คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิม กรพุกกะณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 474 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อนาจารและทำร้ายร่างกาย: กรรมเดียว ความผิดฐานอนาจารครอบคลุม ความสัมพันธ์บังคับบัญชาไม่เข้าข่ายควบคุมตามหน้าที่ราชการ คดีขาดอายุความ
การใช้กำลังกายกอดรัดและบีบเคล้นนมของผู้เสียหายจนฟกช้ำเป็นการประทุษร้ายร่างกายที่เกลื่อนกลืนเป็นกรรมเดียวกับการกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ไม่เป็นมูลความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม มาตรา 296อีกบทหนึ่งต่างหาก
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิด: การคำนวณค่าเสียหายและดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดเหตุ
จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตายโจทก์นำสืบฟังได้ว่าเมื่อครั้งภริยาโจทก์มีชีวิตอยู่เป็นแม่บ้านจัดการบ้านเรือนด้วยตนเอง เมื่อภริยาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์ต้องจ้างคนทำงานแทน 2 คนโดยทำหน้าที่ซักผ้า ตักน้ำ ถางหญ้า คนหนึ่งทำครัวกวาดถู-บ้านอีกคนหนึ่ง ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค3 ประกอบด้วย มาตรา 1453
การที่ศาลกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา ศาลเป็นแต่กำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิดและ กฎหมายก็บัญญัติให้ถือว่า จำเลยผิดนัดตั้งแต่วันทำละเมิดจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินก้อน แม้จะขอค่าเสียหายที่คำนวณในอนาคตเข้ามาด้วย จำเลยก็จะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิด: การคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดละเมิด และการชดเชยค่าแรงงานในครัวเรือน
จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตายโจทก์นำสืบฟังได้ว่าเมื่อครั้งภริยาโจทก์มีชีวิตอยู่เป็นแม่บ้านจัดการบ้านเรือนด้วยตนเอง เมื่อภริยาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์ต้องจ้างคนทำงานแทน 2 คนโดยทำหน้าที่ซักผ้า ตักน้ำ ถางหญ้า คนหนึ่ง ทำครัวกวาดถู-บ้านอีกคนหนึ่ง ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค3 ประกอบด้วย มาตรา 1453
การที่ศาลกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา ศาลเป็นแต่กำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิดและ กฎหมายก็บัญญัติให้ถือว่า จำเลยผิดนัดตั้งแต่วันทำละเมิดจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิด การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินก้อน แม้จะขอค่าเสียหายที่คำนวณในอนาคตเข้ามาด้วย จำเลยก็จะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความแตกต่างของรูปและคำรวมถึงสาระสำคัญของเครื่องหมาย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมใช้ตัวหนังสือว่า LEVI'Sมีช่องผ่ากลางตัวหนังสือนั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายังมีตัวหนังสืออีก 4 คำบรรจุอยู่ส่วนเครื่องหมายที่จำเลยใช้มีตัวหนังสือว่า LEVIE ไม่มีช่องผ่ากลางตัวหนังสือดังกล่าวเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมมีรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู มีหยักด้านล่างเป็นเส้นโค้งสองอันติดกัน กับมีหยักเป็นเหลี่ยมที่มุมบนทั้งสองมุมแต่เครื่องหมายที่จำเลยใช้ทั้งแบบ ก. และ ข. เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนแบบ ค. มีรูปสี่เหลี่ยมมุมบนทั้งสองข้างไม่หยัก ด้านล่างยังอยู่ภายในกรอบของรูปสี่เหลี่ยมอีกอันหนึ่ง และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมยังมีตัวหนังสืออื่นๆ ตลอดจนลวดลายผิดกับเครื่องหมายที่จำเลยใช้ทั้งสิ้น เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าแตกต่างกันมาก ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายของโจทก์ร่วม
เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ร่วมจดทะเบียนไว้เป็นรูปและคำแม้เฉพาะคำในเครื่องหมายที่จำเลยใช้ก็มีตัวอักษรและลักษณะแตกต่างกับคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ดังนี้ จะถือเอาคำ (LEVI'S) เป็นสารสำคัญแต่ประการเดียวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2279/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบอนุญาตอาวุธปืนครอบคลุมถึงเครื่องกระสุนปืน การมีกระสุนปืนไม่ผิดหากมีใบอนุญาตปืน
จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนสั้นขนาด 11 มม.ไว้แล้ว จำเลยย่อมมีกระสุนปืนขนาด 11 มม. เพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าวได้โดยชอบ (แม้จะมีอยู่ถึง 1,000 นัด) เพราะการที่จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนนั้น เป็นการอนุญาตให้มีและใช้กระสุนปืนไปด้วยในตัว
