คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม กรพุกกะณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 474 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ยึดตามกรรมสิทธิ์เดิม แม้กรรมสิทธิ์จะเปลี่ยนภายหลัง ศาลยึดข้อเท็จจริงเดิมที่ฟังเป็นยุติ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าให้ออกจากห้องพิพาทซึ่งมีค่าเช่าเดือนละ 80 บาท จำเลยให้การรับว่าได้เช่าห้องพิพาทจากโจทก์จริง แต่ต่อสู้ว่า ห้องพิพาทมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แต่เป็นของกรมธนารักษ์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ข้อต่อสู้ของจำเลยเช่นนี้หาใช่ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1619/2506) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 และ 247ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าห้องพิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามนั้น แม้ต่อมาภายหลังจะมีคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเรื่องอื่นวินิจฉัยว่าห้องพิพาทเป็นของกรมธนารักษ์กระทรวงการคลังก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงซึ่งศาลชั้นต้นฟังเป็นยุติแล้วในคดีนี้ได้
เมื่อจำเลยรับว่าได้เช่าห้องพิพาทจากโจทก์ จำเลยจะเถียงสิทธิของโจทก์ผู้ให้เช่าว่าห้องพิพาทเป็นของผู้อื่น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1531-1532/2499) ข้อที่จำเลยอ้างว่าได้ทำสัญญาเช่าจากกรมธนารักษ์ผู้เป็นเจ้าของแล้วจำเลยมีสิทธิจะอยู่และใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าได้นั้นเป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากคดีนี้ จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่ขึ้นอยู่กับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน แม้จะมีคำพิพากษาภายหลังก็เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วไม่ได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าให้ออกจากห้องพิพาทซึ่งมีค่าเช่าเดือนละ 80 บาท จำเลยให้การรับว่าได้เช่าห้องพิพาทจากโจทก์จริงแต่ต่อสู้ว่าห้องพิพาทมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ แต่เป็นของกรมธนารักษ์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ข้อต่อสู้ของจำเลยเช่นนี้หาใช่ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1619/2506)คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 และ 247ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าห้องพิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังเป็นยุติตามนั้น แม้ต่อมาภายหลังจะมีคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีเรื่องอื่นวินิจฉัยว่าห้องพิพาทเป็นของกรมธนารักษ์กระทรวงการคลังก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงซึ่งศาลชั้นต้นฟังเป็นยุติแล้วในคดีนี้ได้
เมื่อจำเลยรับว่าได้เช่าห้องพิพาทจากโจทก์ จำเลยจะเถียงสิทธิของโจทก์ผู้ให้เช่าว่าห้องพิพาทเป็นของผู้อื่น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1531 - 1532/2499) ข้อที่จำเลยอ้างว่าได้ทำสัญญาเช่าจากกรมธนารักษ์ผู้เป็นเจ้าของแล้วจำเลยมีสิทธิจะอยู่และใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าได้นั้น เป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากคดีนี้ จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องตัวแทนรับผิดตามสัญญาตัวแทน ไม่ใช่การเรียกค่าของตามปพพ.มาตรา 165(1)
จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของโจทก์ โดยหาผู้เช่าซื้อมาทำสัญญากับโจทก์โดยตรงและรับรถยนต์ไป ในการนี้จำเลยมีสิทธิได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1,000 บาท ต่อรถ 1 คัน และจำเลยหาผู้ใดมาเช่าซื้อ จำเลยต้องทำสัญญาค้ำประกันชดใช้เงินให้แก่โจทก์ในเมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญาทุกกรณี ส่วนการเก็บเงินค่าเช่าซื้อตามงวด จำเลยเป็นผู้เก็บส่งโจทก์ หากผู้เช่าซื้อผิดสัญญา จำเลยก็ยึดรถที่เช่าซื้อนั้นคืนโจทก์หรือใช้ราคาให้ตามสัญญา ในการนี้โจทก์คิดค่าตอบแทนให้จำเลย 7 เปอร์เซ็นต์ของราคารถ ต่อมาผู้เช่าซื้อรถยนต์บางรายชำระเงินค่าเช่าซื้อไม่ครบ โจทก์ทวงถามอยู่เสมอ จำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยติดค้างโจทก์ 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นสัญญาชดใช้ค่าสินค้าที่ผู้เช่าซื้อรถยนต์ค้างชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์รวมเป็นเงิน 210,500 บาท ฉบับที่ 2 เป็นสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยไปยึดรถยนต์คืนจากผู้เช่าซื้อที่ผิดสัญญาเช่าซื้อมาแล้วปล่อยให้รถตากแดดตากฝนจนได้รับความเสียหายเป็นเงิน 28,500 บาทกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยยอมรับผิดชำระค่าเช่าซื้อแทนผู้เช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่รวมทั้งยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ ในฐานะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์การฟ้องจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นการฟ้องตัวแทนให้รับผิดตามสัญญาตัวแทน หาใช่เป็นเรื่องที่พ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของซึ่งมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลยุติธรรมในคดีพระภิกษุไม่ปฏิบัติตามระเบียบของวัด: การโต้แย้งสิทธิทางแพ่งไม่ใช่เรื่องที่ต้องอาศัยคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคม
วัดโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุอาศัยอยู่ในวัดโจทก์ให้ออกไปจากวัดโจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ เจ้าอาวาสวัดโจทก์ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วยแม้ตามฟ้องจะอ้างเรื่องอื่นพาดพิงถึงพระธรรมวินัยด้วยก็ตามแต่เป็นเพียงข้ออ้างประกอบข้อกล่าวหาที่ว่าจำเลยไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสโจทก์ร่วมเท่านั้น มูลกรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิทางแพ่งของวัดโจทก์ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลและของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโจทก์ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอาศัยคำวินิจฉัยชี้ขาดของมหาเถรสมาคมเช่นกรณีพระภิกษุล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ศาลยุติธรรมจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 38(2)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลยุติธรรมพิจารณาคดีขับไล่พระภิกษุที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของวัด ไม่ใช่เรื่องที่ต้องอาศัยคำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคม
วัดโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุอาศัยอยู่ในวัดโจทก์ให้ออกไปจากวัดโจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ เจ้าอาวาสวัดโจทก์ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย แม้ตามฟ้องจะอ้างเรื่องอื่นพาดพิงถึงพระธรรมวินัยด้วยก็ตามแต่เป็นเพียงข้ออ้างประกอบข้อกล่าวหา ที่ว่าจำเลยไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสโจทก์ร่วมเท่านั้น มูลกรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิทางแพ่งของวัดโจทก์ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลและของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโจทก์ ไม่ใช่กรณีที่จะต้องอาศัยคำวินิจฉัยชี้ขาดของมหาเถรสมาคมเช่นกรณีพระภิกษุล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ศาลยุติธรรมจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 38(2) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1886/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยฎีกาในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่ง ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยประเด็นที่โจทก์ไม่ขอให้เปลี่ยนแปลงโทษ
คดีอาญาซึ่งโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นตายนั้น ประเด็นโดยตรงแห่งคดีมีแต่เพียงว่า จำเลยกระทำผิดโดยประมาทหรือไม่ การที่ศาลล่างกล่าวหาผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยนั้นเป็นเพียงเพื่อจะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษจำเลยเท่านั้น และข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งศาลที่จะพิจารณาคดีส่วนแพ่งจะต้องถือตามนั้นก็ต้องเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีอาญาโดยตรงเท่านั้น เมื่อโจทก์ฎีกาเพียงข้อเดียวว่าคดีควรฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว ผู้ตายมิได้ประมาทด้วย ส่วนข้ออื่น ๆรวมทั้งโทษที่ศาลอุทธรณ์วางไว้โจทก์พอใจแล้ว ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีนี้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1886/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยฎีกาในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่ง: ศาลฎีกาจะไม่วินิจฉัยเกินประเด็นที่ฎีกาขอ หากโจทก์พอใจในโทษ
คดีอาญาซึ่งโจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นตายนั้น ประเด็นโดยตรงแห่งคดีมีแต่เพียงว่าจำเลยกระทำผิดโดยประมาทหรือไม่ การที่ศาลล่างกล่าวหาผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยนั้น เป็นเพียงเพื่อจะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษจำเลยเท่านั้น และข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งศาลที่จะพิจารณาคดีส่วนแพ่งจะต้องถือตามนั้นก็ต้องเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีอาญาโดยตรงเท่านั้น เมื่อโจทก์ฎีกาเพียงข้อเดียวว่าคดีควรฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทฝ่ายเดียว ผู้ตายมิได้ประมาทด้วย ส่วนข้ออื่น ๆรวมทั้งโทษที่ศาลอุทธรณ์วางไว้โจทก์พอใจแล้ว ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้ เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีนี้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758-1759/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัดเป็นอสังหาริมทรัพย์พิเศษ การได้มาโดยรังวัดออกโฉนดหรือโอนทางทะเบียนใช้ยันวัดไม่ได้ แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์
