พบผลลัพธ์ทั้งหมด 474 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: ‘ผู้อื่น’ ตาม ม.350 อาญา หมายถึงบุคคลอื่นนอกเหนือจากลูกหนี้
คำว่า "ผู้อื่น" ตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้นหมายความถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ร่วม แล้วจำเลยที่ 1โอนที่ดินของจำเลยที่ 1ให้จำเลยที่ 3 ผู้มิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ร่วม ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3เป็นผู้อื่น ตามความหมายแห่งมาตรา 350 นั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: 'ผู้อื่น' ตาม ม.350 อาญา
คำว่า 'ผู้อื่น' ตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น หมายความถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ร่วม แล้วจำเลยที่ 1โอนที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 3 ผู้มิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ร่วม ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้อื่น ตามความหมายแห่งมาตรา 350 นั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการอุทธรณ์ฎีกา ศาลต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงจะอุทธรณ์ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้จึงจะอุทธรณ์ฎีกาได้
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2514เวลา 10.00 นาฬิกา และพิพากษาคดีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม2514 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยย่อมมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ เมื่อมิได้โต้แย้งไว้จำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาเพื่อขอสืบพยานต่อไปอีกมิได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานของคู่ความ แล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยอุทธรณ์ฎีกาขอให้สั่งศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ และโต้เถียงในเรื่องการเรียกค่าขึ้นศาล และการใช้แทนค่าฤชาธรรมเนียมโดยมิได้ขอให้ชี้ขาดแพ้ชนะในข้อหาแห่งคดีหรือขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี จำเลยควรเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา เพียงศาลละ 50 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2 ก.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2514เวลา 10.00 นาฬิกา และพิพากษาคดีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม2514 เวลา 13.30 นาฬิกา จำเลยย่อมมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้ เมื่อมิได้โต้แย้งไว้จำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาเพื่อขอสืบพยานต่อไปอีกมิได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานของคู่ความ แล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยอุทธรณ์ฎีกาขอให้สั่งศาลชั้นต้นพิจารณาสืบพยานต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ และโต้เถียงในเรื่องการเรียกค่าขึ้นศาล และการใช้แทนค่าฤชาธรรมเนียมโดยมิได้ขอให้ชี้ขาดแพ้ชนะในข้อหาแห่งคดีหรือขอให้พิพากษาให้จำเลยชนะคดี จำเลยควรเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา เพียงศาลละ 50 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2 ก.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกอิสลามและการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ หากไม่ได้อยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล
แม้โจทก์และจำเลยจะเป็นอิสลามศาสนิกและเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่ถ้ามิใช่เป็นคดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลแล้วก็จะนำลัทธิศาสนาอิสลามหรือกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการแบ่งมรดกไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาสยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 ฉะนั้น ถ้าได้มีการนำวิธีการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 1750 ด้วย จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆ และไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้นเลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้ว ทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆ และไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้นเลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้ว ทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกอิสลาม vs. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: หลักเกณฑ์การบังคับใช้และการแบ่งสินสมรส
แม้โจทก์และจำเลยจะเป็นอิสลามศาสนิกและเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่ถ้ามิใช่เป็น คดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล แล้ว ก็จะนำลัทธิศาสนาอิสลามหรือกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับ ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการแบ่งมรดกไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาสยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 ฉะนั้น ถ้าได้มีการนำวิธีการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้ในการแบ่งปันทรัพย์มรดก ก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 1750ด้วย จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆและไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้น เลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้วทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆและไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้น เลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้วทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองดีกว่าสิทธิครอบครองที่ยังไม่ได้จดทะเบียน แม้มีคำพิพากษารับรองแล้ว ผู้รับจำนองสุจริตย่อมมีสิทธิบังคับจำนองได้
สิทธิจำนองเป็นสิทธิที่ติดอยู่กับตัวทรัพย์จำนอง เมื่อโจทก์ได้สิทธิจำนองที่ดินของจำเลยทั้งแปลงก่อนแล้ว แม้ต่อมาในภายหลังผู้ร้องจะได้กรรมสิทธิ์มาโดยทางครอบครองในที่ดินบางส่วนของจำเลยและมีคำพิพากษารับรองก็ตาม แต่เมื่อยังไม่ได้จดทะเบียน จะยกขึ้นต่อสู้ผู้รับจำนองซึ่งได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตไม่ได้ สิทธิของโจทก์จึงดีกว่าสิทธิที่ผู้ร้องอ้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1064/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3282/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยบันดาลโทสะ ลดโทษเนื่องจากอายุและคำให้การที่เป็นประโยชน์
จำเลยกับพวกร่วมกันฆ่าผู้ตายเพราะบันดาลโทสะ และขณะกระทำผิดจำเลยมีอายุเพียง ๑๗ ปีเศษ ซึ่งศาล พิจารณาเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลย จึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘, ๘๓ ลดมาตราส่วนโทษตามมาตรา ๗๖ ลงหนึ่งในสาม และเนื่องจากจำเลยฆ่าผู้ตายเพราะบันดาลโทสะกรณีต้องด้วยมาตรา ๗๒ จึงให้จำคุกจำเลย ๙ ปี คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณา เป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามมาตรา ๗๘ ให้อีก หนึ่งในสามคงจำคุกจำเลย ๖ ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3282/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยบันดาลโทสะ ลดโทษเนื่องจากอายุและคำให้การที่เป็นประโยชน์
จำเลยกับพวกร่วมกันฆ่าผู้ตายเพราะบันดาลโทสะ และขณะกระทำผิดจำเลยมีอายุเพียง 17 ปีเศษ ซึ่งศาลพิจารณาเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลย จึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,83 ลดมาตราส่วนโทษตามมาตรา 76 ลงหนึ่งในสาม และเนื่องจากจำเลยฆ่าผู้ตายเพราะบันดาลโทสะกรณีต้องด้วยมาตรา 72 จึงให้จำคุกจำเลย 9 ปี คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา เป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามมาตรา 78 ให้อีกหนึ่งในสามคงจำคุกจำเลย 6 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยลายเซ็นปลอมและการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
จำเลยที่ 1 ปลอมลายเซ็นชื่อโจทก์ลงในใบมอบอำนาจร่วมกับลายเซ็นแท้จริงของจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 จัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลง รวมทั้งส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 รับโอนแล้วได้ครอบครองที่พิพาทตลอดมา ดังนี้การโอนที่พิพาทส่วนของโจทก์ตามลายเซ็นปลอมนั้น ไม่ผูกพันโจทก์ที่พิพาทอันเป็นส่วนของโจทก์ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ครอบครองที่พิพาทอันเป็นส่วนของโจทก์โดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี โจทก์ได้รู้เห็นแล้วยังคงปล่อยให้จำเลยที่ 3ครอบครองตลอดมา จำเลยที่ 3 ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทส่วนของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินด้วยลายเซ็นปลอมและการครอบครองปรปักษ์ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยที่ 1 ปลอมลายเซ็นชื่อโจทก์ลงในใบมอบอำนาจร่วมกับลายเซ็นแท้จริงของจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 จัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลง รวมทั้งส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 รับโอนแล้วได้ครอบครองที่พิพาทตลอดมา ดังนี้ การโอนที่พิพาทส่วนของโจทก์ตามลายเซ็นปลอมนั้น ไม่ผูกพันโจทก์ ที่พิพาทอันเป็นส่วนของโจทก์ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ครอบครองที่พิพาทอันเป็นส่วนของโจทก์โดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี โจทก์ได้รู้เห็นแล้วยังคงปล่อยให้จำเลยที่ 3ครอบครองตลอดมา จำเลยที่ 3 ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทส่วนของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382