คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม กรพุกกะณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 474 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยคดีต้องอาศัยพยานหลักฐานจากการนำสืบของคู่ความ การงดสืบพยานก่อนพิพากษาเป็นวิธีปฏิบัติที่ไม่ชอบ
คดีมีประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องคำให้การว่า จำเลยซื้อที่พิพาทจากโจทก์ หรือโจทก์มอบที่พิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ย ในการวินิจฉัยคดีนั้น ศาลจะเชื่อประการใดก็โดยอาศัยข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความซึ่งเสร็จสิ้นแล้ว ลำพังแต่คำเบิกความของโจทก์ผู้เดียวซึ่งเบิกความตอบทนายโจทก์และตอบทนายจำเลยไม่ตรงกัน จะฟังเป็นความจริงเป็นดังที่ตอบทนายโจทก์หรือทนายจำเลยประการหนึ่งประการใดย่อมไม่ได้ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย โดยฟังคำเบิกความของโจทก์คนเดียวซึ่งเบิกความตอบทนายโจทก์และตอบทนายจำเลยไม่ตรงกัน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์หมดสิทธิฟ้องจำเลย และพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียนั้น จึงเป็นการมิชอบด้วยวิธีพิจารณาความศาลสูงย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานของคู่ความต่อไปจนสิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อพิพาทสิทธิในที่ดิน ต้องอาศัยพยานหลักฐานจากคู่ความอย่างครบถ้วน การงดสืบพยานไม่ชอบ
คดีมีประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องคำให้การว่า จำเลยซื้อที่พิพาทจากโจทก์ หรือโจทก์มอบที่พิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ย ในการวินิจฉัยคดีนั้น ศาลจะเชื่อประการใดก็โดยอาศัยข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความซึ่งเสร็จสิ้นแล้ว ลำพังแต่คำเบิกความของโจทก์ผู้เดียว ซึ่งเบิกความตอบทนายโจทก์และตอบทนายจำเลยไม่ตรงกัน จะฟังเป็นความจริงเป็นดังที่ตอบทนายโจทก์หรือทนายจำเลยประการหนึ่งประการใดย่อมไม่ได้ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย โดยฟังคำเบิกความของโจทก์คนเดียวซึ่งเบิกความตอบทนายโจทก์และตอบทนายจำเลยไม่ตรงกัน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์หมดสิทธิฟ้องจำเลย และพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียนั้น จึงเป็นการมิชอบด้วยวิธีพิจารณาความศาลสูงย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานของคู่ความต่อไปจนสิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขอให้บังคับคดีซ้ำ ศาลต้องพิจารณาว่าลูกหนี้ผิดนัดหรือไม่ และหมายบังคับคดีเดิมยังใช้ได้หรือไม่
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ต่อเมื่อลูกหนี้มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
ในคดีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากสามีภรรยามีคำบังคับให้แบ่งสินสมรสกัน และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่าจนกว่าโจทก์จะจดทะเบียนสมรสกับสามีใหม่นั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องว่าไม่อาจตกลงแบ่งสินสมรสกันได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานกองหมายให้ทำการยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด ต้องถือว่าหมายบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นตั้งให้หัวหน้ากองหมายจัดการยึดสินสมรสนั้นก็เพื่อแบ่งให้โจทก์จำเลยเท่านั้น ข้อความในหมายบังคับคดีนอกนั้นหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ที่จะขอให้บังคับไม่ เป็นแต่เท้าความถึงคำพิพากษาซึ่งเกินกว่าที่โจทก์ขอเมื่อได้จัดการตามหมายบังคับคดีฉบับแรกไปแล้ว โจทก์ได้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีอีกฉบับหนึ่งอ้างว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์เป็นเวลา 32 เดือน ซึ่งศาลก็ได้ออกหมายบังคับคดีให้ตามคำร้องขอของโจทก์ และจำเลยได้ชำระ เงินให้ตามหมายบังคับคดีครบถ้วนแล้วภายหลังโจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลย เพื่อขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูจำนวนใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังโดยอาศัยหมายบังคับคดีเดิมสองฉบับที่จำเลยได้ปฏิบัติตามหมายบังคับคดีครบถ้วนแล้ว และโดยที่ศาลมิได้ออกหมายบังคับคดีให้ใหม่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีค่าอุปการะเลี้ยงดูและการยึดทรัพย์ซ้ำ โดยไม่มีหมายบังคับคดีใหม่
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ต่อเมื่อลูกหนี้มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
ในคดีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากสามีภรรยา มีคำบังคับให้แบ่งสินสมรสกัน และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่าจนกว่าโจทก์จะจดทะเบียนสมรสกับสามีใหม่นั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องว่าไม่อาจตกลงแบ่งสินสมรสกันได้ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานกองหมายให้ทำการยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด ต้องถือว่าหมายบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นตั้งให้หัวหน้ากองหมายจัดการยึดสินสมรสนั้นก็เพื่อแบ่งให้โจทก์จำเลยเท่านั้น ข้อความในหมายบังคับคดีนอกนั้นหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ที่จะขอให้บังคับไม่ เป็นแต่เท้าความถึงคำพิพากษาซึ่งเกินกว่าที่โจทก์ขอ เมื่อได้จัดการตามหมายบังคับคดีฉบับแรกไปแล้ว โจทก์ได้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีอีกฉบับหนึ่งอ้างว่าจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์เป็นเวลา 32 เดือน ซึ่งศาลก็ได้ออกหมายบังคับคดีให้ตามคำร้องขอของโจทก์ และจำเลยได้ชำระเงินให้ตามหมายบังคับคดีครบถ้วนแล้วภายหลังโจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูจำนวนใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังโดยอาศัยหมายบังคับคดีเดิมสองฉบับที่จำเลยได้ปฏิบัติตามหมายบังคับคดีครบถ้วนแล้ว และโดยที่ศาลมิได้ออกหมายบังคับคดีให้ใหม่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง - ตัวแทน - สัญญาเช่าซื้อ - การรับข้อเท็จจริงของจำเลย - การนำสืบหลักฐาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ในสัญญาเช่าซื้อซึ่งแนบมาท้ายฟ้องระบุด้วยว่าผู้ลงชื่อเป็นคู่สัญญากับจำเลยเป็นผู้แทนผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ จำเลยก็ให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์มิได้กล่าวว่าสัญญาไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ทำสัญญาเช่าซื้อถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997-998/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของโรงแรมต่อทรัพย์สินของแขก: 'ของมีค่า' ตามมาตรา 675 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เครื่องพิมพ์ดีดชนิดกระเป๋าหิ้วราคา 2,700 บาท และเครื่องบวกเลขชนิดโยกด้วยมือราคา 4,800 บาท ไม่เป็น 'ของมีค่าอื่น ๆ' ตามความหมายของมาตรา 675 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อผู้เดินทางนำมายังโรงแรมแล้วเกิดหายไปจากห้องพักเจ้าสำนักโรงแรมก็ต้องรับผิดชดใช้ราคา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับสิทธิเจ้าหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: ภาษีที่ถึงกำหนดชำระเกิน 6 เดือนก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้หนีภาษีอากรจะเป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษและบัญญัติขึ้นภายหลังได้กำหนดลำดับสิทธิในการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไว้ตามมาตรา 130 จึงเป็นข้อยกเว้นจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ในการขอรับชำระหนี้ภาษีอากร จึงต้องถือตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสำคัญ
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: เกิน 6 เดือน vs. ภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้หนีภาษีอากรจะเป็นหนี้บุริมสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษและบัญญัติขึ้นภายหลังได้กำหนดลำดับสิทธิในการที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ไว้ตามมาตรา 130 จึงเป็นข้อยกเว้นจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ในการขอรับชำระหนี้ภาษีอากร จึงต้องถือตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสำคัญ
ภาษีอากรถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) นั้นคือ ภาษีอากรที่ถึงกำหนดชำระระหว่าง 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั่นเอง มิได้รวมถึงภาษีอากรที่ได้ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างใด หนี้ภาษีการค้าที่ลูกค้าติดค้างอยู่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือนก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 130(6) คงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8) เท่านั้น
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84, 85 ทวิ กำหนดให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าแต่ละเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปมาตรา 86 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 85 ทวิ และมาตรา 89 ทวิ วรรคสามบัญญัติว่า การคำนวณเงินเพิ่ม ฯลฯ ให้เริ่มนับเมื่อพ้นสิบห้าวันถัดจากเดือนภาษี ซึ่งหมายความว่าเงินเพิ่มนั้นจะเริ่มคิดคำนวณทันทีหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระภาษีการค้าภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หาใช่นับแต่ภายหลังที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินภาษีไปยังลูกหนี้ แล้วลูกหนี้ไม่ชำระภาษีภายในกำหนด 30 วัน นับแต่เจ้าหนี้แจ้งการประเมินไม่ ฉะนั้นแม้เจ้าหนี้เพิ่งแจ้งการประเมินภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ยังคงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ตรี บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือว่าเป็นเงินภาษี และมาตรา 89 ทวิ บัญญัติให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ฉะนั้น เงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จึงต้องแยกพิจารณาเป็น 2 ตอน เงินเพิ่มสำหรับระยะเวลา 6 เดือนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาล เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 130(6) ส่วนเงินเพิ่มและภาษีบำรุงเทศบาลที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน อยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีวันที่ออก ไม่ถือเป็นความผิดอาญาตาม พ.ร.บ. เช็ค แม้ธนาคารปฏิเสธจ่าย
จำเลยออกเช็คให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ แต่ไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายในขณะที่ออกให้ โดยจำเลยตกลงว่า ถ้าจำเลยไม่นำเงินมาชำระภายในวันที่ 30 มีนาคม 2514 ก็ให้โจทย์นำเช็คไปขึ้นเงินได้ วันที่ 5 เมษายน 2514 โจทก์นำเช็คไปขอรับเงิน เจ้าหน้าที่ธนาคารเป็นผู้ลงวันที่ในขณะนั้น ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยระบุว่าเงินในบัญชีไม่พอจ่าย การที่จำเลยออกเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้อออกเช็คกระทำผิด แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 ประกอบกับมาตรา 989 จะให้สิทธิผู้ทรงเช็คไว้ว่า ถ้าเช็ครายใดมิได้ลงวันที่ออกเช็ค ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดกระทำการโดยสุจริตจะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงก็ได้นั้น กฎหมายเพียงแต่ให้เช็คฉบับนั้นเป็นเช็คที่มีรายการสมบูรณ์ตามกฎหมาย ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น หามีผลที่จะลงโทษผู้ออกเช็คในทางอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(2) (3) ไม่ (อ้างนับคำพิพากษาฎีกาที่ 89-90/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีวันที่ออก ไม่ถือเป็นความผิดอาญาตาม พ.ร.บ. เช็ค แม้ผู้ทรงเช็คจะลงวันที่เอง
จำเลยออกเช็คโดยไม่มีวันที่สั่งจ่าย ถือได้ว่าไม่มีวันที่จำเลยกระทำผิด แม้ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งคนใดกระทำการโดยสุจริตจะจดวันที่ถูกต้องแท้จริงลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910, 989 ก็มีผลแต่เพียงเช็คนั้นมีรายการสมบูรณ์ตามกฎหมายฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น หามีผลที่จะลงโทษจำเลยทางอาญาตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3(2)(3) ไม่
of 48