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 875/2494 และ 615/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่สมบูรณ์เมื่อจำเลยบางส่วนไม่มีทนาย และการตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีทนาย แต่จำเลยที่ 1ไม่มีทนาย ฎีกาทำเป็นฉบับเดียว ลงชื่อทนายของจำเลยที่ 2ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีทนายไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาด้วย ฉะนั้น แม้ฎีกาฉบับนี้จะได้ระบุชื่อของจำเลยที่ 1 ไว้ในฎีกาหน้าแรกว่าเป็นผู้หนึ่งที่ขอยื่นฎีกาด้วยก็ตาม ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาของจำเลยที่1 ด้วย ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งห้า ซึ่งหมายรวมถึงจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น จึงคลาดเคลื่อน ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 และที่ 5 เท่านั้น ฎีกา
การกระทำอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3) นั้นต้องเป็นการลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ แต่ตามฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่ 1 ใช้กุญแจผิดกฎหมายไขตู้โชว์แล้วลักเอาทรัพย์ไป ฉะนั้น แม้จะฟังข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ก็ไม่ใช่เป็นการลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไป ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2250/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากจำเลยไม่มีทนาย และการพิพากษาความผิดฐานลักทรัพย์โดยมิชอบ
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีทนาย แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีทนาย ฎีกาทำเป็นฉบับเดียว ลงชื่อทนายของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีทนาย ไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาด้วย ฉะนั้น แม้ฎีกาฉบับนี้จะได้ระบุชื่อของจำเลยที่ 1 ไว้ในฎีกาหน้าแรกว่าเป็นผู้หนึ่งที่ขอยื่นฎีกาด้วยก็ตาม ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาของจำเลยที่1 ด้วย ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งห้า ซึ่งหมายรวมถึงจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น จึงคลาดเคลื่อน ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 เท่านั้น ฎีกา
การกระทำอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3) นั้นต้องเป็นการลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใดๆ แต่ตามฟ้องบรรยายว่าจำเลยที่ 1 ใช้กุญแจผิดกฎหมายไขตู้โชว์แล้วลักเอาทรัพย์ไป ฉะนั้น แม้จะฟังข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ก็ไม่ใช่เป็นการลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไป ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่: การรังวัดที่ดินและการกล่าวหาเรื่องสินบน
นาย จ. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยบุกรุกที่ดินน.ส.3 พนักงานสอบสวนจึงมีหนังสือถึงนายอำเภอขอให้สั่งพนักงานที่ดินไปร่วมทำการรังวัดสอบเขต นายอำเภอได้สั่งให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเสมียนที่ดินอำเภอไปร่วมรังวัดสอบเขตกับพนักงานสอบสวน จำเลยไม่ยอมให้ทำการรังวัด และกล่าวดูหมิ่นผู้เสียหายว่า "พนักงานที่ดินหมาๆ ชอบกินแต่เบี้ย(ชอบกินสินบน)" ดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 แล้ว(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2515 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่: การรังวัดที่ดินตามคำสั่งนายอำเภอ
นาย จ. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยบุกรุกที่ดินน.ส.3 พนักงานสอบสวนจึงมีหนังสือถึงนายอำเภอขอให้สั่งพนักงานที่ดินไปร่วมทำการรังวัดสอบเขต นายอำเภอได้สั่งให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเสมียนที่ดินอำเภอไปร่วมรังวัดสอบเขตกับพนักงานสอบสวน จำเลยไม่ยอมให้ทำการรังวัด และกล่าวดูหมิ่นผู้เสียหายว่า "พนักงานที่ดินหมาๆ ชอบกินแต่เบี้ย(ชอบกินสินบน)" ดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 แล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงอากรมหรสพด้วยการขายตั๋วเกินราคา แม้ชำระเงินแล้วคดีไม่เลิกกัน ศาลลงโทษตามประมวลรัษฎากร
บริษัทโรงภาพยนตร์จำเลยที่ 1 โดยผู้จัดการโรงภาพยนตร์จำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยที่ 3 กับ ส. ซึ่งเป็นพนักงานขายตั๋ว ใช้อุบายเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากรมหรสพ โดยขายตั๋วฉบับเดียวคิดราคาเป็น 2 เท่า และอนุญาตให้ผู้ซื้อเข้าดูภาพยนตร์ได้ 2 คน โดยเสียอากรเท่าฉบับเดียว เป็นผลให้จำเลยได้เงินขายตั๋วส่วนที่เกินราคาเป็นประโยชน์แห่งตน ดังนี้ ศาลย่อมลงโทษตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 16 พ.ศ.2502 มาตรา 14 ได้จะอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามมาตรา 135(3) ซึ่งมีบทลงโทษโดยเฉพาะอยู่แล้วตามมาตรา 142 หาได้ไม่
เนื่องจากการกระทำของจำเลยดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่อากรมหรสพได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้จัดการโรงภาพยนตร์นำเงินค่าอากรและเงินเพิ่มอากรไปชำระตามมาตรา 138 ทวิ และเจ้าหน้าที่ได้รับชำระเงินไว้แล้ว เงินจำนวนนี้ก็ไม่ใช่เงินค่าปรับเปรียบเทียบในทางอาญา อันจะทำให้คดีเลิกกันและไม่ถือว่าเป็นการกระทำหรือเป็นการเปรียบเทียบโดยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ทำการแทน ตามมาตรา 3 ทวิ อันจะคุ้มผู้ต้องหามิให้ถูกฟ้องร้องทางอาญาต่อไปด้วย
of 48