์ยอมรับเอาเช็คนั้นแทนการชำระหนี้โดยใช้เงิน หนี้กู้ยืมจะระงับไปก็ต่อเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 โจทก์จึงมีสิทธิอาศัยเช็คพิพาทเป็นมูลหนี้ฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงิน เพราะส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแล้วจำเลยจะไม่ยอม รับผิดตามเช็คเสียเลยไม่ได้ กรณีไม่ใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้เดิมซึ่งจำเลยกู้ยืมจากโจทก์จำนวน 100,000 บาทโดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ในการเรียกดอกเบี้ยเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงิน เพราะส่วนของนิติกรรมที่เป็นโมฆะคือการคิดดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ในนิติกรรมกู้ยืมเงินเท่านั้น ส่วนต้นเงินที่กู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานยังสมบูรณ์อยู่แยกออกจากกันได้ สำหรับเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืม เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้กู้ยืมและโจทก์ยอมรับเอาเช็คนั้นแทนการชำระหนี้โดยใช้เงิน หนี้กู้ยืมจะระงับไปก็ต่อเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 โจทก์จึงมีสิทธิอาศัยเช็คพิพาทเป็นมูลหนี้ฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงิน เพราะส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแล้วจำเลยจะไม่ยอม รับผิดตามเช็คเสียเลยไม่ได้ กรณีไม่ใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท-ดอกเบี้ยเกินอัตรา: แม้เช็คไม่ได้เป็นโมฆะทั้งหมด แต่ดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแต่ต้นเงิน
แม้จำเลยมิได้ให้การว่าเช็คพิพาทมีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทบต้นไว้ด้วยเช็คพิพาทจึงเป็นโมฆะทั้งฉบับ แต่ท้ายคำให้การก็มีคำขอให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนดอกเบี้ยนี้ด้วย ทั้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาได้และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยออกเช็คพิพาทให้เพื่อชำระหนี้เงินกู้จากโจทก์โดยมีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ แต่โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากดอกเบี้ยซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ได้ ส่วนเช็คพิพาทเป็นนิติกรรมคนละอันกับนิติกรรมการกู้ยืมเป็นเช็คที่สมบูรณ์มิใช่เช็คพิพาทตกเป็นโมฆะทั้งหมด โจทก์มีสิทธิอาศัยเช็คดังกล่าวฟ้องจำเลยได้ แต่จำเลยคงต้องรับผิดเพียงต้นเงินเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อสัญญากู้ และขอบเขตของความโมฆะ
ปัญหาที่ว่าสัญญากู้ซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเป็นเงินต้นด้วยเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นมาในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
การที่โจทก์นำดอกเบี้ยล่วงหน้าที่คิดจากจำเลยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 654 ไปรวมเป็นต้นเงินที่กู้ยืมตามสัญญากู้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ แต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน ยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับและในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้
การที่โจทก์นำดอกเบี้ยล่วงหน้าที่คิดจากจำเลยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 654 ไปรวมเป็นต้นเงินที่กู้ยืมตามสัญญากู้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ แต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน ยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับและในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้