คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 ม. 3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: ผลกระทบต่อสัญญากู้ และการบังคับคดี
ปัญหาที่ว่าสัญญากู้ซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเป็นเงินต้นด้วยเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงยกขึ้นมาในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง การที่โจทก์นำดอกเบี้ยล่วงหน้าที่คิดจากจำเลยในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 ไปรวมเป็นต้นเงินที่กู้ยืมตามสัญญากู้เฉพาะดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ แต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25 ต่อเดือน ยังคงสมบูรณ์ สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ และในส่วนที่สมบูรณ์โจทก์ย่อมนำมาใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฟ้องร้องบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้: โมฆะเฉพาะส่วนดอกเบี้ย แต่เงินต้นยังใช้บังคับได้
จำนวนต้นเงินในสัญญากู้ได้รวมดอกเบี้ยที่คิดล่วงหน้าและเป็นดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะแต่หนี้เงินต้นและข้อตกลงให้เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.25ต่อเดือนยังคงสมบูรณ์ ปัญหาว่าสัญญากู้ซึ่งมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเป็นเงินต้นด้วยเป็นโมฆะหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย โมฆะ แม้จำเลยยอมรับชำระ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 84,000บาท แต่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้จำนวนดังกล่าวเมื่อจำเลยให้การว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 33,000 บาท โดยได้ความว่าแยกเป็นหนี้ต้นเงินจำนวน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือ 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 10,000 บาทได้ ส่วนเงินอีก 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะให้การยอมรับจะชำระเงินจำนวนนี้ ก็บังคับให้ไม่ได้ เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย และการชำระหนี้จำนองแทนเจ้าหนี้
เช็ค พิพาทที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้เดิม ซึ่ง จำเลยกู้เงินโจทก์โดย มี ดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ต่อเดือน รวมอยู่ในจำนวนเงินที่ลงไว้ในเช็ค ด้วย นั้น ดอกเบี้ย ทั้งหมดย่อมตก เป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ในการเรียกดอกเบี้ย เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเฉพาะ ต้นเงินเท่านั้น แม้จำเลยจะให้การและนำสืบว่าได้ นำเงิน 110,000 บาท ไปเข้าบัญชีโจทก์เพื่อชำระหนี้จำนองแทนโจทก์ ก็จะถือว่าจำเลยชำระเงินกู้ยืมต่อ โจทก์เป็นเงิน 110,000 บาท แล้วจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกหาได้ไม่ เพราะจำเลยมิได้กล่าวในคำให้การขอให้ศาลหักกลบลบหนี้ให้จำเลยหรือโดยการฟ้องแย้ง จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะบังคับให้เป็นไปตาม ที่จำเลยให้การเช่นนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2333/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา, เช็คพิพาท, หักกลบลบหนี้
เช็คพิพาทที่สั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้เดิมซึ่งจำเลยกู้เงินโจทก์โดยมีดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ต่อเดือน รวมอยู่ในจำนวนเงินที่ลงไว้ในเช็ค ด้วย นั้น ดอกเบี้ย ทั้งหมดย่อมตก เป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ในการเรียกดอกเบี้ย เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเฉพาะ ต้นเงินเท่านั้น
แม้จำเลยจะให้การและนำสืบว่าได้ นำเงิน 110,000 บาท ไปเข้าบัญชีโจทก์เพื่อชำระหนี้จำนองแทนโจทก์ ก็จะถือว่าจำเลยชำระเงินกู้ยืมต่อ โจทก์เป็นเงิน 110,000 บาท แล้วจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกหาได้ไม่ เพราะจำเลยมิได้กล่าวในคำให้การขอให้ศาลหักกลบลบหนี้ให้จำเลยหรือโดยการฟ้องแย้ง จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะบังคับให้เป็นไปตาม ที่จำเลยให้การเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5043/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทที่มีดอกเบี้ยเกินอัตรา: ผู้สั่งจ่ายไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากมูลหนี้ผิดกฎหมาย
เมื่อเช็คพิพาทออกในมูลหนี้กู้ยืมเงินและมี ดอกเบี้ย เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมอยู่ด้วย แม้ต่อมาธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงิน เพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่าย ผู้ออกเช็คก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5043/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทจากหนี้ผิดกฎหมาย: ผู้ออกเช็คไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เมื่อเช็คพิพาทออกในมูลหนี้กู้ยืมเงินและมีดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมอยู่ด้วย แม้ต่อมาธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะเงินในบัญชีไม่พอจ่าย ผู้ออกเช็คก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สิทธิเรียกดอกเบี้ยของบริษัทเงินทุนที่ไม่ได้รับการระบุเป็นสถาบันการเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม รับจำนอง เดิมชื่อบริษัท ท.จำกัดต่อมาได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นบริษัทเงินทุน ท.จำกัด มีรายละเอียดตามหนังสือรับรองท้ายฟ้องดังนี้ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตามพ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาปรับแก่คดี
โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โมฆะ แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืม รับจำนอง เดิมชื่อบริษัท ท.จำกัดต่อมาได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นบริษัทเงินทุน ท.จำกัด มีรายละเอียดตามหนังสือรับรองท้ายฟ้องดังนี้ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินพ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 654 ที่ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีมาปรับแก่คดี
โจทก์เรียกดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยในอัตราร้อยละ 20 ต่อปีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช 2475 ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามสัญญา แต่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยโดยเหตุผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาเป็นโมฆะ, การชำระหนี้โดยไม่มีความผูกพัน, และการหักหนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยสัญญากู้ระบุว่าดอกเบี้ยตามกฎหมายแต่โจทก์นำสืบว่าขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ5ต่อเดือนต่อมาลดลงเหลือร้อยละ3ต่อเดือนจำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายจำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษจึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้องเมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพุทธศักราช2475มาตรา3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้.
of 11