พบผลลัพธ์ทั้งหมด 474 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812-1813/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจขายที่ดินโดยไม่สุจริต การรู้เห็นยินยอมมีผลผูกพัน การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
มารดาทำสัญญาโอนขายที่ดินมีโฉนดของจำเลยให้แก่ผู้มีชื่อแทนจำเลย ตามใบมอบอำนาจซึ่งมารดาให้น้องจำเลยเขียนชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือแทนจำเลย โดยจำเลยรู้เห็นยินยอมในการกระทำนี้ จำเลยจะกล่าวอ้างในภายหลังว่าตนมิได้มอบอำนาจให้มารดาขายที่ดินแทน หาได้ไม่ เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยอายุ 15 ปี จากความผิดฐานปล้นทรัพย์ ศาลอุทธรณ์แก้ไขเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสอง แต่มีอายุ 15 ปี ลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่งตามมาตรา 75 แล้วพิพากษา 6 ปี ลดตามมาตรา 78 อีก 1 ใน 3 คงจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์เห็นว่ายังไม่สมควรพิพากษาลงโทษจำคุกพิพากษาแก้เป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรม ณ สถานเยาวชนฯจนกว่าจะมีอายุ 18 ปี ตามมาตรา 75, 74 (5) ดังนี้ เป็นการพิพากษาแก้มาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาลงโทษจำคุกเยาวชนเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม และการฎีกาของโจทก์เมื่อศาลแก้ไขคำพิพากษามาก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง แต่มีอายุ 15 ปี ลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่งตามมาตรา75แล้วพิพากษา6ปีลดตามมาตรา 78 อีก 1 ใน 3 คงจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์เห็นว่ายังไม่สมควรพิพากษาลงโทษจำคุกพิพากษาแก้เป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรม ณ สถานเยาวชนฯจนกว่าจะมีอายุ 18 ปี ตามมาตรา 75, 74(5) ดังนี้ เป็นการพิพากษาแก้มาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการไม่บังคับชำระเงินตามข้อกำหนดดูแลเด็กที่กระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 77
จำเลยอายุไม่เกิน 14 ปี กระทำความผิด ศาลได้สั่งให้มอบตัวแก่บิดาจำเลยรับไปดูแล หากจำเลยก่อเหตุร้ายขึ้นภายใน 3 ปี ให้บิดาจำเลยชำระเงินต่อศาลครั้งละ 500บาทต่อมาจำเลยกระทำผิดอีก ศาลจึงสั่งให้ปรับบิดาจำเลยตามข้อกำหนดดังกล่าว และต่อมาจำเลยยังได้กระทำความผิดอีกเป็นครั้งที่สองในเวลากระชั้นชิดกัน สุดความสามารถที่บิดาจะควบคุมดูแลได้กับปรากฏว่าบิดาจำเลยเป็นคนยากจนด้วยเช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่บังคับให้บิดาจำเลยชำระเงินตามข้อกำหนดสำหรับการก่อเหตุร้ายของจำเลยครั้งที่สองเสียได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 77 มิใช่บทบังคับเด็ดขาดว่า ในกรณีที่เด็กก่อเหตุร้ายขึ้นแล้ว ศาลจักต้องบังคับบิดาฯให้ชำระเงินตามข้อกำหนดเสมอไปโดยศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจเพียงให้ชำระเงินน้อยกว่าที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควรก็อาจไม่บังคับให้ชำระเงินเลยก็ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 77 มิใช่บทบังคับเด็ดขาดว่า ในกรณีที่เด็กก่อเหตุร้ายขึ้นแล้ว ศาลจักต้องบังคับบิดาฯให้ชำระเงินตามข้อกำหนดเสมอไปโดยศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจเพียงให้ชำระเงินน้อยกว่าที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น แต่ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควรก็อาจไม่บังคับให้ชำระเงินเลยก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 และ 69 การโต้แย้งข้อเท็จจริงในฎีกา
ที่จะเป็นป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ต้องมีองค์ประกอบสุดท้ายว่า ได้กระทำพอสมควรแก่เหตุด้วย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยฟังว่าจำเลยกระทำเกินสมควรแก่เหตุตามมาตรา 69 จำเลยฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ เช่นนี้ เป็นฎีกาเถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยฟังว่าจำเลยกระทำเกินสมควรแก่เหตุตามมาตรา 69 จำเลยฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ เช่นนี้ เป็นฎีกาเถียงข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081-1086/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร: การยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ข้อ 3 วางไว้ว่า ต้องทำคำร้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่อุทธรณ์ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหรือทราบคำสั่งดังนี้ การที่โจทก์ได้ทำคำร้องเป็นหนังสือโดยมีตัวแทนโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงชื่อในหนังสือและได้ระบุที่อยู่สำหรับติดต่อไว้ชัดเจนมีข้อความด้วยว่า โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคาร ชี้แจงว่าสภาพของอาคารโจทก์ไม่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจแก้ไขได้แต่อย่างใด ขอให้พิจารณายกเลิกคำสั่งรื้อถอนอาคารของเทศบาลนครกรุงเทพ ย่อมถือว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งครบถ้วนตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรี นครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรี นครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081-1086/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร การยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นชอบด้วยระเบียบ แม้จะยื่นผ่านไปยังรัฐมนตรี
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองข้อ 3 วางไว้ว่า ต้องทำคำร้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่อุทธรณ์ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหรือทราบคำสั่งดังนี้ การที่โจทก์ได้ทำคำร้องเป็นหนังสือโดยมีตัวแทนโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงชื่อในหนังสือและได้ระบุที่อยู่สำหรับติดต่อไว้ชัดเจนมีข้อความด้วยว่า โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคาร ชี้แจงว่าสภาพของอาคารโจทก์ไม่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจแก้ไขได้แต่อย่างใด ขอให้พิจารณายกเลิกคำสั่งรื้อถอนอาคารของเทศบาลนครกรุงเทพ ย่อมถือว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งครบถ้วนตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรีนครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรีนครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077-1079/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงทรัพย์สินที่เช่า: การกั้นห้องที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายและการอนุญาตดัดแปลงบันไดด้วยวาจา
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยผู้เช่าได้กั้นห้องด้วยไม้อัดไม่แน่นหนา รื้อออกได้ง่ายและไม่ทำให้เกิดความเสียหายหรือเปลี่ยนแปลงรูปทรงอาคารเดิมของโจทก์ จึงไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงหรือต่อเติมแก่ทรัพย์ที่เช่า
ส่วนการดัดแปลงบันไดนั้น ปรากฏว่าโจทก์ได้อนุญาตด้วยวาจาให้จำเลยดัดแปลงได้ การที่ระบุไว้ในสัญญาว่าจำเลยจะไม่ดัดแปลงหรือต่อเติมอย่างใดแก่ทรัพย์ที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น ก็เพื่อความสะดวกแก่การพิสูจน์โดยมีหลักฐานแน่นอนและชัดแจ้งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเท่านั้นไม่ใช่ว่าโจทก์จะไม่อาจให้คำอนุญาตด้วยวาจาได้เลยประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งเมื่อโจทก์ได้อนุญาตด้วยวาจาแล้วเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้สละข้อห้ามในสัญญานั้นแล้ว โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้
ส่วนการดัดแปลงบันไดนั้น ปรากฏว่าโจทก์ได้อนุญาตด้วยวาจาให้จำเลยดัดแปลงได้ การที่ระบุไว้ในสัญญาว่าจำเลยจะไม่ดัดแปลงหรือต่อเติมอย่างใดแก่ทรัพย์ที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น ก็เพื่อความสะดวกแก่การพิสูจน์โดยมีหลักฐานแน่นอนและชัดแจ้งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเท่านั้นไม่ใช่ว่าโจทก์จะไม่อาจให้คำอนุญาตด้วยวาจาได้เลยประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งเมื่อโจทก์ได้อนุญาตด้วยวาจาแล้วเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้สละข้อห้ามในสัญญานั้นแล้ว โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผนังปิดทางเดินแล้วให้เช่าใช้เข้าข่ายเป็นอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร
ตรงที่พิพาทเดิมเป็นช่องทางเดินระหว่างตึก ชั้นบนเป็นห้องโจทก์ก่อผนังตึกด้านหลังปิดช่องทางนี้ โดยมีประตูเหล็กพับได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แล้วให้คนเข้าอยู่อาศัยและค้าขาย ดังนี้เข้าลักษณะเป็น 'อาคาร' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 แล้ว
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผนังปิดช่องทางเดินแล้วให้เช่าใช้ ถือเป็นการปลูกสร้างอาคาร ต้องขออนุญาต
ตรงที่พิพาทเดิมเป็นช่องทางเดินระหว่างตึก ชั้นบนเป็นห้อง โจทก์ก่อผนังตึกด้านหลังปิดช่องทางนี้ โดยมีประตูเหล็กพับได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แล้วให้คนเข้าอยู่อาศัยและค้าขาย ดังนี้ เข้าลักษณะเป็น 'อาคาร'ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479 แล้ว
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)