ที่ดินของวัดนั้นกรรมสิทธิ์จะโอนไปได้ก็แต่โดยการออกพระราชบัญญัติเท่านั้น ที่พิพาทอยู่ในเขตพระพุทธบาทซึ่งพระเจ้าทรงธรรมได้อุทิศไว้แต่โบราณกาล โดยมีวัดพระพุทธบาทเป็นผู้ดูแล แม้จำเลยจะได้รับโฉนดสำหรับที่พิพาทมา ก็หาถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยการออกเป็นพระราชบัญญัติไม่ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาการได้ที่ดินมาโดยการรังวัดออกโฉนดหรือโดยการโอนชื่อทางทะเบียนใช้ยันต่อวัดได้แม้จำเลยจะได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเป็นเวลานานเท่าใด ก็ไม่มีทางที่จะแย่งเอากรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นของวัดไปเป็นของตนได้ และแม้ทางวัดจะได้ปล่อยปละละเลยไว้เป็นเวลานานกว่าจะได้ใช้สิทธิติดตามว่ากล่าวเอาจากจำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัดก็หาระงับสิ้นสุดไม่
โจทก์อ้างเอกสาร พระราชพงศาวดารเกี่ยวกับตำนานพระพุทธบาทเป็นพยานว่า พระพุทธบาทได้ถูกค้นพบในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2163 - 2271 แล้ว พระเจ้าทรงธรรมทรงโสมนัสศรัทธาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมหาเจดีย์สถานมีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาทและพระสังฆารามที่พระภิกษุสงฆ์อยู่บริบาล และได้ทรงพระราชอุทิศที่โยชน์หนึ่งโดยรอบรอยพระพุทธบาทถวายเป็นพุทธบูชากัลปนาผลนอกจากเอกสาร โจทก์ยังนำสืบผู้ที่สูงอายุเป็นพยานประกอบหลายปากว่าต่างได้รับทราบได้ยินได้ฟังสืบต่อกันมาตรงกันว่า พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงอุทิศที่ดินถวายโดยรอบพระพุทธบาทมีอาณาเขตถึงหนึ่งโยชน์โดยรอบ ข้อความที่เล่าสืบกันมาทางประวัติศาสตร์นี้รับฟังประกอบกับหลักฐานพระราชพงศาวดารของทางราชการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758-1759/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: การได้มาโดยโฉนดมิชอบ แม้ครอบครองนาน ก็มิอาจล้มล้างกรรมสิทธิ์เดิมได้
ที่ดินของวัดนั้นกรรมสิทธิ์จะโอนไปได้ก็แต่โดยการออกพระราชบัญญัติเท่านั้น ที่พิพาทอยู่ในเขตพระพุทธบาทซึ่งพระเจ้าทรงธรรมได้อุทิศไว้แต่โบราณกาลโดยมีวัดพระพุทธบาทเป็นผู้ดูแล แม้จำเลยจะได้รับโฉนดสำหรับที่พิพาทมา ก็หาถือได้ว่าเป็นการได้มาโดยการออกเป็นพระราชบัญญัติไม่ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาการได้ที่ดินมาโดยการรังวัดออกโฉนดหรือโดยการโอนชื่อทางทะเบียนใช้ยันต่อวัดได้แม้จำเลยจะได้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเป็นเวลานานเท่าใด ก็ไม่มีทางที่จะแย่งเอากรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นของวัดไปเป็นของตนได้ และแม้ทางวัดจะได้ปล่อยปละละเลยไว้เป็นเวลานานกว่าจะได้ใช้สิทธิติดตามว่ากล่าวเอาจากจำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัดก็หาระงับสิ้นสุดไม่
โจทก์อ้างเอกสาร พระราชพงศาวดารเกี่ยวกับตำนานพระพุทธบาทเป็นพยานว่า พระพุทธบาทได้ถูกค้นพบในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมระหว่างปี พ.ศ. 2163-2271 แล้ว พระเจ้าทรงธรรมทรงโสมนัสศรัทธาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมหาเจดีย์สถานมีพระมณฑปสวมรอยพระพุทธบาท และพระสังฆารามที่พระภิกษุสงฆ์อยู่บริบาล และได้ทรงพระราชอุทิศที่โยชน์หนึ่งโดยรอบรอยพระพุทธบาทถวายเป็นพุทธบูชากัลปนาผล นอกจากเอกสารโจทก์ยังนำสืบผู้ที่สูงอายุเป็นพยานประกอบหลายปากว่า ต่างได้รับทราบได้ยินได้ฟังสืบต่อกันมาตรงกันว่า พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงอุทิศที่ดินถวายโดยรอบพระพุทธบาทมีอาณาเขตถึงหนึ่งโยชน์โดยรอบ ข้อความที่เล่าสืบกันมาทางประวัติศาสตร์นี้รับฟังประกอบกับหลักฐานพระราชพงศาวดารของทางราชการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงให้ถอนฟ้องคดีล้มละลาย ไม่ถือเป็นฉ้อโกงหากไม่เกิดการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
จำเลยได้หลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อและถอนฟ้องคดีล้มละลายคำฟ้องคดีล้มละลายไม่ใช่เอกสารสิทธิ จำเลยก็ไม่ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม โจทก์ถอนฟ้องไปจึงมิได้เป็นการถอนเอกสารสิทธิเพราะจำเลยหลอกลวงการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
of 48